ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ลบเนื้อหาที่ไม่ควรมีดูที่วิกิพีเดีย:โครงการวิกิสถานศึกษา
บรรทัด 77: บรรทัด 77:
</gallery>
</gallery>


=== ปรัชญา & เป้าหมายและวิสัยทัศน์ ===
=== ปรัชญา ===
*'''ปรัชญา :''' ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม
*'''ปรัชญา :''' ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม
*'''เป้าหมายและวิสัยทัศน์ :''' มหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำ เพื่อปวงชน


=== อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ ===
=== อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:37, 21 พฤษภาคม 2560

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ไฟล์:Logo satitsuannan.jpg
ชื่อย่อมร.สส. / SSRU
คติพจน์ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม
ประเภทมหาวิทยาลัยรัฐ
สถาปนาโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย
17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 (37 ปี)

วิทยาลัยครูสวนสุนันทา
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 (16 ปี)

สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (12 ปี)

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (19 ปี)
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ ดร. ฤๅเดช เกิดวิชัย
นายกสภามหาวิทยาลัยนาย กร ทัพพะรังสี
ที่ตั้ง
เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
วิทยาเขตศาลายา

ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

สมุทรสงคราม
ถนนพระราม 2 (ธนบุรี-ปากท่อ) ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

ระนอง
บริเวณด้านหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง

อุดรธานี
บ้านหนองบุ ตำบลสามพร้าว
อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

สุพรรณบุรี (ยังไม่เปิดสอน)
ตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

เชียงราย (ยังไม่เปิดสอน)

ติดถนนเส้นไปสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ตำบลครึ่ง
อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
สี   น้ำเงิน-ชมพู
เว็บไซต์http://www.ssru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (อังกฤษ: Suan Sunandha Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ถูกจัดอันดับมหาวิทยาลัยให้เป็นราชภัฏอันดับ 1 จากการจัดอันดับของสภาวิจัยจากประเทศสเปน สหภาพยุโรป และได้รับการติดจาก QS Star ประเทศอังกฤษ ในระดับ 2 ดาว ซึ่งหมายความว่าเป็นที่พูดถึงในระดับนานาชาติจำนวนมาก เป็นที่รู้จักในวงกว้างของสถาบันที่นำเสนองานวิจัยระดับนานาชาติ (เป็นราชภัฏเพียงแห่งเดียวจาก 38 แห่งทั่วประเทศไทยที่ได้รับการติดดาวQS) นอกจากนี้ยังมี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ได้รับดาวจาก QS โดยสวนสุนันทาตั้งเป้าไว้ที่จะได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกจาก QS ซึ่งเป็นที่ยอมรับในสากลเรื่องของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก

มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีรากฐานมาจากการสถาปนา "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย" เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เปิดสอน ประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) ต่อมาจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยครูสวนสุนันทา" ในปี พ.ศ. 2518 ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

ในปี พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "สถาบันราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งยังได้พระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสวสาสถาบันราชภัฏ และเมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูสวนสุนันทาจึงมีชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา"

ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ยังผลให้สถาบันราชภัฏสวนสุนันทายกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ประวัติ

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ทรงพระราชดำริว่าสถานที่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในคับแคบ ไม่เหมาะสมจะเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน จึงโปรดให้สร้างพระตำหนักและตึกในบริเวณสวนสุนันทาขึ้นอีกหลายหลัง แล้วโปรดให้เป็นที่ประทับของพระมเหสี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมและพระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก รวมทั้งอาคารที่พักของบรรดาข้าราชบริพาร โดยมีสมเด็จพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ได้เสด็จมาประทับ ณ ตำหนักสายสุทธานพดล (ตึก 27) ตั้งแต่ พ.ศ. 2467 ถึง พ.ศ. 2472 (สิ้นพระชนม์ ณ ตำหนักที่ประทับสวนสุนันทา) เนื่องจากในสมัยนั้นบรรดาขุนนาง ข้าราชการ ผู้มีบรรดาศักดิ์นิยมนำบุตรี และหลานของตนมาถวายตัวต่อสมเด็จพระวิมาดาเธอฯ เป็นจำนวนมาก สมเด็จพระวิมาดาเธอฯ จึงทรงให้สร้าง "โรงเรียนนิภาคาร " ขึ้นภายในสวนสุนันทา สอนตามหลักสูตรการศึกษาในสมัยนั้น รวมทั้งอบรมจริยา มารยาท การฝีมือ ให้เป็นกุลสตรี

