ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไตรสิกขา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ Oscaroggy (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Potapt
Raphind (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
# '''อธิจิตตสิกขา''' คือศึกษาเรื่องจิต อบรมจิตให้สงบมั่นคงเป็น[[สมาธิ]] ได้แก่การบำเพ็ญ[[สมถกรรมฐาน]]ของผู้สมบูรณ์ด้วย[[อริยศีลขันธ์]]จนได้บรรลุ[[ฌาน|ฌาน 4]]
# '''อธิจิตตสิกขา''' คือศึกษาเรื่องจิต อบรมจิตให้สงบมั่นคงเป็น[[สมาธิ]] ได้แก่การบำเพ็ญ[[สมถกรรมฐาน]]ของผู้สมบูรณ์ด้วย[[อริยศีลขันธ์]]จนได้บรรลุ[[ฌาน|ฌาน 4]]
# '''อธิปัญญาสิกขา''' คือศึกษาเรื่องปัญญาอบรมตนให้เกิดปัญญาแจ่มแจ้ง ได้แก่การบำเพ็ญ[[วิปัสสนากรรมฐาน]]ของผู้ได้ฌานแล้วจนได้บรรลุ[[วิชชา|วิชชา 8]] คือเป็น[[พระอรหันต์]]
# '''อธิปัญญาสิกขา''' คือศึกษาเรื่องปัญญาอบรมตนให้เกิดปัญญาแจ่มแจ้ง ได้แก่การบำเพ็ญ[[วิปัสสนากรรมฐาน]]ของผู้ได้ฌานแล้วจนได้บรรลุ[[วิชชา|วิชชา 8]] คือเป็น[[พระอรหันต์]]

๒.๓.๓ การดำเนินการศึกษาตามหลักไตรสิกขา
เมื่อปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิได้มีพร้อมแล้วและได้สร้างสัมมาทิฏฐิให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลแล้วการฝึกตามหลักไตรสิกขาก็เริ่มต้นได้ ดังนี้
๒.๓.๓.๑ การดำเนินการศึกษาตามหลักของศีล
งานวิจัยเรื่องนี้ผู้วิจัยถือว่าศีลและวินัยมีสาระอย่างเดียวกัน คือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาตามหลักไตรสิกขา ส่วนความหมายระดับลึกของศัพท์ทั้งสองใช้ในความหมายตามทัศนะของพระธรรมปิฎกที่แบ่งศีลเป็น ๒ ระดับ ได้แก่ ศีลระดับธรรม ซึ่งหมายถึงข้อแนะนำสั่งสอน หรือหลักความประพฤติที่ทรงบัญญัติตามกฎธรรมดาแห่งความดีความชั่ว (กฎแห่งกรรม) กับ ศีลระดับวินัย คือ เป็นแบบแผนข้อบังคับที่บัญญัติขึ้นไว้เป็นทำนองประมวลกฎหมาย สำหรับกำกับความประพฤติของสมาชิกในหมู่ชนหรือชุมชนหนึ่ง โดยสอดคล้องกับความมุ่งหมายของหมู่คณะหรือชุมชนนั้นโดยเฉพาะ ผู้ละเมิดบทบัญญัติแห่งศีลประเภทวินัยนี้มีความผิดตามอาณาของหมู่ ตามนัยนี้ศีลจึงเป็นทั้งธรรมและเป็นทั้งวินัย สาระสำคัญของศีลคือเป็นแกนกลางในการจัดระเบียบแบบแผนสำหรับสังคม เมื่อจะกล่าวเฉพาะความหมายของวินัยท่านให้ความหมายไว้ ๒ อย่าง คือ ๑) การฝึกให้มีความประพฤติและความเป็นอยู่เป็นระเบียบแบบแผน หรือ การบังคับควบคุมตนให้อยู่ในระเบียบ แบบแผน รวมทั้งการใช้ระเบียบแบบแผนต่าง ๆ เป็นเครื่องจัดระเบียบความประพฤติ ความเป็นอยู่ของคนและกิจการของหมู่ชน ๒) ระเบียบแบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่วางไว้สำหรับเป็นหลักหรือเป็นมาตรฐานสำหรับใช้ฝึกคน วินัยมีทั้งส่วนที่เป็นของคฤหัสถ์เรียกว่า อาคาริยวินัย และส่วนที่เป็นของบรรพชิตเรียกว่า อนาคาริยวินัย คำว่าวินัยสำหรับบรรพชิตมิใช่ศีลในความหมายแคบ ๆ แต่ครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับความเป็นอยู่ด้านนอกของพระภิกษุทั้งหมด เริ่มตั้งแต่กำหนดคุณสมบัติ สิทธิ หน้าที่ วิธีรับและวิธีฝึกอบรมสมาชิกใหม่ เป็นต้น กล่าวโดยสรุปวินัยมีความหมายครอบคลุม ระบบแบบแผนเกี่ยวกับการปกครอง การบริหาร การศาล นิติบัญญัติ การเศรษฐกิจ การศึกษา เป็นต้น จะเห็นได้ว่าระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับการศึกษาก็เป็นเรื่องของศีลด้วยเหมือนกัน โดยสาระสำคัญของการศึกษาตามหลักศีลนี้เป็นเรื่องของการพัฒนาหรือการฝึกอบรม ๒ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ คือ ให้มนุษย์รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้งห้า ได้แก่ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิดโทษ ให้กุศลธรรมทั้งหลายเจริญงอกงาม ให้อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมสูญไป ๒) ด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม คือ ให้มนุษย์รู้จักตั้งตนอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เป็นต้น
