ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:แนวทางการเขียนบทความให้ดียิ่งขึ้น"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 6888818 สร้างโดย 49.230.210.187 (พูดคุย)
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
* '''ประเทศไทย''' เป็น[[ประเทศ]]ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดลาว และกัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทย และมาเลเซีย ทางทิศตะวันตกติดทะเลอันดามัน และพม่า และทางทิศเหนือติดพม่า และลาวโดยมีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง
* '''ประเทศไทย''' เป็น[[ประเทศ]]ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดลาว และกัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทย และมาเลเซีย ทางทิศตะวันตกติดทะเลอันดามัน และพม่า และทางทิศเหนือติดพม่า และลาวโดยมีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง
* '''ไมเคิล ชารา''' เป็นนักเขียน[[นิยายวิทยาศาสตร์]] นิยายกีฬา และนิยายประวัติศาสตร์ ชาราเริ่มขายนิยายวิทยาศาสตร์ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950 โดยหลังจากนั้นได้เป็นอาจารย์สอนอยู่ มหาวิทยาลัยรัฐฟลอริดาสเตต ชาราได้รับรางวัล Pulitzer Prize ในปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ชาราเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ในปี พ.ศ. 2531
* '''ไมเคิล ชารา''' เป็นนักเขียน[[นิยายวิทยาศาสตร์]] นิยายกีฬา และนิยายประวัติศาสตร์ ชาราเริ่มขายนิยายวิทยาศาสตร์ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950 โดยหลังจากนั้นได้เป็นอาจารย์สอนอยู่ มหาวิทยาลัยรัฐฟลอริดาสเตต ชาราได้รับรางวัล Pulitzer Prize ในปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ชาราเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ในปี พ.ศ. 2531
* '''จิรฐา อัคนิทัต''' เป็นอาจารย์ด้านการตลาด เชี่ยวชาญการตลาด (Marketing) กลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategy) จิรฐา อัคนิทัต จบปริญญาตรีบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ จบปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด) จากมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ปัจจุบันเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์การตลาดให้แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน


จะเห็นได้ว่า การเริ่มต้นบทความ ประเทศไทย แม้จะมีรายละเอียดเพียงแค่ส่วนภูมิศาสตร์ แต่ยังมีเนื้อหาพอที่จะให้คนอื่นมาขยายความต่อได้ ขณะเดียวกัน บทความ ไมเคิล ชารา แม้ว่า จะมีการใช้ภาษาอังกฤษมาปน (อาจเนื่องจากผู้เขียนไม่รู้วิธีการสะกดที่ถูกต้อง) ก็ยังนับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี และหากต้องการทับศัพท์นั้น อย่าลืมแวะเยี่ยม[[วิกิพีเดีย:คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย|คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย]]สำหรับรายชื่อคำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย หรือคุณสามารถเสนอคำใหม่ให้พิจารณาได้หากไม่อยู่ในรายชื่อ
จะเห็นได้ว่า การเริ่มต้นบทความ ประเทศไทย แม้จะมีรายละเอียดเพียงแค่ส่วนภูมิศาสตร์ แต่ยังมีเนื้อหาพอที่จะให้คนอื่นมาขยายความต่อได้ ขณะเดียวกัน บทความ ไมเคิล ชารา แม้ว่า จะมีการใช้ภาษาอังกฤษมาปน (อาจเนื่องจากผู้เขียนไม่รู้วิธีการสะกดที่ถูกต้อง) ก็ยังนับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี และหากต้องการทับศัพท์นั้น อย่าลืมแวะเยี่ยม[[วิกิพีเดีย:คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย|คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย]]สำหรับรายชื่อคำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย หรือคุณสามารถเสนอคำใหม่ให้พิจารณาได้หากไม่อยู่ในรายชื่อ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:07, 14 เมษายน 2560

