ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บัสรา"

พิกัด: 30°30′N 47°49′E / 30.500°N 47.817°E / 30.500; 47.817
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Char au (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox settlement |official_name = บาสรา |other_name = บัศเราะห์ |native_name = البصرة |native_name_...
 
Char au (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 59: บรรทัด 59:
}} <!-- Infobox ends -->
}} <!-- Infobox ends -->


'''บาสรา''' หรือ '''บัศเราะห์''' ({{lang-ar|البصرة}} ''อัล-บัศเราะห์'') เป็นเมืองหรืออำเภอเอกของจังหวัดบัศเราะฮ์ [[ประเทศอิรัก]] ตั้งในเขตชะฏอลอะร็อบ หรือ[[ชัตต์อัลอาหรับ]] ริม[[อ่าวเปอร์เซีย]] เป็นที่ตั้งของมัสยิดแห่งแรกนอกคาบสมุทรอาระเบีย และศูนย์กีฬาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง คือ [[บาสราสปอร์ตซิตี]] ตัวเมืองอยู่ระหว่าง[[ประเทศคูเวต]]และ[[ประเทศอิหร่าน]] ชื่อเมืองมาจากคำภาษาอาหรับ بصر (บัศร์) หรือการแลเห็น เนื่องจากเมืองนี้เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล แต่ไม่มีท่าเรือน้ำลึกเหมือนเมืองอุมกัศร์ (أم قصر) ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลอิรักกำหนดให้เมืองบัศเราะฮ์เป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญ<ref name="Iraqi Parliament passes motion">{{cite web|title=Iraqi parliament recognizes Basra as economic capital|url=https://search4dinar.wordpress.com/2017/04/27/iraqi-parliament-recognizes-basra-as-economic-capital/}}</ref>
'''บาสรา''' หรือ '''บัศเราะห์''' ({{lang-ar|البصرة}} ''อัล-บัศเราะห์'') เป็นเมืองหรืออำเภอเอกของจังหวัดบัศเราะห์ [[ประเทศอิรัก]] ตั้งในเขตชะฏอลอะร็อบ หรือ[[ชัตต์อัลอาหรับ]] ริม[[อ่าวเปอร์เซีย]] เป็นที่ตั้งของมัสยิดแห่งแรกนอกคาบสมุทรอาระเบีย และศูนย์กีฬาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง คือ [[บาสราสปอร์ตซิตี]] ตัวเมืองอยู่ระหว่าง[[ประเทศคูเวต]]และ[[ประเทศอิหร่าน]] ชื่อเมืองมาจากคำภาษาอาหรับ بصر (บัศร์) หรือการแลเห็น เนื่องจากเมืองนี้เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล แต่ไม่มีท่าเรือน้ำลึกเหมือนเมืองอุมกัศร์ (أم قصر) ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลอิรักกำหนดให้เมืองบัศเราะฮ์เป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญ<ref name="Iraqi Parliament passes motion">{{cite web|title=Iraqi parliament recognizes Basra as economic capital|url=https://search4dinar.wordpress.com/2017/04/27/iraqi-parliament-recognizes-basra-as-economic-capital/}}</ref>


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:51, 17 กันยายน 2560

บาสรา

البصرة

บัศเราะห์
เมืองบัศเราะห์
เมืองบัศเราะห์
สมญา: 
เวนิสตะวันออก[1]
ตั้งเมื่อพ.ศ.1179
พื้นที่
 • ตัวเมือง50−75 ตร.กม. (21 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล181 ตร.กม. (70 ตร.ไมล์)
ความสูง5 เมตร (16 ฟุต)
เขตเวลา+3 GMT
รหัสพื้นที่(+964) 40
เว็บไซต์http://www.basra.gov.iq/

บาสรา หรือ บัศเราะห์ (อาหรับ: البصرة อัล-บัศเราะห์) เป็นเมืองหรืออำเภอเอกของจังหวัดบัศเราะห์ ประเทศอิรัก ตั้งในเขตชะฏอลอะร็อบ หรือชัตต์อัลอาหรับ ริมอ่าวเปอร์เซีย เป็นที่ตั้งของมัสยิดแห่งแรกนอกคาบสมุทรอาระเบีย และศูนย์กีฬาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง คือ บาสราสปอร์ตซิตี ตัวเมืองอยู่ระหว่างประเทศคูเวตและประเทศอิหร่าน ชื่อเมืองมาจากคำภาษาอาหรับ بصر (บัศร์) หรือการแลเห็น เนื่องจากเมืองนี้เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล แต่ไม่มีท่าเรือน้ำลึกเหมือนเมืองอุมกัศร์ (أم قصر) ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลอิรักกำหนดให้เมืองบัศเราะฮ์เป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญ[2]

ประวัติ

ตลาดอะชัร ประมาณ พ.ศ.2458

เมืองบัศเราห์ตั้งขึ้นราว ๆ พ.ศ. 1179 ในเวลานั้นเป็นเพียงค่ายพักสำหรับชนเผ่าอาหรับ ต่อมาเคาะลีฟะห์อุมัรแห่งรอชิดูน ตั้งเมืองนี้ขึ้นโดยแบ่งออกเป็นห้าตำบลด้วยกัน มีอะบู มูซา อัลอัชอะรี (أبو موسى الأشعري‎‎) เป็นเจ้าเมืองซึ่งยึดดินแดนจากคูซิสตาน (خوزستان) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศอิหร่าน ต่อมาเมื่อเคาะลีฟะห์อุษมานครองตำแหน่ง เมืองนี้จึงถูกยกสถานะเป็นเมืองหน้าด่าน และตั้งให้อับดุลลอห์ อิบนุลอะมีร์เป็นเจ้าเมือง ต่อมาเจ้าเมืองบัศเราะห์ได้โจมตีทำลายล้างกองทัพพระเจ้ายัซดิญะริดที่สาม (يزدجرد الثالث, ยัซดิญะริด อัษษาลิษ) กษัตริย์ราชวงศ์ซาซานียะห์ ซึ่งนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ ล่วงปี พ.ศ. 1199 อุษมานถูกสังหาร และอะลีขึ้นครองตำแหน่งเคาะลีฟะห์ อะลีได้ตั้งให้อุษมาน อิบนุลหะนิฟ เป็นเจ้าเมือง และต่อมาก็เปลี่ยนเป็นอับดุลลอห์ อิบนุลอับบาส จวบจนถึงการวายชนม์ของอะลีเอง อันเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์รอชิดูน ต่อมาเมื่อรัฐคอลีฟะห์อุมัยยะห์มีอำนาจ มีอับดุลลอห์ ผู้นำทหารที่ไร้ความสามารถทางปกครองเป็นเจ้าเมือง ต่อมามุอาวิยะห์สั่งถอดอับดุลลอห์ออกแล้วเปลี่ยนเป็นซิยาด บิน อะบีซุฟยาน (زياد بن أبي سفيان) ผู้ปกครองด้วยความโหดร้ายเป็นเจ้าเมือง ครั้นซิยาดถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.1207 อุบัยดุลลอห์ อิบนุลซิยาด (عبيد الله بن زياد‎‎) บุตรของซิยาดขึ้นครองอำนาจ ระหว่างนั้นเองฮุซัยน์บุตรอะลี ในฐานะหลานของศาสดามุฮัมมัดได้รับความนิยมจากปวงชนทั้งหลายขึ้นมาก อุบัยดุลลอห์จึงเข้ายึดเมืองกูฟะห์ ฮุซัยน์ส่งมุสลิม อิบน์ อะกีล (مسلم بن عقيل) ไปเป็นทูต แต่กลับถูกประหารชีวิตจนเกิดยุทธการกัรบะลาอ์ขึ้น ผลของการยุทธในครั้งนั้นทำให้ฮุซัยน์และพรรคพวกถูกตัดศีรษะทั้งหมดจนเกิดพิธีอัรบะอีนขึ้นจนถึงทุกวันนี้ แต่กาลต่อมาราชวงศ์อุมัยยะห์ล่มสลายลงโดยการปฏิวัติ

ล่วงสมัยอับบาซียะห์ บัศเราะห์เป็นศูนย์กลางการศึกษา อาทิ เป็นเมืองที่อยู่ของอิบนุลฮัยษัม อัล-ญาฮิซ เราะบีอะห์แห่งบัศเราะห์ รวมถึงนักวิชาการนานาสาขาวิชา ผ่านยุครุ่งเรืองไปไม่นาน เมืองบัศเราะห์ก็ถูกปล้นสะดมโดยกบฏซันจญ์ (ثورة الزنج‎‎, เตาเราะตุลซันจญ์) ในปี พ.ศ.1414[3] และถูกทำลายล้างโดยกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงเกาะรอมิเฎาะห์ (قرامطة‎‎) ในปี พ.ศ.1466[4] ต่อมาราชวงศ์บูญิฮียะห์ (بويهية) ซึ่งเป็นราชวงศ์อิหร่านนับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ เข้ายึดครองเมืองบัศเราะห์รวมถึงเมืองบัฆดาด และประเทศอิรักส่วนใหญ่อีกด้วย ล่วงปี พ.ศ.2206 จักรวรรดิอุษมานียะห์ยึดเมืองบัศเราะห์ได้ โดยระหว่าง พ.ศ.2318-2322 ราชวงศ์ซันดียะห์ (زندية) เข้ายึดเมืองเป็นระยะเวลาสั้น ๆ สารานุกรมบริตานิกา รายงานว่าในปี พ.ศ.2454 มีประชาชนชาวยิวประมาณ 4000 คน และชาวคริสต์อีก 6000 คน อาศัยในเมือง[5] ต่อมาเข้าสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อังกฤษยึดเมืองบัศเราะห์จากจักรวรรดิอุษมานียะห์ได้ แล้วจัดผังเมืองให้ดีกว่าที่เป็นอยู่

ราวปี พ.ศ.2490 ประชากรในเมืองบัศเราะห์มีจำนวน 101,535 คน[6] สิบปีให้หลังประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 219,167 คน[7] จึงได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยบัศเราะห์ขึ้นในปี พ.ศ.2507 ประชากรที่มีอยู่แล้วก็เพิ่มจำนวนเรื่อยมา ต่อมาเกิดสงครามอิรัก-อิหร่าน ขึ้น จนประชากรลดลงมาก ระหว่างนี้เองมียุทธการที่สำคัญ อาทิ ปฏิบัติการเราะมะฎอน และปฏิบัติการกัรบะลาอ์ 5 ศอดดาม ฮุซัยน์ ก็ขึ้นครองอำนาจกดขี่ประชาชน แม้จะมีการกบฏสักเท่าใด ศอดดามก็ใช้ความรุนแรงจัดการทั้งหมด

ล่วงเข้าสงครามอิรักเมื่อปี พ.ศ.2546 เมืองบัศเราะห์ถูกกองทัพสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรยึดใช้เป็นฐานทำการ เมื่อวันที่ 21 เมษายนปีถัดมา มีการทิ้งระเบิดทั่วเมืองจนมีคนตายไป 74 คน ในใจกลางเมืองมีกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลอิรักอยู่อย่างเหนียวแน่นแม้ว่าจะมีการต่อต้านโดยกลุ่มมุสลิมนิกายซุนนีและชาวเคิร์ด ในการนี้มีผู้สื่อข่าวถูกลักพาตัวและสังหารด้วย[8] ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ.2548 ทหารกรมอากาศโยธินแห่งสหราชอาณาจักรสองนายปลอมตนเป็นพลเรือนชาวอาหรับ เมื่อถูกตรวจค้นโดยด่านตรวจ ทหารทั้งสองก็ยิงตำรวจได้รับบาดเจ็บเสียชีวิตและถูกจับกุมส่งเรือนจำจังหวัดบัศเราะห์ เป็นผลให้กองทัพอังกฤษตัดสินใจบุกเรือนจำเพื่อช่วยเหลือ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก[9][10] ล่วง พ.ศ.2550 อำนาจการปกครองทั้งหมดกลับคืนสู่รัฐบาลอิรักหลังจากที่ศอดดาม ฮุซัยน์ ถูกประหารชีวิต[11] เมืองได้รับความเสียหายอย่างมาก แต่ก็ถูกฟื้นฟูขึ้นมาในภายหลังจนกระทั่งมีศูนย์กีฬาบาสราสปอร์ตซิตี

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

ศูนย์การค้าบาสราไทม์สแควร์

เมืองบัศเราะห์ตั้งอยู่ในเขตชะฎอลอะร็อบ หรือบริเวณที่แม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีสบรรจบกัน บริเวณเมืองประกอบไปด้วยคลองชลประทานทำให้เอื้อต่อการทำเกษตรกรรม และในอดีตก็ใช้ในการขนส่งสินค้าด้วย ตัวเมืองตั้งห่างจากอ่าวเปอร์เซียประมาณ 110 km (68 mi) สภาพภูมิอากาศเป็นเขตทะเลทรายร้อน หรือ BWh ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน ซึ่งคล้ายกับบริเวณข้างเคียง ถึงกระนั้นตัวเมืองมีฝนตกมากกว่าพื้นที่ตอนในแผ่นดิน ระหว่างช่วงฤดูร้อน คือเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม อุณหภูมิจะขึ้นสูงถึง 50 °C (122 °F) ส่วนในฤดูหนาวจะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยที่ 20 °C (68 °F) ในบางคืนของฤดูหนาว อุณหภูมิอาจลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง

ข้อมูลภูมิอากาศของบัศเราะห์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 34
(93)
29
(84)
39
(102)
42
(108)
48
(118)
51
(124)
54
(129)
51
(124)
49
(120)
43
(109)
37
(99)
30
(86)
54
(129)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 17.7
(63.9)
20.0
(68)
24.5
(76.1)
30.6
(87.1)
36.8
(98.2)
39.7
(103.5)
41.3
(106.3)
41.8
(107.2)
39.9
(103.8)
34.9
(94.8)
27.1
(80.8)
20.3
(68.5)
31.22
(88.19)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 12.2
(54)
14.2
(57.6)
18.3
(64.9)
23.9
(75)
30.2
(86.4)
32.9
(91.2)
34.3
(93.7)
33.9
(93)
31.2
(88.2)
26.4
(79.5)
20.4
(68.7)
14.5
(58.1)
24.37
(75.86)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 6.8
(44.2)
8.4
(47.1)
12.2
(54)
17.2
(63)
23.6
(74.5)
26.2
(79.2)
27.4
(81.3)
26.1
(79)
22.6
(72.7)
18.0
(64.4)
13.7
(56.7)
8.7
(47.7)
17.58
(63.64)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -1
(30)
-5
(23)
3
(37)
8
(46)
16
(61)
16
(61)
18
(64)
21
(70)
9
(48)
12
(54)
3
(37)
-6
(21)
−6
(21)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 31
(1.22)
21
(0.83)
19
(0.75)
17
(0.67)
5
(0.2)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
3
(0.12)
23
(0.91)
33
(1.3)
152
(5.98)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 6 5 5 4 2 0 0 0 0 1 4 5 32
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 186 198 217 248 279 330 341 310 300 279 210 186 3,084
แหล่งที่มา 1: Climate-Data.org[12]
แหล่งที่มา 2: Weather2Travel for rainy days and sunshine[13]

อ้างอิง

  1. Sam Dagher (18 September 2007). "In the 'Venice of the East,' a history of diversity". The Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 2 January 2014.
  2. "Iraqi parliament recognizes Basra as economic capital".
  3. Andre Wink, Al-Hind: The Making of the Indo-Islamic World, Vol.2, (Brill, 2002), 17.  – โดยทาง Questia (ต้องรับบริการ)
  4. Andre Wink, Al-Hind: The Making of the Indo-Islamic World, Vol.2, 17.  – โดยทาง Questia (ต้องรับบริการ)
  5.  "Basra" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 3 (11 ed.). 1911. p. 489.
  6. "Population of capital city and cities of 100,000 or more inhabitants". Demographic Yearbook 1955. New York: Statistical Office of the United Nations.
  7. "National Intelligence Survey. Iraq. Section 41, Population" (PDF). CIA. 1960.
  8. "Steven Vincent". Committee to Protect Journalists. 2005.
  9. "UK soldiers 'freed from militia'". BBC. 20 September 2005. สืบค้นเมื่อ 17 March 2012.
  10. "British smash jail walls to free 2 arrested soldiers". San Francisco Gate. 20 September 2005. สืบค้นเมื่อ 17 March 2012.
  11. "UK troops return Basra to Iraqis". BBC News. 16 December 2007. สืบค้นเมื่อ 1 January 2010.
  12. "Climate: Basra - Climate graph, Temperature graph, Climate table". Climate-Data.org. สืบค้นเมื่อ 22 August 2013.
  13. "Basra Climate and Weather Averages, Iraq". Weather2Travel. สืบค้นเมื่อ 22 August 2013.
  • Hallaq, Wael. The Origins and Evolution of Islamic Law. Cambridge University Press, 2005
  • Hawting, Gerald R. The First Dynasty of Islam. Routledge. 2nd ed, 2000
  • Madelung, Wilferd. "Abd Allah b. al-Zubayr and the Mahdi" in the Journal of Near Eastern Studies 40. 1981. pp. 291–305.
  • Vincent, Stephen. Into The Red Zone: A Journey Into the Soul of Iraq. ISBN 1-890626-57-0.

แหล่งข้อมูลอื่น

30°30′N 47°49′E / 30.500°N 47.817°E / 30.500; 47.817