ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฟดอร์ ฟ็อน บ็อค"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29: บรรทัด 29:
'''เฟดอร์ ฟอน บอค''' ({{lang-de|Fedor von Bock}}) เป็นจอมพลแห่ง[[กองทัพบกเยอรมัน (เวร์มัคท์)|กองทัพบกเยอรมัน]]ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] เขาบัญชาการกองทัพบกกลุ่มเหนือระหว่าง[[การบุกครองโปแลนด์]]ในปี 1939 และบัญชาการกองทัพบกกลุ่มบีใน[[ยุทธการที่ฝรั่งเศส]]ในปี 1940 และต่อมาได้บัญชาการกองทัพบกกลุ่มกลางในการโจมตีสหภาพโซเวียตในปี 1941 และได้บัญชาการกองทัพบกกลุ่มใต้ในปี 1942 ซึ่งเป็นตำแหน่งบัญชาการครั้งสุดท้าย
'''เฟดอร์ ฟอน บอค''' ({{lang-de|Fedor von Bock}}) เป็นจอมพลแห่ง[[กองทัพบกเยอรมัน (เวร์มัคท์)|กองทัพบกเยอรมัน]]ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] เขาบัญชาการกองทัพบกกลุ่มเหนือระหว่าง[[การบุกครองโปแลนด์]]ในปี 1939 และบัญชาการกองทัพบกกลุ่มบีใน[[ยุทธการที่ฝรั่งเศส]]ในปี 1940 และต่อมาได้บัญชาการกองทัพบกกลุ่มกลางในการโจมตีสหภาพโซเวียตในปี 1941 และได้บัญชาการกองทัพบกกลุ่มใต้ในปี 1942 ซึ่งเป็นตำแหน่งบัญชาการครั้งสุดท้าย


บอคเกิดในเมืองคืชตริง (ปัจจุบันอยู่ในโปแลนด์) ในครอบครัวทหารชาวปรัสเซีย บิดาเป็นผู้บัญชาการหน่วยทหารใน[[สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย]]<ref>Mitcham 2009, p. 17</ref> ส่วนมารดาเป็นน้องสาวของเอริช ฟอน ฟัลเคินไฮย์ (Erich von Falkenhayn) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง<ref>Afflerbach 1996, p. 9</ref> บอคเข้าศึกษาที่วิทยาลัยการทหารในกรุงเบอร์ลิน และต่อมาได้เข้าร่วมรบใน[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] ด้วยความที่เกิดในครอบครัวทหารทำให้เขามีค่านิยมทหารมากกว่าคนอื่น ในสงครามครั้งนั้นเขาได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นทหารที่องอาจถึงขนาดพร้อมตายเพื่อปิตุภูมิจนได้รับสมญาว่า "พระเพลิงแห่งคืชตริง"{{sfn|Turney|1971|p=6}}{{sfn|Turney|1971|p=6}} และได้รับเหรียญ[[Pour le Mérite|ปัวร์เลอแมริท]]ของจักรวรรดิเยอรมัน
บอคเกิดในเมืองคืชตริง (ปัจจุบันอยู่ในโปแลนด์) ในครอบครัวทหารชาวปรัสเซีย บิดาเป็นผู้บัญชาการหน่วยทหารใน[[สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย]]<ref>Mitcham 2009, p. 17</ref> ส่วนมารดาเป็นน้องสาวของเอริช ฟอน ฟัลเคินไฮย์ (Erich von Falkenhayn) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง<ref>Afflerbach 1996, p. 9</ref> บอคเข้าศึกษาที่วิทยาลัยการทหารในกรุงเบอร์ลิน และต่อมาได้เข้าร่วมรบใน[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] ด้วยความที่เกิดในครอบครัวทหารทำให้เขามีค่านิยมทหารมากกว่าคนอื่น ในสงครามครั้งนั้นเขาได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นทหารที่องอาจถึงขนาดพร้อมตายเพื่อปิตุภูมิจนได้รับสมญาว่า '''พระเพลิงแห่งคืชตริง'''{{sfn|Turney|1971|p=6}} และได้รับเหรียญ[[Pour le Mérite|ปัวร์เลอแมริท]]ของจักรวรรดิเยอรมัน


