ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 54: บรรทัด 54:


== ประวัติศาสตร์ ==
== ประวัติศาสตร์ ==
ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นหลัง[[การปฏิรูปเมจิ]] เช่นเดียวกับสถาบันสมัยใหม่ของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ก่อนหน้าการปฏิรูป ที่ดินศักดินา (fief) ของญี่ปุ่นทั้งหลายต่างออกเงินตราของตัวเอง เรียกว่า ฮันซัตสุ (hansatsu) ซึ่งเป็นระเบียบหน่วยเงินที่เข้ากันไม่ได้ แต่พระราชบัญญัติเงินตราใหม่แห่งปีเมจิที่ 4 (ค.ศ. 1871) ยกเลิกระบบเหล่านี้ และสถาปนาเงินสกุล[[เยน]] เป็นเงินตราระบบทศนิยมใหม่ คล้ายกันกับเงินดอลล่าร์เงินของ[[เม็กซิโก]]<ref>Nussbaum, "Banks" at {{Google books|p2QnPijAEmEC|p. 69.|page=69}}</ref> ระบบฮัน (han) กลายมาเป็น[[จังหวัดในประเทศญี่ปุ่น|จังหวัด]] และโรงกษาปณ์ในดินแดนต่าง ๆ กลายมาเป็นธนาคารที่เอกชนเป็นผู้ถือใบอนุญาต ซึ่ง อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกธนาคารเหล่านี้ยังมีสิทธิที่จะพิมพ์เงินออกมาอยู่ มีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งที่รัฐบาลกลางและที่เรียกว่า ธนาคาร "แห่งชาติ" เหล่านี้ได้ออกเงินตรา ช่วงแห่งผลสืบเนื่องที่ผิดคาดนี้สิ้นสุดลงเมื่อธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นถูกก่อตั้งขึ้นในปีเมจิที่ 15 (ค.ศ. 1882) ตามแบบของ[[เบลเยียม]] และได้ถือครองบางส่วนโดยเอกชนนับแต่นั้น<ref>Vande Walle, Willy ''et al.'' [http://www.researchportal.be/en/project/institutions-and-ideologies-the-modernization-of-monetary-legaland-law-enforcement-regimes-in-japan-in-the-early-meiji-period-1868-1889--(KUL_3H030060)/ "Institutions and ideologies: the modernization of monetary, legal and law enforcement 'regimes' in Japan in the early Meiji-period (1868-1889)"] (abstract). FRIS/Katholieke Universiteit Leuven, 2007.</ref> มีการปรับเปลี่ยนอีกหลายครั้งยึดตามธนาคารกลางของประเทศอื่น ซึ่งแวดล้อมภายในระเบียบข้อบังคับที่ธนาคารจัดตั้งขึ้น<ref>Longford, Joseph Henry. (1912). [http://books.google.com/books?id=rpRFAAAAIAAJ&pg=PA293&dq=bank+of+Japan&client=firefox-a#PPA289,M1 ''Japan of the Japanese,'' p. 289.]</ref> สถาบันได้รับการผูกขาดการควบคุมปริมาณเงินใน ค.ศ. 1884 แต่ต้องรอหลังจากนั้นอีก 20 ปี ก่อนที่ธนบัตรที่ออกไปก่อนหน้านี้จะหมดอายุ<ref>Cargill, Thomas ''et al.'' (1997). [http://books.google.com/books?id=f3s47HWB8g8C&pg=PA197&dq=bank+of+Japan&client=firefox-a#PPA10,M1 ''The political economy of Japanese monetary policy,'' p. 10.]</ref>
ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นหลัง[[การปฏิรูปเมจิ]] เช่นเดียวกับสถาบันสมัยใหม่ของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ก่อนหน้าการปฏิรูป [[ที่ดินศักดินา]] ([[fief]]) ของญี่ปุ่นทั้งหลายต่างออกเงินตราของตัวเอง เรียกว่า ฮันซัตสุ ([[hansatsu]]) ซึ่งเป็นระเบียบหน่วยเงินที่เข้ากันไม่ได้ แต่พระราชบัญญัติเงินตราใหม่แห่งปีเมจิที่ 4 (ค.ศ. 1871) ยกเลิกระบบเหล่านี้ และสถาปนาเงินสกุล[[เยน]] เป็นเงินตราระบบทศนิยมใหม่ คล้ายกันกับเงินดอลล่าร์เงินของ[[เม็กซิโก]]<ref>Nussbaum, "Banks" at {{Google books|p2QnPijAEmEC|p. 69.|page=69}}</ref> [[ระบบฮัน (han)]] กลายมาเป็น[[จังหวัดในประเทศญี่ปุ่น|จังหวัด]] และโรงกษาปณ์ในดินแดนต่าง ๆ กลายมาเป็นธนาคารที่เอกชนเป็นผู้ถือใบอนุญาต ซึ่ง อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกธนาคารเหล่านี้ยังมีสิทธิที่จะพิมพ์เงินออกมาอยู่ มีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งที่รัฐบาลกลางและที่เรียกว่า ธนาคาร "แห่งชาติ" เหล่านี้ได้ออกเงินตรา ช่วงแห่งผลสืบเนื่องที่ผิดคาดนี้สิ้นสุดลงเมื่อธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นถูกก่อตั้งขึ้นในปีเมจิที่ 15 (ค.ศ. 1882) ตามแบบของ[[เบลเยียม]] และได้ถือครองบางส่วนโดยเอกชนนับแต่นั้น<ref>Vande Walle, Willy ''et al.'' [http://www.researchportal.be/en/project/institutions-and-ideologies-the-modernization-of-monetary-legaland-law-enforcement-regimes-in-japan-in-the-early-meiji-period-1868-1889--(KUL_3H030060)/ "Institutions and ideologies: the modernization of monetary, legal and law enforcement 'regimes' in Japan in the early Meiji-period (1868-1889)"] (abstract). FRIS/Katholieke Universiteit Leuven, 2007.</ref> มีการปรับเปลี่ยนอีกหลายครั้งยึดตามธนาคารกลางของประเทศอื่น ซึ่งแวดล้อมภายในระเบียบข้อบังคับที่ธนาคารจัดตั้งขึ้น<ref>Longford, Joseph Henry. (1912). [http://books.google.com/books?id=rpRFAAAAIAAJ&pg=PA293&dq=bank+of+Japan&client=firefox-a#PPA289,M1 ''Japan of the Japanese,'' p. 289.]</ref> สถาบันได้รับการผูกขาดการควบคุมปริมาณเงินใน ค.ศ. 1884 แต่ต้องรอหลังจากนั้นอีก 20 ปี ก่อนที่ธนบัตรที่ออกไปก่อนหน้านี้จะหมดอายุ<ref>Cargill, Thomas ''et al.'' (1997). [http://books.google.com/books?id=f3s47HWB8g8C&pg=PA197&dq=bank+of+Japan&client=firefox-a#PPA10,M1 ''The political economy of Japanese monetary policy,'' p. 10.]</ref>


