ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
| ชื่อจริง = ขวัญทัศน์ ณ ตะกั่วทุ่ง
| ชื่อจริง = ขวัญทัศน์ ณ ตะกั่วทุ่ง
| ชื่อเล่น = ป้อม
| ชื่อเล่น = ป้อม
| ฉายา = เท้าไฟ, หน้ากากเงาะป่า
| ฉายา = เท้าไฟ{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
| วันเกิด = {{วันเกิด-อายุ|2512|2|17}}
| วันเกิด = {{วันเกิด-อายุ|2512|2|17}}
| แหล่งกำเนิด = [[เขตบางกอกใหญ่]] [[กรุงเทพมหานคร]]
| แหล่งกำเนิด = [[เขตบางกอกใหญ่]] [[กรุงเทพมหานคร]]
| แนวเพลง = [[ป็อป]], [[แดนซ์]], [[ลูกทุ่ง]]
| แนวเพลง = [[ป็อป]], [[แดนซ์]], [[ลูกทุ่ง]]
| อาชีพ = นักร้อง, นักแสดง
| อาชีพ = นักร้อง, นักแสดง
| ช่วงปี = [[พ.ศ. 2533]] - ปัจจุบัน
| ช่วงปี = พ.ศ. 2533–ปัจจุบัน
| ค่าย = [[อาร์เอส|อาร์.เอส. โปรโมชั่น]]<br>[[อาร์สยาม]] ในเครือ [[อาร์เอส|อาร์.เอส. โปรโมชั่น]]
| ค่าย = [[อาร์เอส|อาร์.เอส. โปรโมชั่น]]<br>[[อาร์สยาม]] ในเครือ [[อาร์เอส|อาร์.เอส. โปรโมชั่น]]
}}
}}


'''ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง''' ([[17 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2512|2512]] - ) เป็นนักร้อง, นักแสดงที่มีชื่อเสียง
'''ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง''' (เกิด 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512) เป็นนักร้อง, นักแสดงที่มีชื่อเสียง


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:22, 14 พฤษภาคม 2560

ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง
ไฟล์:Touch2.jpg
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดขวัญทัศน์ ณ ตะกั่วทุ่ง
รู้จักในชื่อเท้าไฟ[ต้องการอ้างอิง]
เกิด17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 (55 ปี)
ที่เกิดเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
แนวเพลงป็อป, แดนซ์, ลูกทุ่ง
อาชีพนักร้อง, นักแสดง
ช่วงปีพ.ศ. 2533–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงอาร์.เอส. โปรโมชั่น
อาร์สยาม ในเครือ อาร์.เอส. โปรโมชั่น

ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง (เกิด 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512) เป็นนักร้อง, นักแสดงที่มีชื่อเสียง

ประวัติ

ทัชมีชื่อจริงว่า ขวัญทัศน์ ณ ตะกั่วทุ่ง เกิดที่หลังวัดอรุณราชวราราม ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนทวีธาภิเศก อาชีวศึกษาจากโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อต้นปี พ.ศ. 2550

ทัชเข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการตั้งวงดนตรีกับเพื่อน ๆ เล่นตามผับและสถานบันเทิงต่าง ๆ ยามค่ำคืนตั้งแต่สมัยเรียนอาชีวะ ก่อนจะเข้าสู่บริษัท อาร์.เอส.โปรโมชั่น ด้วยการเสนอเดโมเทปไปให้พิจารณา และได้ออกอัลบั้มชุดแรกในปี พ.ศ. 2533 ในชื่อชุด "สัมผัสทัช" ถือว่าไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่ก็มีเพลงที่ได้ยินติดหูกัน คือ มือที่สาม ซึ่งก่อนหน้านั้นทัชเกือบจะได้เป็นศิลปินในวงแกรนด์เอ็กซ์ กลุ่มขวดโหล แต่ผลสุดท้ายก็ไม่ได้เป็น

ทัช มาประสบความสำเร็จจริง ๆ ก็ในอัลบั้มชุดที่ 2 ในปีถัดมา คือ ชุด "ทัช ธันเดอร์" ที่เปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นนักร้องในแนวป๊อปแดนซ์ ผสมกับท่วงทำนองแร็พนิด ๆ ที่ในขณะนั้นเพิ่งจะเข้าสู่วงการเพลงเมืองไทย อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ในชุดนี้มีหลายเพลงที่ได้รับความนิยม เช่น เท้าไฟ เป็นต้น จากนั้นทัชก็ได้แสดงภาพยนตร์เป็นครั้งแรกในชีวิต ซึ่งก็เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของอาร์.เอส.ด้วย คือเรื่อง "รองต๊ะแล่บแปล๊บ" โดยแสดงประกบกับ วาสนา พูนผล, ภาณุเดช วัฒนสุชาติ, บริบูรณ์ จันทร์เรือง มีเนื้อเรื่องเป็นภาพยนตร์เพลงวัยรุ่นผสมแฟนตาซี ซึ่งเรื่องนี้ทัชได้ทั้งร้องและเต้นตามแบบที่ถนัด และมีอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ออกมาด้วย