ในปี 1935 [[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] แต่งตั้งบอคให้เป็นผู้บัญชาการกองทักบกกลุ่มที่สาม และเป็นหนึ่งในนายพลที่ไม่ถูกโยกย้ายเมื่อครั้งฮิตเลอร์ปฏิรูปกองทัพครั้งใหญ่เพื่อสั่งสมแสนยานุภาพก่อนสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ บอคเป็นพวกนิยมระบอบกษัตริย์และมักจะไปเยี่ยมเยือนวังของอดีต[[ไกเซอร์]]เสมอ บอคบัญชาการการบุกเวียนนาในปี 1938 และเมื่อ[[อันชลุสส์|เยอรมันผนวกออสเตรีย]]แล้ว บอคก็บัญชาการการรุกราน[[ประเทศเชโกสโลวาเกีย|เชโกสโลวาเกีย]] ฮิตเลอร์ไม่ค่อยชอบนิสัยการพูดจาตรงไปตรงมาขวานผ่าซากของบอค สิ่งที่ฮิตเลอร์ชอบในตัวบอคอย่างเดียวคือเขาเป็นผู้บัญชาการมือฉกาจที่ประสบความสำเร็จในการรบ<ref name="ReferenceB">Battle of Russia, ''Battlefield: Battles that Won the Second World War—Series 2''. Universal Pictures Video. 2 May 2005</ref> บอคได้รับแต่งตั้งเป็นจอมพลในวันที่ 19 กรกฎาคม 1940 ขณะมีอายุ 60 ปี
ในปี 1935 [[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] แต่งตั้งบอคให้เป็นผู้บัญชาการกองทักบกกลุ่มที่สาม และเป็นหนึ่งในนายพลที่ไม่ถูกโยกย้ายเมื่อครั้งฮิตเลอร์ปฏิรูปกองทัพครั้งใหญ่เพื่อสั่งสมแสนยานุภาพก่อนสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ บอคเป็นพวกนิยมระบอบกษัตริย์และมักจะไปเยี่ยมเยือนวังของอดีต[[ไกเซอร์]]เสมอ บอคบัญชาการการบุกเวียนนาในปี 1938 และเมื่อ[[อันชลุสส์|เยอรมันผนวกออสเตรีย]]แล้ว บอคก็บัญชาการการรุกราน[[ประเทศเชโกสโลวาเกีย|เชโกสโลวาเกีย]] ฮิตเลอร์ไม่ค่อยชอบนิสัยการพูดจาตรงไปตรงมาขวานผ่าซากของบอค สิ่งที่ฮิตเลอร์ชอบในตัวบอคอย่างเดียวคือเขาเป็นผู้บัญชาการมือฉกาจที่ประสบความสำเร็จในการรบ<ref name="ReferenceB">Battle of Russia, ''Battlefield: Battles that Won the Second World War—Series 2''. Universal Pictures Video. 2 May 2005</ref> บอคได้รับแต่งตั้งเป็นจอมพลในวันที่ 19 กรกฎาคม 1940 ขณะมีอายุ 60 ปี

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:13, 29 ตุลาคม 2560

เฟดอร์ ฟอน บอค
จอมพล เฟดอร์ ฟอน บอค ในปี 1939
ชื่อเกิดมอริทซ์ อัลแบรชท์ ฟรันซ์ ฟรีดริช เฟดอร์ ฟอน บอค
เกิด03 ธันวาคม ค.ศ. 1880(1880-12-03)
คืชตริง, จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต4 พฤษภาคม ค.ศ. 1945(1945-05-04) (64 ปี)
โอลเดินบวร์ค, ประเทศเยอรมนี
รับใช้ เยอรมนี
 เยอรมนี
 ไรช์เยอรมัน
ประจำการค.ศ. 1898–1945
ชั้นยศจอมพล
บังคับบัญชาArmy Group North, 1939
Army Group B, 1940
Army Group Center, 1941
Army Group South, 1942
การยุทธ์
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามโลกครั้งที่สอง
บำเหน็จPour le Mérite
กางเขนเหล็กกางเขนอัศวิน

เฟดอร์ ฟอน บอค (เยอรมัน: Fedor von Bock) เป็นจอมพลแห่งกองทัพบกเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาบัญชาการกองทัพบกกลุ่มเหนือระหว่างการบุกครองโปแลนด์ในปี 1939 และบัญชาการกองทัพบกกลุ่มบีในยุทธการที่ฝรั่งเศสในปี 1940 และต่อมาได้บัญชาการกองทัพบกกลุ่มกลางในการโจมตีสหภาพโซเวียตในปี 1941 และได้บัญชาการกองทัพบกกลุ่มใต้ในปี 1942 ซึ่งเป็นตำแหน่งบัญชาการครั้งสุดท้าย