๒.๓.๓.๒ การดำเนินการศึกษาตามหลักของสมาธิ การศึกษาตามหลักสมาธิ คือ การพัฒนาหรือฝึกอบรมจิตใจให้เกิดมีคุณลักษณะ ๓ ด้าน คือ ๑) ด้านสมรรถภาพจิต คือ จิตที่มีความสามารถในการคิดสูง เช่น คิดได้เก่ง คิดได้แคล่วคล่อง คิดได้รวดเร็ว คิดได้มาก เป็นต้น ๒) ด้านคุณภาพจิต คือ จิตมีคุณธรรม ซึ่งทำให้เห็นถึงลักษณะที่ดีเด่นของจิต เช่น มีความเข้มแข็งมั่นคง ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสติ สมาธิ มีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละเพื่อส่วนรวม ประหยัด กตัญญู เป็นต้น ๓) ด้านสุขภาพจิต คือ จิตที่มีสุขภาพดี เช่น จิตมีสมาธิ เป็นสุข สดชื่น ผ่องใส ร่าเริง เบิกบาน ปลอดโปร่ง โล่ง สบาย เป็นต้น
หลักการทางพุทธศาสนา อาศัยคำสอนระดับศีลหรือวินัยที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเป็นการเน้นไปทาง ด้านของโครงสร้าง กฎ ข้อบังคับ ระเบียบแบบแผน ต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาพัฒนาหรือฝึกอบรมด้านภายนอกตัวบุคคลในทัศนะพุทธศาสนามองว่า หากจะทำการศึกษาพัฒนาหรือฝึกอบรมได้ประสบผลสำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบต้องมีการศึกษาพัฒนาหรือฝึกอบรมด้านจิตใจซึ่งอยู่ภายในของตัวบุคคลด้วย คือ สร้างจิตสำนึกให้บุคคลในองค์กร ให้มีคุณธรรม เกิดความสำนึก มีความรับผิดชอบต่อตนเอง องค์กร ชุมชน และสังคม สามารถที่จะดำรงตนให้อยู่ในองค์กร ชุมชน และสังคม ที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ด้วยนั้นได้อย่างมีความสุขและเกื้อกูล
๒.๓.๓.๓ การดำเนินการศึกษาตามหลักของปัญญา การศึกษาตามหลักปัญญา คือ การพัฒนาหรือฝึกอบรมปัญญา ให้มนุษย์เกิดความรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงหรือรู้ตามที่มันเป็น ได้เคยกล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ว่า คำว่า ปัญญา และ คำว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นคำที่ใช้แทนกันได้ ดังนั้นทั้งปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิ คือ ความรู้รอบ เข้าใจชัดเจน หรือ ความเห็นชอบ เห็นถูกต้อง จึงเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นตัวนำที่มีบทบาทสำคัญอยู่ตลอดเวลาในทุกขั้นตอนของการศึกษา ยิ่งการศึกษาได้รับความก้าวหน้าไปมากขึ้นเท่าไร ทั้งปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิ ก็จะยิ่งเพิ่มพูนงอกงามมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ในที่สุดก็จะกลายเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้การศึกษาดำเนินการเข้าถึงจุดหมายปลายทางตามที่ได้กำหนดไว้ได้ ดังนั้น ทั้งปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิ จึงเป็นทั้งจุดเริ่มต้น และเป็นทั้งตัวการที่มีบทบาทสำคัญในทุกขั้นตอนของการศึกษาจนถึงปลายสุดของการศึกษา ในทัศนะพุทธศาสนามองว่า หากจะทำการศึกษาพัฒนาหรือฝึกอบรมมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบต้องมีพัฒนาด้านปัญญาภายในของตัวบุคคลด้วย คือ การพัฒนาปัญญาของบุคคลให้ดำเนินไปสู่เป้าหมายได้อย่างงดงาม สะดวก และมีความปลอดภัยในทุก ๆ ขั้นตอน
