ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตการณ์ปากน้ำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
คีโต (คุย | ส่วนร่วม)
คีโต (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 25: บรรทัด 25:
การรุกคืบของฝรั่งเศสเพื่อเข้ามายึดครองดินแดนในแถบอินโดจีนเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 กรณีพิพาทเริ่มคุกรุ่นจากเหตุการณ์เมื่อพวกฮ่อได้รุกจากสิบสองจุไทลงมาตีเมืองหลวงพระบางในช่วงปี พ.ศ.2428 <ref>ต้องการอ้างอิง</ref> พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) เป็นแม่ทัพยกกำลังไปปราบฮ่อ ฝ่ายฝรั่งเศสอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนสิบสองจุไทและหัวพันทั้งห้าทั้งหกว่าเป็นเมืองขึ้นของญวน ขอให้ทัพไทยถอยออกไปให้พ้นเขต การเจรจาต่างฝ่ายต่างไม่ยอมรับข้อเสนอของกันและกัน มีการข่มขู่จากฝรั่งเศสว่ามีกองกำลังเสริมประจำในไซ่ง่อนและจะส่งกองเรือรบเข้ามากรุงเทพฯและอ้างว่าฝ่ายอังกฤษได้จัดส่งเรือรบเข้ามาเพิ่มเติมในน่านน้ำไทย
การรุกคืบของฝรั่งเศสเพื่อเข้ามายึดครองดินแดนในแถบอินโดจีนเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 กรณีพิพาทเริ่มคุกรุ่นจากเหตุการณ์เมื่อพวกฮ่อได้รุกจากสิบสองจุไทลงมาตีเมืองหลวงพระบางในช่วงปี พ.ศ.2428 <ref>ต้องการอ้างอิง</ref> พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) เป็นแม่ทัพยกกำลังไปปราบฮ่อ ฝ่ายฝรั่งเศสอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนสิบสองจุไทและหัวพันทั้งห้าทั้งหกว่าเป็นเมืองขึ้นของญวน ขอให้ทัพไทยถอยออกไปให้พ้นเขต การเจรจาต่างฝ่ายต่างไม่ยอมรับข้อเสนอของกันและกัน มีการข่มขู่จากฝรั่งเศสว่ามีกองกำลังเสริมประจำในไซ่ง่อนและจะส่งกองเรือรบเข้ามากรุงเทพฯและอ้างว่าฝ่ายอังกฤษได้จัดส่งเรือรบเข้ามาเพิ่มเติมในน่านน้ำไทย


ในที่สุดฝรั่งเศสจึงส่งเรือการข่าว "แองกงสตัง" (Inconstant) และเรือปืน "โกแมต" (Comète) {{fn|2}} มาถึงปากแม่น้ำและขออนุญาตแล่นเรือผ่านปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อไปสมทบกับเรือ "ลูแตง" (Le Lutin) <ref name="สารคดี"/> เพื่อเจรจาต่อรอง เมื่อสยามปฏิเสธ ผู้บังคับบัญชาฝ่ายฝรั่งเศส พลเรือตรี แอดการ์ อูว์มัน (Edgar Humann) เมินเฉยต่อความต้องการของสยามและคำสั่งจากรัฐบาลฝร่งเศส ซึ่งก่อนการต่อสู้ พลเรือตรี อูว์มัน ได้รับคำสั่งห้ามเข้าสู่ปากแม่น้ำเพราะสยามได้เตรียมการอย่างดีสำหรับการรบ กองกำลังฝ่ายสยามประกอบด้วย[[ป้อมพระจุลจอมเกล้า]]ที่พึ่งสร้างเสร็จ มีปืนเสือหมอบขนาด 6 นิ้ว 7 กระบอก{{fn|3}} สยามยังได้จมเรือสำเภาและเรือบรรทุกหินในแม่น้ำเพื่อเป็นแนวป้องกัน บีบให้เส้นทางเดินเรือกลายเป็นทางผ่านแคบ ๆ เพียงทางเดียว
ในที่สุดฝรั่งเศสจึงส่งเรือการข่าว "แองกงสตัง" (Inconstant) และเรือปืน "โกแมต" (Comète) {{fn|2}} มาถึงปากแม่น้ำและขออนุญาตแล่นเรือผ่านปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อไปสมทบกับเรือ "ลูแตง" (Le Lutin) <ref name="สารคดี"/> เพื่อเจรจาต่อรอง เมื่อสยามปฏิเสธ ผู้บังคับบัญชาฝ่ายฝรั่งเศส พลเรือตรี แอดการ์ อูว์มัน (Edgar Humann) เมินเฉยต่อความต้องการของสยามและคำสั่งจากรัฐบาลฝร่งเศส ซึ่งก่อนการต่อสู้ พลเรือตรี อูว์มัน ได้รับคำสั่งห้ามเข้าสู่ปากแม่น้ำเพราะสยามได้เตรียมการอย่างดีสำหรับการรบ กองกำลังฝ่ายสยามประกอบด้วย[[ป้อมพระจุลจอมเกล้า]]ที่พึ่งสร้างเสร็จ มีปืนเสือหมอบขนาด 6 นิ้ว 7 กระบอก{{fn|3}} ป้อมอื่นๆใกล้เคียง (ป้อมแผลงไฟฟ้า ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง), ป้อมเสือซ่อนเล็บ, ป้อมผีเสื้อสมุทร) ระดมพลและเตรียมความพร้อมตามหัวเมืองชายทะเลตะวันออก มีการติดต่อสั่งซื้อยุทธภัณฑ์จากต่างประเทศ และการเตรียมการนี้มีมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่เดือนเมษายน เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้เสด็จตรวจป้อมพระจุลจอมเกล้าอยู่เนืองๆ ทรงเปิดการเดินรถไฟสายปากน้ำ และมีการทดลองยิงปืนใหญ่ให้ทอดพระเนตร สยามยังได้จมเรือสำเภาและเรือบรรทุกหินในแม่น้ำเพื่อเป็นแนวป้องกัน บีบให้เส้นทางเดินเรือกลายเป็นทางผ่านแคบ ๆ เพียงทางเดียว มีการเตรียมระเบิดตอร์ปิโดขนาดเล็ก เตรียมปืนใหญ่ไว้ที่บางนา บางจาก และคลองพระโขนง<ref>ต้องการอ้างอิง</ref>