ครั้นถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ในสวนสุนันทาหวั่นเกรงภัยจากการเมือง จึงได้ทะยอยกันออกไปจากสวนสุนันทาจนหมดสิ้น บางพระองค์ได้เสด็จออกไปอยู่หัวเมืองและหลายพระองค์เสด็จลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ โรงเรียนนิภาคารจึงเลิกดำเนินการไปโดยปริยาย นับแต่นั้นมาสวนสุนันทาที่เคยงดงามก็ถูกทอดทิ้ง ขาดการดูแลเอาใจใส่ ตำหนักต่างๆ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก พื้นที่ภายในรกร้างว่างเปล่า ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เห็นว่าสวนสุนันทาถูกทอดทิ้งรกร้างอยู่มิได้ทำประโยชน์ จึงเห็นสมควรให้นายกรัฐมนตรีได้ใช้ประโยชน์ เป็นที่อยู่อาศัยของรัฐมนตรีและผู้แทนราษฎร แต่สภาผู้แทนราษฎรขอเพียงพื้นที่ภายนอกกำแพงติดถนนสามเสนสร้างเป็นบ้านพักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น คณะรัฐมนตรีจึงลงมติเห็นสมควรว่า ควรใช้สถานที่นี้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและมอบให้กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้งให้เป็นสถานศึกษาของชาติ และสถานที่ศึกษานี้ให้ชื่อโดยคงชื่อเดิมของสถานที่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ โดยขนานนามว่า "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย " เริ่มเปิดการศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน ดั่งคำขวัญ มหาวิทยาลัยที่วาจากพระราชอุทยาน สู่ สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในอนาคตอาจจะเป็นมหาวิทยาลัยสวนสุนันทา ตามเจตนารมของผู้บริหารและนักศึกษาต่อไป

สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

ปรัชญา

  • ปรัชญา : ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม

อัตลักษณ์และเอกลักษณ์

  • อัตลักษณ์ เป็นนักปฏิบัติ ถนัดวิชาการ เชี่ยวชาญการสื่อสาร ชำนาญการคิด มีจิตสาธารณะ
  • เอกลักษณ์ เน้นความเป็นวัง ปลุกฝังองค์ความรู้ ยึดมั่นคุณธรรมให้เชิดชู เป็นองค์การเรียนรู้สู่สากล

เพลงประจำมหาวิทยาลัย

  • ร่มโพธิ์ทอง
  • มาร์ชสวนสุนันทา

สีประจำมหาวิทยาลัย

  •   สีน้ำเงิน หมายถึง การรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์
  •   สีชมพู หมายถึง การรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ไฟล์:Flora KaewChaoChom.jpg
ดอกแก้วเจ้าจอม

ต้นแก้วเจ้าจอม เหตุที่ชื่อ “แก้วเจ้าจอม” เพราะเป็นไม้ของเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ในครั้งรัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริสร้างสวนสุนันทาขึ้นเป็นที่ ระลึกถึงพระมเหสี คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ปัจจุบันต้นกำเนิดต้นนี้มีอายุมากกว่า 100 ปี และมีอยู่ต้นเดียวในประเทศไทย เป็นต้นไม้หายาก ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 ) ทรงได้พันธุ์มาเมื่อคราวเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย มาปลูกไว้ในวังสวนสุนันทา ปัจจุบันคือ “มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา” ต้นแก้วเจ้าจอม มีลักษณะใบประกอบ 2 คู่ ได้ถูกจัดลำดับเป็นพันธุ์พืชอนุรักษ์ในบัญชี 2 ภายใต้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2525

โครงการ สถานีโทรทัศน์ SSRU TV Online

สถาบันสร้างสรรค์และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (สสสร.) ,Institute of Lifelong Learning Promotion and Creative เป็นสถาบันย่อยของมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการแข่งขันและสนองตอบความต้องการของสังคม เป็นการผลักดันให้มหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับในฐานะ "มหาวิทยาลัยชั้นนำ" ได้มีโครงการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เผยแพร่ภาพและเสียงผ่านระบบ Internet Protocol Television ในชื่อช่อง "SSRU TV Online" (Online ในที่นี่หมายถึง TV Streaming) ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงการดำเนินการผลิตรายการและเตรียมความพร้อมในการออกอากาศ โดยได้ทดลองออกอากาศแล้วผ่านเว็บไซต์ SSRU TV Online

การจัดการศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดทำการเรียนการสอนอย่างครอบคลุม ซึ่งการจัดการศึกษามีอยู่ในหลายระดับการศึกษา ได้แก่

  1. ระดับก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยฯ (เตรียมอนุบาล อายุ 2 ขวบ - อนุบาล 3 อายุ 6 ขวบ)
  2. ระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตประถมฯ (ชั้น ป.1 - ป.6)
  3. ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมัธยมฯ (ชั้น ม.1 - ม.6)
  4. ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี - ปริญญาเอก)