การพัฒนาปัญญาแบ่งได้ดังนี้ ปัญญาขั้นแรก คือ ปัญญาที่เป็นความรู้ความเข้าใจในศิลปวิทยาการ ต่อจากนั้น ลึกซึ้งลงไปอีกคือการรับรู้ เรียนรู้อย่างถูกต้อง ตามความเป็นจริง ไม่เบียดเบียนหรือเอนเอียงด้วยอคติ เหนือจากการรับรู้นั้น ยังมีขั้นต่อไปอีกคือการคิดการวินิจฉัย ซึ่งหมายถึงการคิดวินิจฉัยด้วยการใช้ปัญญาโดยบริสุทธิ์ใจ ปัญญาอีกขั้นหนึ่ง คือ ปัญญาที่รู้เข้าใจถึงสาระแห่งความเป็นไปของโลกและชีวิต รู้ทางเสื่อม ทางเจริญและเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รู้วิธีแก้ไขปัญหา และสร้างสรรค์ความสำเร็จที่ทำให้พัฒนาตน พัฒนาชีวิตและสังคมให้เจริญดีงามยิ่ง ๆ ขึ้นไป ขั้นสุดท้ายได้แก่ ปัญญาที่รู้เท่าทันธรรมดาของสังขาร คือโลกและชีวิต เข้าถึงความเจริญแท้ของการที่สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ทำให้คลายความยึดติดถือมั่นโดยวางใจได้ถูกต้องต่อสิ่ง
ทั้งหลาย แยกจิตใจออกมาเป็นอิสระได้ เลิกเอาความอยากของตนเป็นตัวกําหนดเปลี่ยนมาเป็นอยู่และทำการด้วยปัญญาเป็นขั้นที่จิตใจเข้าถึงอิสรภาพ หลุดพ้นจากความทุกข์โดยสมบูรณ์30ÔÒ การศึกษาตามหลัก ศีล สมาธิ และปัญญา มีความสัมพันธ์อย่างเกื้อกูลต่อกัน ดังนี้ คือ ด้านศีล เป็นการจัดระเบียบ ด้านสภาพแวดล้อมให้เกื้อกูลแก่การพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นสิ่งที่นำมาใช้ฝึกมนุษย์ ให้มีระเบียบวินัย มีความสุจริตกาย วาจา มีแรงงานที่เป็นสัมมาชีพ มีพฤติกรรมที่ดีงามและร่วมสร้างสรรค์สังคมให้ดีงาม และการอาศัยสภาพแวดล้อมที่เอื้อเช่นนี้ก็จะเป็นพื้นฐานให้เอื้อต่อการพัฒนาสมาธิหรือพัฒนาจิตใจต่อไป ด้านสมาธิ เป็นการพัฒนาจิตใจให้ประณีต มีสมรรถภาพ มีคุณภาพ และมีสุขภาพจิตที่ดี การอาศัยสภาพสภาพจิตใจที่ดีก็จะเป็นพื้นฐานให้เอื้อต่อการปัญญาต่อไปต่อไป ด้านปัญญา เป็นการพัฒนาปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจในสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง ทำการต่าง ๆ ด้วยความรู้เข้าใจ จนบรรลุถึงความรู้ประเภทที่ทำให้มีชีวิตหลุดพ้นเป็นอิสระ เป็นอยู่ด้วยความผ่องใสเบิกบานตลอดทุกเวลา เมื่อพัฒนามาจนถึงตรงนี้แล้วการบรรจบประสานของด้านจิตกับด้านปัญญา ก็จะทำให้ปัญญาส่งผลต่อจิตใจอีก โดยปัญญาจะปลดปล่อยจิตให้เป็นอิสระ และทำให้เกิดสภาพจิตอุเบกขาแต่เป็นอุเบกขาที่ประกอบด้วยปัญญา ซึ่งทำให้จิตอยู่ตัว มีดุลยภาพ สภาพจิตเช่นนี้ก็จะเป็นปัจจัยแก่ ศีล คือ ส่งผลทำให้มนุษย์เกิดมีพฤติกรรมที่ดีงามเกื้อกูลในความสัมพันธ์ทางสังคม ทำให้ไม่เบียดเบียนกัน และเป็นเครื่องประสานสังคมโดยนำไปสู่การให้เผื่อแผ่แบ่งปัน การช่วยเหลือเกื้อกูลกันด้วยวาจา และการบำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน เป็นต้น
๒.๓.๔ การวัดและประเมินผลการศึกษาตามหลักไตรสิกขา การวัดผล หมายถึง การใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งทำการค้นหาหรือการตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งเป็นปริมาณหรือคุณภาพที่มีความหมายแทนพฤติกรรมหรือคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแทนผลงานที่ผู้ศึกษาแต่ละคนแสดงออกมา ส่วนการประเมิน คือ การตัดสินคุณค่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยการเปรียบเทียบระหว่างผลจากการวัดกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แล้วสรุปตัดสินว่า ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน ได้ หรือ ตก เป็นต้น การศึกษาตามหลักของไตรสิกขานั้นมุ่งพัฒนามนุษย์ให้มีความเจริญงอกงาม ใน ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านศีล คือการพัฒนาทางด้านกายภาพและด้านสังคม ด้านสมาธิ คือ การพัฒนาทางด้านจิตใจ และ ด้านปัญญา คือ การพัฒนาทางด้านปัญญา ดังนั้นเมื่อแยกด้านศีลออกเป็น ๒ ด้านคือ ทางด้านกาย และด้านสังคม ก็จะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า มีการพัฒนามนุษย์เป็น ๔ ด้าน คือ ด้านกาย สังคม จิตใจ และสติปัญญา ดังนั้นเวลาวัดผลและประเมินผลที่จะทำให้สอดคล้องกับหลักของการศึกษาตามหลักไตรสิกขาจึงต้องแยกวัดให้ครบทั้ง ๔ ด้านดังนี้
