ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย"

พิกัด: 13°44′40″N 100°32′50″E / 13.744346°N 100.547347°E / 13.744346; 100.547347
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saedang (คุย | ส่วนร่วม)
Saedang (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 28: บรรทัด 28:


== รายนามทูตพิเศษกระทรวงต่างประเทศ ==
== รายนามทูตพิเศษกระทรวงต่างประเทศ ==
ปี 1901–1903: Reginald Tower
ปี 1901–1903: Mr.Reginald Tower


ปี 1904–1909: Sir Ralph Paget
ปี 1904–1909: Sir Ralph Paget
บรรทัด 36: บรรทัด 36:
ปี 1915–1919: Sir Herbert Dering
ปี 1915–1919: Sir Herbert Dering


ปี 1919–1921: Richard Seymour
ปี 1919–1921: Mr.Richard Seymour


ปี 1921–1926: Sir Robert Greg
ปี 1921–1926: Sir Robert Greg

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:55, 18 พฤษภาคม 2560

สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย (พ.ศ. 2558)

สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย (อังกฤษ: British Embassy Bangkok) เป็นสถานเอกอัครราชทูตของสหราชอาณาจักรในประเทศไทยตั้งอยู่ ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย ยกฐานะมาจากสถานกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย ซึ่งแต่เดิมตั้งอยู่ที่ ตำบลบางรัก จังหวัดพระนคร ซึ่งติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สมัยเปิดสัมพันธ์ทางทูตและการค้ากับประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาได้มีการก่อสร้างโรงสีขึ้นอีกฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ตรงข้ามกับสถานกงสุลอังกฤษ โรงสีได้ปล่อยควันซึ่งสร้างปัญหามลภาวะในการทำงานและการพักอาศัยให้กับบุคลากรของสถานกงสุลอังกฤษเป็นอย่างมาก จึงดำริที่ต้องการจะย้ายสถานที่ตั้งสถานกงสุลใหม่ ซึ่งประจวบกับขณะนั้น พระยาภักดีนรเศรษฐ หรือ นายเลิศ มีที่ดินจำนวนมากต้องการพัฒนาพื้นที่ย่านเพลินจิตของตน จึงนำมาเสนอขายให้กับสถานกงสุลอังกฤษ โดยมีเงื่อนไขขอพื้นที่และสิ่งปลูกสร้างของสถานกงสุลอังกฤษเดิมทั้งหมดด้วย เมื่อสถานกงสุลพิจารณาแล้วเห็นชอบจึงรับข้อเสนอและก่อสร้างอาคารสถานกงสุลในที่ดินของนายเลิศ

ในปี พ.ศ. 2465 สถานกงสุลได้ย้ายไปอยู่ที่ตั้งใหม่ย่านเพลินจิต ส่วนที่ตั้งเดิมของสถานกงสุลอังกฤษ นายเลิศได้นำไปเสนอขายให้กับรัฐบาลไทย ซึ่งรัฐบาลไทยได้รับซื้อไว้ ปี พ.ศ. 2469 อาคารสถานที่เดิมของสถานกงสุลอังกฤษได้ถูกนำไปใช้เป็นที่ตั้งของกรมไปรษณีย์โทรเลขกลาง ต่อมาอาคารมีความทรุดโทรมและคับแคบไม่เหมาะกับงานไปรษณีย์ จึงรื้ออาคารทิ้งทั้งหมดแล้วก่อสร้างอาคารใหม่ ซึ่งก็คือ อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก ถนนเจริญกรุง ในปัจจุบัน ส่วนสถานกงสุลอังกฤษที่ย้ายไปที่ตั้งใหม่ย่านเพลินจิต ถนนวิทยุ ต่อมาได้ถูกยกฐานะเป็น สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย

กระทั่งปี พ.ศ.2549 สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร มีนโยบายขายที่ดินบางส่วนจำนวน 9 ไร่ ติดกับถนนเพลินจิต จึงมอบหมายให้ตัวแทนเปิดการประมูลซึ่งผลปรากฎว่า กลุ่มเซ็นทรัล ชนะการประมูล ต่อมา กลุ่มเซ็นทรัล ได้นำพื้นที่จำนวน 9 ไร่ นี้ไปก่อสร้างเป็น ศูนย์การค้าและโรงแรมในชื่อ เซ็นทรัล เอ็มบาสซี ซึ่งเปิดดำเนินการแล้วในปัจจุบัน

