ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ยุทธนาสาระขันธ์ (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 109: บรรทัด 109:
| align="center" | Pk22 || ''รามอินทรา 40'' || || นวลจันทร์ || [[เขตบึงกุ่ม|บึงกุ่ม]]
| align="center" | Pk22 || ''รามอินทรา 40'' || || นวลจันทร์ || [[เขตบึงกุ่ม|บึงกุ่ม]]
|-
|-
| align="center" | Pk23 || ''คู้บอน'' || || rowspan = "4"|คันนายาว || rowspan = "4"|[[เขตคันนายาว|คันนายาว]]
| align="center" | Pk23 || ''คู้บอน'' || || rowspan = "2"|รามอินทรา || rowspan = "4"|[[เขตคันนายาว|คันนายาว]]
|-
|-
| align="center" | Pk24 || ''รามอินทรา 83'' ||
| align="center" | Pk24 || ''รามอินทรา 83'' ||
|-
|-
| align="center" | Pk25 || ''วงแหวนตะวันออก'' ||
| align="center" | Pk25 || ''วงแหวนตะวันออก'' || || rowspan = "2"|คันนายาว || rowspan = "4"|[[เขตคันนายาว|คันนายาว]]
|-
|-
| align="center" | Pk26 || ''นพรัตนราชธานี'' ||
| align="center" | Pk26 || ''นพรัตนราชธานี'' ||

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:37, 29 ตุลาคม 2560

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
ไฟล์:รถไฟฟ้าสายสีชมพู.jpg
รถไฟฟ้าสายสีชมพู
ข้อมูลทั่วไป
สถานะโครงการ (เตรียมการก่อสร้าง)
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งจังหวัดนนทบุรี, กรุงเทพมหานคร
ปลายทาง
จำนวนสถานี30
เว็บไซต์mrta.co.th
การดำเนินงาน
รูปแบบรางเดี่ยว
ระบบรถไฟฟ้ามหานคร
ผู้ดำเนินงานบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด
ขบวนรถบอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย โมโนเรล 300
ประวัติ
เปิดเมื่อภายในพ.ศ. 2564
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง34.5 กิโลเมตร (21.4 ไมล์)* (est.)
ระบบจ่ายไฟรางที่สาม
ความเร็ว80 km/h (50 mph)
แผนที่เส้นทาง

: เตาปูนคลองบางไผ่
ศูนย์ราชการนนทบุรี
(โครงการ)
แคราย
สนามบินน้ำ
สามัคคี
กรมชลประทาน
แยกปากเกร็ด
เลี่ยงเมืองปากเกร็ด
แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28
ศรีรัช
เมืองทองธานี
อิมแพ็ค เมืองทองธานี
ทะเลสาบเมืองทองธานี
แจ้งวัฒนะ 14
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
โทรคมนาคมแห่งชาติ
หลักสี่
: กรุงเทพอภิวัฒน์รังสิต
ราชภัฏพระนคร
: เคหะฯคูคต
วัดพระศรีมหาธาตุ
รามอินทรา 3
ลาดปลาเค้า
รามอินทรา กม.4
มัยลาภ
(โครงการ): ท่าพระ
วัชรพล
รามอินทรา กม.6
คู้บอน
รามอินทรา กม.9
วงแหวนรามอินทรา
นพรัตน์
บางชัน
เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
ตลาดมีนบุรี
: บางขุนนนท์ – แยกร่มเกล้า
มีนบุรี
ศูนย์ซ่อมบำรุง

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เป็นโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับการกำหนดให้ใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (monorail) เป็นระบบหลัก เป็นโครงการรถไฟฟ้าโครงการหนึ่งตามแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานครโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

ในระยะแรกโครงการดังกล่าวมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 27 กิโลเมตร แต่ต่อมาก็ได้มีการขยายต้นทางจากปากเกร็ดมายังแคราย เพื่อเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ทำให้เส้นทางของโครงการเริ่มต้นที่ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดที่มีนบุรี ระยะทางรวมประมาณ 34–36 กิโลเมตร