๒.๓.๔.๑ พัฒนาการทางด้านกาย พัฒนาการทางด้านกาย เป็นการพัฒนาหรือฝึกอบรมด้านกายให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้งห้า ได้แก่ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิดโทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ พัฒนาการดังกล่าวมาให้สังเกตจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น บริโภคใช้สอยปัจจัย ๔ ในปริมาณและคุณภาพที่เหมาะสมได้คุณค่าแท้ ดูแลร่างกาย การนุ่งห่ม การแต่งกายสะอาดเรียบร้อย ดำรงชีวิตอย่างเกื้อกูลสิ่งแวดล้อม เป็น
๒.๓.๔.๒ พัฒนาการทางด้านศีล พัฒนาการทางด้านศีล เป็นการพัฒนาหรือฝึกอบรมด้านความประพฤติของบุคคล ให้เป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในระเบียบวินัย ไม่ให้เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี มีความเกื้อกูลต่อผู้อื่นในสังคม พัฒนาการดังกล่าวมาให้สังเกตจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ถ้าเป็นบรรพชิต สังเกตจากความประพฤติตามหลักที่เรียกว่าปาริสุทธิศีล ได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรศีล คือ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระพุทธเจ้าอนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย อินทรียสังวรศีล คือ ความสำรวมอินทรีย์ ระวังไม่ให้บาปอกุศลครอบงำเมื่อรับรู้อินทรีย์ทั้ง ๖ อาชีวปาริสุทธิศีล คือ ความบริสุทธิ์แห่งอาชีพ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ และ ปัจจัยสันนิสิตศีล คือ พิจารณาใช้สอยปัจจัยสี่ ให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา เป็นต้น ถ้าเป็นคฤหัสถ์ หรือ ชาวบ้านทั่วไปสังเกตจากความประพฤติ คือ เป็นผู้มีศีล ๕ เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต มีวินัย ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา สามารถพึ่งตนเองได้หรือทำงานเลี้ยงชีพด้วยความสุจริต เป็นต้น
๒.๓.๔.๓ พัฒนาการทางด้านจิต พัฒนาการทางด้านจิต เป็นการพัฒนาหรือฝึกอบรมด้านจิตใจของบุคคล ให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง เจริญด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเตตากรุณา ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ สดชื่น เบิกบาน เป็นสุข ผ่องใส เป็นต้น พัฒนาการดังกล่าวมาให้สังเกตจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ถ้าเป็นบรรพชิต สังเกตจากความประพฤติตามหลักสัมมาวายามะ หมายถึง ความพยายามหรือความเพียรชอบ ได้แก่ สังวรประธาน คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ปหานปธาน คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ภาวนาปธาน คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่งขึ้นจนไพบูลย์ เป็นต้น นอกจากนี้ควรสังเกตจากความประพฤติตามหลัก สัมมาสติ หมายถึง การระลึกชอบ และสัมมาสมาธิ หมายถึง การตังจิตมั่นชอบ เป็นต้น ถ้าเป็นคฤหัสถ์ หรือ ชาวบ้านทั่วไปสังเกตจากความประพฤติ คือ มีความกตัญญูรู้คุณ ตอบแทนคุณ มีจิตใจ เมตตา กรุณา (เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แบ่งปัน) ต่อกัน ทำงานและเรียนรู้อย่างตั้งใจ อดทน ขยันหมั่นเพียร มีสุขภาพจิตดี แจ่มใส ร่าเริง เบิกบาน เป็นต้น
๒.๓.๔.๔ พัฒนาการทางด้านปัญญา พัฒนาการทางด้านปัญญา เป็นการพัฒนาหรือฝึกอบรมด้านปัญญาของบุคคล ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา พัฒนาการดังกล่าวมาให้สังเกตจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น มีศรัทธาและความเข้าใจถูกต้องในพระรัตนตรัยรู้บาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ ใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา แสวงหาความจริง และใฝ่สร้างสรรค์ พัฒนางานอยู่เสมอ รู้เท่าทัน แก้ไขปัญหาชีวิตและการทำงานได้ด้วยสติปัญญา เป็นต้น