หลังการผ่านระเบียบธนบัตรธนาคารที่เปลี่ยนแปลงได้ (พฤษภาคม ค.ศ. 1884) ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นออกธนบัตรธนาคารเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1885 (ปีเมจิที่ 18) แม้จะมีข้อบกพร่องเล็กน้อยบางประการ แต่การทำงานของธนาคารกลางประสบความสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ ใน ค.ศ. 1897 ญี่ปุ่นเข้าร่วม[[มาตรฐานทองคำ]]<ref>Nussbaum, "Banks" at {{Google books|p2QnPijAEmEC|p. 70.|page=70}}</ref> และใน ค.ศ. 1899 อดีตธนบัตรธนาคาร "แห่งชาติ" ได้หมดอายุลงอย่างเป็นทางการ
หลังการผ่านระเบียบธนบัตรธนาคารที่เปลี่ยนแปลงได้ (พฤษภาคม ค.ศ. 1884) ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นออกธนบัตรธนาคารเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1885 (ปีเมจิที่ 18) แม้จะมีข้อบกพร่องเล็กน้อยบางประการ แต่การทำงานของธนาคารกลางประสบความสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ ใน ค.ศ. 1897 ญี่ปุ่นเข้าร่วม[[มาตรฐานทองคำ]]<ref>Nussbaum, "Banks" at {{Google books|p2QnPijAEmEC|p. 70.|page=70}}</ref> และใน ค.ศ. 1899 อดีตธนบัตรธนาคาร "แห่งชาติ" ได้หมดอายุลงอย่างเป็นทางการ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:48, 11 สิงหาคม 2560

ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น
日本銀行

ที่ทำการในกรุงโตเกียว
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งพ.ศ. 2425
เขตอำนาจประเทศญี่ปุ่น
สำนักงานใหญ่ญี่ปุ่น
แขวงชูโอ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • มะซะกิ ชิระกะวะ,
    ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น
เว็บไซต์www.boj.or.jp

ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本銀行โรมาจิ: 'นิปปง กิงโก') มักเรียกย่อว่า นิชิงิง (ญี่ปุ่น: 日銀) เป็นธนาคารกลางของประเทศญี่ปุ่น มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในแขวงชูโอ กรุงโตเกียว[1]

ประวัติศาสตร์

ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นหลังการปฏิรูปเมจิ เช่นเดียวกับสถาบันสมัยใหม่ของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ก่อนหน้าการปฏิรูป ที่ดินศักดินา (fief) ของญี่ปุ่นทั้งหลายต่างออกเงินตราของตัวเอง เรียกว่า ฮันซัตสุ (hansatsu) ซึ่งเป็นระเบียบหน่วยเงินที่เข้ากันไม่ได้ แต่พระราชบัญญัติเงินตราใหม่แห่งปีเมจิที่ 4 (ค.ศ. 1871) ยกเลิกระบบเหล่านี้ และสถาปนาเงินสกุลเยน เป็นเงินตราระบบทศนิยมใหม่ คล้ายกันกับเงินดอลล่าร์เงินของเม็กซิโก[2] ระบบฮัน (han) กลายมาเป็นจังหวัด และโรงกษาปณ์ในดินแดนต่าง ๆ กลายมาเป็นธนาคารที่เอกชนเป็นผู้ถือใบอนุญาต ซึ่ง อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกธนาคารเหล่านี้ยังมีสิทธิที่จะพิมพ์เงินออกมาอยู่ มีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งที่รัฐบาลกลางและที่เรียกว่า ธนาคาร "แห่งชาติ" เหล่านี้ได้ออกเงินตรา ช่วงแห่งผลสืบเนื่องที่ผิดคาดนี้สิ้นสุดลงเมื่อธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นถูกก่อตั้งขึ้นในปีเมจิที่ 15 (ค.ศ. 1882) ตามแบบของเบลเยียม และได้ถือครองบางส่วนโดยเอกชนนับแต่นั้น[3] มีการปรับเปลี่ยนอีกหลายครั้งยึดตามธนาคารกลางของประเทศอื่น ซึ่งแวดล้อมภายในระเบียบข้อบังคับที่ธนาคารจัดตั้งขึ้น[4] สถาบันได้รับการผูกขาดการควบคุมปริมาณเงินใน ค.ศ. 1884 แต่ต้องรอหลังจากนั้นอีก 20 ปี ก่อนที่ธนบัตรที่ออกไปก่อนหน้านี้จะหมดอายุ[5]

หลังการผ่านระเบียบธนบัตรธนาคารที่เปลี่ยนแปลงได้ (พฤษภาคม ค.ศ. 1884) ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นออกธนบัตรธนาคารเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1885 (ปีเมจิที่ 18) แม้จะมีข้อบกพร่องเล็กน้อยบางประการ แต่การทำงานของธนาคารกลางประสบความสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ ใน ค.ศ. 1897 ญี่ปุ่นเข้าร่วมมาตรฐานทองคำ[6] และใน ค.ศ. 1899 อดีตธนบัตรธนาคาร "แห่งชาติ" ได้หมดอายุลงอย่างเป็นทางการ

ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นดำเนินการอย่างต่อเนื่องนับแต่ก่อตั้งขึ้น อย่างไรก็ตาม มีการจัดระบบองค์กรใหม่ใน ค.ศ. 1942 ภายใต้พระราชบัญญัติธนาคารญี่ปุ่น ค.ศ. 1942 (ญี่ปุ่น: 日本銀行法 昭和17年法律第67号) และมีช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองสั้น ๆ ระหว่างการยึดครองญี่ปุ่น เมื่อการทำงานของธนาคารถูกชะลอไป และมีการออกเงินตราทางทหาร ใน ค.ศ. 1949 มีการจัดระบบองค์กรใหม่อีกครั้ง[7]

ในคริสต์ทศวรรษ 1970 บรรยากาศการทำงานของธนาคารพัฒนาไปพร้อมกับการเปลี่ยนผ่านจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราคงที่ และเศรษฐกิจค่อนข้างปิด มาเป็นเศรษฐกิจเปิดขนาดใหญ่ที่มีอัตราแลกเปลี่ยนที่ค่าเปลี่ยนแปลงได้[8]

