ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นางมณโฑ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Idolahu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6: บรรทัด 6:
| name = นางมณโฑ
| name = นางมณโฑ
| series = [[รามเกียรติ์]]
| series = [[รามเกียรติ์]]
| image = Emerald Buddha Temple - 2017-06-11 (099).jpg
| image =
| caption =
| caption =มณโฑและทศกัณฑ์
| first =
| first =
| last =
| last =
บรรทัด 21: บรรทัด 21:
| info-hdr =
| info-hdr =
| noinfo =
| noinfo =
| fullname = พระนางมันโททรี
| fullname = มันโททรี
| nickname =
| nickname =
| alias =
| alias =
บรรทัด 50: บรรทัด 50:
}}
}}


'''นางมณโฑ''' ในมหากาพย์[[รามายณะ]]เรียกว่า '''พระนางมันโททรี''' ({{lang-sa|मंदोदरी}}; {{lang-en|Mandodari}}) เป็นชายาของ[[พาลี]] [[ทศกัณฐ์]] [[หนุมาน]] และ[[พิเภก]] โดยระหว่างเป็นมเหสีของทศกัณฐ์ นางได้ให้กำเนิด[[นางสีดา]]
'''มณโฑ''' ในมหากาพย์[[รามายณะ]]เรียกว่า '''มันโททรี''' ({{lang-sa|मंदोदरी}}; {{lang-en|Mandodari}}) เป็นชายาของ[[พาลี]] [[ทศกัณฐ์]] [[หนุมาน]] และ[[พิเภก]] โดยระหว่างเป็นมเหสีของทศกัณฐ์ นางได้ให้กำเนิด[[นางสีดา]]


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:30, 16 มิถุนายน 2560

นางมณโฑ
ตัวละครใน รามเกียรติ์
มณโฑและทศกัณฑ์
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
เพศหญิง
ตำแหน่งอัครมเหสีแห่งกรุงลงกา
คู่สมรสพาลี, ทศกัณฐ์, หนุมาน, พิเภก
บุตรองคต, อินทรชิต, นางสีดา, ทศพิน
สีกายขาว

มณโฑ ในมหากาพย์รามายณะเรียกว่า มันโททรี (สันสกฤต: मंदोदरी; อังกฤษ: Mandodari) เป็นชายาของพาลี ทศกัณฐ์ หนุมาน และพิเภก โดยระหว่างเป็นมเหสีของทศกัณฐ์ นางได้ให้กำเนิดนางสีดา

ประวัติ

นางมณโฑเทวีเป็นนางฟ้าผู้รับใช้ใกล้ชิดของพระอุมาเทวี อดีตชาติเป็นนางกบ ที่ได้อาศัยอยู่กับพระฤๅษี ๔ องค์ที่บำเพ็ญตบะมาหลายหมื่นปี ทุกเช้าจะมีนางโคห้าร้อยตัวมาหยดน้ำนมลงในอ่างให้ฤๅษีดื่มกิน ฤๅษีก็จะแบ่งน้ำนมให้แก่นางกบกินด้วยทุกวัน อยู่มาวันหนึ่งมีนางนาคขึ้นมาจากเมืองบาดาลด้วยความกำหนัดใคร่หาชายมาสมสู่ด้วย หาเท่าไรก็ไม่เจอผู้ชายซักคนจนไปพบงูดินเพศผู้ตัวหนึ่งจึงกลายร่างเป็นพญานาคและร่วมสมสู่กับงูดิน ฤๅษีทั้ง๔เดินมาพบก็แปลกใจเหตุใดพญานาคลดตัวต่ำมาร่วมรักกับงูดินได้ พระฤๅษีจึงเอาไม้เท้าเคาะที่กลางหลัง นางนาคตกใจและอับอายหนีหายเข้าเมืองบาดาล นางนาคคิดได้จึงคิดฆ่าพระฤๅษีเพราะกลัวว่าจะนำเรื่องของตนไปเผยแพร่ จึงได้คายพิษใส่ในอ่างน้ำนมนางกบมาเห็นจึงกินนมในอ่างจนหมดจนตนเองตาย พระฤๅษีมาเห็นจึงเพ่งตบะเห็นเหตุการณ์ทั้งหมด จึงทำการชุบชีวิตและเสกนางเป็นสาวงามและตั้งชื่อว่า นางมนโฑ ซึ่งหมายถึง นางกบ และนำนางไปถวายแก่พระอิศวร พระอิศวรรับนาง และให้นางไปเป็นนางพระกำนัล ของพระอุมาเทวี พระมเหสีของตน ภายหลังได้ประทานให้แก่ทศกัณฐ์ที่สามารถชลอเขาไกรลาศให้ตั้งตรงได้

ลักษณะและสี

สีขาว ๑ หน้า ๒ มือ มงกุฏนาง

สวามีและโอรสธิดา

นางมณโฑเทวีเป็นมเหสีองค์ที่ ๑ ของท้าวทศกัณฐ์ มีบุตร ๓ คือ อินทรชิต ยุพราชกรุงลงกา นางสีดา มเหสีของพระราม และทศพิน (ไพนาสุริยวงศ์) กษัตริย์กรุงลงกาองค์ที่ ๕ นอกจากนี้จากการที่นางมณโฑเคยถูกพาลีชิงไปจากทศกัณฐ์ ทำให้นางมีโอรสกับพาลีอีกหนึ่ง คือ องคต

บทชมโฉม

เดชะพระเวทสิทธิศักดิ์ พระวิษณุรักษ์รังสรรค์

เกิดเป็นกัลยาวิลาวัณย์ งามวิจิตรพิศพรรณขวัญตา

งามพักตร์ยิ่งชั้นมหาราช งามวิลาสล้ำนางในดึงสา

งามเนตรยิ่งเนตรในยามา งามนาสิกล้ำในดุษฎี

งามโอษฐ์งามกรรณงามปราง ยิ่งนางในนิมาราศี

งามเกศยิ่งเกศกัลยาณี อันมีในชั้นนิรมิต

ทั้งหกห้องฟ้าหาไม่ได้ ด้วยทรงวิไลลักษณ์ไพจิตร

ใครเห็นเป็นที่เพ่งพิศ ทั้งไตรภพจบทิศไม่เทียมทัน

พยัญชนะ ฑ

พยัญชนะ ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปนางรำเนื่องจากในโขนรามเกียรตื์นางมณโฑมารำ จึงทำให้มีสัญลักษณ์นางรำ