[[หมวดหมู่:ศาสนาพุทธ]]
[[หมวดหมู่:ศาสนาพุทธ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:47, 6 กรกฎาคม 2560

ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา 3 หมายถึงข้อสำหรับศึกษา, การศึกษาข้อปฏิบัติที่พึงศึกษา, การฝึกฝนอบรมตนในเรื่องที่พึงศึกษา 3 อย่างคือ

  1. อธิสีลสิกขา คือศึกษาเรื่องศีล อบรมปฏิบัติให้ถูกต้องดีงาม ให้ถูกต้องตามหลักจุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล ตลอดถึงปฏิบัติอยู่ในหลัก มัชฌิมศีล และมหาศีล ตลอดถึงปฏิบัติอยู่ในหลักอินทรียสังวร สติสัมปชัญญะ และสันโดษ
  2. อธิจิตตสิกขา คือศึกษาเรื่องจิต อบรมจิตให้สงบมั่นคงเป็นสมาธิ ได้แก่การบำเพ็ญสมถกรรมฐานของผู้สมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์จนได้บรรลุฌาน 4
  3. อธิปัญญาสิกขา คือศึกษาเรื่องปัญญาอบรมตนให้เกิดปัญญาแจ่มแจ้ง ได้แก่การบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานของผู้ได้ฌานแล้วจนได้บรรลุวิชชา 8 คือเป็นพระอรหันต์

๒.๓.๓ การดำเนินการศึกษาตามหลักไตรสิกขา เมื่อปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิได้มีพร้อมแล้วและได้สร้างสัมมาทิฏฐิให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลแล้วการฝึกตามหลักไตรสิกขาก็เริ่มต้นได้ ดังนี้ ๒.๓.๓.๑ การดำเนินการศึกษาตามหลักของศีล งานวิจัยเรื่องนี้ผู้วิจัยถือว่าศีลและวินัยมีสาระอย่างเดียวกัน คือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาตามหลักไตรสิกขา ส่วนความหมายระดับลึกของศัพท์ทั้งสองใช้ในความหมายตามทัศนะของพระธรรมปิฎกที่แบ่งศีลเป็น ๒ ระดับ ได้แก่ ศีลระดับธรรม ซึ่งหมายถึงข้อแนะนำสั่งสอน หรือหลักความประพฤติที่ทรงบัญญัติตามกฎธรรมดาแห่งความดีความชั่ว (กฎแห่งกรรม) กับ ศีลระดับวินัย คือ เป็นแบบแผนข้อบังคับที่บัญญัติขึ้นไว้เป็นทำนองประมวลกฎหมาย สำหรับกำกับความประพฤติของสมาชิกในหมู่ชนหรือชุมชนหนึ่ง โดยสอดคล้องกับความมุ่งหมายของหมู่คณะหรือชุมชนนั้นโดยเฉพาะ ผู้ละเมิดบทบัญญัติแห่งศีลประเภทวินัยนี้มีความผิดตามอาณาของหมู่ ตามนัยนี้ศีลจึงเป็นทั้งธรรมและเป็นทั้งวินัย สาระสำคัญของศีลคือเป็นแกนกลางในการจัดระเบียบแบบแผนสำหรับสังคม เมื่อจะกล่าวเฉพาะความหมายของวินัยท่านให้ความหมายไว้ ๒ อย่าง คือ ๑) การฝึกให้มีความประพฤติและความเป็นอยู่เป็นระเบียบแบบแผน หรือ การบังคับควบคุมตนให้อยู่ในระเบียบ แบบแผน รวมทั้งการใช้ระเบียบแบบแผนต่าง ๆ เป็นเครื่องจัดระเบียบความประพฤติ ความเป็นอยู่ของคนและกิจการของหมู่ชน ๒) ระเบียบแบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่วางไว้สำหรับเป็นหลักหรือเป็นมาตรฐานสำหรับใช้ฝึกคน วินัยมีทั้งส่วนที่เป็นของคฤหัสถ์เรียกว่า อาคาริยวินัย และส่วนที่เป็นของบรรพชิตเรียกว่า อนาคาริยวินัย คำว่าวินัยสำหรับบรรพชิตมิใช่ศีลในความหมายแคบ ๆ แต่ครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับความเป็นอยู่ด้านนอกของพระภิกษุทั้งหมด เริ่มตั้งแต่กำหนดคุณสมบัติ สิทธิ หน้าที่ วิธีรับและวิธีฝึกอบรมสมาชิกใหม่ เป็นต้น กล่าวโดยสรุปวินัยมีความหมายครอบคลุม ระบบแบบแผนเกี่ยวกับการปกครอง การบริหาร การศาล นิติบัญญัติ การเศรษฐกิจ การศึกษา เป็นต้น จะเห็นได้ว่าระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับการศึกษาก็เป็นเรื่องของศีลด้วยเหมือนกัน โดยสาระสำคัญของการศึกษาตามหลักศีลนี้เป็นเรื่องของการพัฒนาหรือการฝึกอบรม ๒ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ คือ ให้มนุษย์รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้งห้า ได้แก่ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิดโทษ ให้กุศลธรรมทั้งหลายเจริญงอกงาม ให้อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมสูญไป ๒) ด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม คือ ให้มนุษย์รู้จักตั้งตนอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เป็นต้น ๒.