ในปี พ.ศ. 2536 อัลบั้มชุดที่ 3 ของทัชก็ออกมา ในชื่อชุด "มหัศจรรย์" โดยวางแผงเมื่อวันที่ 16 เมษายน มีเพลงที่ได้รับความนิยม เช่น กลัวผี, ลื่น, ไม่มีที่ไป และในปี พ.ศ. 2538 ก็ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 4 "ทัช V-4" ในวันที่ 1 เมษายน มีเพลงที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ห่วงฉันบ้างไหม, น้อย ๆ หน่อย, แค่ดิน, กิ๊กเลย เป็นต้น

ปีต่อมา ทัชได้แสดงภาพยนตร์อีกครั้งกับต้นสังกัดเดิม ในเรื่อง "เกิดอีกทีต้องมีเธอ" โดยประกบคู่กับ กุลสตรี ศิริพงษ์ปรีดา, โชคชัย เจริญสุข

สำหรับการแสดง ทัช เคยแสดงละครโทรทัศน์มาทั้งหมด 4 เรื่อง ได้แก่ เกิดแต่ตม ในปี พ.ศ. 2536 ประกบคู่กับ กบ สุวนันท์ คงยิ่ง และกระถิ่นริมรั้ว ประกบคู่กับ ดา ชฎาพร รัตนากร ในปี พ.ศ. 2538 เรื่อง ภูตพิศวาส ประกบคู่กับ นิ้ง กุลสตรี ศิริพงษ์ปรีดา และเรื่อง ปะการังสีดำ ประกบคู่กับ อภิรดี ภวภูตานนท์ และ อรจิรา ณ ภัทร

ในปี พ.ศ. 2540 ทัชถูกจับในคดียาเสพย์ติดในคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งย่านท่าพระ ทำให้อัลบั้มชุดที่ 5 "ทัช ไซโคลน" ซึ่งออกในปี พ.ศ. 2541 ถูกแบนห้ามเปิดเพลงออกอากาศ แต่ทว่าทำการโฆษณาได้[1] หลังจากนี้ทัชยังคงออกอัลบั้มต่อมาอีก 4 ชุด ก่อนที่จะหันไปร้องเพลงลูกทุ่งแทน[2][3]

ชีวิตส่วนตัว ทัช มีชื่อเล่นว่า ป้อม แต่ผู้คนนิยมเรียกว่า ทัช ตามชื่อที่ใช้ในวงการบันเทิง อดีตเคยคบหากับ นิ้ง กุลสตรี ศิริพงษ์ปรีดา ที่เคยแสดงละครร่วมกันอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนจะเลิกกันไป[3]

ผลงาน

อัลบั้ม ทัช ธันเดอร์

อัลบั้มเพลง

  • สัมผัสทัช (ปี 2533)
  • ทัช ธันเดอร์ (ปี 2534)
  • ทัช มหัศจรรย์ (ปี 2536)
  • Touch V-4 (ปี 2538)
  • ทัช ไซโคลน (ปี 2541)
  • Touch Happiness (บันเทิงเริงใจ) (ปี 2542)
  • Sparking Touch (ปี 2544)
  • Touch Screen (ปี 2557)

อัลบั้มเพลงลูกทุ่ง

  • สัมผัสทุ่ง (ปี 2547)
  • ลูกทุ่งแฟนตาซี (ปี 2549)

อัลบั้มเพลงพิเศษ

  • เพลงประกอบภาพยนตร์ รองต๊ะแล่บแปล๊บ (ปี 2535)
  • ด้วยรักและจริงใจ (ปี 2536)
  • อาร์เอส อันปลั๊ก ดนตรีนอกเวลา (ปี 2537)
  • เพลงประกอบละคร ภูตพิศวาส (ปี 2538)
  • เพลงประกอบภาพยนตร์ เกิดอีกทีต้องมีเธอ (ปี 2538)
  • ซูเปอร์ทีนส์ (ปี 2539)
  • เพลงประกอบละคร ปะการังสีดำ (ปี 2539)
  • เพลงประกอบละคร รักไร้อันดับ (ปี 2540)
  • เพลงประกอบละคร ดอกรักบานหลังฝน (ปี 2542)
  • ทัช Story (ปี 2543)
  • เพลงประกอบละคร แสงดาวฝั่งทะเล (ปี 2543)
  • The Celebration (ปี 2544)
  • Zodiac (ปี 2544)
  • ทัช My Life (ปี 2545)
  • ทัช Reverse (ปี 2545)
  • สายใยแห่งรัก (ปี 2546)
  • เก็บตะวัน A Tribute to อิทธิ พลางกูร (ปี 2547)
  • เพลงประกอบละคร เทพธิดาโรงงาน (ปี 2548)