ต่อมาปีพ.ศ. 2560 สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร มีนโยบายขายที่ดิน 25 ไร่ ทั้งหมดที่เหลือของสถานทูต โดยมีแนวความคิดจะย้ายไปเช่าอาคารสำนักงานแทน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการเตรียมการเปิดประมูลของตัวแทนอยู่

ความสัมพันธ์ทางการทูตและสนธิสัญญา

ประเทศไทยและสหราชอาณาจักรมีความสัมพันธ์ทางการค้ามากว่า 400 ปี ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ประเทศไทยและสหราชอาณาจักรได้ขาดช่วงความสัมพันธ์ลงหลังสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์การติดต่อต้องดำเนินการผ่านเมืองขึ้นหรืออาณานิคมของของสหราชอาณาจักรในขณะนั้น คือ ประเทศอินเดีย โดยมีการลงนามสนธิสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกัน ลงนามสนธิสัญญาระหว่างฉบับแรกเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2369 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สหราชอาณาจักรได้ส่ง เซอร์จอห์น บาวริ่ง มาเป็นราชทูตเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูนและการค้าซึ่งก็ประสบผลสำเร็จ ไทยและสหราชอาณาจักรได้มีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพและการค้าระหว่างกัน ซึ่งเรียกสนธิสัญญาระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรฉบับนี้ว่า สนธิสัญญาบาวริ่ง โดยลงนามทำสนธิสัญญากันเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2398 ซึ่งนับว่าเป็นการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหราชอาณาจักรระหว่างกันอย่างเป็นทางการครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์

ในปี พ.ศ.2400 ประเทศไทยได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับสหราชอาณาจักรเป็นการตอบแทน โดยมี เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี เป็นหัวหน้าคณะเพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร

กระทั่งปี พ.ศ.2425 ประเทศไทยได้แต่งตั้ง หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย เป็นราชทูตไทยประจำสหราชอาณาจักรและประเทศต่างๆ ในยุโรปและอเมริการวม 12 ประเทศอย่างเป็นทางการ ซึ่งถือได้ว่า หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย เป็นราชทูตคนแรกของไทยที่ส่งไปประจำที่สหราชอาณาจักร

รายนามกงสุลประจำประเทศสยาม

ปี 1885–1889: Sir Ernest Satow

ปี 1889–1894: Cpt. Henry Jones

ปี 1896–1900: Sir George Greville

รายนามทูตพิเศษกระทรวงต่างประเทศ

ปี 1901–1903: Mr.Reginald Tower

ปี 1904–1909: Sir Ralph Paget

ปี 1909–1915: Sir Arthur Peel

ปี 1915–1919: Sir Herbert Dering

ปี 1919–1921: Mr.Richard Seymour

ปี 1921–1926: Sir Robert Greg

ปี 1926–1928: Sir Sydney Waterlow

ปี 1928–1929: Sir Charles Wingfield

ปี 1929–1934: Sir Cecil Dormer

ปี 1934–1941: Sir Josiah Crosby

ปี 1941–1945: ไม่มีทูตพิเศษประจำ (ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2)

ปี 1945–1947: Sir Geoffrey Thompson

รายนามเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย

ปี 1947-1950: Sir Geoffrey Thompson

ปี 1951-1954: Sir Geoffrey A. Wallinger

ปี 1954-1957: Sir Berkeley E.F. Gage

ปี 1957-1961: Sir Richard Wittington

ปี 1961-1965: Sir Dermot F. McDermot

ปี 1965-1967: Sir Arthony Rumbold

ปี 1967-1970: Sir Neil Pritchard

ปี 1970-1973: Sir Arthur de la Mare

ปี 1973-1978: Sir David Cole

ปี 1978-1981: Mr. Peter Tripp

ปี 1981-1986: Mr. Justin Staples

ปี 1986-1989: Mr. Derek Tomkin

ปี 1989-1992: Mr. Ramsay Melhuish

ปี 1992-1996: Mr. Charles Christian Wilfred Adams

ปี 1996-2000: Sir James Hodge

ปี 2000-2003: Mr. Lloyd Barnaby Smith

ปี 2003-2007: Mr. David William Fall

ปี 2007-2010: Mr. Quinton Mark Quayle

ปี 2010-2012: Mr.Asif Ahmad

ปี 2012-2016: Mr.Mark Kent

ปี 2016-ปัจจุบัน: Mr.Brian Davidson

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′40″N 100°32′50″E / 13.744346°N 100.547347°E / 13.744346; 100.547347