ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นีดฟอร์สปีด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
W700 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
W700 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 36: บรรทัด 36:


ส่วนแนวคิดของการแต่งรถ ได้พัฒนาขึ้นไปพร้อมกับเกมใหม่ๆ ที่ออกมา โดยในตอนแรกเริ่มต้นจากการการปรับแต่งรถว่าจะให้รถนั้นมีรูปแบบแบบไหน และต่อมาก็เริ่มตั้งค่าระบบต่างๆ ได้เช่น [[ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก]] (ABS), [[ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี]] (TSC) และ[[แรงกด]] (downforce) หรือจะอัปเกรดชิ้นส่วนรถยนต์ อย่างเช่น เครื่องยนต์และกระปุกเกียร์ ส่วนการปรับแต่งภายนอกได้เริ่มมีความสำคัญในโหมดการแข่งขันอาชีพหลังจากที่''[[นีดฟอร์สปีด: อันเดอร์เกราน์ด 2]]'' ได้วางจำหน่าย โดยที่รถที่มีการปรับแต่งภายนอกได้สวยก็จะมีเรตติ้งสูง และจะได้อยู่บนปกนิตยสาร (ที่เกมสมมุติขึ้นมา)<ref>{{cite web|url=http://ps2.ign.com/articles/566/566102p2.html|title=Need for Speed: Underground 2 Review |last=Perry |first=Douglas|date=2004-11-12|publisher=IGN|page=2|accessdate=2008-08-09}}</ref>
ส่วนแนวคิดของการแต่งรถ ได้พัฒนาขึ้นไปพร้อมกับเกมใหม่ๆ ที่ออกมา โดยในตอนแรกเริ่มต้นจากการการปรับแต่งรถว่าจะให้รถนั้นมีรูปแบบแบบไหน และต่อมาก็เริ่มตั้งค่าระบบต่างๆ ได้เช่น [[ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก]] (ABS), [[ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี]] (TSC) และ[[แรงกด]] (downforce) หรือจะอัปเกรดชิ้นส่วนรถยนต์ อย่างเช่น เครื่องยนต์และกระปุกเกียร์ ส่วนการปรับแต่งภายนอกได้เริ่มมีความสำคัญในโหมดการแข่งขันอาชีพหลังจากที่''[[นีดฟอร์สปีด: อันเดอร์เกราน์ด 2]]'' ได้วางจำหน่าย โดยที่รถที่มีการปรับแต่งภายนอกได้สวยก็จะมีเรตติ้งสูง และจะได้อยู่บนปกนิตยสาร (ที่เกมสมมุติขึ้นมา)<ref>{{cite web|url=http://ps2.ign.com/articles/566/566102p2.html|title=Need for Speed: Underground 2 Review |last=Perry |first=Douglas|date=2004-11-12|publisher=IGN|page=2|accessdate=2008-08-09}}</ref>

เช่นเดียวกับเกมส์แข่งรถอื่นๆ ชุดเกม ''นีดฟอร์สปีด'' ได้มีรายการของรถแต่ละประเภทและแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ รถสมรรถนะสูงมาก (ซุปเปอร์คาร์, เอ็กโซติก) รถมัสเซิล รถแต่ง และรถพิเศษ<ref name="cars">{{cite web|url=http://www.ea.com/nfs/carbon/us/car.jsp|title=Need for Speed: Carbon (Cars)|publisher=[[Electronic Arts]]|accessdate=2008-08-09}}</ref> รถเอ็กโซติกมีคุณสมบัติคือมีสมรรถนะที่สูงและแพง เช่น [[ลัมโบร์กินี มูร์เซียลาโก]], [[เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอสแอลอาร์ แม็คลาเรน]], [[เชฟโรเลต คอร์เวิต]] และ [[ฟอร์ด จีที]]; รถมัสเซิล เช่น [[ฟอร์ด มัสแตง]], [[ดอดจ์ ชาเลนเจอร์]] และ [[เชฟโรเลต คามาโร]]; รถแต่ง เช่น [[นิสสัน สกายไลน์]] และ [[มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชัน]] ส่วนรถพิเศษจะเป็นรถของพลเรือนและรถตำรวจซึ่งสามารถใช้ได้ในบางเกม เช่น [[ฟอร์ด คราวน์ วิคตอเรีย]] ในเกม ''[[นีดฟอร์สปีด: ฮอตเพอร์ซูต (วิดีโอเกม พ.ศ. 2553)|นีดฟอร์สปีด: ฮอตเพอร์ซูต]]'' ส่วนรถขยะ รถดับเพลิง และรถแท็กซี่ใช้ได้ในเกม ''[[นีดฟอร์สปีด: คาร์บอน]]''.<ref name="cars" />

แต่เดิมแล้ว ชุดเกมนี้ได้ใช้สนามแข่งรถและจัดฉากให้คล้ายกับเมืองหรือประเทศต่างๆ เช่น [[ออสเตรเลีย]] [[ยุโรป]] และ[[แอฟริกา]]<ref>{{cite web|url=http://www.gamespot.com/pc/driving/needforspeed2/review.html?om_act=convert&om_clk=gssummary&tag=summary;review|title=Need for Speed II Review|last=Kaiafas|first=Tasos|date=1997-05-14|publisher=[[GameSpot]]|accessdate=2008-08-09}}</ref> แต่ต่อมา ตั้งแต่ภาค''อันเดอร์เกราน์ด'' ได้มีการสมมุติเมืองอุตสาหกรรมขึ้นมา<ref name="UG1">{{cite web|url=http://ps2.ign.com/articles/440/440657p3.html|title=Need for Speed Underground Review|last=Mirabella III|first=Fran|publisher=IGN|page=3|accessdate=2008-08-09|date=2003-12-14}}</ref> ภาคเกมแรกนั้นมีจราจรในโหมด "ตัวต่อตัว" และต่อมาเกมใหม่ๆ ก็สามารถเปิดปิดโหมดจราจรได้เริ่มตั้งแต่ภาค''อันเดอร์เกราน์ด'' หน้าที่ของรถสัญจรจราจรคือเป็นสิ่งกีดขวางผู้แข่ง<ref name="UG1" /> ภาคหลังๆ ของเกม''นีดฟอร์สปีด''ใหม่ๆ ได้ใช้โลกที่สมมุติขึ้นมา อีกทั้งยังมีตอนกลางวัน/กลางคืนด้วย โลกสมมุติได้แก่ เบย์วิว (Bayview), ร็อกพอร์ต (Rockport), ซีเครสต์ คันที (Seacrest County), แฟร์แฮฟเว่น ซิตี้ (Fairhaven City) และ เวนทูร่า เบย์ (Ventura Bay)


==การพัฒนา==
==การพัฒนา==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:54, 5 มิถุนายน 2560

นีดฟอร์สปีด
ไฟล์:NFS2015.png
ประเภทแข่งรถ
ผู้พัฒนาไพโอเนียร์ โปรดักชันส์, อีเอ แคนาดา, อีเอ ซีเอตเทิล, อีเดน สตูดิโอส์, พอกเกตเทียรส์, อีเอ แบล็กบ๊อกซ์, อีเอ แวนคูเวอร์, เอ็กเซียนต์ เอนเตอร์เทนเมนต์, ฟรายแบรนด์ เกม, ปิรันยา เกม, ซไลท์ลี เมด สตูดิโอส์, อีเอ ไบรท์ ไลท์, ไครทีเรียน เกม, โกสต์เกมส์
ผู้จัดจำหน่ายอิเล็กทรอนิก อาตส์
ระบบปฏิบัติการเอ็มเอส-ดอส, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แมคโอเอสเท็น, เพลย์สเตชัน, เพลย์สเตชัน 2, เพลย์สเตชัน 3, เพลย์สเตชัน 4, เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล, เพลย์สเตชันวิต้า, นินเทนโด เกมคิวบ์, นินเทนโด วี, นินเทนโด วียู, เอกซ์บอกซ์, เอกซ์บอกซ์ 360, เอกซ์บอกซ์ วัน,3ดีโอ,ซีโบ,ไอโอเอส, แอนดรอยด์, วินโดวส์โมเบิล, วินโดวส์โฟน, เกมมือถือ, นินเทนโด ดีเอส, นินเทนโด 3ดีเอส, เกมบอยแอ็ดวานซ์
วางจำหน่ายครั้งแรกเดอะนีดฟอร์สปีด
31 สิงหาคม พ.ศ. 2537
จำหน่ายครั้งล่าสุดNeed for Speed (2015)
3 พฤศจิกายน 2015

นีดฟอร์สปีด (อังกฤษ: Need For Speed, NFS) เป็นชื่อซีรีส์ของเกมส์แข่งรถ จัดจำหน่ายโดยบริษัทอิเล็กทรอนิก อาตส์ และพัฒนาโดยสตูดิโอ EA Black Box และอีกหลากหลายสตูดิโอ เกมนีดฟอร์สปีด เป็นเกมแข่งรถที่ประสบความสำเร็จสูงสุดตลอดกาล โดยมียอดขายมากกว่า 100 ล้านชุด[1]

ซีรีส์นี้เริ่มแรกพัฒนาโดยสตูดิโอชาวแคนาดาชื่อ Distinctive Software หรือรู้จักกันในชื่อ EA Canada โดยเกมแรกมีชื่อว่า เดอะนีดฟอร์สปีด ในอเมริกาเหนือ, ญี่ปุ่น และยุโรป ในปี 1994 โดยวางจำหน่ายลงบนเครื่องคอนโซลยุคที่ห้า และจนถึงยุคที่เจ็ดในปี 2008 โดยตัวเกมมีระบบการเล่นหลักคือ แข่งรถในสนามแข่ง ต่อมาก็เพิ่มตำรวจเข้าไปไล่ล่าผู้เล่นในสนามแข่งด้วย

การเล่น

เกมส์เกือบทั้งหมดในชุด นีดฟอร์สปีด มีการเล่นและระบบต่างๆ คล้ายกันหมด โดยที่ผู้เล่นต้องควบคุมรถแข่งในสนามแข่งที่มีความหลากหลาย ซึ่งเป้าหมายคือชนะการแข่งขัน ในโหมดทัวร์นาเมนท์หรือโหมดอาชีพ ผู้เล่นต้องชนะชุดการแข่งขันแต่ละชุดในนั้นเพื่อที่จะปลดล็อกรถแข่งและสนามแข่งต่อไป ก่อนการแข่งรถ ผู้เล่นจะต้องเลือกรถแข่งและระบบเกียร์ของรถซึ่งมีทั้งระบบเกียร์แบบธรรมดาและระบบเกียร์แบบอัตโนมัติ

ถึงแม้ว่าเกมชุดนี้จะมีการใช้ชื่อนีดฟอร์สปีดด้วยกัน แต่อาจมีการเล่น เสียง ภาพกราฟิก หรือจุดมุ่งหมายแตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น ในบางเกมรถแข่งอาจมีการพังและความเร็วลดลงจากการชนคู่แข่งหรือขอบสนาม ในขณะที่บางเกมไม่สามารถมีรอยพังและความเสื่อมสมรรถภาพของเครื่องยนต์ได้เลย ในบางเกมรถอาจมีความสมจริงมาก แต่บางเกมรถไม่ค่อยมีความสมจริง

ในภายหลังเปิดตัวของ นีดฟอร์สปีด: อันเดอร์เกราน์ด ชุดเกมนี้ก็ได้เปลี่ยนจากการแข่งรถสปอร์ตในสนามแข่งจากจุดไปจุดมาเป็นการแต่งรถซิ่งผิดกฎหมายบนถนนในเมือง จนถึงปัจจุบัน การแต่งรถแข่งในเมืองได้เป็นรูปแบบหลักในชุดเกมนี้ตลอดมา

นีดฟอร์สปีด: ชิฟต์ ภาคแรกและภาคสอง ได้เปลี่ยรเป็นแนวจำลองการแข่งรถในสนามแข่งแบบปิดจริง อย่างเช่น Nürburgring และ Laguna Seca แล้วก็ยังมีสนามแข่ง (แบบปิด) บนถนนในลอนดอนและชิคาโก้ ส่วนรถที่ใช้ในการแข่งขันได้มีรวมกันทั้งรถเอ็กโซติก รถสปอร์ต และรถพิเศษสำหรับการแข่งบนสนาม

เกมส่วนใหญ่ในแฟรนไชส์นี้จะมีรถตำรวจไล่ล่าจับผู้ร้าย และผู้เล่นสามารถเลือกที่จะเล่นเป็นผู้ร้ายหรือตำรวจได้อีกด้วย[2] ส่วนรูปแบบการดริฟต์ และการแข่งรถแบบลาก (แดรก) ได้เริ่มมีครั้งแรกใน นีดฟอร์สปีด: อันเดอร์เกราน์ด รูปแบบการแข่งขันนี้อยู่ในโหมดอาชีพ ในการแข่งขันการดริฟต์ ผู้เล่นจะต้องชนะผู้เล่นอื่นโดยสะสมแต้มการดริฟต์ให้มากที่สุด ซึ่งนับจากระยะทางและเวลาที่สามารถดริฟต์ได้ของรถของผู้เล่น[3] ในการแข่งขันแบบลาก ผู้เล่นต้องชนะที่หนึ่งในการแข่งขัน แต่ถ้าผู้เล่นได้ไปปะทะกับรถจราจรหรือสิ่งกีดขวางต่างๆ การแข่งขันก็จะจบทันที[3]

ส่วนแนวคิดของการแต่งรถ ได้พัฒนาขึ้นไปพร้อมกับเกมใหม่ๆ ที่ออกมา โดยในตอนแรกเริ่มต้นจากการการปรับแต่งรถว่าจะให้รถนั้นมีรูปแบบแบบไหน และต่อมาก็เริ่มตั้งค่าระบบต่างๆ ได้เช่น ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก (ABS), ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี (TSC) และแรงกด (downforce) หรือจะอัปเกรดชิ้นส่วนรถยนต์ อย่างเช่น เครื่องยนต์และกระปุกเกียร์ ส่วนการปรับแต่งภายนอกได้เริ่มมีความสำคัญในโหมดการแข่งขันอาชีพหลังจากที่นีดฟอร์สปีด: อันเดอร์เกราน์ด 2 ได้วางจำหน่าย โดยที่รถที่มีการปรับแต่งภายนอกได้สวยก็จะมีเรตติ้งสูง และจะได้อยู่บนปกนิตยสาร (ที่เกมสมมุติขึ้นมา)[4]

เช่นเดียวกับเกมส์แข่งรถอื่นๆ ชุดเกม นีดฟอร์สปีด ได้มีรายการของรถแต่ละประเภทและแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ รถสมรรถนะสูงมาก (ซุปเปอร์คาร์, เอ็กโซติก) รถมัสเซิล รถแต่ง และรถพิเศษ[5] รถเอ็กโซติกมีคุณสมบัติคือมีสมรรถนะที่สูงและแพง เช่น ลัมโบร์กินี มูร์เซียลาโก, เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอสแอลอาร์ แม็คลาเรน, เชฟโรเลต คอร์เวิต และ ฟอร์ด จีที; รถมัสเซิล เช่น ฟอร์ด มัสแตง, ดอดจ์ ชาเลนเจอร์ และ เชฟโรเลต คามาโร; รถแต่ง เช่น นิสสัน สกายไลน์ และ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชัน ส่วนรถพิเศษจะเป็นรถของพลเรือนและรถตำรวจซึ่งสามารถใช้ได้ในบางเกม เช่น ฟอร์ด คราวน์ วิคตอเรีย ในเกม นีดฟอร์สปีด: ฮอตเพอร์ซูต ส่วนรถขยะ รถดับเพลิง และรถแท็กซี่ใช้ได้ในเกม นีดฟอร์สปีด: คาร์บอน.[5]

