ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนสุขุมวิท"

พิกัด: 13°44′34.09″N 100°33′1.46″E / 13.7428028°N 100.5504056°E / 13.7428028; 100.5504056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
ถนนสุขุมวิทเริ่มนับหลักกิโลเมตรที่ 0 ที่[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]] [[กรุงเทพมหานคร]] ไปทางทิศตะวันออก ไปตาม[[ถนนราชดำเนินกลาง]] ถนนมหาไชย ถนนบำรุงเมือง ถนนพระราม 1 ถนนเพลินจิต และได้เริ่มต้นเรียกชื่อถนนสุขุมวิทตั้งแต่บริเวณถนนเพลินจิตหลังจากข้าม[[ทางรถไฟสายปากน้ำ]] อนึ่งถนนสุขุมวิทช่วงตั้งแต่สี่แยกใต้ด่วนเพลินจิตถึงซอยสุขุมวิท 52 เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่าง[[เขตวัฒนา]]กับ[[เขตคลองเตย]] หลังจากนั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ[[เขตพระโขนง]]และ[[เขตบางนา]] ก่อนเข้าเขต[[จังหวัดสมุทรปราการ]]
ถนนสุขุมวิทเริ่มนับหลักกิโลเมตรที่ 0 ที่[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]] [[กรุงเทพมหานคร]] ไปทางทิศตะวันออก ไปตาม[[ถนนราชดำเนินกลาง]] ถนนมหาไชย ถนนบำรุงเมือง ถนนพระราม 1 ถนนเพลินจิต และได้เริ่มต้นเรียกชื่อถนนสุขุมวิทตั้งแต่บริเวณถนนเพลินจิตหลังจากข้าม[[ทางรถไฟสายปากน้ำ]] อนึ่งถนนสุขุมวิทช่วงตั้งแต่สี่แยกใต้ด่วนเพลินจิตถึงซอยสุขุมวิท 52 เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่าง[[เขตวัฒนา]]กับ[[เขตคลองเตย]] หลังจากนั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ[[เขตพระโขนง]]และ[[เขตบางนา]] ก่อนเข้าเขต[[จังหวัดสมุทรปราการ]]


ถนนสุขุมวิทช่วงต้น ๆ สายที่ผ่านกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตธุรกิจสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ตามซอยต่าง ๆ ตลอดแนวถนนสุขุมวิทในช่วงนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งบันเทิงใหญ่ของเมืองอีกด้วย และที่สำคัญถนนสุขุมวิทยังมีแนวระบบขนส่งมวลชนตามแผนแม่บท ซึ่งก็คือ[[รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา|รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท]]ด้วย โดยวิ่งเหนือถนนสุขุมวิทตั้งแต่[[สถานีเพลินจิต]]ถึง[[สถานีแบริ่ง]]หรือสุดเขตกรุงเทพมหานคร และในปัจจุบันได้มีการสร้างส่วนต่อขยายระยะที่ 2 ระหว่างแบริ่ง - สมุทรปราการ โดยส่วนต่อขยายดังกล่าวจะยกระดับถนนสุขุมวิทตลอดเส้นทาง คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี [[พ.ศ. 2559]] <ref>[http://www.dailynews.co.th/thailand/10139 ดีเดย์ 1 มี.ค.เริ่มสร้าง รถไฟฟ้า แบริ่ง-สมุทรปราการ จัดแผนก่อสร้างหวั่นสุขุมวิทอ่วม]</ref>
ถนนสุขุมวิทช่วงต้น ๆ สายที่ผ่านกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตธุรกิจสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ตามซอยต่าง ๆ ตลอดแนวถนนสุขุมวิทในช่วงนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งบันเทิงใหญ่ของเมืองอีกด้วย และที่สำคัญถนนสุขุมวิทยังมีแนวระบบขนส่งมวลชนตามแผนแม่บท ซึ่งก็คือ[[รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา|รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท]]ด้วย โดยวิ่งเหนือถนนสุขุมวิทตั้งแต่[[สถานีเพลินจิต]]ถึง[[สถานีแบริ่ง]]หรือสุดเขตกรุงเทพมหานคร


