ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ ๓"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Peerayut 2553 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Peerayut 2553 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 45: บรรทัด 45:
! colspan="4" style="background: #A73B24; color:white; " |หลักสูตรที่เปิดสอนใน'''สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ ๓'''
! colspan="4" style="background: #A73B24; color:white; " |หลักสูตรที่เปิดสอนใน'''สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ ๓'''
|-
|-
! style="background: darkred; color:white; " |วิทยาลัย
! style="background: blue; color:white; " |วิทยาลัย
! style="background: darkred; color:white; " |ประกาศนียบัตรวิชาชีพ
! style="background: blue; color:white; " |ประกาศนียบัตรวิชาชีพ
! style="background: darkred; color:white; " |ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
! style="background: blue; color:white; " |ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
! style="background: darkred; color:white; " |ระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
! style="background: blue; color:white; " |ระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
|-
|-
| valign="top" |'''ศูนย์กลางเทคนิคหาดใหญ่'''
| valign="top" |'''ศูนย์กลางเทคนิคหาดใหญ่'''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:06, 10 พฤษภาคม 2560

สถาบันการอาชีวศึกษา
ภาคใต้ ๓
ไฟล์:อาชีวศึกษาภาคใต้3.jpg
ชื่อย่อสอต.๓ / IVES 3
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สถาปนา2557
ที่ตั้ง
ศูนย์กลางเทคนิคหาดใหญ่
เลขที่ 7 ถนนกาญจนวณิช
ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา 90110
วิทยาเขต
เว็บไซต์http://www.ivene3.ac.th/

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ ๓ (อังกฤษ: Institute of Vocational education : Southern 3) เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เกิดจากการรวมตัวกันของ วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมง และวิทยาลัยการอาชีพในกลุ่ม (จังหวัดภาคใต้ชายแดน) สงขลา ปัตตานี สตูล ยะลา เพื่อทำหน้าที่ผลิตปัญญาชน คนอาชีวศึกษาสู่ตลาดแรงงานซึ่งในปัจจุบันถือว่ามีความต้องการสูง และเพิ่มอัตรากำลังคนอาชีวศึกษาให้ได้รับการศึกษาขั้นสูง โดยเปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรี (สายปฏิบัติการ) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โดยมีศูนย์กลางที่อยู่ภายในวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ประวัติ

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ ๓ [1]เดิมชื่อว่า วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ แรกเริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2481 เป็นโรงเรียนประเภทอาชีวศึกษา ได้เปิดดำเนินการขึ้นในจังหวัดสงขลาพร้อมกัน 2 โรง คือ โรงเรียนช่างไม้สงขลา และโรงเรียนการช่างสตรีสงขลา เมื่อเริ่มดำเนินการโรงเรียนช่างไม้สงขลา มีครู 2 คน คือ นายจาบ แสงจันทร์ เป็นครูใหญ่ และ นายเขื่อน เขมาภรณ์ เป็นครูน้อย มีนักเรียน 30 คน อาศัยอาคารหลังเล็กในบริเวณโรงเรียนประชาบาล 1 ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (โรงเรียนวิเชียรชมในปัจจุบัน) เป็นอาคารเรียนและที่ทำการ โรงฝึกงานอาศัยร่มไม้ของต้นก้ามปูและต้นหูกวาง ทางด้านโรงเรียนการช่างสตรีสงขลา เปิดสอนแผนกช่างเย็บผ้า และแผนกช่างทอผ้า แผนกช่างเย็บผ้า ได้เช่าห้องแถว 1 ห้อง ที่หน้าวัดดอนรักษ์ถนนไทรบุรี อ.เมือง จ.สงขลา เป็นสถานที่เรียน ต่อมาได้ย้ายมาเช่าห้องแถวใหม่ที่หน้าสาขาสมาคมรัฐธรรมนูญ ถ.กาญจนวนิช (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของห้องสมุดประชาชนจังหวัดสงขลา) เป็นสถานที่เรียน พ.ศ. 2482 โรงเรียนช่างไม้สงขลา และโรงเรียนการช่างสตรีสงขลา ต่างได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนช่างไม้สงขลาได้ก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นที่บริเวณวัดนาถม ซึ่งร้างมานานแล้ว ส่วนโรงเรียนการช่างสตรีสงขลา ได้ก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นในที่ดินของราชพัสดุ กับที่ดินของการรถไฟ (ซึ่งเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ในปัจจุบัน) 

พ.ศ.2501 โรงเรียนช่างไม้สงขลา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนการช่างสงขลา มีนายสุธน เจริญพงศ์ เป็นอาจารย์ใหญ่ 

พ.ศ.2510 โรงเรียนการช่างสงขลา ได้ถูกจัดเป็นโรงเรียน โครงการเงินกู้พ่อพัฒนาอาชีวศึกษา พ.ศ.2510-2514 