พื้นที่ที่เส้นทางระบบขนส่งมวลชนผ่าน

แนวเส้นทาง

จุดต้นทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม บริเวณสถานีศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ถนนรัตนาธิเบศร์ แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านทางแยกแครายเข้าสู่ถนนติวานนท์ แนวจะวิ่งไปตามเกาะกลางถนนติวานนท์จนถึงห้าแยกปากเกร็ดแนวจะเลี้ยวขวาเข้าถนนแจ้งวัฒนะผ่านทางเข้าเมืองทองธานี จะมีสายแยกเข้า ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ผ่านทางพิเศษอุดรรัถยา มาเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ที่ทางแยกหลักสี่บนถนนวิภาวดีรังสิต และเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่) บนถนนพหลโยธิน) บริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ จากนั้นแนวเส้นทางจะวิ่งไปตามถนนรามอินทรา จนถึงทางแยกเมืองมีนแล้ววิ่งเข้าสู่เขตมีนบุรีตามแนวถนนสีหบุรานุกิจ จนถึงสะพานข้ามคลองสามวาก็จะเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบและข้ามถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3) มาสิ้นสุดสถานีปลายทางที่บริเวณใกล้แยกรามคำแหง-ร่มเกล้า ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม

รายชื่อสถานี

รหัส ชื่อสถานี เชื่อมต่อกับ วันที่เปิดให้บริการ ที่ตั้ง
แขวง/ตำบล เขต/อำเภอ จังหวัด
เส้นทางสายหลัก
Pk1 ศูนย์ราชการนนทบุรี รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม: สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล: สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (โครงการ)
พ.ศ. 2564 บางกระสอ เมืองนนทบุรี นนทบุรี
Pk2 แคราย
Pk3 สนามบินน้ำ ท่าทราย
Pk4 สามัคคี
Pk5 ชลประทาน บางตลาด ปากเกร็ด
Pk6 ปากเกร็ด ปากเกร็ด
Pk7 เลี่ยงเมืองปากเกร็ด
Pk8 แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28
Pk9 เมืองทองธานี คลองเกลือ
Pk10 ศรีรัช เส้นทางสายแยก (อิมแพคลิงก์)
Pk11 แจ้งวัฒนะ 14 ทุ่งสองห้อง หลักสี่ กรุงเทพมหานคร
Pk12 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
Pk13 ทีโอที
Pk14 หลักสี่ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม: สถานีหลักสี่ (กำลังก่อสร้าง)''
แม่แบบ:BTS Lines: สถานีหลักสี่ (กำลังก่อสร้าง)
ตลาดบางเขน
Pk15 ราชภัฏพระนคร อนุสาวรีย์ บางเขน
Pk16 วัดพระศรีมหาธาตุ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (ไม่ต้องออกจากกระบบ) (กำลังก่อสร้าง)
Pk17 รามอินทรา 3
Pk18 ลาดปลาเค้า
Pk19 รามอินทรา 31
Pk20 มัยลาภ ท่าแร้ง
Pk21 วัชรพล รถไฟฟ้าสายสีเทา: สถานีวัชรพล (โครงการ)
Pk22 รามอินทรา 40 นวลจันทร์ บึงกุ่ม
Pk23 คู้บอน รามอินทรา คันนายาว
Pk24 รามอินทรา 83
Pk25 วงแหวนตะวันออก คันนายาว คันนายาว
Pk26 นพรัตนราชธานี
Pk27 บางชัน มีนบุรี มีนบุรี
Pk28 เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
Pk29 ตลาดมีนบุรี
Pk30 มีนบุรี รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม: สถานีมีนบุรี (โครงการ)
เส้นทางสายแยก (อิมแพคลิงก์)
Pk10 ศรีรัช เส้นทางสายหลัก พ.ศ. 2564 คลองเกลือ ปากเกร็ด นนทบุรี
อิมแพคชาเลนเจอร์ บ้านใหม่
ทะเลสาบ