๓.๓.๒ การดำเนินการศึกษาตามหลักของสมาธิ การศึกษาตามหลักสมาธิ คือ การพัฒนาหรือฝึกอบรมจิตใจให้เกิดมีคุณลักษณะ ๓ ด้าน คือ ๑) ด้านสมรรถภาพจิต คือ จิตที่มีความสามารถในการคิดสูง เช่น คิดได้เก่ง คิดได้แคล่วคล่อง คิดได้รวดเร็ว คิดได้มาก เป็นต้น ๒) ด้านคุณภาพจิต คือ จิตมีคุณธรรม ซึ่งทำให้เห็นถึงลักษณะที่ดีเด่นของจิต เช่น มีความเข้มแข็งมั่นคง ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสติ สมาธิ มีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละเพื่อส่วนรวม ประหยัด กตัญญู เป็นต้น ๓) ด้านสุขภาพจิต คือ จิตที่มีสุขภาพดี เช่น จิตมีสมาธิ เป็นสุข สดชื่น ผ่องใส ร่าเริง เบิกบาน ปลอดโปร่ง โล่ง สบาย เป็นต้น หลักการทางพุทธศาสนา อาศัยคำสอนระดับศีลหรือวินัยที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเป็นการเน้นไปทาง ด้านของโครงสร้าง กฎ ข้อบังคับ ระเบียบแบบแผน ต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาพัฒนาหรือฝึกอบรมด้านภายนอกตัวบุคคลในทัศนะพุทธศาสนามองว่า หากจะทำการศึกษาพัฒนาหรือฝึกอบรมได้ประสบผลสำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบต้องมีการศึกษาพัฒนาหรือฝึกอบรมด้านจิตใจซึ่งอยู่ภายในของตัวบุคคลด้วย คือ สร้างจิตสำนึกให้บุคคลในองค์กร ให้มีคุณธรรม เกิดความสำนึก มีความรับผิดชอบต่อตนเอง องค์กร ชุมชน และสังคม สามารถที่จะดำรงตนให้อยู่ในองค์กร ชุมชน และสังคม ที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ด้วยนั้นได้อย่างมีความสุขและเกื้อกูล

๒.๓.๓.๓ การดำเนินการศึกษาตามหลักของปัญญา การศึกษาตามหลักปัญญา คือ การพัฒนาหรือฝึกอบรมปัญญา ให้มนุษย์เกิดความรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงหรือรู้ตามที่มันเป็น ได้เคยกล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ว่า คำว่า ปัญญา และ คำว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นคำที่ใช้แทนกันได้ ดังนั้นทั้งปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิ คือ ความรู้รอบ เข้าใจชัดเจน หรือ ความเห็นชอบ เห็นถูกต้อง จึงเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นตัวนำที่มีบทบาทสำคัญอยู่ตลอดเวลาในทุกขั้นตอนของการศึกษา ยิ่งการศึกษาได้รับความก้าวหน้าไปมากขึ้นเท่าไร ทั้งปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิ ก็จะยิ่งเพิ่มพูนงอกงามมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ในที่สุดก็จะกลายเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้การศึกษาดำเนินการเข้าถึงจุดหมายปลายทางตามที่ได้กำหนดไว้ได้ ดังนั้น ทั้งปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิ จึงเป็นทั้งจุดเริ่มต้น และเป็นทั้งตัวการที่มีบทบาทสำคัญในทุกขั้นตอนของการศึกษาจนถึงปลายสุดของการศึกษา ในทัศนะพุทธศาสนามองว่า หากจะทำการศึกษาพัฒนาหรือฝึกอบรมมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบต้องมีพัฒนาด้านปัญญาภายในของตัวบุคคลด้วย คือ การพัฒนาปัญญาของบุคคลให้ดำเนินไปสู่เป้าหมายได้อย่างงดงาม สะดวก และมีความปลอดภัยในทุก ๆ ขั้นตอน 