ระหว่างช่วงหลังสงครามทั้งหมด กระทั่งถึงอย่างน้อย ค.ศ. 1991 นโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นดำเนินการผ่านการควบคุมเครดิต "แนะนำหน้าต่าง" (窓口指導) เป็นหลัก ซึ่งเป็นรูปแบบเครื่องมือหลักของธนาคารกลางจีนสำหรับการนำนโยบายการเงินไปปฏิบัติ โดยธนาคารกลางจะกำหนดโควตาสินเชื่อธนาคารแก่ธนาคารพาณิชย์ เครื่องมือดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการก่อให้เกิด "เศรษฐกิจฟองสบู่" ในคริสต์ทศวรรษ 1980 จากนั้น นโยบายดังกล่าวถูกนำไปปฏิบัติโดย "แผนกธุรกิจ" (営業局) ในเวลานั้น ซึ่งเป็นผู้นำระหว่าง "ปีฟองสบู่" จาก ค.ศ. 1986 ถึง 1989 โดยมีโทชิฮิโกะ ฟุกุอิ เป็นหัวหน้า ต่อมาเป็นรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นในคริสต์ทศวรรษ 1990 และผู้ว่าการใน ค.ศ. 2003[9]

การทบทวนพระราชบัญญัติธนาคารญี่ปุ่นครั้งใหญ่ใน ค.ศ. 1997 มีจุดประสงค์เพื่อให้ธนาคารกลางมีอิสระมากยิ่งขึ้น[10] อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีอิสระในการดำเนินการมากเกินไป และขาดการตรวจสอบได้ก่อนที่กฎหมายฉบับนี้จะผ่านแล้ว[11] อย่างไรก็ตาม นับแต่การใช้บังคับกฎหมายใหม่นี้ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นปฏิเสธคำขอของรัฐบาลที่ขอให้กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง[12]

ภารกิจ

ภารกิจของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นตามพระราชบัญญัติก่อตั้ง มีดังนี้

  • พิมพ์และจัดการธนบัตร
  • นำนโยบายการเงินไปปฏิบัติ
  • จัดหาบริการชำระหนี้และรับประกันเสถียรภาพของระบบการเงิน
  • ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการคลังและหลักประกันภาครัฐ
  • กิจการระหว่างประเทศ
  • รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ และกิจกรรมวิจัย

อ้างอิง

  1. "Guide Map to the Bank of Japan Tokyo Head Office." Bank of Japan. Retrieved on December 22, 2009.
  2. Nussbaum, "Banks" at p. 69., p. 69, ที่ Google Books
  3. Vande Walle, Willy et al. "Institutions and ideologies: the modernization of monetary, legal and law enforcement 'regimes' in Japan in the early Meiji-period (1868-1889)" (abstract). FRIS/Katholieke Universiteit Leuven, 2007.
  4. Longford, Joseph Henry. (1912). Japan of the Japanese, p. 289.
  5. Cargill, Thomas et al. (1997). The political economy of Japanese monetary policy, p. 10.
  6. Nussbaum, "Banks" at p. 70., p. 70, ที่ Google Books
  7. Nussbaum, Louis Frédéric et al. (2005). "Nihon Ginkō" in Japan encyclopedia, p. 708., p. 708, ที่ Google Books
  8. Cargill, p. 197.
  9. Werner, Richard (2002). ‘Monetary Policy Implementation in Japan: What They Say vs. What they Do’, Asian Economic Journal, vol. 16 no.2, Oxford: Blackwell, pp. 111-151; Werner, Richard (2001). Princes of the Yen, Armonk: M. E. Sharpe [1]
  10. Cargill, p. 19.
  11. Horiuchi, Akiyoshi (1993), "Japan" in Chapter 3, "Monetary policies" in Haruhiro Fukui, Peter H. Merkl, Hubrtus Mueller-Groeling and Akio Watanabe (eds.), The Politics of Economic Change in Postwar Japan and WWest Germany, vol. 1, Macroeconomic Conditions and Policy Responses, London: Macmillan. Werner, Richard (2005), New Paradigm in Macroeconomics, London: Macmillan.
  12. See rebuffed requests by the government representatives at BOJ policy board meetings: e.g. [2] or refusals to increase bond purchases: Bloomberg News [3]

แหล่งข้อมูลอื่น