บอคเกิดในเมืองคืชตริง (ปัจจุบันอยู่ในโปแลนด์) ในครอบครัวทหารชาวปรัสเซีย บิดาเป็นผู้บัญชาการหน่วยทหารในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย[1] ส่วนมารดาเป็นน้องสาวของเอริช ฟอน ฟัลเคินไฮย์ (Erich von Falkenhayn) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[2] บอคเข้าศึกษาที่วิทยาลัยการทหารในกรุงเบอร์ลิน และต่อมาได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้วยความที่เกิดในครอบครัวทหารทำให้เขามีค่านิยมทหารมากกว่าคนอื่น ในสงครามครั้งนั้นเขาได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นทหารที่องอาจถึงขนาดพร้อมตายเพื่อปิตุภูมิจนได้รับสมญาว่า พระเพลิงแห่งคืชตริง[3] และได้รับเหรียญปัวร์เลอแมริทของจักรวรรดิเยอรมัน

ในปี 1935 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แต่งตั้งบอคให้เป็นผู้บัญชาการกองทักบกกลุ่มที่สาม และเป็นหนึ่งในนายพลที่ไม่ถูกโยกย้ายเมื่อครั้งฮิตเลอร์ปฏิรูปกองทัพครั้งใหญ่เพื่อสั่งสมแสนยานุภาพก่อนสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ บอคเป็นพวกนิยมระบอบกษัตริย์และมักจะไปเยี่ยมเยือนวังของอดีตไกเซอร์เสมอ บอคบัญชาการการบุกเวียนนาในปี 1938 และเมื่อเยอรมันผนวกออสเตรียแล้ว บอคก็บัญชาการการรุกรานเชโกสโลวาเกีย ฮิตเลอร์ไม่ค่อยชอบนิสัยการพูดจาตรงไปตรงมาขวานผ่าซากของบอค สิ่งที่ฮิตเลอร์ชอบในตัวบอคอย่างเดียวคือเขาเป็นผู้บัญชาการมือฉกาจที่ประสบความสำเร็จในการรบ[4] บอคได้รับแต่งตั้งเป็นจอมพลในวันที่ 19 กรกฎาคม 1940 ขณะมีอายุ 60 ปี

ในปี 1941 บอคเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการในปฏิบัติการไต้ฝุ่นที่หมายเข้ายึดกรุงมอสโกก่อนฤดูหนาว การต่อต้านของฝ่ายโซเวียตที่เมืองมอซไฮสค์ (Mozhaisk) ประกอบกับสภาพอากาศฝนตกเฉอะแฉะทำให้การรุกคืบของเยอรมันเป็นไปได้ช้าลง บอคจึงเสนอฮิตเลอร์ให้ทำการถอนกำลังพลจากโซเวียตก่อนที่จะเป็นฝ่ายถูกโต้กลับแต่ฮิตเลอร์ก็ยังคงเดินหน้าต่อ ท้ายที่สุด การตอบโต้ของฝ่ายโซเวียตก็ทำให้เยอรมันต้องถอนกำลังพลจากโซเวียตอย่างที่บอคคาดการณ์ไว้

ความล้มเหลวในปฏิบัติการไต้ฝุ่นทำให้ฮิตเลอร์ไม่ลังเลอีกต่อไปที่จะปลดเขาจากตำแหน่งบัญชาการ หลังจากถูกปลดในวันที่ 13 กรกฎาคม 1942 เขาก็ไม่เคยเข้าร่วมการบัญชาการใดๆอีก[5] บอคเป็นนายทหารที่มีมนุษยธรรม หน่วยทหารของเขาไม่เคยกระทำการละเมิดมนุษยธรรมใดๆแก่พลเรือน หลังสงครามสิ้นสุดเขาจึงรอดพ้นจากการถูกตั้งข้อหา อย่างไรก็ตาม บอคพร้อมด้วยภรรยาและลูกเลี้ยงของเขาถูกสังหารโดยการกราดยิงจากเครื่องบินรบของอังกฤษในวันที่ 3 พฤษภาคม 1945 ขณะเดินทางโดยรถยนต์ไปยังฮัมบวร์ค เขาเสียชีวิตในวันต่อมา

อ้างอิง

  1. Mitcham 2009, p. 17
  2. Afflerbach 1996, p. 9
  3. Turney 1971, p. 6.
  4. Battle of Russia, Battlefield: Battles that Won the Second World War—Series 2. Universal Pictures Video. 2 May 2005
  5. Glantz & House 2009, p. 192.
ก่อนหน้า เฟดอร์ ฟ็อน บ็อค ถัดไป
ไม่มี ผู้บัญชาการกองทัพบกกลุ่มเหนือ
(27 สิงหาคม ค.ศ. 1939 – 20 มิถุนายน ค.ศ. 1941)
จอมพล วิลเฮล์ม ริทเทอร์ ฟอน ลีบ
ไม่มี ผู้บัญชาการกองทัพบกกลุ่มกลาง
(22 มิถุนายน – 19 ธันวาคม ค.ศ. 1941)
จอมพล กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอ