ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทีโอที"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ข้อความด้านงบประมาณ ควรจะเขียนให้มีสาระ
บรรทัด 110: บรรทัด 110:
== บริษัทคู่ค้าและคู่กรณี ==
== บริษัทคู่ค้าและคู่กรณี ==


# '''บริษัท [[ทรู คอร์ปอเรชั่น]] จำกัด (มหาชน)'' ชื่อเดิม [[เทเลคอมเอเชีย]] (ทีเอ)
# '''บริษัท [[ทรู คอร์ปอเรชั่น]] จำกัด (มหาชน)''' ชื่อเดิม [[เทเลคอมเอเชีย]] (ทีเอ)
#: รับสัมปทานการให้บริการ[[โทรศัพท์]]ประจำที่ใน[[เขตนครหลวง]] แต่เป็นบริษัทที่จะฟ้องร้องคดีความต่าง ๆ กับ[[ทีโอที]] มีมูลค่ามากที่สุดถึง 23,065 ล้านบาท {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} โดยคดีความที่มีปัญหามากที่สุดคือ ทรูตีความว่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นบริการเสริมของ[[โทรศัพท์]]ประจำที่ ซึ่งแตกต่างจากการตีความของ[[สหพันธ์โทรคมนาคมนานาชาติ]] (International Telecommunications Union) ซึ่งเป็นหน่วยงานสากลเช่นเดียวกับ[[สหประชาชาติ]] {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
#: รับสัมปทานการให้บริการ[[โทรศัพท์]]ประจำที่ใน[[เขตนครหลวง]] แต่เป็นบริษัทที่จะฟ้องร้องคดีความต่าง ๆ กับ[[ทีโอที]] มีมูลค่ามากที่สุดถึง 23,065 ล้านบาท {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} โดยคดีความที่มีปัญหามากที่สุดคือ ทรูตีความว่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นบริการเสริมของ[[โทรศัพท์]]ประจำที่ ซึ่งแตกต่างจากการตีความของ[[สหพันธ์โทรคมนาคมนานาชาติ]] (International Telecommunications Union) ซึ่งเป็นหน่วยงานสากลเช่นเดียวกับ[[สหประชาชาติ]] {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
# '''บริษัท [[ทีทีแอนด์ที]] จำกัด (มหาชน)''' ชื่อเดิม [[[ไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมูนิเกชั่น]] (ทีทีแอนด์ที)
# '''บริษัท [[ทีทีแอนด์ที]] จำกัด (มหาชน)''' ชื่อเดิม [[ไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมูนิเกชั่น]] (ทีทีแอนด์ที)
#: รับสัมปทานการให้บริการ[[โทรศัพท์]]ประจำที่ในเขตภูมิภาค แต่เป็นบริษัทที่จะฟ้องร้องคดีความต่าง ๆ กับทีโอทีเช่นเดียวกัน มีมูลค่า 28,753 ล้านบาท {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ทีทีแอนด์ที ได้ละเมิดทรัพย์สินของทีโอที ให้บริษัทลูก ([[ทริปเปิ้ลทรี บรอดแบนด์]]) ไปให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยไม่ได้รับอนุญาต {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
#: รับสัมปทานการให้บริการ[[โทรศัพท์]]ประจำที่ในเขตภูมิภาค แต่เป็นบริษัทที่จะฟ้องร้องคดีความต่าง ๆ กับทีโอทีเช่นเดียวกัน มีมูลค่า 28,753 ล้านบาท {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ทีทีแอนด์ที ได้ละเมิดทรัพย์สินของทีโอที ให้บริษัทลูก ([[ทริปเปิ้ลทรี บรอดแบนด์]]) ไปให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยไม่ได้รับอนุญาต {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
# '''บริษัท [[แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส]] จำกัด (มหาชน)''' หรือ '''[[แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส|เอไอเอส]]'''
# '''บริษัท [[แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส]] จำกัด (มหาชน)''' หรือ '''[[แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส|เอไอเอส]]'''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:18, 24 พฤษภาคม 2560

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
TOT Public Company Limited
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 (70 ปี)
ผู้ก่อตั้งรัฐบาลไทย
หน่วยงานก่อนหน้า
สำนักงานใหญ่89/2 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
งบประมาณประจำปีรายได้ 47,869.4
รายจ่าย 55,430.2
ส่วนต่าง(ขาดทุน) 5885
(คิดเป็นหน่วยล้านบาท) (ปีงบประมาณ 2558)
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ต้นสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เว็บไซต์www.tot.co.th

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT Public Company Limited) เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสื่อสารโทรคมนาคม และถือเป็นกิจการโทรศัพท์แห่งชาติของไทย ดำเนินกิจการเกี่ยวกับโทรศัพท์และการสื่อสาร แปรรูปมาจาก องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 ปัจจุบันยังคงมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด

ทีโอที ทำหน้าที่ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมทุกประเภท ทั้งในและระหว่างประเทศ ผ่านบริการต่าง ๆ ทั้งทางสายโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งประกอบด้วยใบอนุญาตแบบที่ 3 (ที่มีโครงข่ายของตนเองเพื่อให้เช่าใช้) เดิมเป็นองค์กรที่ทั้งควบคุมการให้บริการโทรคมนาคม และเป็นผู้ให้บริการวิทยุสื่อสาร แต่ในปัจจุบัน โอนหน้าที่กำกับดูแลไปยัง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ประวัติ

องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ (ท.ศ.ท.)