แต่เดิมแล้ว ชุดเกมนี้ได้ใช้สนามแข่งรถและจัดฉากให้คล้ายกับเมืองหรือประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย ยุโรป และแอฟริกา[6] แต่ต่อมา ตั้งแต่ภาคอันเดอร์เกราน์ด ได้มีการสมมุติเมืองอุตสาหกรรมขึ้นมา[7] ภาคเกมแรกนั้นมีจราจรในโหมด "ตัวต่อตัว" และต่อมาเกมใหม่ๆ ก็สามารถเปิดปิดโหมดจราจรได้เริ่มตั้งแต่ภาคอันเดอร์เกราน์ด หน้าที่ของรถสัญจรจราจรคือเป็นสิ่งกีดขวางผู้แข่ง[7] ภาคหลังๆ ของเกมนีดฟอร์สปีดใหม่ๆ ได้ใช้โลกที่สมมุติขึ้นมา อีกทั้งยังมีตอนกลางวัน/กลางคืนด้วย โลกสมมุติได้แก่ เบย์วิว (Bayview), ร็อกพอร์ต (Rockport), ซีเครสต์ คันที (Seacrest County), แฟร์แฮฟเว่น ซิตี้ (Fairhaven City) และ เวนทูร่า เบย์ (Ventura Bay)

การพัฒนา

ปีที่เกมถูกปล่อยตามช่วงเวลา
1994 – เดอะนีดฟอร์สปีด
1995 –
1996 –
1997 – นีดฟอร์สปีด II
1998 – นีดฟอร์สปีด III: ฮอตเพอร์สูต
1999 – นีดฟอร์สปีด: ไฮ สเตกส์
2000 – นีดฟอร์สปีด: ปอร์เช่ อันลีชด์
2001 –
2002 – นีดฟอร์สปีด: ฮอตเพอร์สูต 2
2003 – นีดฟอร์สปีด: อันเดอร์เกราน์ด
2004 – นีดฟอร์สปีด: อันเดอร์เกราน์ด 2
2005 – นีดฟอร์สปีด: โมสท์วอนเต็ด
2006 – นีดฟอร์สปีด: คาร์บอน
2007 – นีดฟอร์สปีด: โปรสตรีท
2008 – นีดฟอร์สปีด: อันเดอร์คัฟเวอร์
2009 – นีดฟอร์สปีด: ชิฟต์
นีดฟอร์สปีด: ไนโตร
2010 – นีดฟอร์สปีด: เวิลด์
นีดฟอร์สปีด: ฮอตเพอร์สูต
2011 – ชิฟต์ 2: อันลีชต์
นีดฟอร์สปีด: เดอะรัน
2012 – นีดฟอร์สปีด: โมสท์วอนเต็ด
2013 – นีดฟอร์สปีด: ไรวัลส์
2014 –
2015 – นีดฟอร์สปีด: โนลิมิต
นีดฟอร์สปีด
2016 –
2017 – – นีดฟอร์สปีด: เพย์แบ็ก
TBA – – นีดฟอร์สปีด: เอดจ์

ชุดวีดีโอเกม นีดฟอร์สปีด แต่เดิมแล้วได้ถูกพัฒนาโดย Distinctive Software บริษัทสตูดิโอเกมแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ แวนคูเวอร์, บริติชโคลัมเบีย, แคนาดา และหลังจากนั้นก็ถูกบริษัทวีดีโอเกมอิเล็กทรอนิก อาตส์ซื้อบริษัทนี้ไปในปี ค.ศ. 1991 บริษัทนี้เคยได้สร้างวีดีโอเกมแข่งรถชื่อดังหลายเกมเช่น Stunts และ Test Drive II: The Duel หลังจากถูกซื้อ บริษัทนี้ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Electronic Arts (EA) Canada[8] หลังจากนั้น บริษัท EA Canada ก็ได้เริ่มการพัฒนาชุดเกมนีดฟอร์สปีดต่อถึงปี ค.ศ. 2002 และต่อมา บริษัทเกมแห่งหนึ่งจากแวนคูเวอร์ที่ชื่อว่า Black Box Games ก็ได้ถูกจ้างให้สร้างเกมนีดฟอร์สปีด: ฮอตเพอร์สูต 2 ต่อ[9] บริษัท EA Black Box นั้นก็ได้เป็นบริษัทหลักสร้างชุดเกมนี้ตลอดมาจากปี ค.ศ. 2002–2008 ต่อมาในปี ค.ศ. 2009 ชุดเกมนีดฟอร์สปีดเริ่มมียอดขายน้อยลง อีเอจึงได้ซื้อบริษัทเกม Slightly Mad Studios เพื่อพัฒนา นีดฟอร์สปีด: ชิฟต์ และบริษัท Criterion Games จากสหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 2010 เพื่อพัฒนาเกม นีดฟอร์สปีด: ฮอตเพอร์สูต ในปี 2011, Slightly Mad Studios ก็ได้พัฒนาเกม ชิฟต์ 2: อันลีชต์ และ EA Black Box ได้พัฒนาเกม นีดฟอร์สปีด: เดอะรัน.

