ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาสนาในประเทศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Lephill (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Lephill (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{bar box|title=ศาสนาในประเทศไทย<ref>[https://www.m-society.go.th/article_attach/14497/18156.pdf], สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2557, สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร</ref>|titlebar=#ddd|left1=ศาสนา|right1=ร้อยละ|float=right|bars={{bar percent|[[พุทธ]]|orange|94.6}} {{bar percent|[[อิสลาม]]|green|4.2}} {{bar percent|[[คริสต์]]|blue|1.1}} {{bar percent|อื่นๆ|red|0.1}}}}
{{bar box|title=ศาสนาในประเทศไทย พ.ศ. 2557<ref>[https://www.m-society.go.th/article_attach/14497/18156.pdf], สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2557, สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร</ref>|titlebar=#ddd|left1=ศาสนา|right1=ร้อยละ|float=right|bars={{bar percent|[[พุทธ]]|orange|94.6}} {{bar percent|[[อิสลาม]]|green|4.2}} {{bar percent|[[คริสต์]]|blue|1.1}} {{bar percent|อื่นๆ|red|0.1}}}}


[[กรมการศาสนา]] [[กระทรวงวัฒนธรรม]]ให้ทางราชการรับรองศาสนาในประเทศไทยไว้ 5 ศาสนา<ref>[http://www.dra.go.th/th/index.php], กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม</ref> ดังนี้ [[ศาสนาพุทธ]] [[ศาสนาอิสลาม]] [[ศาสนาคริสต์]] [[ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู]] และ[[ศาสนาซิกข์]]
[[กรมการศาสนา]] [[กระทรวงวัฒนธรรม]]ให้ทางราชการรับรองศาสนาในประเทศไทยไว้ 5 ศาสนา<ref>[http://www.dra.go.th/th/index.php], กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม</ref> ดังนี้ [[ศาสนาพุทธ]] [[ศาสนาอิสลาม]] [[ศาสนาคริสต์]] [[ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู]] และ[[ศาสนาซิกข์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:29, 30 กันยายน 2560

ศาสนาในประเทศไทย พ.ศ. 2557[1]
ศาสนา ร้อยละ
พุทธ
  
94.6%
อิสลาม
  
4.2%
คริสต์
  
1.1%
อื่นๆ
  
0.1%

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมให้ทางราชการรับรองศาสนาในประเทศไทยไว้ 5 ศาสนา[2] ดังนี้ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์

ศาสนิกชน

จากสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2543[3] พ.ศ. 2551[4] พ.ศ. 2554[5] และ พ.ศ. 2557[6][7] โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในประเทศไทยมีผู้นับถือศาสนา ดังนี้

ศาสนา พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2557
ศาสนาพุทธ 57,157,751 (93.83%) 93.9% 94.6% 94.6%
ศาสนาอิสลาม 2,777,542 (4.56%) 5.2% 4.6% 4.2%
ศาสนาคริสต์ 486,840 (0.8%) 0.7% 0.7% 1.1%
ศาสนาฮินดู 52,631 (0.086%) 0.2% 0.1% 0.1%
ลัทธิขงจื๊อ 6,925 (0.011%)
ศาสนาอื่น ๆ 48,156 (0.079%)
ไม่มีศาสนา 164,396 (0.27%)
ไม่ทราบศาสนา 222,200 (0.36%) ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล

ร้อยละของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป จำแนกตามศาสนา และภาค พ.ศ. 2557[8][9]

ศาสนา กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ทั่วราชอาณาจักร
ศาสนาพุทธ 95.3% 97.2% 96.6% 99.4% 75.3% 94.6%
ศาสนาอิสลาม 2.9% 1.9% 0.1% 0.1% 24.5% 4.2%
ศาสนาคริสต์ 1.6% 0.9% 2.7% 0.5% 0.2% 1.1%
ศาสนาอื่น ๆ 0.2% - 0.6% - - 0.1%

อย่างไรก็ตามการสำรวจขององค์การพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และกลุ่มศาสนา ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010)[10] บ่งชี้ว่าประเทศไทยมีผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทประมาณ 85-95% ศาสนาอิสลามประมาณ 5-10% และศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาคริสต์ ลัทธิขงจื๊อ ศาสนาฮินดู ศาสนายูดาห์ ศาสนาซิกข์ ลัทธิเต๋า และไม่มีศาสนา รวมกันประมาณ 5% สำหรับผู้ที่ไม่มีศาสนากรมการศาสนาประมาณการว่ามีน้อยกว่า 1% ของประชากรทั้งประเทศ[11]

ศาสนาและภาครัฐ

นับแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา ฝ่ายอาณาจักรมีความสัมพันธ์กับฝ่ายศาสนจักรอย่างแน่นแฟ้น พระมหากษัตริย์ไทยและพระราชนิกุลทรงเป็นพุทธมามกะและหลายพระองค์ทรวงผนวชเป็นภิกษุ จึงมีการอุดหนุนค้ำจุนกันระหว่างสถาบันทั้งสองเรื่อยมา ในปัจจุบันกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่กำกับดูแลและรับรองกลุ่มศาสนาซึ่งรับรองเพียงห้าศาสนาหลักเท่านั้น และไม่รับรองกลุ่มศาสนาใดเพิ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา[11] กลุ่มศาสนาที่ได้รับการรับรองมีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนและสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษี ส่วนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ดูแลพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ทั้งสองหน่วยงานรับงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อใช้ในกิจการทางศาสนารวมกันกว่าสี่พันล้านบาทต่อปี[ต้องการอ้างอิง]

กระทรวงมหาดไทยเคยเก็บข้อมูลศาสนาและหมู่เลือดของคนไทยและพิมพ์ลงในบัตรประจำตัวประชาชน[12] แต่ปัจจุบันเลิกแล้ว[13] และศาสนาถือเป็นหนึ่งในข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร[14] ในใบสมัครงาน ใบสมัครเข้าเรียนในสถานศึกษา[15] หรือประวัติคนไข้ในโรงพยาบาล ในปัจจุบันนักเรียนในโรงเรียนรัฐที่นับถือศาสนาอื่นไม่ต้องสวดมนต์ไหว้พระหลังเคารพธงชาติทุกวัน[16] และวิชาพระพุทธศาสนาไม่ได้เป็นวิชาบังคับในหลักสูตรของโรงเรียนรัฐบาลทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาอีกต่อไป เนื่องด้วยนักวิชาการให้ความเห็นว่าเป็นความเชื่อส่วนบุคคลและขัดต่อหลักเสรีภาพในการนับถือศาสนา

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 รวมถึงรัฐธรรมนูญไทยฉบับก่อนหน้ารับรองเสรีภาพในการถือศาสนาของประชาชน[17] แต่บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก[18] และกำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐชัดเจนว่ารัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนาในมาตรา 79[19] แม้ว่าจะมีการเรียกร้องให้บัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวแต่ในที่สุดมาตรานี้มีความเพียงว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน" นอกจากรัฐธรรมนูญแล้วศาสนาในประเทศไทยยังได้รับการคุ้มครองโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งห้ามการกล่าวหมิ่นประมาทพุทธศาสนารวมถึงพระสงฆ์ และคุ้มครองศาสนสถานและศาสนพิธีของศาสนาอื่น ๆ ตามลำดับ[11]

ในทางปฏิบัติ

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

อิทธิพลของศาสนาและความเชื่อในประเทศไทยสะท้อนออกมาในหลากหลายรูปแบบ อาทิ ตราแผ่นดินหรือตราประจำหน่วยงานที่มักเป็นเทพเจ้าในศาสนพราหมณ์-ฮินดู การใช้ปีพุทธศักราช (แต่ยึดปฏิทินสุริยคติตามระบบเกรโกเรียน) การใส่ภาพวัดในพุทธศาสนาลงในเหรียญกษาปณ์และธนบัตร การตั้งศาลพระภูมิในหน่วยงานราชการ การบูชาพระรัตนตรัยก่อนเริ่มพิธีการ การกำหนดวันสำคัญในศาสนาพุทธเป็นวันหยุดราชการ รวมถึงรัฐพิธีที่เป็นความเชื่อทางศาสนาที่มีมาแต่โบราณ เช่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย

ศาสนาพุทธ

ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นพุทธศาสนิกชนนิกายเถรวาท ซึ่งในปัจจุบันศาสนาพุทธในประเทศไทยได้ผสมผสานเข้ากับความเชื่อพื้นบ้าน อย่างเช่น การตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ การถือฤกษ์ นอกจากนี้จำนวนประชากรชาวไทย-จีนขนาดใหญ่ที่อพยพเข้ามาในประเทศก็นับถือทั้งศาสนาพุทธและประเพณีดั้งเดิม[20] วัดพุทธในประเทศมีเอกลักษณ์ที่เจดีย์สีทองสูง และสถาปัตยกรรมพุทธในประเทศไทยคล้ายคลึงกับในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กัมพูชาและลาว ซึ่งมีภูมิหลังทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ร่วมกัน

ศาสนาอิสลาม

ชาวมุสลิมเป็นประชากรขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในประเทศไทย[20][11] ในบริเวณสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ตลอดจนบางส่วนของจังหวัดสงขลาและชุมพร มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ประกอบด้วยทั้งผู้ที่มีเชื้อสายไทยและมลายู คนส่วนใหญ่เชื่อกันว่าประชากรชาวมุสลิมส่วนใหญ่ของประเทศอาศัยอยู่มากที่สุดบริเวณนี้

อย่างไรก็ตามการวิจัยของกระทรวงการต่างประเทศ ชี้ว่า ชาวไทยมุสลิมเพียงร้อยละ 18 อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ ส่วนที่เหลือได้อาศัยอยู่กระจายกันไปทั่วประเทศ โดยมีอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครมากที่สุด และตลอดภาคใต้ของประเทศ ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2548 ชาวมุสลิมในภาคใต้ของประเทศคิดเป็นประชากรร้อยละ 30.4 ของประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ ในขณะที่มุสลิมในส่วนอื่นของประเทศกลับมีน้อยกว่าร้อยละ 3[ต้องการอ้างอิง]

ประชากรมุสลิมของไทยมีความหลากหลายและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยมีกลุ่มเชื้อชาติอพยพเข้ามาจากจีน ปากีสถาน กัมพูชา บังกลาเทศ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับชาวไทย ขณะที่มุสลิมในประเทศไทยราวสองในสามมีเชื้อสายมลายู

ศาสนาคริสต์

ศาสนาคริสต์มีประวัติศาสตร์ยาวนานในประเทศไทย ถูกนำเข้ามาเผยแผ่โดยมิชชันนารียุโรปตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา ประมาณคริสต์ทศวรรษ 1550 (พ.ศ. 2093) ศาสนาคริสต์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถาบันสังคม การศึกษา สาธารณสุข และเทคโนโลยี[21]

ปัจจุบันประเทศไทย มีองค์กรคริสตจักรที่กรมการศาสนารับรองอยู่ 5 องค์กร ได้แก่ สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย สภาคริสตจักรในประเทศไทย สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ และมูลนิธิคริสตจักรวันเสาร์แห่งประเทศไทย คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทั่วทุกจังหวัดในประเทศไทย มีจำนวนคริสต์ศาสนิกชนรวมกันราว 820,000 คน (อันดับที่ 3 ในประเทศไทย) ศาสนสถานรวมกันราว 5,500 แห่งทั่วประเทศ ประกอบด้วย 2 นิกาย ได้แก่ โปรเตสแตนต์ และโรมันคาทอลิก ส่วนนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ปกครองโดยมูลนิธิชาวคริสต์ศาสนิกชนดั้งเดิมออร์โธด็อกซ์ในประเทศไทย

ลัทธิอนุตตรธรรม

ลัทธิอนุตตรธรรมเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกราว พ.ศ. 2492[22] จากอาจารย์ในลัทธิที่ลี้ภัยจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนเข้ามาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ และได้ตั้งสถานธรรมแห่งแรกขึ้นในประเทศไทยช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 ต่อมามีลัทธิอนุตตรธรรมหลายสายเข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทยมากขึ้น ในปัจจุบันสายที่ใหญ่ที่สุดคือสายฟาอี ซึ่งประกอบด้วยหลายสายย่อย ที่สำคัญเช่น สายฟาอีฉงเต๋อซึ่งตั้งสถานธรรมแรกในปี พ.ศ. 2521 สายฟาอีหลิงอิ่นในปี พ.ศ. 2523 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสายเป่ากวงเจี้ยนเต๋อที่ตั้งสถานธรรมเทียนเป่าในปี พ.ศ. 2533

แม้ประชากรไทยส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ แต่มีพุทธศาสนิกชนชาวไทยจำนวนมากเข้าเป็นสมาชิกลัทธิอนุตตรธรรมเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นพุทธศาสนานิกายมหายานรูปแบบหนึ่ง จากข้อมูลของ World I-Kuan Tao Headquarters ที่เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2548 ระบุว่าลัทธิอนุตตรธรรมมีสมาชิกราว 1,000,000 คนในประเทศไทย ในจำนวนนี้มีพระราชวงศ์และข้าราชการระดับสูงรวมอยู่ด้วย[22]

อ้างอิง

  1. [1], สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2557, สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  2. [2], กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
  3. ประชากรจำแนกตามศาสนา หมวดอายุ เพศ และเขตการปกครอง สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2543, สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  4. [3], สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2551, สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  5. ร้อยละของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป เกี่ยวกับการนับถือศาสนาในประเทศไทย (ในหน้า6-8 สารสถิติ ปีที่ 23 ต.ค.-ธ.ค.2555 สำนักงานสถิติแห่งชาติ), สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2554, สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  6. [4], สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2557, สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  7. [5], แผนภูมิ 4.1 ร้อยละของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป จำแนกตามศาสนา และภาค พ.ศ. 2557, สำนักงานสถิติแห่งชาติ
  8. [6], สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2557, สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  9. [7], แผนภูมิ 4.1 ร้อยละของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป จำแนกตามศาสนา และภาค พ.ศ. 2557, สำนักงานสถิติแห่งชาติ
  10. [8] Section I. Religious Demography, THAILAND, สืบค้น 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 "International Religious Freedom Report, Thailand". US Department of State. 2549.
  12. กฎกระทรวงฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน
  13. ถาม-ตอบเรื่องบัตรประชาชน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  14. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 4
  15. ใบสมัครมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปีการศึกษา 2555
  16. [[:s:ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ_ว่าด้วยการสวดมนต์ไหว้พระของนักเรียน_พ.ศ._๒๕๐๓|]] ที่ วิกิซอร์ซ
  17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 3 มาตรา 37
  18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 9
  19. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 5 มาตรา 79
  20. 20.0 20.1 "CIA World Factbook: Thailand". Central Intelligence Agency. 8 February 2007. สืบค้นเมื่อ 1 March 2011.
  21. Catholic Encyclopedia Article
  22. 22.0 22.1 Joseph J. F. Chen. I-kuan Tao. Bloomington, Indiana : Authorhouse, ค.ศ. 2005. 191 หน้า. ISBN 1-4184-9516-6หน้า 84-90