ซิงเกิ้ลออกใหม่

  • เพลง เหงาใจในทางที่ผิด
  • เพลง ผลัดกันขึ้น ผลัดกันลง

เป็นซิงเกิ้ลออกใหม่แนวเพลงสตริงในนามค่ายอาร์สยาม

ละครโทรทัศน์

ปี พ.ศ. เรื่อง ออกอากาศ รับบทเป็น หมายเหตุ
2535 ดอกกระถินริมรั้ว ช่อง 7 ร่วมกับ ชฎาพร รัตนากร และ เบน อิศรางกูร ณ อยุธยา
2536- 2537 เกิดแต่ตม ช่อง 7 ปริก คู่กับ สุวนันท์ คงยิ่ง
2538 ภูตพิศวาส ช่อง 7 มารุต คู่กับ กุลสตรี ศิริพงษ์ปรีดา
2539 ปะการังสีดำ ช่อง 7 นราธร คู่กับ แองจี้ ซาโนลารี่
2540 รักไร้อันดับ ช่อง 3 ฉายฉาน (ฉาย) คู่กับ กุลสตรี ศิริพงษ์ปรีดา
2543 พริกกะเกลือ ช่อง 7 ศยาม / ติ่ง คู่กับ กุลสตรี ศิริพงษ์ปรีดา
2545 แสงดาวฝั่งทะเล ช่อง 7 ภวัต คู่กับ กุลสตรี ศิริพงษ์ปรีดา
2548 เทพธิดาโรงงาน ช่อง 9 บุญเติม คู่กับ รมิดา ประภาสโนบล
2555 หมูแดง ช่อง 7 พิษณุ คู่กับ สุธิตา เกตานนท์
ราชินีลูกทุ่ง ช่อง 8 คู่กับ


ซีรีส์

ปี พ.ศ. เรื่อง ออกอากาศ บทบาท หมายเหตุ
2559 My Bromance The Series พี่ชาย เดอะซีรีส์ ช่อง 9 วุฒิ คู่กับ รัศมี ทองสิริไพรศรี, สิริอร ม้ามณี

ซิทคอม

ปี พ.ศ. เรื่อง ออกอากาศ บทบาท หมายเหตุ
25 ช่อง
ช่อง


ภาพยนตร์

ภาพยนตร์
พ.ศ. เรื่อง รับบทเป็น หมายเหตุ
พ.ศ. 2535 รองต๊ะแล่บแปล๊บ [4]
พ.ศ. 2538 เกิดอีกทีต้องมีเธอ
พ.ศ. 2544 ๙ พระคุ้มครอง รับเชิญ
พ.ศ. 2546 คลื่นฝัน ควันรัก
พ.ศ. 2547 เอ๋อ เหรอ
พ.ศ. 2548 เด็กเดน

คอนเสิร์ต

  • คอนเสิร์ตพายุสายฟ้า (THUNDER STORM CONCERT)(17 สิงหาคม 2534) MBK Hall
  • คอนเสิร์ตพายุสายฟ้า ระลอกสอง(THUNDER STORM CONCERT version 2)(29 กันยายน 2534) Indoor stadium
  • คอนเสิร์ต ผู้ชายมหัศจรรย์มันเขี้ยวคอนเสิร์ต(12 มิถุนายน 2536) MBK Hall
  • คอนเสิร์ตเปิดรหัสทัช V-4 (20 พฤษภาคม 2538) MBK Hall
  • (แขกรับเชิญ)Lift&Oil Happy Party concert (14 ก.ค. 2555) Impact Arena

คอนเสิร์ตรวมศิลปิน

  • Rs unplugged concert (2537) MBK HALL
  • RS. Meeting Concert ตอน บุกเกาะอลเวง ร้องเพลงหน้าบาน (22 ต.ค.2537) MBK HALL
  • RS. Meeting Concert ตอน นอกเครื่องแบบ...ซ่า (7 ต.ค.2538) MBK HALL
  • RS. Freshy Jam (2538) สนามกีฬากองทัพบก
  • Super Teen Super Concert (17 ก.พ.2539) MBK HALL
  • RS. Meeting Concert ตอน ตามระเบียบ...เต้น (1 ก.พ.2540) MBK HALL
  • RS. Meeting Concert ตอน ลัดคิวมาติวเต้น (18 ต.ค.2541) MCC HALL
  • RS. Meeting Concert Teenlennium (12 ก.พ.2543) indoor stadium
  • RS The Celebration Concert (10 ก.พ.2544) indoor stadium
  • Zodiac concert (14 ก.ค. 2544) indoor stadium
  • RS. Meeting Concert Star mission มันหลุดโลก (22 ธ.ค.2544) indoor stadium
  • RS. Meeting Concert super suprise Trilogy (26 เม.ย.2546) Impact Arena
  • คอนเสิร์ต A Tribute To อิทธิ พลางกูร (2547) indoor stadium
  • RS. Meeting Concert Return 2013 (18-19 พ.ค.2556) Impact Arena

รายการร้องเพลง

ปี 2560 The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ซีซั่น 2 ฉายา หน้ากากเงาะป่า ร้องเพลง ใบไม้ แข่งใน Group B แต่ตกรอบแรก แข่งกับหน้ากากอีกาเผือก

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:The Mask Singer หน้ากากนักร้อง