เรือปืน 5 ลำจอดทอดสมออยู่ด้านหลังแนวสิ่งกีดขวาง ประกอบไปด้วย เรือมกุฎราชกุมาร, เรือทูลกระหม่อม, เรือหาญหักศัตรู, เรือนฤเบนทร์บุตรี และ เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์{{fn|4}} มีเรือ 2 ลำเป็นเรือรบทันสมัย คือ เรือมกุฎราชกุมาร และเรือมูรธาวสิตสวัสดิ์<ref name="navy">[http://www.navy.mi.th/newwww/code/kingrama5/prepare02.html การสู้รบทางเรือในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112] พระปิยมหาราช กองทัพเรือ</ref> ขณะที่เรือที่เหลือเป็นเรือปืนเก่าหรือเรือกลไฟแม่น้ำที่ดัดแปลงมา มีการวางข่ายทุ่นระเบิด 16 ลูก ผู้บังคับบัญชาป้อมเป็นนายพลเรือชาว[[ประเทศเนเธอร์แลนด์|ดัตช์]]ซึ่งเป็นหนึ่งในชาว[[ยุโรป]]หลายคนที่เข้ารับราชการในกองทัพไทย พลเรือโท [[พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ)]] เป็นผู้บังคับบัญชาเรือปืน
เรือปืน 5 ลำจอดทอดสมออยู่ด้านหลังแนวสิ่งกีดขวาง ประกอบไปด้วย เรือมกุฎราชกุมาร, เรือทูลกระหม่อม, เรือหาญหักศัตรู, เรือนฤเบนทร์บุตรี และ เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์{{fn|4}} มีเรือ 2 ลำเป็นเรือรบทันสมัย คือ เรือมกุฎราชกุมาร และเรือมูรธาวสิตสวัสดิ์<ref name="navy">[http://www.navy.mi.th/newwww/code/kingrama5/prepare02.html การสู้รบทางเรือในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112] พระปิยมหาราช กองทัพเรือ</ref> ขณะที่เรือที่เหลือเป็นเรือปืนเก่าหรือเรือกลไฟแม่น้ำที่ดัดแปลงมา มีการวางข่ายทุ่นระเบิด 16 ลูก ผู้บังคับบัญชาป้อมเป็นนายพลเรือชาว[[ประเทศเนเธอร์แลนด์|ดัตช์]]ซึ่งเป็นหนึ่งในชาว[[ยุโรป]]หลายคนที่เข้ารับราชการในกองทัพไทย พลเรือโท [[พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ)]] เป็นผู้บังคับบัญชาเรือปืน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:28, 13 กรกฎาคม 2560