หน้านี้เป็นแนวทางการเขียนบทความให้ดียิ่งขึ้น แม้ไม่ใช่กฎตายตัวที่ต้องปฏิบัติตาม แต่เพื่อให้เนื้อหาและรูปแบบมีแนวทางสอดคล้องกันทั้งวิกิพีเดีย ดูบทความที่เป็นตัวอย่างดี ได้ที่วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และวิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ

บทความที่สมบูรณ์

บทความที่สมบูรณ์ในลักษณะสารานุกรมของวิกิพีเดีย เป็นบทความที่สอดคล้องกับนโยบายของวิกิพีเดีย และบทความต้องประกอบด้วย

  • ชื่อที่มีการทำตัวหนา (โดยใส่ เครื่องหมาย ' 3 ครั้ง หน้าหลังชื่อบทความเช่น '''ตัวอย่าง''') แสดงให้เห็นถึงชื่อบทความนั้น
  • ต้องมี [[ลิงก์]] อย่างน้อย 1 ลิงก์ เป็นลิงก์ภายในวิกิพีเดียไทยเอง (วิกิลิงก์)
  • มีการจัดหมวดหมู่ อย่างเหมาะสม
  • รูปแบบการเขียนในบทความเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

การเริ่มต้น

สำหรับการเริ่มต้นบทความในย่อหน้าแรก อย่างน้อยควรอธิบายความหมายและความสำคัญของหัวเรื่องนั้น (เช่นเป็นอะไร คือใคร สำคัญอย่างไร) และเป็นการสรุปเนื้อหาอย่างย่อในหัวข้อที่จะเขียนต่อไป เน้นตัวหนาคำหลักที่ตรงกับหัวเรื่องเพียงครั้งแรก สำหรับชื่ออื่นที่เปลี่ยนทางมาอาจทำตัวหนาหรือไม่ก็ได้ตามความเหมาะสม

ตัวอย่าง การเริ่มต้นบทความที่ไม่ดี
ตัวอย่าง การเริ่มต้นบทความที่ดี
  • ประเทศไทย เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดลาว และกัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทย และมาเลเซีย ทางทิศตะวันตกติดทะเลอันดามัน และพม่า และทางทิศเหนือติดพม่า และลาวโดยมีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง
  • ไมเคิล ชารา เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ นิยายกีฬา และนิยายประวัติศาสตร์ ชาราเริ่มขายนิยายวิทยาศาสตร์ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950 โดยหลังจากนั้นได้เป็นอาจารย์สอนอยู่ มหาวิทยาลัยรัฐฟลอริดาสเตต ชาราได้รับรางวัล Pulitzer Prize ในปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ชาราเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ในปี พ.ศ. 2531
  • จิรฐา อัคนิทัต เป็นอาจารย์ด้านการตลาด เชี่ยวชาญการตลาด (Marketing) กลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategy) จิรฐา อัคนิทัต จบปริญญาตรีบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ จบปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด) จากมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ปัจจุบันเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์การตลาดให้แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

จะเห็นได้ว่า การเริ่มต้นบทความ ประเทศไทย แม้จะมีรายละเอียดเพียงแค่ส่วนภูมิศาสตร์ แต่ยังมีเนื้อหาพอที่จะให้คนอื่นมาขยายความต่อได้ ขณะเดียวกัน บทความ ไมเคิล ชารา แม้ว่า จะมีการใช้ภาษาอังกฤษมาปน (อาจเนื่องจากผู้เขียนไม่รู้วิธีการสะกดที่ถูกต้อง) ก็ยังนับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี และหากต้องการทับศัพท์นั้น อย่าลืมแวะเยี่ยมคำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดียสำหรับรายชื่อคำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย หรือคุณสามารถเสนอคำใหม่ให้พิจารณาได้หากไม่อยู่ในรายชื่อ

การจัดหน้า

แบ่งแยกเป็น 3 ส่วนหลัก ส่วนบทนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนหมวดหมู่ และลิงก์ข้ามภาษา โดย

