ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชุมพร เทพพิทักษ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
จางวาง (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
จางวาง (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 44: บรรทัด 44:
ในปี [[พ.ศ. 2511]] มีผลงาน[[ละครโทรทัศน์]]ทาง[[ช่อง 4 บางขุนพรหม]], [[ช่อง 5]] และ[[ช่อง 7]] ในยุคแพร่ภาพระบบขาวดำ ด้วยการพลิกบทบาทมารับบทเป็นพระเอกบ้าง ซึ่งก็ได้รับการวิจารณ์ในตอนต้นว่า คนดูจะรับได้หรือไม่กับการที่ผู้ร้ายในแบบภาพยนตร์ใหญ่ มารับบทพระเอกในแบบละครโทรทัศน์ ซึ่งก็ได้รับบทพระเอกแนวลูกทุ่งหรือแอ็คชั่น และถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร
ในปี [[พ.ศ. 2511]] มีผลงาน[[ละครโทรทัศน์]]ทาง[[ช่อง 4 บางขุนพรหม]], [[ช่อง 5]] และ[[ช่อง 7]] ในยุคแพร่ภาพระบบขาวดำ ด้วยการพลิกบทบาทมารับบทเป็นพระเอกบ้าง ซึ่งก็ได้รับการวิจารณ์ในตอนต้นว่า คนดูจะรับได้หรือไม่กับการที่ผู้ร้ายในแบบภาพยนตร์ใหญ่ มารับบทพระเอกในแบบละครโทรทัศน์ ซึ่งก็ได้รับบทพระเอกแนวลูกทุ่งหรือแอ็คชั่น และถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร


ต่อมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ มีผลงานมากมาย อาทิ ''ถุยชีวิต'' ([[พ.ศ. 2521]]), ''นักสู้ภูธร'' ในปีเดียวกัน, ''ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก'' ([[พ.ศ. 2522]]) และที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ ''[[แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู]]'' ในปี [[พ.ศ. 2520]] ซึ่งได้รับรางวัล[[ตุ๊กตาทอง]]สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม และได้รับรางวัลอื่น ๆ รวมทั้งหมด 5 รางวัล และยังคงมีผลงานออกมาเป็นระยะๆ เช่น ''[[บางระจัน (ภาพยนตร์)|บางระจัน]]'' ([[พ.ศ. 2543]]), ''[[ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ]]'' ([[พ.ศ. 2550]]), ''[[รักสยามเท่าฟ้า]]'' ([[พ.ศ. 2551]]), ''[[2022 สึนามิ วันโลกสังหาร]]'' ([[พ.ศ. 2552]]) ผลงานละครโทรทัศน์ได้แก่ ''[[สุสานคนเป็น]]'' (พ.ศ. 2545) ''[[ธิดาวานร|ธิดาวานร 2]]'' (พ.ศ. 2552) และ ''[[เงาพราย]]'' (พ.ศ. 2554) ผลงานเรื่องสุดท้ายคือเรื่อง '''[[ขุนกระทิง]]'''
ต่อมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ มีผลงานมากมาย อาทิ ''ถุยชีวิต'' ([[พ.ศ. 2521]]), ''นักสู้ภูธร'' ในปีเดียวกัน, ''ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก'' ([[พ.ศ. 2522]]) และที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ ''[[แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู]]'' ในปี [[พ.ศ. 2520]] ซึ่งได้รับรางวัล[[ตุ๊กตาทอง]]สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม และได้รับรางวัลอื่น ๆ รวมทั้งหมด 5 รางวัล และยังคงมีผลงานออกมาเป็นระยะๆ เช่น ''[[บางระจัน (ภาพยนตร์)|บางระจัน]]'' ([[พ.ศ. 2543]]),'''[[โหมโรง]]''''''([[พ.ศ.2547]])''', ''[[ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ]]'' ([[พ.ศ. 2550]]), ''[[รักสยามเท่าฟ้า]]'' ([[พ.ศ. 2551]]), ''[[2022 สึนามิ วันโลกสังหาร]]'' ([[พ.ศ. 2552]]) ผลงานละครโทรทัศน์ได้แก่ ''[[สุสานคนเป็น]]'' (พ.ศ. 2545) ''[[ธิดาวานร|ธิดาวานร 2]]'' (พ.ศ. 2552) และ ''[[เงาพราย]]'' (พ.ศ. 2554) ผลงานละครเรื่องสุดท้ายคือเรื่อง '''[[ขุนกระทิง]]''' และผลงานภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายคือเรื่อง '''[[ขุนพันธ์]]''' (พ.ศ.2559)




บรรทัด 50: บรรทัด 50:


ชุมพรมีอาการป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา และได้เสียชีวิตลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 โดยทาง[[ศรราม เทพพิทักษ์]]ผู้เป็นลูกชายได้ทันดูใจจนวินาทีสุดท้าย
ชุมพรมีอาการป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา และได้เสียชีวิตลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 โดยทาง[[ศรราม เทพพิทักษ์]]ผู้เป็นลูกชายได้ทันดูใจจนวินาทีสุดท้าย
โดยจะมีพิธีรดน้ำศพในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เวลา 16:00 น. และพิธีสวดพระอภิธรรมศพในเวลา 18:30 น. โดยได้รับพระราขทานดอกไม้จันทน์จาก[[พระองค์เจ้าโสมสวลี]]
โดยจะมีพิธีรดน้ำศพในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เวลา 16:00 น. และพิธีสวดพระอภิธรรมศพในเวลา 18:30 น.


== ผลงานการแสดง ==
== ผลงานการแสดง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:08, 18 กรกฎาคม 2560

ชุมพร เทพพิทักษ์
ไฟล์:Chumphorn Thepphithak.jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด5 กรกฎาคม พ.ศ. 2482
คมสัน เทพพิทักษ์
เสียชีวิต9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (78 ปี)
กรุงเทพมหานคร
คู่สมรสมยุรี เทพพิทักษ์
อาชีพนักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์
ปีที่แสดง2507–2559
พระสุรัสวดีผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2520 - แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู
เมขลาผู้แสดงประกอบชายดีเด่น
พ.ศ. 2554 - เงาพราย
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

ชุมพร เทพพิทักษ์ (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 − 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) ชื่อเล่น เดียร์ นักแสดงชาวไทยและอดีตผู้กำกับภาพยนตร์ มีชื่อจริงว่า คมสัน เทพพิทักษ์

เกิดที่จังหวัดชุมพรเมื่อปี พ.ศ. 2482 จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดขันเงินและโรงเรียนศรียาภัย เดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาต่อที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย โดยพักอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกับ พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรัตน์ (อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2544) ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้อง แต่ขณะที่เรียนเมื่ออายุได้ 17 ปี ต้องโทษจำคุกในคดีฆาตกรรมด้วยอาวุธปืน และรับสารภาพ จึงถูกลดโทษเหลือ 25 ปี จากนั้นได้รับการลดหย่อนโทษเรื่อยมา จนได้รับอิสรภาพในที่สุด ในระหว่างต้องโทษ อยู่ห้องขังเดียวกับ แคล้ว ธนิกุล [1]

เข้าสู่วงการบันเทิงครั้งแรกด้วยการเป็นนักแสดงบทร้ายแทน ประจวบ ฤกษ์ยามดี นักแสดงบทตัวร้ายที่ไม่สบาย ด้วยความที่หน้าตาตล้ายกัน จากการชักชวนของ ปริญญา ทัศนียกุล และ ลือชัย นฤนาท ในเรื่อง คมแสนคม ในปี พ.ศ. 2507 ตามด้วยบทตัวร้ายมาโดยตลอด

ในปี พ.ศ. 2511 มีผลงานละครโทรทัศน์ทางช่อง 4 บางขุนพรหม, ช่อง 5 และช่อง 7 ในยุคแพร่ภาพระบบขาวดำ ด้วยการพลิกบทบาทมารับบทเป็นพระเอกบ้าง ซึ่งก็ได้รับการวิจารณ์ในตอนต้นว่า คนดูจะรับได้หรือไม่กับการที่ผู้ร้ายในแบบภาพยนตร์ใหญ่ มารับบทพระเอกในแบบละครโทรทัศน์ ซึ่งก็ได้รับบทพระเอกแนวลูกทุ่งหรือแอ็คชั่น และถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร

ต่อมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ มีผลงานมากมาย อาทิ ถุยชีวิต (พ.ศ. 2521), นักสู้ภูธร ในปีเดียวกัน, ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก (พ.ศ. 2522) และที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู ในปี พ.ศ. 2520 ซึ่งได้รับรางวัลตุ๊กตาทองสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม และได้รับรางวัลอื่น ๆ รวมทั้งหมด 5 รางวัล และยังคงมีผลงานออกมาเป็นระยะๆ เช่น บางระจัน (พ.ศ. 2543),'โหมโรง'(พ.ศ.2547), ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ (พ.ศ. 2550), รักสยามเท่าฟ้า (พ.ศ. 2551), 2022 สึนามิ วันโลกสังหาร (พ.ศ. 2552) ผลงานละครโทรทัศน์ได้แก่ สุสานคนเป็น (พ.ศ. 2545) ธิดาวานร 2 (พ.ศ. 2552) และ เงาพราย (พ.ศ. 2554) ผลงานละครเรื่องสุดท้ายคือเรื่อง ขุนกระทิง และผลงานภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายคือเรื่อง ขุนพันธ์ (พ.ศ.2559)


ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ มยุรี เทพพิทักษ์ (นามสกุลเดิม-ศรีสินธุ์อุไร) มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 4 คน ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นเป็นนักร้องและนักแสดงที่มีชื่อเสียง คือ ศรราม เทพพิทักษ์

ชุมพรมีอาการป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา และได้เสียชีวิตลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 โดยทางศรราม เทพพิทักษ์ผู้เป็นลูกชายได้ทันดูใจจนวินาทีสุดท้าย โดยจะมีพิธีรดน้ำศพในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เวลา 16:00 น. และพิธีสวดพระอภิธรรมศพในเวลา 18:30 น.