หน่วยงาน

คณะ

เครือข่ายความร่วมมือของมหาวิทาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

university of hradec králové - สาธารณรัฐเช็ก

สาธารณรัฐเช็ก

- University of hradec králové

- Metropolitan University Prague

วิทยาลัยนานาชาติจัดสอบชิงทุนทุกปีไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยที่สาธารณรัฐเช็ก "โดยเสียค่าใช้จ่ายเท่าค่าเทอมที่สวนสุนันทาแต่ได้ไปเรียนไกลถึงยุโรป"

ประเทศโมร็อกโก

- Universite hassan 1 morocco

- University of hassan ii casablanca

indiana state university

ประเทศสหรัฐอเมริกา

- Indiana state university

ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

- BHMS - Business Hotel Management School Luzern Switzerland

National Taipei University of Education

ประเทศจีน

- the university of saint joseph macau

- Tianjin University of Traditional Chinese Medicine ร่วมมือด้านแพทย์แผนจีนกับสวนสุนันทา ส่งนักศึกษาเรียนปีสุดท้ายที่จีน

- Yunnan normal university แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันของเอกอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ-นักศึกษาเอกภาษาจีน ไปเรียนที่จีน

- Guilin University of Aerospace Technology ร่วมมือในวิทยาลัยนานาชาติ

- Hegesen International Education Investment Co., Limited - Hong Kong ร่วมมือกันจัดสอบ HSK ผ่านระบบทุกเดือน

- Tianjin academy of fine arts

- Guangxi University

Deakin University

- Leshan Vocational & Technical College

- Leshan normal university

ประเทศเวียดนาม

Hue University

- Hue University

ประเทศญี่ปุ่น

- Kyoto University of Education

- Osaka Kyoiku University

- Wafukai Medical Corporation ร่วมมือกันสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้สูงอายุ (โรงพยาบาลสวนสุนันทา)

- Asashikawa University แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ การศึกษาวิชาการ วัฒนธรรม ดนตรี และกีฬา การใช้ทรัพยากรด้านการศึกษาและร่วมมือกันวางแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาร่วมกัน

ประเทศเกาหลี

- Gyeonggi English Village

ประเทศสิงค์โปร์

Kazan Federal University in Kazan, Russia

- EASB East Asia Institute of Management จัดสรรค์ทุนเรียนฟรีสูงสุด ร้อยล่ะ 75 และส่งเสริมการไปฝึกงานต่างประเทศ

- Republic Polytechnic, Singapore 

เขตปกครองใต้หวัน

- Lunghwa University of Science and Technology

- National Taipei University of Education

- National Pingtung University วิจัยร่วมกันกับคณะครุศาสตร์

ประเทศรัสเซีย

- Peter the Great St.Petersburg Polytechnic University ร่วมกันจัดการศึกษาร่วมกัน ทั้งด้านวิจัย การเรียนโดยการแลกเปลี่ยนอาจารย์

ของทั้ง 2 มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งให้ทุนเรียนฟรีทั้งหมด / วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัราชภัฏสวนสุนันทา

- kazan federal university

ประเทศออสเตรเลีย

- Deakin University

ประเทศมาเลเซีย

- University of Malaya

ทำเนียบผู้บริหารในอดีต - ปัจจุบัน

รายนามผู้บริหาร ในอดีต - ปัจจุบัน
รายนามผู้บริหาร ตำแหน่ง สถานะสถานศึกษา วาระการดำรงตำแหน่ง
1. อาจารย์ นิลรัตน์ บรรณสิทธิ์วรสาสน์ ครูใหญ่ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2480 -2486)
2. อาจารย์ มล.ประชุมพร ไกรฤกษ์ ครูใหญ่ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2486 -2491)
3. อาจารย์ คุณหญิงกรองแก้ว ปทุมานนท์ อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2491 -2498 และ พ.ศ. 2500 - 2516)
4. อาจารย์ ผจงวาด วายวานนท์ อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2498 -2500 )
5. อาจารย์ ประเยาว์ ศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2516 -2519)
6. ศาสตราจารย์ สมจิต ธนสุกาญจน์ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2519 -2524)
7. อาจารย์ จำเริญ เสกธีระ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2524 - 2526)
8. อาจารย์ กลาย กระจายวงศ์ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2526 - 2534)
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พล กำปังสุ์ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2534 -2537)
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรางศรี พณิชยกุล อธิการบดี สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา (พ.ศ. 2537 - 2542)
11.รองศาสตราจารย์ ดร.ดิลก บุญเรืองรอด อธิการบดี สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา (พ.ศ. 2542 -2547)
12. รองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 9 ธันวาคม พ.ศ. 2547 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551[1]
30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555 [2]
13. รองศาสตราจารย์ ดร. ฤๅเดช เกิดวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน[3]
รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย ในอดีต - ปัจจุบัน
รายนามนายกสภา สถานะสถานศึกษา วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นาย บรรหาร ศิลปอาชา สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา สิ้นสุดดำรงตำแหน่งราวปี 2548
2. นาย กร ทัพพะรังสี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปัจจุบัน

มาตรฐาน ISO ที่มหาวิทยาลัยได้รับ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งแรกที่ได้รับรอง ISO 9001 และ ISO 14000 (สิ่งแวดล้อม)

  • ISO 14000:2004 ด้านสิ่งแวดล้อม
  • ISO 9001:2008 สำนักงานอธิการบดี
  • ISO 9001:2008 สำนักทรัพย์สินและรายได้
  • ISO 9001:2008 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ISO 9001:2008 กองบริการการศึกษา
  • ISO 9001:2008 กองนโยบายและแผน
  • ISO 9001:2008 กองพัฒนานักศึกษา
  • ISO 9001:2008 บัณฑิตวิทยาลัย
  • ISO 9001:2008 คณะวิทยาการจัดการ
  • ISO 9001:2008 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ISO 9001:2008 คณะเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
  • ISO 9001:2008 คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • ISO 9001:2008 คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • ISO 9001:2008 สถาบันวิจัยและพัฒนา
  • ISO ISO/IEC 27001 : 2013 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

ปี พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ Public Sector Management Quality Award (PMQA) จาก ก.พ.ร.

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของโลก

  • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้รับการจัดอันดับว่าเป็นโรงเรียนที่ดีที่สุด100อันดับแรกวัดจากคะแนนโอเน็ต
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้รับการจัดอันดับว่าเป็นมหาวิทยาลัยดีที่สุด20อันดับแรกของประเทศไทยอันดับ1ของราชภัฏ4ปีติดต่อกัน
  • ล่าสุดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ค.ศ.2016) ได้รับการจัดอันดับ Ranking Web of Universities อยู่ในอันดับที่ 18 ลดจากเดิม 3 อันดับ ของประเทศ อันดับที่ 1561 ของโลก อ้างอิงจาก Ranking Web of Universities

การเดินทาง

การเดินทางมาสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา(กรุงเทพฯ) สามารถเดินทางมาได้ด้วยกันหลายเส้นทาง ดังนี้

เส้นถนนสามเสน

(เกียกกาย ศรีย่าน วชิรพยาบาล สวนสุนันทา เทเวศน์ สนามหลวง)

สายรถเมล์ที่ผ่าน : 3 (หมอชิตใหม่ - คลองสาน), 9 (ท่าน้ำภาษีเจริญ - สถานีรถไฟสามเสน), 16 (อู่ศรีณรงค์ - สุรวงศ์), 30 (วัดเขมาภิตาราม - สายใต้เดิม), 32 (ปากเกร็ด - วัดโพธิ์), 33 (ปทุมธานี - สนามหลวง), 49 (หมอชิตใหม่ - หัวลำโพง), 64 (นนทบุรี - สนามหลวง), 65 (วัดปากน้ำนนทบุรี - สนามหลวง), 110 (พระราม7 - เทเวศร์), 505 (ปากเกร็ด - สวนลุมพินี), 524 (บางเขน - วัดโพธิ์)

เส้นถนนราชวิถี

(สะพานซังฮี สวนสุนันทา เขาดิน สวนจิตรลดา อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)

สายรถเมล์ที่ผ่านคือ : 18 (ท่าอิฐ - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ), 28 (หมอชิตใหม่ - สายใต้ใหม่) , 56 (วงกลมสะพานกรุงธน-บางลำภู) , 108 (รัชโยธิน - เดอะมอลล์ท่าพระ) , 125 (ศาลายา - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ),515 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - มทร.ศาลายา), 539 (ศรีอยุธยา - อ้อมน้อย)

เส้นถนนนครราชสีมา

(ที่ทำการพรรคชาติไทย การเรือน สวนสุนันทา หลังสวนอัมพร ครุสภา)

สายรถเมล์ที่ผ่าน : 12 (ห้วยขวาง - เศรษฐการ)

เส้นแยกเทเวศน์

(ลงแยกเทเวศน์ เดินขึ้นมาทางทิศเหนือ หอสมุดแห่งชาติ สวนสุนันทา)

สายรถเมล์ที่ผ่าน : 23 (เทเวศร์ - สำโรง), 43 (โรงเรียนศึกษานารีวิทยา - เทเวศร์), 72 (ท่าเรือคลองเตย - เทเวศร์), 99 (เทเวศร์ - รามคำแหง), 516 (บางบัวทอง - เทเวศร์)

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2547/D/113/011.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา นายช่วงโชติ พันธุเวช (วาระแรก)
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/028/20.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา นายช่วงโชติ พันธุเวช (วาระที่สอง)
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/187/34.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (นายฤๅเดช เกิดวิชัย)