การพัฒนาปัญญาแบ่งได้ดังนี้ ปัญญาขั้นแรก คือ ปัญญาที่เป็นความรู้ความเข้าใจในศิลปวิทยาการ ต่อจากนั้น ลึกซึ้งลงไปอีกคือการรับรู้ เรียนรู้อย่างถูกต้อง ตามความเป็นจริง ไม่เบียดเบียนหรือเอนเอียงด้วยอคติ เหนือจากการรับรู้นั้น ยังมีขั้นต่อไปอีกคือการคิดการวินิจฉัย ซึ่งหมายถึงการคิดวินิจฉัยด้วยการใช้ปัญญาโดยบริสุทธิ์ใจ ปัญญาอีกขั้นหนึ่ง คือ ปัญญาที่รู้เข้าใจถึงสาระแห่งความเป็นไปของโลกและชีวิต รู้ทางเสื่อม ทางเจริญและเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รู้วิธีแก้ไขปัญหา และสร้างสรรค์ความสำเร็จที่ทำให้พัฒนาตน พัฒนาชีวิตและสังคมให้เจริญดีงามยิ่ง ๆ ขึ้นไป ขั้นสุดท้ายได้แก่ ปัญญาที่รู้เท่าทันธรรมดาของสังขาร คือโลกและชีวิต เข้าถึงความเจริญแท้ของการที่สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ทำให้คลายความยึดติดถือมั่นโดยวางใจได้ถูกต้องต่อสิ่ง ทั้งหลาย แยกจิตใจออกมาเป็นอิสระได้ เลิกเอาความอยากของตนเป็นตัวกําหนดเปลี่ยนมาเป็นอยู่และทำการด้วยปัญญาเป็นขั้นที่จิตใจเข้าถึงอิสรภาพ หลุดพ้นจากความทุกข์โดยสมบูรณ์30ÔÒ การศึกษาตามหลัก ศีล สมาธิ และปัญญา มีความสัมพันธ์อย่างเกื้อกูลต่อกัน ดังนี้ คือ ด้านศีล เป็นการจัดระเบียบ ด้านสภาพแวดล้อมให้เกื้อกูลแก่การพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นสิ่งที่นำมาใช้ฝึกมนุษย์ ให้มีระเบียบวินัย มีความสุจริตกาย วาจา มีแรงงานที่เป็นสัมมาชีพ มีพฤติกรรมที่ดีงามและร่วมสร้างสรรค์สังคมให้ดีงาม และการอาศัยสภาพแวดล้อมที่เอื้อเช่นนี้ก็จะเป็นพื้นฐานให้เอื้อต่อการพัฒนาสมาธิหรือพัฒนาจิตใจต่อไป ด้านสมาธิ เป็นการพัฒนาจิตใจให้ประณีต มีสมรรถภาพ มีคุณภาพ และมีสุขภาพจิตที่ดี การอาศัยสภาพสภาพจิตใจที่ดีก็จะเป็นพื้นฐานให้เอื้อต่อการปัญญาต่อไปต่อไป ด้านปัญญา เป็นการพัฒนาปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจในสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง ทำการต่าง ๆ ด้วยความรู้เข้าใจ จนบรรลุถึงความรู้ประเภทที่ทำให้มีชีวิตหลุดพ้นเป็นอิสระ เป็นอยู่ด้วยความผ่องใสเบิกบานตลอดทุกเวลา เมื่อพัฒนามาจนถึงตรงนี้แล้วการบรรจบประสานของด้านจิตกับด้านปัญญา ก็จะทำให้ปัญญาส่งผลต่อจิตใจอีก โดยปัญญาจะปลดปล่อยจิตให้เป็นอิสระ และทำให้เกิดสภาพจิตอุเบกขาแต่เป็นอุเบกขาที่ประกอบด้วยปัญญา ซึ่งทำให้จิตอยู่ตัว มีดุลยภาพ สภาพจิตเช่นนี้ก็จะเป็นปัจจัยแก่ ศีล คือ ส่งผลทำให้มนุษย์เกิดมีพฤติกรรมที่ดีงามเกื้อกูลในความสัมพันธ์ทางสังคม ทำให้ไม่เบียดเบียนกัน และเป็นเครื่องประสานสังคมโดยนำไปสู่การให้เผื่อแผ่แบ่งปัน การช่วยเหลือเกื้อกูลกันด้วยวาจา และการบำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน เป็นต้น ๒.๓.๔ การวัดและประเมินผลการศึกษาตามหลักไตรสิกขา การวัดผล หมายถึง การใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งทำการค้นหาหรือการตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งเป็นปริมาณหรือคุณภาพที่มีความหมายแทนพฤติกรรมหรือคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแทนผลงานที่ผู้ศึกษาแต่ละคนแสดงออกมา ส่วนการประเมิน คือ การตัดสินคุณค่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยการเปรียบเทียบระหว่างผลจากการวัดกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แล้วสรุปตัดสินว่า ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน ได้ หรือ ตก เป็นต้น การศึกษาตามหลักของไตรสิกขานั้นมุ่งพัฒนามนุษย์ให้มีความเจริญงอกงาม ใน ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านศีล คือการพัฒนาทางด้านกายภาพและด้านสังคม ด้านสมาธิ คือ การพัฒนาทางด้านจิตใจ และ ด้านปัญญา คือ การพัฒนาทางด้านปัญญา ดังนั้นเมื่อแยกด้านศีลออกเป็น ๒ ด้านคือ ทางด้านกาย และด้านสังคม ก็จะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า มีการพัฒนามนุษย์เป็น ๔ ด้าน คือ ด้านกาย สังคม จิตใจ และสติปัญญา ดังนั้นเวลาวัดผลและประเมินผลที่จะทำให้สอดคล้องกับหลักของการศึกษาตามหลักไตรสิกขาจึงต้องแยกวัดให้ครบทั้ง ๔ ด้านดังนี้ ๒.๓.๔.