ในปี ค.ศ. 2010 อีเอได้แนะนำเครือข่ายสังคมที่ชื่อว่า Autolog สำหรับ นีดฟอร์สปีด: ฮอตเพอร์สูต และเกมนีดฟอร์สปีด อื่นๆ ในอนาคต Autolog นั้นมีคุณสมบัติตรวจสอบความคืบหน้าของเกม ดูตารางอันดับ และส่งภาพหน้าจอให้กับเพื่อนๆ และอีกมากมายผ่านโทรศัพท์มือถือ[10]

ที่งาน E3 2012 Alex Ward รองประธานบริษัท Criterion Games ได้ออกมากล่าวว่านักพัฒนาของบริษัทไม่ได้เป็นผู้สร้างภาคต่อของนีดฟอร์สปีดอีกต่อไปแล้ว แต่ Ward ก็ไม่ได้ยืนยันว่าเกมนีดฟอร์สปีดในอนาคตนั้นบริษัท Criterion Games จะเป็นผู้พัฒนาเกมนีดฟอร์สปีดเพียงผู้เดียว แต่ก็มีส่วนร่วมอย่างมากในการพัฒนาภาคใหม่ของนีดฟอร์สปีดในอนาคต[11][12]

ในช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2013 ได้มีการประกาศว่าบริษัท Criterion Games จะมีการปรับโครงสร้างและลดขนาดองกรณ์ลง ในขณะที่บริษัทโกสต์เกมส์จะเป็นหัวหอกในการพัฒนาซีรีส์นีดฟอร์สปีดในอนาคตทั้งหมด[11]

อ้างอิง

  1. "EA's Need for Speed Franchise Races Past 100 Million Copies" (Press release). Electronic Arts. 2009-10-21. สืบค้นเมื่อ 2009-10-21.
  2. Gerstmann, Jeff (1999-03-31). "Need for Speed High Stakes Review". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2008-08-09.
  3. 3.0 3.1 "Need for Speed Underground Game Guide". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-08-09.
  4. Perry, Douglas (2004-11-12). "Need for Speed: Underground 2 Review". IGN. p. 2. สืบค้นเมื่อ 2008-08-09.
  5. 5.0 5.1 "Need for Speed: Carbon (Cars)". Electronic Arts. สืบค้นเมื่อ 2008-08-09.
  6. Kaiafas, Tasos (1997-05-14). "Need for Speed II Review". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2008-08-09.
  7. 7.0 7.1 Mirabella III, Fran (2003-12-14). "Need for Speed Underground Review". IGN. p. 3. สืบค้นเมื่อ 2008-08-09.
  8. "Electronic Arts completes acquisition of Bullfrog Productions Ltd". Business Wire. Findarticles.com. 1995-01-24. สืบค้นเมื่อ 2008-08-09.[ลิงก์เสีย]
  9. Andrews, Marke (2008-01-03). "Martin Sikes co-founded Black Box Games". Vancouver Sun. Canada.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-07. สืบค้นเมื่อ 2008-08-09.
  10. http://help.ea.com/uk/article/what-is-autolog/
  11. 11.0 11.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Yin
  12. Jackson, Mike (2012-06-22). "News: Criterion in control of entire Need for Speed franchise". ComputerAndVideoGames.com. สืบค้นเมื่อ 2012-06-26.

แหล่งข้อมูลอื่น