ไฟล์:Emblem of Telephone Organization of Thailand.png

เดิมเป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมไปรษณีย์โทรเลข ใช้ชื่อว่ากองช่างโทรศัพท์ โดยได้เปลี่ยนมาเป็น องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ (ท.ศ.ท.) (Telephone Organization of Thailand) เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 ในช่วงแรกรับผิดชอบเฉพาะการวางชุมสายโทรศัพท์ในเขตนครหลวง แต่ในภายหลังได้ดูแลกิจการโทรศัพท์ของทั้งประเทศ โดยโอนความรับผิดชอบมาจากกรมไปรษณีย์โทรเลข

บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ไฟล์:ทศท2.jpg

วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ท.ศ.ท.)ได้แปรรูป แต่ยังคงสถานะรัฐวิสาหกิจในรูปแบบ บริษัทมหาชนจำกัด ใช้ชื่อว่า บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TOT Corporation Public Company Limited.) เมื่อมีการปรับปรุงโครงสร้างทางราชการ บมจ. ทศท คอร์ปอเรชั่น ได้ย้ายมาสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

ชื่อบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยจดทะเบียนเป็นบริษัท จำกัด มหาชน ใช้ชื่อว่า บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT Public Company Limited) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 นัยว่าเพื่อให้เป็นชื่อที่ตรงกันทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมเปลี่ยนตราสัญลักษณ์เหลือเพียงเครื่องหมาย ทีโอที

เกม เทลส์รันเนอร์

เกม เทลส์รันเนอร์ ในเครือทีโอที (ยุติการในบริการในวันที่ 30 เมษายน 2559 เวลา 23.59 น. และโอนย้ายข้อมูลทั้งหมดไปยังค่าย Asiasoft และให้เปิดบริการในวันที่ 1 พฤษภาคม 2559)

เกม We Dancing Online

เกม We Dancing Online ในเครือทีโอที (ปิดให้บริการแล้ว)

เกม ToyWars

เกม ToyWars ในเครือทีโอที

เกม Cloud Nine

เกม Cloud Nine ในเครือทีโอที (ปิดให้บริการแล้ว)

เกม Valiant Online

เกม Valiant Online ในเครือทีโอที (ปิดให้บริการแล้ว)

บริษัทคู่ค้าและคู่กรณี

  1. บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ชื่อเดิม เทเลคอมเอเชีย (ทีเอ)
    รับสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ในเขตนครหลวง แต่เป็นบริษัทที่จะฟ้องร้องคดีความต่าง ๆ กับทีโอที มีมูลค่ามากที่สุดถึง 23,065 ล้านบาท[ต้องการอ้างอิง] โดยคดีความที่มีปัญหามากที่สุดคือ ทรูตีความว่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นบริการเสริมของโทรศัพท์ประจำที่ ซึ่งแตกต่างจากการตีความของสหพันธ์โทรคมนาคมนานาชาติ (International Telecommunications Union) ซึ่งเป็นหน่วยงานสากลเช่นเดียวกับสหประชาชาติ[ต้องการอ้างอิง]
  2. บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) ชื่อเดิม ไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมูนิเกชั่น (ทีทีแอนด์ที)
    รับสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ในเขตภูมิภาค แต่เป็นบริษัทที่จะฟ้องร้องคดีความต่าง ๆ กับทีโอทีเช่นเดียวกัน มีมูลค่า 28,753 ล้านบาท[ต้องการอ้างอิง] ทีทีแอนด์ที ได้ละเมิดทรัพย์สินของทีโอที ให้บริษัทลูก (ทริปเปิ้ลทรี บรอดแบนด์) ไปให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยไม่ได้รับอนุญาต[ต้องการอ้างอิง]
  3. บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส
    รับสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในระบบ GSM 900 จนถึงปัจจุบันเป็นบริษัทที่มีความร่วมมือกันในการให้บริการต่าง ๆ ด้วยดีตลอดมา นับเป็นบริษัทมีความสัมพันธ์อันดีกับทีโอที

กิจการร่วมค้า ไทย-โมบาย

จากนโยบายของรัฐบาลในสมัยนั้นที่ต้องการให้ หน่วยงานของรัฐให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แข่งกับเอกชนเพื่อลดราคา จึงได้ให้รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) โดย ทีโอที กสท และ บจก. วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จัดตั้งบริษัท เอซีที โมบาย จำกัด ชื่อบริษัทมาจากอักษรตัวแรกของทั้ง 3 หน่วยงาน ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใน ระบบ GSM1900 ภายใต้ชื่อ THAImobile ต่อมา บจก. วิทยุการบินแห่งประเทศไทย ได้ถอนหุ้นไปในปัจจุบัน คงเหลือเพียง ทีโอที : กสท ที่ยังคงดำรงหุ้นในอัตราส่วน 58: 42 ต่อมาในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 ทีโอที ได้ทำการซื้อหุ้นในส่วนของ กสท. เพื่อมาบริหารทั้งหมด พร้อมทั้งได้สิทธิ์การให้บริการ 3G และสิทธิ์การใช้คลื่นความถี่วิทยุ 1900 MHz แต่เพียงผู้เดียว เพื่อเตรียมนำไปให้บริการ 3G

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น