ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เซ็นทรัล โคราช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xpanderz (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
→‎การจัดสรรพื้นที่: Added content for easy to understand the imformation
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 45: บรรทัด 45:
* สวนสนุกดรากอนเวิลด์ บาย ฟันแพลเน็ต
* สวนสนุกดรากอนเวิลด์ บาย ฟันแพลเน็ต
* สวนน้ำสแปลช วอเตอร์ พาร์ค
* สวนน้ำสแปลช วอเตอร์ พาร์ค
* โรงภาพยนตร์[[เอสเอฟ ซีเนม่า|เอสเอฟเอ็กซ์ ซีเนม่า]] 9 โรง ในจำนวนนี้มีโรงภาพยนตร์ระบบ MX4D จำนวน 1 โรง
* โรงภาพยนตร์[[เอสเอฟ ซีเนม่า|เอสเอฟเอ็กซ์ ซีเนม่า]] 9 โรง ในจำนวนนี้มีโรงภาพยนตร์ระบบ MX4D จำนวน 1 โรง และ โรงภาพยนตร์ Vip 1โรง
* โคราช ฮอลล์
* โคราช ฮอลล์
* ลานเดิ่นคนชุม
* ลานเดิ่นคนชุม

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:40, 27 ตุลาคม 2560

เซ็นทรัล โคราช

เซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา เป็นโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของศูนย์การค้าโดยกลุ่มเซ็นทรัล รองจากเซ็นทรัลเวิลด์ และเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 65 ไร่ ติดถนนมิตรภาพขาเข้าเมืองนครราชสีมา โดยมีพื้นที่คาบเกี่ยว 2 ตำบลคือตำบลในเมืองและตำบลหมื่นไวย ดำเนินการโดยบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) โดยมีมูลค่าการลงทุน 10,596 ล้านบาท พื้นที่รวมกว่า 355,000 ตารางเมตร (มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาค) รองรับกลุ่มเป้าหมายในจังหวัดนครราชสีมากว่า 2.8 ล้านคน และจังหวัดใกล้เคียง

ตัวอาคารออกแบบโดยได้แรงบันดาลใจจากดอกมหาหงส์ และภายในศูนย์การค้าออกแบบให้มีบรรยากาศ 1 ชั้น 1 ฤดู ทั้งนี้ เซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา ถือเป็นศูนย์การค้าในเครือเซ็นทรัลพลาซาแห่งที่ 4 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถัดจากเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี, เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น และเซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี มีกำหนดเปิดให้บริการวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ประวัติ

โครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา หรือ เซ็นทรัล โคราช มีข่าวการพัฒนาเริ่มต้นขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 หลังการเปิดให้บริการของศูนย์การค้าเดอะมอลล์ ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ สาขานครราชสีมา หรือ เดอะมอลล์ โคราช โดยมีแผนพัฒนาในรูปแบบของ เซ็นทรัลเฟสติวัล บนพื้นที่ของ เทอร์มินัล 21 โคราช ในปัจจุบัน แต่อย่างไรเสียข่าวการพัฒนาโครงการกลับเงียบไปหลายปี เนื่องจากไม่สามารถหาที่ดินได้เพียงพอในขณะนั้น จนกระทั่งมีข่าวการพัฒนาโครงการ เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น และการเข้าซื้อโครงการเจริญศรีคอมเพล็กซ์ (เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี ในปัจจุบัน) ข่าวการพัฒนาโครงการในพื้นที่นครราชสีมาก็เริ่มมีข่าวขึ้นมาอีกครั้ง จนกระทั่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ก็มีข่าวว่าเซ็นทรัลพัฒนาสามารถเข้าซื้อที่ดินได้ส่วนหนึ่งบริเวณถนนเลี่ยงเมืองนครราชสีมาและยื่นแบบขอก่อสร้างโครงการเป็นที่เรียบร้อย ก่อนประกาศเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการใน วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ไฟล์:Centralplaza-nakhonratchasima-2014.jpg
เรนเดอร์ตัวแรกของศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา ในการแถลงข่าวครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การแถลงข่าวครั้งแรกตั้งเป้าเปิดให้บริการเป็นศูนย์การค้าลำดับที่ 28 ของบริษัท (ปัจจุบันลำดับที่ 28 เป็นของเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต) มีเนื้อที่โครงการรวม 250,000 ตร.ม. เน้นกลุ่มลูกค้าระดับกลาง-บนขึ้นไป เช่นเดียวกับศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา สาขาในกรุงเทพมหานคร มีผู้เช่าหลักในขณะนั้นคือห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ท็อปส์ มาร์เก็ต เพาเวอร์บาย บีทูเอส ซูเปอร์สปอร์ต ออฟฟิศเมท และบ้านแอนด์บียอนด์ และชูจุดเด่นบริเวณพื้นที่ภายนอกอาคารในรูปแบบของแฮงก์เอาท์เซ็นเตอร์แบบเดียวกับอาคารกรูฟของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และอาคารบลอสซัม แอท เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ โดยมีกำหนดเปิดให้บริการครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 แต่อย่างไรก็ตามงานก่อสร้างกลับไม่คืบหน้าตามกำหนดการเดิมที่วางแผนไว้คือเริ่มก่อสร้างในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 จนกระทั่งมีข่าวอย่างไม่เป็นทางการว่าเซ็นทรัลพัฒนาตัดสินใจทิ้งที่ดินผืนนี้ และย้ายไปยังที่ดินผืนใหม่ริมถนนมิตรภาพบริเวณใกล้กับมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ซึ่งมีขนาดที่ใหญ่กว่า และทำเลดีกว่าที่ดินผืนเดิม ในขณะที่ที่ดินผืนเดิมก็ได้ยกให้บริษัทในกลุ่มจิราธิวัฒน์เป็นคนดูแลต่อไป

ไฟล์:Centralplaza nakhonratchasima2015.jpg
เรนเดอร์ตัวที่สองของศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา ในการแถลงข่าวครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การแถลงข่าวครั้งที่สองถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 โดยมีรายละเอียดคือประกาศย้ายทำเลจากที่ดินผืนเดิมไปอยู่ริมถนนมิตรภาพ ปรับแผนการลงทุนเป็น 9,500 ล้านบาท มีเนื้อที่โครงการรวม 250,000 ตร.ม. เน้นกลุ่มลูกค้าระดับกลาง-บน และมีผู้เช่าหลักคือห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ท็อปส์ ซูเปอร์สโตร์ เพาเวอร์บาย บีทูเอส ซูเปอร์สปอร์ต ออฟฟิศเมท บ้านแอนด์บียอนด์ และโรงภาพยนตร์เอสเอฟเอ็กซ์ ซีเนม่า 10 โรง พร้อมโรงภาพยนตร์สี่มิติหนึ่งโรง พร้อมเพิ่มโรงแรม 25 ชั้น จำนวน 350 ห้องต่อยอดขึ้นไปบนตัวอาคาร และปรับให้ชั้นดาดฟ้าของศูนย์การค้าเป็นสวนหย่อมลอยฟ้าขนาดใหญ่เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจกลางเมือง

แบบครั้งที่สองถูกนำไปก่อสร้างจริงในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 และมีการยื่นขอปรับแบบการก่อสร้างหลายครั้งโดยเฉพาะในส่วนของโรงแรม รวมถึงยังมีการประกาศพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม เอสเซ็นท์ โดย บริษัท ซีพีเอ็น เรสซิเดนซ์ จำกัด ในบริเวณพื้นที่ด้านหน้าอาคาร จนกระทั่งในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เซ็นทรัลพัฒนาได้มีการประกาศปรับแบบการก่อสร้างของศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมาอีกครั้งเป็นครั้งที่ 3

