ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ต่อมบ่งเพศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Continous Damage (คุย | ส่วนร่วม)
ดาเมจต่อเนื่อง
ย้อนการแก้ไขที่ 7011143 สร้างโดย Continous Damage (พูดคุย)
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{เตือนเรื่องเพศ}}
{{เตือนเรื่องเพศ}}
'''ต่อม''' ({{lang-en|gonad}}) เป็นอวัยวะที่สร้าง[[เซลล์สืบพันธุ์]] ในเพศชายคือ[[อัณฑะ]] ส่วนในเพศหญิงคือ[[รังไข่]] เซลล์สืบพันธุ์ที่ผลิตขึ้นมาจะมีลักษณะเป็นแฮพลอยด์ คือมีโครโมโซมเพียงครึ่งหนึ่งจากเซลล์ร่างกายอื่นๆ ตัวอย่างเช่น[[สเปิร์ม]]และ[[โอวุม]]
'''ต่อมบ่งเพศ''' ({{lang-en|gonad}}) เป็นอวัยวะที่สร้าง[[เซลล์สืบพันธุ์]] ในเพศชายคือ[[อัณฑะ]] ส่วนในเพศหญิงคือ[[รังไข่]] เซลล์สืบพันธุ์ที่ผลิตขึ้นมาจะมีลักษณะเป็นแฮพลอยด์ คือมีโครโมโซมเพียงครึ่งหนึ่งจากเซลล์ร่างกายอื่นๆ ตัวอย่างเช่น[[สเปิร์ม]]และ[[โอวุม]]


== หน้าที่ ==
== หน้าที่ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:48, 17 พฤษภาคม 2560

ต่อมบ่งเพศ (อังกฤษ: gonad) เป็นอวัยวะที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ ในเพศชายคืออัณฑะ ส่วนในเพศหญิงคือรังไข่ เซลล์สืบพันธุ์ที่ผลิตขึ้นมาจะมีลักษณะเป็นแฮพลอยด์ คือมีโครโมโซมเพียงครึ่งหนึ่งจากเซลล์ร่างกายอื่นๆ ตัวอย่างเช่นสเปิร์มและโอวุม

หน้าที่

นอกจากทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์แล้ว ต่อมบ่งเพศยังทำหน้าที่เป็นทั้งต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อ ซึ่งผลิตฮอร์โมนเพศที่ผลิตสารประเภทสเตอรอยด์ เช่นเดียวกับที่ผลิตขึ้นจากต่อมหมวกไตชั้นนอกต่างกันเพียงแค่แหล่งผลิตและปริมาณที่ผลิตขึ้น

อัณฑะ

ต่อมบ่งเพศชายหรืออัณฑะนั้นสร้างฮอร์โมนเพศชายหรือแอนโดรเจน (androgens) และสร้างสเปิร์ม ฮอร์โมนเพศชายหลักๆ คือเทสโทสเตอโรน (testosterone)

รังไข่

ต่อมบ่งเพศหญิงคือรังไข่ สังเคราะห์ฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) และโปรเจสเตอโรน (progesterone) และสังเคราะห์ไข่หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง เอสโตรเจนตัวหลักที่ผลิตคือเอสตราไดออล (estradiol) ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากเทสโทสเตอโรนอีกต่อหนึ่ง

การควบคุม

ต่อมบ่งเพศถูกควบคุมโดยฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนหน้า (anterior pituitary gland) คือลูทีไนซิง ฮอร์โมน (luteinizing hormoneม, LH) และฟอลลิเคิลสติมูเลติง ฮอร์โมน (follicle-stimulating hormone, FSH) ซึ่งต่อมหมวกไตนี้ก็ถูกควบคุมอีกต่อหนึ่งโดยไฮโปทาลามัส (hypothalamus) โดยฮอร์โมน gonadotropin-releasing hormone