ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมโยธาธิการและผังเมือง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7203669 สร้างโดย 110.169.31.8 (พูดคุย)
บรรทัด 53: บรรทัด 53:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
กรมโยธาธิการ เริ่มมีการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ [[29 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2432]] ในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] กระทั่งในปี พ.ศ. 2435 ได้รับการยกฐานะเป็น "กระทรวงโยธาธิการ" ในปี พ.ศ. 2441 ได้มีการโอนกรมโยธาธิการ จากกระทรวงโยธาธิการไปรวมอยู่ในกรมสุขาภิบาล [[กระทรวงนครบาล]] และเปลี่ยนชื่อกรมสุขาภิบาล เป็นกรมนคราทร ไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2465 และเปลี่ยนชื่อเป็น กรมโยธาเทศบาล ในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]] กระทั่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น กรมโยธาธิการ อีกครั้งหนึ่ง
กรมโยธาธิการ เริ่มมีการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ [[29 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2432]] ในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] กระทั่งในปี พ.ศ. 2435 ได้รับการยกฐานะเป็น "กระทรวงโยธาธิการ" ในปี พ.ศ. 2441 ได้มีการโอนกรมโยธาธิการ จากกระทรวงโยธาธิการไปรวมอยู่ในกรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล และเปลี่ยนชื่อกรมสุขาภิบาล เป็นกรมนคราทร ไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2465 และเปลี่ยนชื่อเป็น กรมโยธาเทศบาล ในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]] กระทั่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น กรมโยธาธิการ อีกครั้งหนึ่ง


สำนักผังเมือง ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2505]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2505/A/089/55.PDF พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๐๕]</ref> และเปลี่ยนชื่อเป็น กรมการผังเมือง เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 จนกระทั่งมีการปฏิรูประบบราชการ เมื่อวันที่ [[3 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2545]] <ref>[http://www.opdc.go.th/uploads/files/law/law_ministry_2545%285%29.pdf พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕]</ref> จึงได้รวมภารกิจของกรมโยธาธิการ และกรมการผังเมืองเข้าด้วยกัน เป็น '''"กรมโยธาธิการและผังเมือง"''' สังกัดกระทรวงมหาดไทย
สำนักผังเมือง ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2505]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2505/A/089/55.PDF พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๐๕]</ref> และเปลี่ยนชื่อเป็น กรมการผังเมือง เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 จนกระทั่งมีการปฏิรูประบบราชการ เมื่อวันที่ [[3 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2545]] <ref>[http://www.opdc.go.th/uploads/files/law/law_ministry_2545%285%29.pdf พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕]</ref> จึงได้รวมภารกิจของกรมโยธาธิการ และกรมการผังเมืองเข้าด้วยกัน เป็น '''"กรมโยธาธิการและผังเมือง"''' สังกัดกระทรวงมหาดไทย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:01, 9 กันยายน 2560

กรมโยธาธิการและผังเมือง
(Department of Public Works and Town & Country Planning)
ตรากรมโยธาธิการและผังเมือง
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
หน่วยงานก่อนหน้า
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่218/1 ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
งบประมาณประจำปี25,121.8983 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • มณฑล สุดประเสริฐ, อธิบดี
  • ศิระภา วาระเลิศ, รองอธิบดี
  • โอฬาร ศักยโรจน์กุล, รองอธิบดี
  • สมชาย เมธวัฒน์ธรากุล, รองอธิบดี
  • พิชัย อุทัยเชฏฐ์, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย
เว็บไซต์http://www.dpt.go.th

กรมโยธาธิการและผังเมือง (อังกฤษ: Department of Public Works and Town & Country Planning) เป็นหน่วยงานราชการสังกัดในกระทรวงมหาดไทย ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 จากการรวมกรมโยธาธิการ และกรมการผังเมือง

กรมโยธาธิการและผังเมือง มีภารกิจในด้านการผังเมือง การโยธาธิการ การออกแบบก่อสร้างและควบคุมการก่อสร้างอาคาร ดำเนินการและสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาเมือง พื้นที่ และชนบท กำหนดและกำกับดูแลนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน การตั้งถิ่นฐานและโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการกำหนดคุณภาพ และมาตรฐานการก่อสร้าง ด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการผังเมือง เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี เกิดมาตรฐานความปลอดภัย มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และจัดการสิ่งปลูกสร้างตามระบบการผังเมืองที่ดี