วิกฤตการณ์ปากน้ำ
สถานที่
{{{place}}}
  • เรือกลไฟของฝรั่งเศสถูกควบคุมโดยสยามหลังจากการรบโดยปราศจากการต่อต้าน

วิกฤตการณ์ปากน้ำ เป็นจุดแตกหักของความตึงเครียดในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 การปะทะกันเกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2436 เมื่อเรือรบฝรั่งเศสแล่นฝ่าเข้าไปในปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้ง 3 ลำถูกโจมตีโดยป้อมปืนของสยามและเรือปืน ผลการรบ ฝรั่งเศสได้รับชัยชนะและดำเนินการปิดล้อมกรุงเทพ มีการเจรจาระหว่างกันซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของเหตุการณ์

ภูมิหลัง

การรุกคืบของฝรั่งเศสเพื่อเข้ามายึดครองดินแดนในแถบอินโดจีนเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 กรณีพิพาทเริ่มคุกรุ่นจากเหตุการณ์เมื่อพวกฮ่อได้รุกจากสิบสองจุไทลงมาตีเมืองหลวงพระบางในช่วงปี พ.ศ.2428 [1] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) เป็นแม่ทัพยกกำลังไปปราบฮ่อ ฝ่ายฝรั่งเศสอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนสิบสองจุไทและหัวพันทั้งห้าทั้งหกว่าเป็นเมืองขึ้นของญวน ขอให้ทัพไทยถอยออกไปให้พ้นเขต การเจรจาต่างฝ่ายต่างไม่ยอมรับข้อเสนอของกันและกัน มีการข่มขู่จากฝรั่งเศสว่ามีกองกำลังเสริมประจำในไซ่ง่อนและจะส่งกองเรือรบเข้ามากรุงเทพฯและอ้างว่าฝ่ายอังกฤษได้จัดส่งเรือรบเข้ามาเพิ่มเติมในน่านน้ำไทย

ในที่สุดฝรั่งเศสจึงส่งเรือการข่าว "แองกงสตัง" (Inconstant) และเรือปืน "โกแมต" (Comète) 2 มาถึงปากแม่น้ำและขออนุญาตแล่นเรือผ่านปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อไปสมทบกับเรือ "ลูแตง" (Le Lutin) [2] เพื่อเจรจาต่อรอง เมื่อสยามปฏิเสธ ผู้บังคับบัญชาฝ่ายฝรั่งเศส พลเรือตรี แอดการ์ อูว์มัน (Edgar Humann) เมินเฉยต่อความต้องการของสยามและคำสั่งจากรัฐบาลฝร่งเศส ซึ่งก่อนการต่อสู้ พลเรือตรี อูว์มัน ได้รับคำสั่งห้ามเข้าสู่ปากแม่น้ำเพราะสยามได้เตรียมการอย่างดีสำหรับการรบ กองกำลังฝ่ายสยามประกอบด้วยป้อมพระจุลจอมเกล้าที่พึ่งสร้างเสร็จ มีปืนเสือหมอบขนาด 6 นิ้ว 7 กระบอก3 ป้อมอื่นๆใกล้เคียง (ป้อมแผลงไฟฟ้า ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง), ป้อมเสือซ่อนเล็บ, ป้อมผีเสื้อสมุทร) ระดมพลและเตรียมความพร้อมตามหัวเมืองชายทะเลตะวันออก มีการติดต่อสั่งซื้อยุทธภัณฑ์จากต่างประเทศ และการเตรียมการนี้มีมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่เดือนเมษายน เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้เสด็จตรวจป้อมพระจุลจอมเกล้าอยู่เนืองๆ ทรงเปิดการเดินรถไฟสายปากน้ำ และมีการทดลองยิงปืนใหญ่ให้ทอดพระเนตร สยามยังได้จมเรือสำเภาและเรือบรรทุกหินในแม่น้ำเพื่อเป็นแนวป้องกัน บีบให้เส้นทางเดินเรือกลายเป็นทางผ่านแคบ ๆ เพียงทางเดียว มีการเตรียมระเบิดตอร์ปิโดขนาดเล็ก เตรียมปืนใหญ่ไว้ที่บางนา บางจาก และคลองพระโขนง[3]