ไฟล์:Central-nakhonratchasima-jul-2016.jpg
เรนเดอร์ปัจจุบันของศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา ในการแถลงข่าวครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การแถลงข่าวครั้งที่สามจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 โดยมีการปรับรายละเอียดใหม่ทั้งหมด คือลดจำนวนชั้นจาก 5+1 ชั้น เป็น 4+1 ชั้น ปรับแผนการลงทุนเป็นการลงทุนโครงการแบบผสม ประกอบไปด้วยศูนย์การค้า โรงแรม อาคารชุด และศูนย์การประชุม รวมถึงพัฒนาตลาดลีลาชีวิต (ตลาดมาร์เก็ต มาร์เก็ต) พร้อมสวนสาธารณะ พร้อมบึงขนาดเล็กบริเวณด้านหน้าศูนย์การค้า มูลค่าโครงการทั้งหมดอยู่ที่ 10,596 ล้านบาท มีเนื้อที่โครงการรวม 355,000 ตร.ม. เน้นกลุ่มลูกค้าหลากหลายกลุ่ม และมีผู้เช่าหลักคือห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ท็อปส์ ซูเปอร์สโตร์ เพาเวอร์บาย ธิงค์สเปซ บีทูเอส ซูเปอร์สปอร์ต ออฟฟิศเมท และโรงภาพยนตร์เอสเอฟเอ็กซ์ ซีเนม่า 9 โรง พร้อมโรงภาพยนตร์สี่มิติหนึ่งโรง และมีกำหนดเปิดให้บริการจริงในระยะที่ 1 ภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ในขณะที่ส่วนอื่น ๆ ของโครงการจะตามมาในภายหลัง ในขณะที่ที่ดินผืนเดิมบริเวณถนนเลี่ยงเมืองนครราชสีมา ก็จะยังไม่มีการขายทอดตลาด แต่เซ็นทรัลพัฒนาจะเก็บไว้เพื่อดูโอกาสในการขยายสาขาในอนาคตเพิ่มเติมต่อไป

การจัดสรรพื้นที่

เซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา ตั้งอยู่บนพื้นที่ 65 ไร่ พัฒนาเป็นอาคารศูนย์การค้า ความสูง 4 ชั้น + ชั้นใต้ดิน 1 ชั้น พร้อมอาคารจอดรถ ความสูง 9 ชั้น + ชั้นใต้ดิน 2 ชั้น การออกแบบภายนอกได้แรงบันดาลใจจากดอกมหาหงส์ ส่วนภายในศูนย์การค้าออกแบบด้วยแนวคิด "ฤดูกาลแห่งชีวิต" โดยในแต่ละชั้นจะสะท้อนถึงบรรยากาศฤดูต่าง ๆ และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ เซ็นทรัลพัฒนายังมีแผนพัฒนาพื้นที่โดยรอบโครงการในลักษณะพาณิชยกรรมแบบประสม ประกอบด้วยโรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ความสูง 23 ชั้น + ชั้นใต้ดิน 1 ชั้น จำนวน 252 ห้อง และโครงการคอนโดมิเนียมเอสเซ็นท์ ในส่วนของอาคารศูนย์การค้า ประกอบไปด้วยร้านค้าและผู้เช่าต่าง ๆ กว่า 500 ร้านค้า ซึ่งจะเปิดให้บริการระยะแรกภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้[1]

  • ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล
  • ท็อปส์ ซูเปอร์สโตร์
  • เพาเวอร์บาย
  • ซูเปอร์สปอร์ต
  • ธิงค์สเปซ บีทูเอส
  • ออฟฟิศเมท
  • สถานออกกำลังกายเวอร์จิ้น แอคทีฟ
  • บ๊าวซ์อิงค์ แทมโพรีนอารีนา
  • สวนสนุกดรากอนเวิลด์ บาย ฟันแพลเน็ต
  • สวนน้ำสแปลช วอเตอร์ พาร์ค
  • โรงภาพยนตร์เอสเอฟเอ็กซ์ ซีเนม่า 9 โรง ในจำนวนนี้มีโรงภาพยนตร์ระบบ MX4D จำนวน 1 โรง และ โรงภาพยนตร์ Vip 1โรง
  • โคราช ฮอลล์
  • ลานเดิ่นคนชุม
  • ตลาดด๊ะดาด
  • โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา
  • อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย เอสเซ็นท์ นครราชสีมา

อ้างอิง

  1. https://www.prachachat.net/marketing/news-41521 อลังการแบบมหานครแห่งอีสาน! ดีเดย์เปิด “เซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา” 3 พ.ย.นี้!