ประวัติ

กรมโยธาธิการ เริ่มมีการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2432 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทั่งในปี พ.ศ. 2435 ได้รับการยกฐานะเป็น "กระทรวงโยธาธิการ" ในปี พ.ศ. 2441 ได้มีการโอนกรมโยธาธิการ จากกระทรวงโยธาธิการไปรวมอยู่ในกรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล และเปลี่ยนชื่อกรมสุขาภิบาล เป็นกรมนคราทร ไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2465 และเปลี่ยนชื่อเป็น กรมโยธาเทศบาล ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล กระทั่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น กรมโยธาธิการ อีกครั้งหนึ่ง

สำนักผังเมือง ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505[2] และเปลี่ยนชื่อเป็น กรมการผังเมือง เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 จนกระทั่งมีการปฏิรูประบบราชการ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 [3] จึงได้รวมภารกิจของกรมโยธาธิการ และกรมการผังเมืองเข้าด้วยกัน เป็น "กรมโยธาธิการและผังเมือง" สังกัดกระทรวงมหาดไทย

ตราสัญลักษณ์

ตราสัญลักษณ์เป็นรูปวงกลม ประกอบด้วยเทพในศาสนาพราหมณ์ 4 องค์ คือ พระพรหม พระนารายณ์ พระศิวะ และพระพิฆเนศวร ด้านล่างมีชื่อ กรมโยธาธิการและผังเมือง ในกรอบวงกลมประกอบด้วยลวดลายไทย

ไฟล์:DPT logo.jpg
ตราสัญลักษณ์กรมโยธาธิการและผังเมือง

การแบ่งส่วนราชการ

กรมโยธาธิการและผังเมือง แบ่งส่วนราชการออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

ก. ราชการบริหารส่วนกลาง

  1. สำนักงานเลขานุการกรม
  2. กองการเจ้าหน้าที่
  3. กองคลัง
  4. กองแผนงาน
  5. กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
  6. กองนิติการ
  7. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
  8. สถาบันพัฒนาบุคลกรด้านการพัฒนาเมือง
  9. สำนักควบคุมการก่อสร้าง
  10. สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร
  11. สำนักผังประเทศและผังภาค
  12. สำนักผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ
  13. สำนักพัฒนามาตรฐาน
  14. สำนักวิศวกรรมการผังเมือง
  15. สำนักวิศวกรรมโครงสร้างและงานระบบ
  16. สำนักสถาปัตยกรรม
  17. สำนักสนับสนุนและพัฒนาตามผังเมือง
  18. กองออกแบบก่อสร้างพลับพลาพิธีและโครงการพิเศษ
  19. กองวิเคราะห์วิจัยและทดสอบวัสดุ[4]

ข. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค

  1. สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด

อำนาจและหน้าที่

  1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน กฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชนและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  2. วางและจัดทำผังเมืองประเภทอื่นๆ ตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย หรือตามที่ส่วนราชการอื่นร้องขอ และดำเนินการให้เป็นไปตามผังเมืองนั้นๆ
  3. ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
  4. ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางผัง วิจัย การติดตามประเมินผล และพัฒนามาตรฐานด้านการผังเมืองและโยธาธิการ รวมทั้งการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานและคู่มือด้านการผังเมืองและโยธาธิการ
  5. ดำเนินการเกี่ยวกับการวางผัง ออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง บูรณะเมืองหรืออาคาร และสิ่งก่อสร้างของหน่วยงานของรัฐ
  6. ให้บริการและคำปรึกษาเกี่ยวกับงานออกแบบ งานก่อสร้าง และงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมแก่หน่วยงานต่างๆ
  7. ดำเนินการเกี่ยวกับการออกแบบ การก่อสร้างและควบคุมอาคารก่อสร้างอาคารและโครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งการบูรณะและบำรุงรักษา
  8. ดำเนินการประสาน กำกับดูแล สนับสนุนและพัฒนาให้เป็นไปตามผังเมือง รวมทั้งกำกับตรวจสอบการใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
  9. ดำเนินการพัฒนาระบบและบริหารข้อมูลการผังเมืองและโยธาธิการ
  10. ดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรของกรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งหน่วยงานอื่นด้านการผังเมืองและโยธาธิการ
  11. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

อ้างอิง