รายละเอียดปลีกย่อย

  • ขบวนรถไฟฟ้า: ใช้รถไฟฟ้ารุ่น บอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย โมโนเรล 300 ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวชนิดขับเคลื่อนอัตโนมัติโดยไม่ใช้คนควบคุม (Automated Driverless Monorail System) ทั้งหมด 168 ตู้หรือ 42 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ (สามารถเพิ่มเป็นขบวนละ 8 ตู้ในภายหลัง) ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลต์ รับจากรางจ่ายไฟ (Power Rails)
  • สถานี: 30 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด
  • ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ: มีศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถมีนบุรีตั้งอยู่บริเวณถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3) ใกล้กับแยกร่มเกล้า แต่เดิมได้มีการกำหนดให้เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงร่วมกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มแต่ปัจจุบันไม่ได้กำหนดให้ใช้งานร่วมกันแล้ว

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีอาคารจอดแล้วจร (park and ride) ที่สถานีปลายทาง (มีนบุรี) ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม (มีนบุรี)ได้ สามารถจอดรถได้ 3,000 คัน

สัญญาการก่อสร้าง

สัญญาการก่อสร้างของรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะใช้วิธีการมอบสัมปทานทั้งโครงการ โดยสัมปทานเป็นของ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน) ระยะเวลาสัมปทาน 33 ปี 3 เดือน แบ่งเป็นระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน (39 เดือน) และดำเนินการงานเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง 30 ปี ซึ่งมีรายละเอียดของสัญญาดังนี้

สัญญาที่ เนื้องาน
ระยะที่ 1 - ออกแบบและก่อสร้างงานโยธา รวมถึงจัดหาระบบรถไฟฟ้า
1.1 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างทางยกระดับทั้งโครงการ
ระยะทาง 34.5 กม. (21.44 ไมล์)
งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง
1.2 งานปรับย้ายสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี งานก่อสร้าง Skywalk
เชื่อมต่อสถานีศูนย์ราชการนนทบุรีของสายฉลองรัชธรรม
1.3 งานปรับปรุงเส้นทางบริเวณทางด่วนศรีรัช เพื่อลดการเวนคืน
1.4 งานปรับย้ายสถานีนพรัตน์ราชธานี
1.5 งานก่อสร้างอาคารทดแทนให้กับหมวดการทางธัญบุรี 2 แห่ง บริเวณสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
1.6 งานออกแบบศูนย์ซ่อมบำรุงให้มีทางเข้าออกบริเวณสะพานข้ามคลองสองต้นนุ่น ถนนรามคำแหง
1.7 งานปรับปรุงศูนย์ซ่อมบำรุงให้มีทางเข้าออกบริเวณถนนร่มเกล้า
1.8 งานปรับแก้โครงการตามที่ถูกร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่
1.9 งานจัดหาระบบรถไฟฟ้า ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบสื่อสาร ระบบจัดเก็บค่าโดยสาร ระบบประตูกั้นชานชาลา
และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ระยะที่ 2 - งานเดินรถไฟฟ้า และการซ่อมบำรุง
2.1 งานเดินรถไฟฟ้ารวมการซ่อมบำรุงเป็นระยะเวลา 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ รฟม. กำหนดให้มีการเดินรถอย่างเป็นทางการ

ความคืบหน้า

  • สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดยบริษัทที่ปรึกษาโครงการได้จัด การประชุมสัมมนาการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1 เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการออกแบบเบื้องต้น โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีเหลือง สายสีน้ำตาล และสายสีชมพู (พื้นที่โครงการสายสีชมพูและสายสีน้ำตาล) เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2550 ที่โรงแรมทีเคพาเลซ แจ้งวัฒนะ ซึ่งโครงการนี้จะใช้เวลาศึกษาอีก 15 เดือน การศึกษาจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2551
  • 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รองบประมาณในโครงการลงทุนภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 มูลค่า 5,413 ล้านบาท ซึ่งจะได้รับงบประมาณในปี 2553 แบ่งเป็นใช้ในรถไฟฟ้าสายสีชมพู 3,711 ล้านบาท สายสีน้ำตาล 1,702 ล้านบาท
  • 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความต้องการของประชาชนครั้งที่ 2 โครงการศึกษาปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เบื้องต้นได้นำรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ปากเกร็ด -มีนบุรี) และสายสีส้ม (บางกะปิ-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และบางกะปิ-บางบำหรุ) เข้าบรรจุในแผนแม่บทโครงข่ายรถไฟฟ้า เพื่อเร่งรัดในการดำเนินการก่อสร้าง
  • 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า ว่าที่ประชุมได้สรุปแนวทางการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงศูนย์ราชการนนทบุรี-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงินประมาณ 37,000 ล้านบาท โดยจะใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบยกระดับ ซึ่งจะเป็นเส้นทางเพื่อขนผู้โดยสารเข้าสู่เส้นทางรถไฟฟ้าสายหลัก โดยมีจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงที่วิภาวดี จุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่บางเขน และจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่มีนบุรี และมีการนำเสนอโครงการต่อ ครม.ในเดือนมิถุนายน 2553
  • 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553 รฟม. ปรับแบบก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว เพื่อแก้ปัญหาที่เสาตอม่อล้ำเข้าไปในพื้นที่วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน จึงปรับแบบย้ายให้เสาตอม่อไปอยู่ที่แขวงการทางเขตบางเขน ของกรมทางหลวงแทน
  • 24 กันยายน พ.ศ. 2553 นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้ใช้บริการ นักลงทุน และนักวิชาการ ที่มีต่อโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีชมพู และ สายสีส้ม วงบางกะปิ-บางบำหรุ ว่าทั้ง 2 เส้นทางมีปริมาณการใช้ของประชาชนอย่างไร และมีความจำเป็นเร่งด่วนแค่ไหน เพื่อนำมาประกอบการการพิจารณาและเร่งรัดโครงการ
  • 27 กันยายน พ.ศ. 2554 กระทรวงคมนาคม มีนโยบายให้สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณาทบทวนการปรับแบบการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด - มีนบุรี ระยะทาง 36 กม. ซึ่งอยู่ในขั้นตอนที่ รฟม. เตรียมลงนามในสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบก่อสร้าง จากเดิมเป็นการก่อสร้างแบบรางเดี่ยว (Monorail) อาจปรับเป็นแบบรถไฟฟ้า MRT หรือรถไฟฟ้าขนาดหนัก (Heavy Rail) เพื่อให้คุ้มค่า และเหมาะสมกับการรองรับผู้โดยสารในเส้นทางดังกล่าว
  • 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 นางกฤตยา สุมิตนันท์ รักษาการผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีมติอนุมัติให้การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูเป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดเบา (รางเดี่ยว) หลังจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้มีการทบทวนโครงการแล้วเห็นว่าการใช้รถไฟฟ้ารางเดี่ยวจะเหมาะสมกว่าเป็นรถไฟฟ้าขนาดหนัก และหลังจากนี้จะนำเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป[1]
  • 25 กันยายน พ.ศ. 2555 นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นความประชาชน โครงการศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ปรับปรุง และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5กิโลเมตร ว่า คาดว่าจะสามารถเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติได้ภายในเดือนตุลาคมนี้ และจะเปิดประกวดราคาได้ประมาณเดือนมีนาคม 2556 เริ่มก่อสร้างเดือนเมษายน 2557 ซึ่งตามแผนจะเปิดให้บริการได้ในเดือนตุลาคม 2560 โดยรูปแบบการก่อสร้างจะเป็นการออกแบบไปพร้อมกับการก่อสร้าง (Design & Build) ซึ่งจะทำให้การดำเนินโครงการมีความรวดเร็วขึ้น และในอนาคต รฟม.จะเสนอรัฐบาลพิจารณาการก่อสร้างรถไฟฟ้าในรูปแบบ Design & Build ทั้งหมด[2]
  • 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ดร.สุรศักดิ์ ทวีศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญระบบรถไฟฟ้า บริษัท ทีม คอนซัลติ้งฯ เปิดเผยว่า ตลอดเส้นทาง จะมี การเวณคืน 5 จุดใหญ่ คือ

1.บริวณห้าแยกปากเกร็ด ก่อนเลี้ยวขวาเข้า ถนนแจ้งวัฒนะ ปัจจุบันเป็นสนามฟุตบอลเก่า เพื่อสร้างสถานีปากเกร็ด มีพื้นที่เวนคืน 7,155 ตารางเมตร 2.บริเวณสะพานข้ามแยกเมืองทองธานี เพื่อหลีกเลี่ยงสะพานข้ามแยกของกรมทางหลวง (ทล.) มีพื้นที่เวนคืน 7,800 ตารางเมตร 3.บริเวณ ถนนวิภาวดีรังสิต ข้ามแยกหลักสี่ เพื่อลดระดับโครงสร้างลอดใต้โทลล์เวย์ มีพื้นที่เวนคืนรวม 7,300 ตารางเมตร 4.บริเวณอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ มีพื้นที่เวนคืนรวม 7,500 ตารางเมตร กว้างด้านละ 4 เมตร ตั้งแต่หน้า มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ไปถึง ป.กุ้งเผา และ 5.บริเวณมีนบุรี เวนคืนพื้นที่กว่า 280 ไร่ เพื่อสร้างที่จอดรถ และศูนย์ซ่อมบำรุง ส่วนบริเวณอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้จะมีเวนคืนเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อสร้างจุดขึ้น-ลงของสถานีทั้ง 30 สถานีที่ดินแพง-ค่าเวนคืนพุ่ง 1 เท่า เงินลงทุนโครงการเพิ่มขึ้นจากเดิมที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาไว้เมื่อ 5 ปีที่แล้วอยู่ที่ 3.8 หมื่นล้านบาท ล่าสุดค่าก่อสร้างแตะ 5.4 หมื่นล้านบาทโดยมีหลายปัจจัยที่ผลักให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานีใหม่ 6 สถานี ต้นทุนวัสดุก่อสร้าง ค่าแรง 300 บาท และราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์ที่ประกาศใช้เมื่อ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีผลทำให้ค่าชดเชยที่ดินเพิ่มขึ้นเท่าตัว จากเดิมประเมินไว้ 2 พันล้านเป็น 4 พันล้านบาท

  • 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555 นายวิชาญ มีนชัยนันท์ พร้อมด้วย นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 18 เขตคลองสามวา พรรคเพื่อไทย ร่วมกันแถลงเรียกร้องให้รัฐบาลรับฟังความเห็นจากประชาชนในโซนตะวันออกของ กรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ว่า ที่ผ่านมาสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และกรุงเทพมหานคร ได้ใช้ผลการสำรวจออกแบบการก่อสร้างตั้งแต่ปี2547 โดยกำหนดให้รถไฟฟ้าสายสีชมพูมีสถานีจอดอยู่ที่ตลาดมีนบุรี ซึ่งปัจจุบันนี้สภาพความเป็นอยู่ของคน กทม.ในโซนตะวันออกเปลี่ยนแปลงไปแล้ว มีการกระจายตัวออกไปอยู่ย่านสุวินทวงศ์ คลองสามวา หนองจอก ซึ่งหากยังคงแผนการก่อสร้างเดิมจะทำให้ไม่สามารถรองรับประชาชนในบริเวณดังกล่าวได้ พวกตนจึงทำหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สนข. และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อขอให้รับฟังความเห็นของประชาชนที่เดือดร้อน ซึ่งต้องการให้มีการขยายเส้นทางไปจนถึงถนนสุวินทวงศ์ เพื่อรองรับประชาชนในโซนตะวันออกมากขึ้น ทั้งนี้พวกตนไม่มีจุดประสงค์ในการขัดขวางทำให้การก่อสร้างรถไฟฟ้าสีชมพูล่าช้าลง แต่อยากให้โครงการเป็นไปตามความต้องการของประชาชน[3]
  • 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ตุลาคม พ.ศ. 2555 รัฐฯ ทาบ “บางกอกแลนด์” สร้างส่วนต่อขยาย-สถานีจอดรถไฟฟ้าสายสีชมพูให้บริการผู้ใช้ถึงอิมแพค เมืองทองธานี เรียกเงิน 1,200 ล้านค่าก่อสร้างสถานี และส่วนต่อขยาย ด้านบางกอกแลนด์เสนอ 2 ทางเลือก 1.สร้างเอง 2.ออกค่าก่อสร้าง 50% ทางบีแลนด์เห็นว่าในการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้า และขยายเส้นทางให้บริการเข้ามาในอิมแพคฯ นั้น วงเงินที่บริษัทต้องจ่ายให้รัฐบาลพร้อมกับที่ดินจำนวน 20 ไร่นั้น ในส่วนของที่ดินเห็นว่าบริษัทไม่สามารถยกให้เปล่าได้แต่หากจะยกให้ก็จะขอพัฒนาพื้นที่ด้านบนเป็นมอลล์ขนาดใหญ่ ผสมผสานอาคารสูงจำนวนหนึ่ง ขณะที่สถานีจอดรถจะก่อสร้างอยู่ใต้พื้นดิน หรือใต้มอลล์ที่จะพัฒนาขึ้น ส่วนวงเงิน 1,200 ล้านบาท เบื้องต้น บริษัทเห็นว่าควรเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างบริษัท และรัฐบาลโดยการจ่ายเงินเพียง 50% หรือ 600 ล้านบาท ส่วนที่เหลือให้รัฐบาลเป็นผู้จ่าย อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลไม่เห็นด้วยในแนวทางแรกก็อาจหยิบยกข้อเสนอที่ 2 ขึ้นมาพิจารณาคือ บีแลนด์จะลงทุนพัฒนาก่อสร้างสถานีจอดรถไฟฟ้าเอง โดยคาดว่าจะพัฒนาเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวเชื่อมต่อจากสถานีรถไฟฟ้าแจ้งวัฒนะ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบลงทุนก่อสร้างประมาณ 600 ล้านบาท ซึ่งล่าสุด บริษัทได้ว่าจ้างบริษัท เทศโก้ จำกัด ให้ออกแบบสถานีจอดรถไฟฟ้ารางเดี่ยวไว้แล้ว
  • โครงการนี้เป็น1ในโครงการที่ทาง สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเตรียมนำโครงการนี้เสนอคณะรัฐมนตรีภายในสิ้นปี พ.ศ. 2557 และจะเปิดประมูลช่วงต้นปี พ.ศ. 2558
  • 29 กุมภาพันธ์ 2559 คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการภาครัฐ หรือ พีพีพี ที่มีนาย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้อนุมัติให้เอกชนสามารถเข้าร่วมลงทุนในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเส้นทาง รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ได้
  • 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ให้เตรียมกระบวนการประกวดราคาภายใน 2 เดือน และคาดว่าจะสามารถทำการเปิดประมูลได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559
  • 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เปิดขายซองประมูลวันแรก มีเอกชนเข้าซื้อซองประมูลทั้งหมด 16 ราย
  • 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เปิดรับซองประมูลวันแรก โดยมีผู้ยื่นซองประมูลพร้อมข้อเสนอทั้งหมด 2 ราย ได้แก่
    • กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน)) ส่งพร้อมข้อเสนอในการก่อสร้างเส้นทางสายแยก อิมแพคลิงก์ เข้าศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กิโลเมตร และส่งมอบให้เป็นทรัพย์สินของ รฟม. ตามสัญญาสัมปทาน
    • บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้เปิดซองพิจารณาข้อเสนอการร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ผลปรากฏว่า กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ให้ข้อเสนอดีที่สุด หลังจากนี้จะดำเนินการเจรจา และคาดว่าจะลงนามสัญญาและเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2560
  • 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โอลดิงส์ จำกัด (มหาชน) ในนาม กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ได้แจ้งต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นถึงตำแหน่งของสถานีเพิ่มเติมของโครงการรถไฟฟ้าสีชมพูส่วนต่อขยายสายแยกอิมแพคลิงก์ ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร จำนวนสองสถานี จากสถานีศรีรัช เข้าสู่ใจกลางเมืองทองธานี ที่ได้รับทุนในการพัฒนาจาก บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) และเป็นหนึ่งในข้อเสนอพิเศษแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย อันได้แก่
    • สถานีอิมแพค ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารอิมแพค ชาเลนเจอร์
    • สถานีทะเลสาบ ตั้งอยู่ริมทะเลสาบเมืองทองธานี
  • 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โอลดิงส์ จำกัด (มหาชน) ในนาม กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ได้แจ้งผลการประชุมคณะกรรมการบริษัทแก่ตลาดหลักทรัพย์ เรื่องการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนจำนวนสองบริษัท โดยทั้งสองบริษัทจะมีทุนจดทะเบียน 3,500,000,000 บาทต่อบริษัท แบ่งเป็น บีทีเอส กรุ๊ป ถือหุ้น 75% ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ถือหุ้น 15% และ ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิงส์ ถือหุ้น 10% จุดประสงค์คือเพื่อให้ทั้งสองบริษัทเข้าทำสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและรถไฟฟ้าสายสีเหลืองแยกกัน เพื่อความสะดวกในการบริหารต้นทุนโครงการ แต่ทั้งสองโครงการจะใช้วิธีการว่าจ้าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เป็นผู้ติดตั้งระบบรถไฟฟ้าและเดินรถไฟฟ้า และว่าจ้าง บริษัท บางกอกสมาร์ทการ์ดซิสเท็ม จำกัด ในการติดตั้งระบบจัดเก็บค่าโดยสาร และระบบเชื่อมต่อบัตรแรบบิทให้กับโครงการต่อไป
  • 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบในร่างสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและรถไฟฟ้าสายสีชมพูกับกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ โดยให้เอกชนร่วมลงทุนเป็นระยะเวลา 33 ปี 3 เดือน อย่างไรก็ตามมติดังกล่าวอนุมัติให้ก่อสร้างในส่วนที่ผ่านการเห็นชอบในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ไปแล้ว ส่วนเส้นทางเพิ่มเติมจากข้อเสนอเพิ่มเติมได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี คาดว่าใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 1 ปี
  • 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และกระทรวงคมนาคม ได้จัดพิธีลงนามในสัญญาสัมปทานโครงการกับ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งบริษัทดังกล่าวจะเป็นผู้ถือสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และเป็นบริษัทผู้ทำสัญญาการจัดหาระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกลในการซื้อขบวนรถไฟฟ้าบอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย 300 จากกลุ่มบอมบาร์ดิเอร์ จำนวน 144 ตู้ (ประกอบ 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน ทั้งหมด 36 ขบวน) พร้อมระบบการเดินรถเพื่อใช้ในโครงการ รวมทั้งว่าจ้าง บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาของโครงการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงของโครงการ กับบริษัท บางกอกสมาร์ทการ์ดซิสเท็ม จำกัด ในการติดตั้งระบบจัดเก็บค่าโดยสาร เบื้องต้น นายคีรี กาญจนพาสน์ ระบุว่าการก่อสร้างน่าจะเสร็จเร็วกว่ากำหนดเพียง 2 ปีนับจากวันที่เริ่มเข้าพื้นที่ เนื่องจากต้องการลดผลกระทบด้านการจราจรที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการก่อสร้างโครงการ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ดูเพิ่ม