ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ต้นพระศรีมหาโพธิ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ศักดิ์ดายุทธ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 61: บรรทัด 61:
| [[พระกกุสันธพุทธเจ้า]] || [[พฤกษ์]] ({{lang-pi|สิรีส}})
| [[พระกกุสันธพุทธเจ้า]] || [[พฤกษ์]] ({{lang-pi|สิรีส}})
|-
|-
| [[พระพุทธเจ้า]] || [[ดีปลี]] ({{lang-pi|}})
| [[พระโกนาคมนพุทธเจ้า]] || [[มะเดื่อ]] ({{lang-pi|อุทุมฺพร}})
|-
|-
| [[พระพุทธเจ้า]] || [[ดีปลี]] ({{lang-pi|}})
| [[พระกัสสปพุทธเจ้า]] || [[ไทร]] ({{lang-pi|นิโคฺรธ}})
|-
|-
| [[พระโคตมพุทธเจ้า]] || [[โพ]] ({{lang-pi|อสฺสตฺถ}})
| [[พระโคตมพุทธเจ้า]] || [[โพ]] ({{lang-pi|อสฺสตฺถ}})

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:54, 25 เมษายน 2560

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เหนือพระแท่นวัชรอาสนพุทธบัลลังก์ สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ต้นโพธิ์ที่สำคัญที่สุดของชาวพุทธ

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นโพที่ประทับและตรัสรู้ที่พระโคตมพุทธเจ้า ดังปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาว่าต้นโพธิ์เปรียบได้กับพุทธอุเทสิกเจดีย์อย่างหนึ่ง ทำให้พันธ์ต้นโพธิ์กลายเป็นพันธ์ไม้ที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธเสมอมานับแต่สมัยพุทธกาล ต้นโพธิ์ในพระพุทธประวัติสองต้นคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ และ ต้นอานันทโพธิ์ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร ซึ่งอานันทโพธิ์ยังคงยืนต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยคำว่า "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" นั้น อาจหมายถึงต้นที่อยู่ที่พุทธคยา ต้นโพธิ์ที่สืบมาจากหน่อโพธิ์ตรัสรู้ที่พุทธคยา หรือต้นโพธิ์ที่เป็นอุเทสิกเจดีย์อื่น ๆ ก็ได้ เช่น ต้นโพธิ์ตามวัดต่าง ๆ

ในปัจจุบันต้นพระศรีโพธิ์สำคัญที่ยังคงยืนต้นอยู่ในปัจจุบันมี 3 ต้นด้วยกัน คือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ที่พุทธคยา, ต้นพระศรีมหาโพธิ์เมืองอนุราธปุระ, และต้นอานันทโพธิ์วัดพระเชตวันมหาวิหาร แต่ต้นโพธิ์พระเจ้าอโศกแห่งเมืองอนุราธปุระ ที่นำหน่อพันธ์มาจากพุทธคยา ได้รับการเคารพนับถือและปฏิบัติบูชาด้วยความเคารพอย่างสูงมาตลอดตั้งแต่สองพันปีโดยไม่ขาดช่วง มีการทำกำแพงทองคำและมีชาวพุทธผู้ศรัทธามาทำการสักการะตลอดเวลา ซึ่งต่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยาที่ถูกทำลายและล้มลงตามธรรมชาติหลายครั้ง และต้นอานันทโพธิ์ที่วัดเชตวันที่ขาดช่วงการดูแลจากชาวพุทธหลังจากพระพุทธศาสนาเสื่อมไปจากอินเดีย[1]

แม้ในประเทศไทย จะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับต้นพระศรีมหาโพธิ์เท่ากับชาวพุทธในศรีลังกา แต่ปรากฏตามความเชื่อในประเทศไทยว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธคยา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำปีเกิดสำหรับผู้ที่เกิดปีมะเส็ง สำหรับชาวล้านนายังมีความเชื่ออีกว่า ต้นโพธิ์เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ช่วยขจัดความทุกข์ได้ จึงมีประเพณีถวายไม้ค้ำโพธิ์ และเครื่องประกอบพิธีกรรม ใต้ต้นโพธิ์ โดยผูกคติกับความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งไม่ใช่ความหมายเดิมของการบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ตามคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา

อย่างไรก็ตามต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่สืบหน่อมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ในประเทศไทยยังคงมีอยู่หลายต้น เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่วัดต้นศรีมหาโพธิ์ (ที่เชื่อว่านำเข้ามาปลูกสมัยทวาราวดี), วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร, วัดเบญจมบพิตร (ปลูกในสมัยรัชกาลที่ 5) เป็นต้น

แม้การทำลายต้นโพธิ์ตามคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจะระบุว่าเป็นการทำบาปและหลบหลู่พระรัตนตรัย แต่ในมหาสมณวินิจฉัย ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส[2] กล่าวว่าเฉพาะต้นโพธิ์ที่เป็นอุทเทสิกเจดีย์เท่านั้น ต้นโพธิ์ที่งอกทั่วไปและไม่ได้เป็นอุเทสิกาเจดีย์ คือไม่มีผู้เคารพบูชาในฐานะตัวแทนของพระพุทธเจ้า (เช่นเดียวกับพระพุทธรูป)

ต้นโพธิ์ในพุทธกาลต่าง ๆ

พระพุทธเจ้า ต้นโพธิ์
พระทีปังกรพุทธเจ้า ดีปลี (บาลี: ปิปฺผลี)
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า สาละ (บาลี: สาล)
พระมังคลพุทธเจ้า กากะทิง/บุนนาค (บาลี: นาค)
พระสุมนพุทธเจ้า กากะทิง/บุนนาค (บาลี: นาค)
พระเรวตพุทธเจ้า กากะทิง/บุนนาค (บาลี: นาค)
พระโสภิตพุทธเจ้า กากะทิง/บุนนาค (บาลี: นาค)
พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า อรชุน (บาลี: อชฺชุน)
พระปทุมพุทธเจ้า อ้อยช้าง (บาลี: โสณ)
พระนารทพุทธเจ้า อ้อยช้าง (บาลี: โสณ)
พระปทุมุตรพุทธเจ้า เกี๊ยะ (บาลี: สลฬ)
พระสุเมธพุทธเจ้า สะเดา (บาลี: นิมฺพ)
พระสุชาตพุทธเจ้า ไผ่ (บาลี: เวฬุ)
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า สมอเทศ (บาลี: กกุธ)
พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า จำปา (บาลี: จมฺปก)
พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า มะพลับ (บาลี: ติมฺพชาล)
พระสิทธัตถพุทธเจ้า กะหนานปลิง (บาลี: กณฺณิการ)
พระติสสพุทธเจ้า รกฟ้า (บาลี: อสน)
พระปุสสพุทธเจ้า มะขามป้อม (บาลี: อามลก)
พระวิปัสสีพุทธเจ้า แคฝอย (บาลี: ปาฏลี)
พระสิขีพุทธเจ้า มะม่วงบุณฑริก (บาลี: ปุณฑรีก)
พระเวสสภูพุทธเจ้า สาละ (บาลี: สาล)
พระกกุสันธพุทธเจ้า พฤกษ์ (บาลี: สิรีส)
พระโกนาคมนพุทธเจ้า มะเดื่อ (บาลี: อุทุมฺพร)
พระกัสสปพุทธเจ้า ไทร (บาลี: นิโคฺรธ)
พระโคตมพุทธเจ้า โพ (บาลี: อสฺสตฺถ)

อ้างอิง

  1. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.ตำนานพุทธเจดีย์. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ไทยพิทยา. ๒๔๙๐
  2. สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. พระมหาสมณวินิจฉัย. พิมพ์ครั้งที่ ๕ กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 24°41′45.29″N 84°59′29.29″E / 24.6959139°N 84.9914694°E / 24.6959139; 84.9914694