พ.ศ.2514 โรงเรียนการช่างสงขลา โดยนายสุธน เจริญพงศ์ ได้ย้ายมาเรียนในที่ใหม่ที่หลักกิโลเมตรที่ 25 ถนนกาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น"โรงเรียนเทคนิคสงขลา" และปีต่อมาโรงเรียนการช่างสตรีสงขลาก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น"โรงเรียนอาชีวศึกษาสงขลา" 

1 ตุลาคม 2519 ทั้งสองได้รับการยกฐานะรวมกันขึ้นเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา โดยให้โรงเรียนเทคนิคสงขลาเป็นวิทยาเขต 1 และให้โรงเรียนเทคนิคสงขลามีพื้นที่ประมาณ เป็นวิทยาเขต2 

1 ตุลาคม 2522 โรงเรียนเทคนิคสงขลา วิทยาเขต 1 ได้แยกจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาซึ่งมีอยู่ 2 วิทยาเขตโดยวิทยาเขต1 ได้เปลี่ยนมาเป็น วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ ชึ่งตั้งอยู่เลขที่191/1 ถนนกาญจนนิชอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลามีพื้นที่ 80 ไร่3งาน16.6 ตารางวาเป็นวิทยาลัยที่เปิดทำการสอนทางช่างอุตสาหกรรม 

ปี พ.ศ. 2556 วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ ได้รับประกาศให้จัดการเรียนการสอนนระดับปริญญาตรีสายปฏิบัติการและให้รวมวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมง และวิทยาลัยการอาชีพในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ จำนวน 9 แห่งในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยอำศัยอำนาจตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 ระบุว่า "สถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาสามารถรวมเข้าไว้ในสถาบันการจัดตั้งคณะกรรมการอาชีวศึกษาเข้าด้วยกันในสถาบันอาชีวศึกษาสามารถทำได้โดยคำนึงถึงความร่วมมือที่เกิดประโยชน์สูงสุด ทรัพยากรร่วมกันทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ... "[2]

จึงทำให้ วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี วิทยาลัยเทคนิคยะลา วิทยาลัยเทคนิคสตูล วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี้ วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา และวิทยาลัยการอาชีพปัตตานี รวมควบตั้งขึ้นเป็น "สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ ๓ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

หน่วยงานในสังกัด

หน่วยงาน

หลักสูตร

หลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ ๓
วิทยาลัย ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
ศูนย์กลางเทคนิคหาดใหญ่ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
  • การก่อสร้าง
  • เครื่องกล
  • เครื่องมือกลและซ่อมบำรุง
  • ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • โลหะการ
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
  • การก่อสร้าง
  • เครื่องกล
  • เทคนิคการผลิต
  • เทคนิคโลหะ
  • เทคนิคอุตสาหกรรม
  • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ไฟฟ้ากำลัง
  • โยธา
  • อิเล็กทรอนิกส์
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
  • สาขาวิชาเทคโลยีแม่พิมพ์
  • สาขาวิชาเทคโลยีอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาเทคโลยีไฟฟ้า
  • สาขาวิชาเทคโลยียานยนต์
วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
  • การก่อสร้าง
  • เครื่องกล
  • เครื่องมือกลและซ่อมบำรุง
  • ผ้าและเครื่องแต่งกาย
  • พณิชยการ
  • ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • โลหะการ
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
  • การตลาด
  • การบัญชี
  • คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • เครื่องกล
  • เทคนิคการผลิต
  • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  • เทคโนโลยีสิ่งทอ
  • ไฟฟ้ากำลัง
  • อิเล็กทรอนิกส์
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและ

ประมงปัตตานี

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
  • การก่อสร้าง
  • คหกรรมศาสตร์
  • เครื่องกล
  • เครื่องมือกลและซ่อมบำรุง
  • ผ้าและเครื่องแต่งกาย
  • พณิชยการ
  • ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • โลหะการ
  • อาหารและโภชนาการ
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
  • การบัญชี
  • การเลขานุการ
  • คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • เครื่องกล
  • เทคนิคการผลิต
  • เทคนิคโลหะ
  • เทคโนโลยีอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม
  • ไฟฟ้ากำลัง
  • อิเล็กทรอนิกส์
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีแม่พิมพ์
วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
  • การก่อสร้าง
  • คหกรรมศาสตร์
  • เครื่องกล
  • เครื่องมือกลและซ่อมบำรุง
  • พณิชยการ
  • ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • อาหารและโภชนาการ
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
  • การจัดการทรัพยากรมนุษย์
  • การจัดการทั่วไป
  • การตลาด
  • การบัญชี
  • การเลขานุการ
  • คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • เครื่องกล
  • เทคนิคการผลิต
  • เทคนิคโลหะ
  • เทคนิคอุตสาหกรรม
  • เทคโนโลยีโทรคมนาคม
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ไฟฟ้ากำลัง
  • โยธา
  • อิเล็กทรอนิกส์
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
  • สาขาวิชาเทคโลยีอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาเทคโลยียานยนต์
วิทยาลัยเทคนิคยะลา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
  • ยานยนต์
  • เครื่องมือกล
  • โครงสร้าง
  • ไฟฟ้ากำลัง
  • อิเล็กทรอนิกส์
  • ก่อสร้าง
  • สถาปัตยกรรม
  • สำรวจ
  • เขียนแบบเครื่องกล
  • โทรคมนาคม
  • โยธา
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
  • เทคนิคยานยนต์
  • เทคนิคเครื่องกลอุตสาหกรรม
  • เทคนิคเครื่องกลระบบขนส่งทางราง
  • เครื่องมือกล
  • แม่พิมพ์โลหะ
  • เทคโนโลยีการเชื่อมโครงสร้างโลหะ
  • ไฟฟ้ากำลัง
  • บำรุงรักษาระบบจำหน่ายและอุปกรณ์
  • อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหรรม
  • เทคนิคก่อสร้าง
  • เทคนิคสถาปัตยกรรม
  • สำรวจ
  • เขียนแบบเครื่องกล
  • ติดตั้งและรำบุงรักษา
  • เทคโนโลยีโทรคมนาคม
  • เทคนิคโยธา
  • คอมพิมเตอร์ระบบเครือข่าย
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
  • สาขาวิชาเทคโลยีการก่อสร้าง
  • สาขาวิชาเทคโลยีอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาเทคโลยีแม่พิมพ์
  • สาขาวิชาเทคโลยีไฟฟ้า
วิทยาลัยเทคนิคสตูล หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
  • การก่อสร้าง
  • เครื่องกล
  • เครื่องมือกลและซ่อมบำรุง
  • ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • โลหะการ
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
  • คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • เครื่องกล
  • เทคนิคการผลิต
  • เทคนิคอุตสาหกรรม
  • ไฟฟ้ากำลัง
  • โยธา
  • อิเล็กทรอนิกส์
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
  • สาขาวิชาเทคโลยีไฟฟ้า
  • สาขาวิชาเทคโลยีอิเล็กทรอนิกส์
วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
  • การบัญชี
  • เลขานุการ
  • คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • การตลาด
  • ธุรกิจค้าปลีก
  • แฟชั่นและสิ่งทอ
  • อาหารและโภชนาการ
  • ธุรกิจดอกไม้และงานประดิษฐ์
  • คหกรรมเพื่ออการโรงแรม
  • การท่องเที่ยว
  • การโรงแรม
  • วิจิตรศิลป์
  • คอมพิวเตอร์กราฟิก
  • ออกแบบ
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
  • การบัญชี
  • คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • การตลาด
  • ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร
  • ธุรกิจค้าปลีกเฉพาะอย่าง
  • การจัดการทั่วไป
  • การจัดการสำนักงาน
  • อาหารและโภชนาการ
  • บริหารงานคหกรรมศาสตร์
  • ผ้าและเครื่องแต่งกาย
  • การโรงแรมและบริการ
  • การจัดการธุรกิจท่องเที่ยว
  • คอมพิวเตอร์กราฟิก
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
  • สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ
วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
  • คหกรรมศาสตร์
  • ผ้าและเครื่องแต่งกาย
  • พณิชยการ
  • ศิลปกรรม
  • เสริมสวย
  • อาหารและโภชนาการ
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
  • การโฆษณาและประชาสัมพันธ์
  • การเงินและการธนาคาร
  • การจัดการผลิตภัณฑ์
  • การตลาด
  • การบริหารงานคหกรรมศาสตร์
  • การบัญชี
  • การโรงแรมและบริการ
  • การเลขานุการ
  • การออกแบบ
  • คอมพิวเตอร์กราฟิก
  • คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • เทคโนโลยีการถ่ายภาพและวิดีทัศน์
  • เทคโนโลยีผ้าและเครื่องแต่งกาย
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • เทคโนโลยีอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม
  • วิจิตรศิลป์
  • อาหารและโภชนาการ
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
  • สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
  • คหกรรมศาสตร์
  • ผ้าและเครื่องแต่งกาย
  • พณิชยการ
  • ศิลปกรรม
  • อาหารและโภชนาการ
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
  • การตลาด
  • การบริหารงานคหกรรมศาสตร์
  • การบัญชี
  • การโรงแรมและบริการ
  • การออกแบบ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • เทคโนโลยีผ้าและเครื่องแต่งกาย
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • อาหารและโภชนาการ
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. http://www.htc.ac.th/webroot59/index.php?option=List&id_type=1&id_view=74&to=%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2&
  2. http://www.ivene3.ac.th/index.php/history/