ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าจิงกูจา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 39: บรรทัด 39:


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==
*เทปสนทนาเรื่อง วาระสุดท้าย...ของ อาณาจักรอยุธยาและราชวงศ์อลองพญา โดย ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ วีระ ธีรภัทร (เมษายน พ.ศ. 2544)
{{รายการอ้างอิง}}
*กระโดดขึ้น ↑ "The Konbaung Dynasty Genealogy: King Singu".
*https://th.wikisource.org สงครามครั้งที่ ๓๕ คราวพม่ายกกองทัพมา ๕ ทาง ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๒๘
*https://th.wikisource.org สงครามครั้งที่ ๓๕ คราวพม่ายกกองทัพมา ๕ ทาง ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๒๘



รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:05, 29 กันยายน 2560

พระเจ้าจิงกูจา
စဉ့်ကူးမင်း
พระมหากษัตริย์พม่า
เจ้าชายจิงกู
ครองราชย์10 มิถุนายน 1776 – 5 กุมภาพันธ์ 1782 (ถูกปลด)[1]
ราชาภิเษก23 ธันวาคม ค.ศ.1776
ก่อนหน้าพระเจ้ามังระ
รัชกาลถัดไปพระเจ้าหม่องหม่อง
ประสูติ10 พฤษภาคม ค.ศ. 1756(1756-05-10)
อังวะ
สวรรคต14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1782(1782-02-14) (25 ปี)
อังวะ
ชายาชิน มิน
พระชายาอีก 13 พระองค์
พระราชบุตร6 ราชบุตร, 6 ราชธิดา
พระนามเต็ม
มิน เย ฮลา
ราชวงศ์ราชวงศ์คองบอง
พระราชบิดาพระเจ้ามังระ
พระราชมารดาเม ฮลา
ศาสนาพุทธศาสนา

พระเจ้าจิงกูจา (อังกฤษ: Singu Min,พม่า: စဉ့်ကူးမင်း) พระโอรสของพระเจ้ามังระ ขึ้นครองราชย์ด้วยพระชันษาเพียง 20 ปี ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้ามังระ พระเจ้าจิงกูจา ได้ทำการปราบบรรดาผู้ที่ต่อต้านน้อยใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยเชื้อพระวงศ์ พระญาติ และเหล่าขุนนางด้วยวิธีการที่เด็ดขาด คือ ประหารชีวิตเสียหลายคน และหลายคนก็ถูกลดอำนาจหรือส่งไปอยู่หัวเมืองที่ห่างไกล เช่น พระเจ้าปดุง ทรงถูกส่งให้ไปครองเมืองสะกายและมีผู้ทำการควบคุมอีกชั้นหนึ่ง เมื่อได้อำนาจมาพระองค์ก็ทรงปลดอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพคู่บารมีของพระเจ้ามังระพระราชบิดาของพระองค์ลง ทั้งที่แม่ทัพเฒ่าผู้นี้ยกกองทัพกลับมาจากการตีกรุงธนบุรี เพื่อมาควบคุมสถานะการในกรุงอังวะจนเรียบร้อยและมอบพระราชอำนาจเต็มแก่พระองค์ ซึ่งหากวิเคราะห์แล้วก็อาจเป็นเพราะอะแซหวุ่นกี้มีอำนาจและบารมีทางการทหารมากเกินไป รวมไปถึงแม่ทัพ ขุนนางเก่าในพระเจ้ามังระพระองค์ก็ทรงปลดทิ้งเสียจากตำแหน่งลงไปอีกหลายคน ซึ่งการใช้พระเดชเช่นนี้ทำให้ระหว่างการครองราชย์ผู้คนรอบตัวต่างหวาดระแวงภัยที่อาจมาถึงตัวเมื่อใดก็ได้

ในที่สุดหลังจากพระเจ้าจิงกูจาครองราชย์เพียง 5 ปี ก็ถูกเชื้อพระวงศ์พระองค์หนึ่ง คือ หม่องหม่อง โอรสของพระเจ้ามังลอก ทำการรัฐประหารยึดพระราชวัง ในระหว่างที่พระองค์เสด็จไปสักการะพระพุทธรูปสิงหดอที่ทางเหนือ โดยความช่วยเหลือของขุนนางและเชื้อพระวงศ์หลายคน (เชื่อว่ารวมทั้งอะแซหวุ่นกี้ที่ทนต่อการบริหารราชการของพระองค์ไม่ได้) แต่แรกพระเจ้าจิงกูจาคิดจะหนีไปอาศัยอยู่เมืองกะแซ แต่เป็นห่วงนางราชชนนีจึงลอบลงมาใกล้เมืองอังวะ แล้วมีหนังสือเข้าไปทูลให้ทราบว่าจะหนีไปเมืองกะแซ

พระราชชนนีให้มาห้ามปรามว่า

"ลูกเกิดมาอย่างพระมหากษัตริย์ หากจะตายก็จงตายอย่างพระมหากษัตริย์เถิด" ที่จะหนีไปพึ่งใบบุญเมืองน้อยของผู้อื่นนั้นไม่ควร พระเจ้าจิงกูจาจึงได้สติ เกิดความองอาจ แกล้วกล้า ทรงเดินนำเหล่าข้าราชบริพารกลับมา ประหนึ่งเสด็จกลับจากการประพาส คืนสู่พระนคร พวกพลไพร่ที่รักษาประตูเมืองเห็นพระเจ้าจิงกูจา เสด็จกลับมาโดยไม่หวาดหวั่นต่อภัยอันตราย ก็พากันเกรงกลัวในพระบรมเดชานุภาพ ไม่มีใครกล้าจับหรือต่อสู้ แม้เสด็จเข้ามาในตัวเมืองแล้วก็ไม่มีใครต้านทานพระบรมเดชานุภาพของพระองค์เลย พออะตวนหวุ่นซึ่งมีศักดิ์เป็นพ่อตาคนหนึ่งของพระองค์ทราบเข้า ก็เกิดบัลดาลโทสะ เนื่องจากพระองค์เคยเมามายแล้วฆ่าพระสนมเอกลูกสาวของอะตวนหวุ่น เขาจึงคุมรี้พลของตน มาล้อมจับพระเจ้าจิงกูจา จากนั้นอะตวนหวุ่นจึงลงมือสังหารพระเจ้าจิงกูจาสิ้นพระชนม์ที่เมืองอังวะนี้เอง พอพระเจ้าปดุงซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของพระเจ้าจิงกูจาทราบความว่าอะตวนหวุ่นฆ่าพระเจ้าจิงกูจาก็ทรงพระพิโรธเป็นอย่างมาก เนื่องจากควรนำตัวมาถวายโดยละม่อม ไม่ควรจะฆ่าฟันเจ้านายโดยพลการ ให้เอาตัวอะตวนหวุ่นไปประหารชีวิตเสีย พระเจ้าจิงกูจาอยู่ในราชสมบัติได้ 5 ปีเศษก็สวรรคตที่เมืองอังวะนี้เอง

พระเจ้าจิงกูจา มีชื่อเรียกในภาษาพม่าว่า "เซงกูเมง"[2][3]

อ้างอิง

  • เทปสนทนาเรื่อง วาระสุดท้าย...ของ อาณาจักรอยุธยาและราชวงศ์อลองพญา โดย ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ วีระ ธีรภัทร (เมษายน พ.ศ. 2544)
  • กระโดดขึ้น ↑ "The Konbaung Dynasty Genealogy: King Singu".
  • https://th.wikisource.org สงครามครั้งที่ ๓๕ คราวพม่ายกกองทัพมา ๕ ทาง ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๒๘
ก่อนหน้า พระเจ้าจิงกูจา ถัดไป
พระเจ้ามังระ พระมหากษัตริย์พม่า
(อาณาจักรพม่ายุคที่ 3)

(พ.ศ. 2319 - พ.ศ. 2325)
พระเจ้าหม่องหม่อง
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cb-3
  2. เทปสนทนาเรื่อง วาระสุดท้าย...ของ อาณาจักรอยุธยาและราชวงศ์อลองพญา โดย ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ วีระ ธีรภัทร (เมษายน พ.ศ. 2544)
  3. "The Konbaung Dynasty Genealogy: King Singu".