ผลงานการแสดง

ภาพยนตร์

ปี เรื่อง บทบาท
2509 ดาวพระศุกร์
2513 มนต์รักลูกทุ่ง ธรรมรัตน์
2518 แหม่มจ๋า กำแหง
2524 ไอ๊หยา อาตือ
2537 1+5 ฟ้าก็ห้ามไม่ได้
2543 บางระจัน
2550 ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ
2551 รักสยามเท่าฟ้า
2552 2022 สึนามิ วันโลกสังหาร

ละครโทรทัศน์

ปี เรื่อง สถานี บทบาท หมายเหตุ
2515 ผู้กองยอดรัก ช่อง 4 พัน น้ำสุพรรณ
บ้านมายา ช่อง 4
2516 หลานสาวคุณหญิง ช่อง 4
กรงทอง ช่อง 4
251x แม่หญิง ช่อง 4 พราหมณ์ เทพราช (คุณแขก)
2519 สายใจ ช่อง 9
2535 คุณหญิงนอกทำเนียบ ช่อง 7
แก้วสารพัดนึก ช่อง 7
ภูตแม่น้ำโขง ช่อง 7
2536 ลิขิตชีวิต ช่อง 7
พรหมพยศ ช่อง 9
2536–2537 ศีรษะมาร ช่อง 7 ลุงพร
2537 น้ำใสใจจริง ช่อง 7 พ่อของโจม
2538 ภูตพิศวาส ช่อง 7 ลุงอิน
ความรักของคุณฉุย ภาค 2 ช่อง 7
2539 ดั่งดวงหฤทัย ช่อง 7 เจ้าหลวง (แคว้นทานตะ)
2540 หุบเขากินคน ช่อง 7
สัมปทานหัวใจ ช่อง 7 อ่อง
2541 นางบาป ช่อง 7 ประกอบ
2542 พระจันทร์ลายกระต่าย ช่อง 5
รักสองภพ ช่อง 7
2544 แม่โขง ช่อง 7
ทายาทอสูร ช่อง 7 ปุโรหิต (พ่อของขุนศรีอินทร์)/ปู่สุธรรม
นายฮ้อยทมิฬ ช่อง 7
2545 เส้นไหมสีเงิน ช่อง 3 ตาพจน์
สุสานคนเป็น ช่อง 7 หมอผัน
พระจันทร์แดง ช่อง 3
ไอ้ม้าเหล็ก ช่อง 3
จารชนยอดรัก ช่อง 7
2546 พุทธานุภาพ ช่อง 3 นายมั่น รับเชิญ
จารชนยอดรัก ช่อง 7
สายน้ำ ลูกผู้ชาย ช่อง 3 ปู่เต่า
พยัคฆ์ร้าย โอมเพี้ยง ช่อง 3 การุณ (เสี่ยป้อม)
2547 ภูตพิศวาส ช่อง 7 ลุงอิน
หวานใจไทยแลนด์ ช่อง 3
รักแผลงฤทธิ์ ช่อง 3
2548 คลื่นรักสีคราม ช่อง 5 ผู้เฒ่าลมโชย
นายกระจอก ช่อง 3 ปู่ของไอ้หมีและก้อง
ดื้อนักรักเลย ช่อง 3 ปู่ไท
2549 ดวงใจปาฏิหาริย์ ช่อง 7 ครูผาด
2551 สุดแดนหัวใจ ช่อง 3 ผู้กำกับการแสดง รับเชิญ
2552 ธิดาวานร 2 ช่อง 7 สะมะแอ
2554 เงาพราย ช่อง 3 ตาเลิศ ปัญจาวร
โก๊ะซ่าท้ามิติ ช่อง 7 ลุงหอม
2556 มายาตวัน ช่อง 3 หลวงพ่อจรูญ รับเชิญ
ฟ้ากระจ่างดาว ช่อง 3 หลวงพ่อจรูญ รับเชิญ
นางมาร ช่อง 8 ปู่
2557 เรือนริษยา ช่อง 3 พ่อเฒ่า รับเชิญ
2558 ข้าบดินทร์ ช่อง 3 พระครูโพ
2559 ขุนกระทิง ช่อง 7 รับเชิญ

รางวัล

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น