  1. ส่วนบทนำ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของบทความ ปรากฏในย่อหน้าแรก (หรือมากกว่านั้น) ของบทความ เนื้อหาเกี่ยวกับข้อความสรุปของบทความนั้น ๆ โดยเขียนเริ่มต้น เพื่อให้ผู้อ่านรู้ภาพรวมว่า บทความที่อ่านอยู่ คือบทความเกี่ยวกับอะไร โดยไม่จำเป็นต้องมีเนื้อหาย่อยลงไปใน หรือมีศัพท์เฉพาะ เช่น
    • บทความชีวประวัติ ว่าบุคคลนั้น คือใครและมีและผลงานอะไรที่เป็นที่รู้จัก โดยเนื้อความอื่น ๆ เช่น ชีวิตครอบครัว หน้าที่การงาน รางวัล หรือผลงานอื่น ๆ ควรจะนำไปใส่ในส่วนเนื้อหาตามเหมาะสม
    • บทความสถานที่ หรือ เมือง เขียนเกี่ยวกับ ภาพรวมของสถานที่นั้น โดยบอกความสำคัญของสถานที่
    • บทความส่วนนี้ไม่ควรเขียนคำศัพท์เฉพาะ เพื่อให้คนที่ไม่ได้มีความสนใจในเรื่องนั้นเป็นพิเศษ สามารถอ่านเข้าใจได้
    • ถ้าหากจำเป็นต้องใช้กล่องข้อมูลสรุปเนื้อหา (infobox) ให้ใส่ไว้ก่อนขึ้นย่อหน้าแรก
  2. ส่วนเนื้อหาเขียนอธิบายบทความโดยแบ่งแยกหัวข้อตามความเหมาะสม
    • แบ่งเนื้อหา ออกเป็นหัวข้อย่อย โดยแต่ละหัวข้อจะแสดงผลในส่วนของสารบัญของเนื้อหานั้น หัวข้อควรจะเป็นคำที่กระชับ ชัดเจน ไม่เยิ่นเย้อ และขณะเดียวกันก็ไม่ควรสั้นจนเกินไป
    • ตัวอย่างชื่อหัวข้อย่อย ของส่วนเนื้อหา เช่น ในบทความประเทศไทย สามารถแบ่งเป็น "ประวัติศาสตร์" "ภูมิประเทศและภูมิอากาศ" "การศึกษา" "สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ"
  3. ส่วนหมวดหมู่ และลิงก์ข้ามภาษา ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง เพื่อให้แต่ละบทความสามารถจัดเก็บและเชื่อมโยงกันได้ ท้ายสุดของบทความ ต้องจัดหมวดหมู่และลิงก์ข้ามภาษา โดยหมวดหมู่จะเป็นการเชื่อมโยงแต่ละบทความในวิกิพีเดียภาษาไทย ส่วนลิงก์ข้ามภาษาเป็นการเชื่อมโยงระหว่างบทความเดียวกันในภาษาอื่น ๆ
    • กล่องท้ายเรื่อง (navbox) เป็นกล่องที่รวมการเชื่อมโยงบทความที่เกี่ยวข้อง ให้ใส่ไว้ที่ส่วนสุดท้ายของเนื้อหา ก่อนหมวดหมู่
    • แม่แบบ {{เรียงลำดับ}} ซึ่งใช้สำหรับการเรียงลำดับตามตัวอักษรที่ต้องการในดัชนีหมวดหมู่ หากจำเป็นต้องใช้ ให้ใส่ไว้ที่ส่วนสุดท้ายของเนื้อหา (และหลังจากกล่องท้ายเรื่อง) ก่อนหมวดหมู่
    • สำหรับบทความที่ยังเป็นโครงบทความ ใส่แม่แบบ {{โครง}} (และแม่แบบโครงประเภทอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง) ไว้หลังส่วนหมวดหมู่
    • แม่แบบแสดงบทความคัดสรรในวิกิพีเดียภาษาอื่น ๆ เช่น {{Link FA|de}} ให้ใส่รวมไว้ก่อนลิงก์ข้ามภาษา