๑ พัฒนาการทางด้านกาย พัฒนาการทางด้านกาย เป็นการพัฒนาหรือฝึกอบรมด้านกายให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้งห้า ได้แก่ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิดโทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ พัฒนาการดังกล่าวมาให้สังเกตจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น บริโภคใช้สอยปัจจัย ๔ ในปริมาณและคุณภาพที่เหมาะสมได้คุณค่าแท้ ดูแลร่างกาย การนุ่งห่ม การแต่งกายสะอาดเรียบร้อย ดำรงชีวิตอย่างเกื้อกูลสิ่งแวดล้อม เป็น ๒.๓.๔.๒ พัฒนาการทางด้านศีล พัฒนาการทางด้านศีล เป็นการพัฒนาหรือฝึกอบรมด้านความประพฤติของบุคคล ให้เป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในระเบียบวินัย ไม่ให้เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี มีความเกื้อกูลต่อผู้อื่นในสังคม พัฒนาการดังกล่าวมาให้สังเกตจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ถ้าเป็นบรรพชิต สังเกตจากความประพฤติตามหลักที่เรียกว่าปาริสุทธิศีล ได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรศีล คือ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระพุทธเจ้าอนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย อินทรียสังวรศีล คือ ความสำรวมอินทรีย์ ระวังไม่ให้บาปอกุศลครอบงำเมื่อรับรู้อินทรีย์ทั้ง ๖ อาชีวปาริสุทธิศีล คือ ความบริสุทธิ์แห่งอาชีพ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ และ ปัจจัยสันนิสิตศีล คือ พิจารณาใช้สอยปัจจัยสี่ ให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา เป็นต้น ถ้าเป็นคฤหัสถ์ หรือ ชาวบ้านทั่วไปสังเกตจากความประพฤติ คือ เป็นผู้มีศีล ๕ เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต มีวินัย ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา สามารถพึ่งตนเองได้หรือทำงานเลี้ยงชีพด้วยความสุจริต เป็นต้น ๒.๓.๔.๓ พัฒนาการทางด้านจิต พัฒนาการทางด้านจิต เป็นการพัฒนาหรือฝึกอบรมด้านจิตใจของบุคคล ให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง เจริญด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเตตากรุณา ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ สดชื่น เบิกบาน เป็นสุข ผ่องใส เป็นต้น พัฒนาการดังกล่าวมาให้สังเกตจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ถ้าเป็นบรรพชิต สังเกตจากความประพฤติตามหลักสัมมาวายามะ หมายถึง ความพยายามหรือความเพียรชอบ ได้แก่ สังวรประธาน คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ปหานปธาน คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ภาวนาปธาน คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่งขึ้นจนไพบูลย์ เป็นต้น นอกจากนี้ควรสังเกตจากความประพฤติตามหลัก สัมมาสติ หมายถึง การระลึกชอบ และสัมมาสมาธิ หมายถึง การตังจิตมั่นชอบ เป็นต้น ถ้าเป็นคฤหัสถ์ หรือ ชาวบ้านทั่วไปสังเกตจากความประพฤติ คือ มีความกตัญญูรู้คุณ ตอบแทนคุณ มีจิตใจ เมตตา กรุณา (เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แบ่งปัน) ต่อกัน ทำงานและเรียนรู้อย่างตั้งใจ อดทน ขยันหมั่นเพียร มีสุขภาพจิตดี แจ่มใส ร่าเริง เบิกบาน เป็นต้น ๒.๓.๔.๔ พัฒนาการทางด้านปัญญา พัฒนาการทางด้านปัญญา เป็นการพัฒนาหรือฝึกอบรมด้านปัญญาของบุคคล ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา พัฒนาการดังกล่าวมาให้สังเกตจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น มีศรัทธาและความเข้าใจถูกต้องในพระรัตนตรัยรู้บาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ ใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา แสวงหาความจริง และใฝ่สร้างสรรค์ พัฒนางานอยู่เสมอ รู้เท่าทัน แก้ไขปัญหาชีวิตและการทำงานได้ด้วยสติปัญญา เป็นต้น