เรือปืน 5 ลำจอดทอดสมออยู่ด้านหลังแนวสิ่งกีดขวาง ประกอบไปด้วย เรือมกุฎราชกุมาร, เรือทูลกระหม่อม, เรือหาญหักศัตรู, เรือนฤเบนทร์บุตรี และ เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์4 มีเรือ 2 ลำเป็นเรือรบทันสมัย คือ เรือมกุฎราชกุมาร และเรือมูรธาวสิตสวัสดิ์[4] ขณะที่เรือที่เหลือเป็นเรือปืนเก่าหรือเรือกลไฟแม่น้ำที่ดัดแปลงมา มีการวางข่ายทุ่นระเบิด 16 ลูก ผู้บังคับบัญชาป้อมเป็นนายพลเรือชาวดัตช์ซึ่งเป็นหนึ่งในชาวยุโรปหลายคนที่เข้ารับราชการในกองทัพไทย พลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ) เป็นผู้บังคับบัญชาเรือปืน

ยุทธนาวี

ฝรั่งเศสเลือกที่จะเข้าปากแม่น้ำหลังพระอาทิตย์ตกดินในวันที่ 13 กรกฎาคม โดยมีวัตถุประสงค์คือแล่นผ่านการป้องกันของสยามให้ได้ถ้ามีการเปิดฉากยิงกันขึ้น สภาพอากาศครึ้มฝน ขณะนั้นสยามได้ประจำสถานีรบและเตรียมพร้อมขั้นสูงสุด เรือรบฝรั่งเศสได้แล่นตามเรือกลไฟนำร่องฌองบัปติสต์เซย์ (Jean Baptiste Say) เข้าสู่ปากแม่น้ำ เมื่อเวลา 18.15 น. ฝนหยุดตก ทหารในป้อมสังเกตเห็นเรือรบฝรั่งเศสแล่นผ่านกระโจมไฟ สองสามนาทีหลังจากนั้นเรือฝรั่งเศสแล่นผ่านทุ่นดำเข้ามาในระยะยิงของป้อม ทหารประจำป้อมได้รับคำสั่งให้ยิงเตือน 3 นัด แต่ถ้าฝรั่งเศสเพิกเฉยเรือปืนจะเปิดฉากยิง

เวลา 18.30 น. ป้อมปืนเปิดฉากยิงเตือนด้วยกระสุนเปล่า 2 นัด แต่เรือรบฝรั่งเศสยังคงแล่นต่อไป ในนัดที่สามสยามได้ใช้กระสุนจริงยิงเตือน กระสุนตกลงในน้ำหน้าเรือฌองบัปติสต์เซย์ เมื่อเห็นฝรั่งเศสเพิกเฉยต่อสัญญาณเตือน นัดที่สี่จากเรือปืน มกุฎราชกุมาร และ มูรธาวสิตสวัสดิ์ ก็เปิดฉากยิงเมื่อเวลา 18.50 น. เรือแองกองสตองได้ยิงตอบโต้กับป้อมในขณะที่โกแมตยิงสู้กับเรือปืนสยาม มีเรือขนาดเล็กที่บรรจุระเบิดถูกส่งมาพุ่งชนเรือฝรั่งเศสแต่พลาดเป้า การต่อสู้กินเวลาประมาณ 25 นาที

ในที่สุด พลเรือตรี อูว์มัน ก็พาเรือรบฝ่าการป้องกันของสยามไปได้ และสามารถจมเรือปืนฝ่ายสยามได้หนึ่งลำ ส่วนอีกลำได้รับความเสียหายจากกระสุนปืน ทหารสยามตาย 10 นาย บาดเจ็บ 12 นาย ฝรั่งเศสได้รับความเสียหายน้อยกว่า ขณะที่ผ่านปากน้ำเรือฌองบัปติสต์เซย์ถูกยิงด้วยปืนใหญ่ ไปเกยตื้นที่แหลมลำพูราย เรือแองกองสตองและเรือโกแมตแล่นผ่านไปได้ถึงกรุงเทพ จอดทอดสมออยู่ที่สถานทูตฝรั่งเศส[2] ทหารฝรั่งเศสตาย 3 นาย บาดเจ็บ 2 นาย เรือโกแมตถูกยิงได้รับความเสียหายมากกว่าเรือแองกองสตองแต่ไม่ได้เสียหายร้ายแรง ป้อมของสยามไม่ได้รับความเสียหาย