ส่วนท้ายของเนื้อหา

ในส่วนท้ายของเนื้อหา จะเป็นการเขียนหรือเชื่อมโยงไปยังที่มา หรือบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

อ้างอิง

ถ้าบทความที่เขียนมีการอ้างอิงจากหนังสือหรือเว็บไซต์ ให้ทำส่วน "อ้างอิง" โดยเขียน == อ้างอิง == ในย่อหน้าใหม่ ถ้ามีการอ้างอิงมากกว่าหนึ่งแหล่ง ให้เขียนแต่ละแหล่งแยกบรรทัดกัน แต่ละบรรทัดขึ้นต้นด้วยเครื่องหมายดอกจัน * ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา

ดูเพิ่ม

ถ้ามีการแนะนำให้ผู้อ่าน อ่านบทความอื่นในวิกิพีเดีย ที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ ให้ใส่ไว้ในหัวข้อย่อย "ดูเพิ่ม" เขียนโดยใช้คำสั่ง == ดูเพิ่ม == แต่ละบรรทัดขึ้นต้นด้วยเครื่องหมายดอกจัน * ตามด้วยลิงก์ภายในวิกิพีเดียของบทความอื่น

แหล่งข้อมูลอื่น

ถ้ามีการแนะนำไปยังแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ที่ไม่ได้ใช้อ้างอิงเนื้อหาข้อมูลในบทความ เช่น ข่าว หรือ เนื้อหาเพิ่มเติม ให้เขียนแต่ละลิงก์แยกบรรทัดกัน โดยขึ้นต้นด้วยเครื่องหมายดอกจัน * เพื่อจัดย่อหน้า และเขียนคำอธิบายในภาษาไทยกำกับให้กระชับชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านพิจารณาได้ก่อนเข้าไปอ่าน และเนื่องจากวิกิพีเดียไม่ใช่เว็บรวมลิงก์ ให้คัดเลือกเฉพาะลิงก์ที่เหมาะสม หากพบว่าลิงก์ไหนไม่เกี่ยวข้องก็สามารถเอาออกได้ทันที โดยให้ลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง โดยเว็บด้านบนเป็นเว็บที่สำคัญที่สุด ตัวอย่างเช่น

* [http://www.aaa.com/ รายละเอียดเกี่ยวกับ...]
* [http://www.bbb.com/ บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับ...]
* [http://www.ccc.com/ รวมผลงานเกี่ยวกับ...]

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ วิกิพีเดีย:แหล่งข้อมูลอื่น

สรุปรูปแบบพื้นฐานในวิกิพีเดียภาษาไทย

{{กล่องข้อมูล ___}}
'''ชื่อเรื่อง''' ความหมายและสรุปเนื้อหาบทความอย่างคร่าว ๆ

== หัวข้อ 1 ==
รายละเอียดสำหรับหัวข้อ 1 (ไม่ต้องใส่ตัวเลขนำหัวข้อใด ๆ)

=== หัวข้อ 1.1 ===
รายละเอียดสำหรับหัวข้อ 1.1

==== หัวข้อ 1.1.1 ====
รายละเอียดสำหรับหัวข้อ 1.1.1

=== หัวข้อ 1.2 ===
รายละเอียดสำหรับหัวข้อ 1.2

== หัวข้อ 2 ==
รายละเอียดสำหรับหัวข้อ 2

== เชิงอรรถ ==
* รายการเชิงอรรถ (เชิงอรรถและอ้างอิงอาจใช้ร่วมกันได้ถ้าเชิงอรรถมีไม่มาก)

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}

== ดูเพิ่ม ==
* [[บทความอื่น]] (ในวิกิพีเดีย)

== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* ลิงก์ภายนอกที่เกี่ยวกับบทความนี้

{{กล่องท้ายเรื่อง}}

{{เรียงลำดับ|___}}
[[หมวดหมู่:___]]
{{โครง___}}

ดูเพิ่ม