ผลที่ตามมา

เช้าวันต่อมา ลูกเรือฌองบัปติสต์เซย์ยังคงอยู่บนเรือที่เกยตื้น สยามได้ส่งเรือเข้ามาควบคุมเรือกลไฟฌองบัปติสต์เซย์และได้พยายามจมเรือแต่ไม่สำเร็จ จากรายงาน นักโทษได้รับการปฏิบัติที่เลวร้ายและถูกส่งตัวเข้าคุกกรุงเทพ วันต่อมาเรือปืนฝรั่งเศส ฟอร์แฟต (Forfait) ได้มาถึงปากน้ำและส่งเรือพร้อมทหารเต็มลำเข้ายึดเรือฌองบัปติสต์เซย์แต่เมื่อถึงเรือกลับโดนโจมตีขับไล่ถอยไปโดยทหารสยามที่ยึดเรืออยู่ เมื่อพลเรือตรี อูว์มัน มาถึงกรุงเทพ เขาได้ทำการปิดล้อมและหันกระบอกปืนมาทางพระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ก็มีการลงนามในสนธิสัญญาถือเป็นการสิ้นสุดการรบ

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

  • หมายเหตุ 1:
    เอกสารบางฉบับแสดงความสูญเสียดังนี้ ทหารฝรั่งเศสตาย 3 คนบาดเจ็บ 3 คน ทหารสยามตาย 8 คน บาดเจ็บ 41 คนและสูญหาย 1 คน[2]
  • หมายเหตุ 2:
    เรือการข่าวแองกงสตัง ระวางขับน้ำ 825 ตัน ความเร็ว 13 นอต ปืนใหญ่ 14 ซม. 3 กระบอก ปืนใหญ่ 10 ซม. 1 กระบอก ปืนกล 37 มม. 5 กระบอก มีนาวาโท โบรี (Boy) เป็นผู้บังคับการเรือ และ ผู้บังคับหมู่เรือ
    เรือปืนโกแมต ระวางขับน้ำ 495 ตัน ปืนใหญ่ 14 ซม. 2 กระบอก ปืนใหญ่ 10 ซม. 2 กระบอก ปืนกล 37 มม. 2 กระบอก มีเรือเอกหลุยส์ ดาร์ติช ดู ฟูร์เนต์ (Louis Dartige du Fournet) เป็นผู้บังคับการเรือ[4]
  • หมายเหตุ 3:
    เอกสารบางฉบับมีป้อมผีเสื้อสมุทรรวมอยู่ด้วย[2]
  • หมายเหตุ 4:
    เรือมกุฎราชกุมาร ระวางขับน้ำ 609 ตัน ความเร็ว 11 นอต อาวุธประจำเรือไม่ทราบชัด ฝ่ายฝรั่งเศสบันทึกว่า มีปืนใหญ่ 15 ซม. 1 กระบอก ปืนใหญ่ 12 ซม. 5 กระบอก ปืนกล 3 กระบอก มีนาวาโท วี. กูลด์แบร์ก (Commander V. Guldberg) เป็นผู้บังคับการเรือ ดับเบิลยู. สมาร์ท (W. Smart) เป็นต้นกลเรือ
    เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ ระวางขับน้ำ 250 ตัน ปืนใหญ่อาร์มสตรอง 70 ปอนด์ 1 กระบอก ปืนใหญ่ 10 ซม. 4 กระบอก ปืนกล 1 กระบอก มี เรือเอก ดับเบิลยู. คริสต์มาส (Lieutenant W. Christmas) เป็นผู้บังคับการเรือ จี. แคนดุตตี (G. Candutti) เป็นต้นเรือ
    เรือหาญหักศัตรูระวางน้ำ 120 ตัน ความเร็ว 7 นอต ปืนใหญ่ 15 ซม. 1 กระบอก ปืนใหญ่ 12 ซม. 1 กระบอก มี เรือเอก เอส. สมีเกโล (Lieutenant S. Smiegelow) เป็นผู้บังคับการเรือ
    เรือนฤเบนทร์บุตรีระวางขับน้ำ 260 ตัน ปืนใหญ่ 10 ซม. 6 กระบอก เรือทูลกระหม่อม (เรือใบ) ระวางขับน้ำ 475 ตัน ปืนใหญ่ 10 ซม. 6 กระบอก[4]

อ้างอิง

  1. ต้องการอ้างอิง
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 ไกรฤกษ์ นานา, วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112, สารคดีปีที่ 26 ฉบับที่ 308 ตุลาคม 2553
  3. ต้องการอ้างอิง
  4. 4.0 4.1 4.2 การสู้รบทางเรือในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 พระปิยมหาราช กองทัพเรือ