=== จังหวัดสมุทรปราการถึงจังหวัดตราด ===
=== จังหวัดสมุทรปราการถึงจังหวัดตราด ===
เมื่อเข้าสู่[[จังหวัดสมุทรปราการ]] จะผ่าน[[อำเภอเมืองสมุทรปราการ]] ตัดกับ[[ถนนกาญจนาภิเษก|ทางพิเศษกาญจนาภิเษก]] เมื่อเข้าสู่ตัวเมืองสมุทรปราการ เส้นทางจะเลี่ยงเมืองไปทางทิศตะวันออก จากนั้นจะเลียบคลอง และมีช่องจราจรลดลงจนเหลือ 2 ช่องจราจร เข้าสู่[[อำเภอบางบ่อ]] แล้วเข้าสู่[[อำเภอบางปะกง]] [[จังหวัดฉะเชิงเทรา]] ตัดกับถนนเทพรัตน และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 314 ที่แยกคลองอ้อม แล้วนับกิโลเมตรไปตามถนนเทพรัตน เข้าสู่[[อำเภอเมืองชลบุรี]] [[จังหวัดชลบุรี]] เมื่อสุดถนนเทพรัตน ถนนสุขุมวิทจะเข้าตัวเมืองชลบุรี แล้วผ่าน[[อำเภอศรีราชา]] [[อำเภอบางละมุง]] ผ่าน[[เมืองพัทยา]] และ[[อำเภอสัตหีบ]] เข้าสู่[[จังหวัดระยอง]] ผ่าน[[อำเภอบ้านฉาง]] [[อำเภอเมืองระยอง]] [[อำเภอแกลง]] เข้าสู่[[จังหวัดจันทบุรี]] ผ่าน[[อำเภอนายายอาม]] [[อำเภอท่าใหม่]] [[อำเภอเมืองจันทบุรี]] [[อำเภอแหลมสิงห์]] และ[[อำเภอขลุง]] เข้าสู่[[จังหวัดตราด]] ผ่าน[[อำเภอเขาสมิง]] [[อำเภอเมืองตราด]] และสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก [[อำเภอคลองใหญ่]] เชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 48 ใน[[จังหวัดเกาะกง]] [[ประเทศกัมพูชา]]
เมื่อเข้าสู่[[จังหวัดสมุทรปราการ]] จะผ่าน[[อำเภอเมืองสมุทรปราการ]] ตัดกับ[[ถนนกาญจนาภิเษก|ทางพิเศษกาญจนาภิเษก]] เมื่อเข้าสู่ตัวเมืองสมุทรปราการ เส้นทางจะเลี่ยงเมืองไปทางทิศตะวันออก จากนั้นจะเลียบคลอง และมีช่องจราจรลดลงจนเหลือ 2 ช่องจราจร เข้าสู่[[อำเภอบางบ่อ]] แล้วเข้าสู่[[อำเภอบางปะกง]] [[จังหวัดฉะเชิงเทรา]] ตัดกับถนนเทพรัตน และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 314 ที่แยกคลองอ้อม แล้วนับกิโลเมตรไปตามถนนเทพรัตน เข้าสู่[[อำเภอเมืองชลบุรี]] [[จังหวัดชลบุรี]] เมื่อสุดถนนเทพรัตน ถนนสุขุมวิทจะเข้าตัวเมืองชลบุรี แล้วผ่าน[[อำเภอศรีราชา]] [[อำเภอบางละมุง]] ผ่าน[[เมืองพัทยา]] และ[[อำเภอสัตหีบ]] เข้าสู่[[จังหวัดระยอง]] ผ่าน[[อำเภอบ้านฉาง]] [[อำเภอเมืองระยอง]] [[อำเภอแกลง]] เข้าสู่[[จังหวัดจันทบุรี]] ผ่าน[[อำเภอนายายอาม]] [[อำเภอท่าใหม่]] [[อำเภอเมืองจันทบุรี]] [[อำเภอแหลมสิงห์]] และ[[อำเภอขลุง]] เข้าสู่[[จังหวัดตราด]] ผ่าน[[อำเภอเขาสมิง]] [[อำเภอเมืองตราด]] และสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก [[อำเภอคลองใหญ่]] เชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 48 ใน[[จังหวัดเกาะกง]] [[ประเทศกัมพูชา]]

ถนนสุขุมวิทในเขตจังหวัดสมุทรปราการยังเป็นที่ตั้งของรถไฟฟ้าบีทีเอส ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทระยะที่ 2 ระหว่างแบริ่ง - สมุทรปราการ โดยวิ่งเหนือถนนตั้งแต่[[สถานีสำโรง]]ถึง[[สถานีเคหะฯ]] บริเวณย่านบางปิ้ง หรือการเคหะสมุทรปราการ ในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ


== รายชื่อทางแยก ==
== รายชื่อทางแยก ==
บรรทัด 231: บรรทัด 233:


; '''จังหวัดสมุทรปราการ'''
; '''จังหวัดสมุทรปราการ'''
*สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส [[สถานีสำโรง|สำโรง]] [[สถานีปู่เจ้า|ปู่เจ้า]] [[สถานีช้างเอราวัณ|ช้างเอราวัณ]] [[สถานีโรงเรียนนายเรือ|โรงเรียนนายเรือ]] [[สถานีปากน้ำ|ปากน้ำ]] [[สถานีศรีนครินทร์|ศรีนครินทร์]] [[สถานีแพรกษา|แพรกษา]] [[สถานีสายลวด|สายลวด]] และ[[สถานีเคหะฯ|เคหะฯ]]
*[[พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ]]
*[[พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ]]
*[[โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์]]
*[[โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:22, 5 เมษายน 2560

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3
ถนนสุขุมวิท
เส้นทางถนนสุขุมวิท
ข้อมูลของเส้นทาง
ส่วนหนึ่งของ (ระยอง-บ้านหาดเล็ก)
ความยาว488.387 กิโลเมตร (303.470 ไมล์)
426.931 กิโลเมตร เป็นของกรมทางหลวง
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2479–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก
เฉียงเหนือ
ถ.เพลินจิต ในเขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
 
ปลายทางทิศตะวันออก
เฉียงใต้
ทางหลวงหมายเลข 48 ในจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ถนนสุขุมวิท (อักษรโรมัน: Thanon Sukhumvit) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายบางนา–หาดเล็ก เป็นหนึ่งในทางหลวงแผ่นดินสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางไปตามชายทะเลภาคตะวันออก และสิ้นสุดที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ติดต่อกับชายแดนจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา รวมระยะทางยาวทั้งสิ้นประมาณ 488 กิโลเมตร

ประวัติ

ป้ายชื่อถนนสุขุมวิท เขียนเป็นอักษรไทยและอักษรโรมัน

ถนนสุขุมวิทในกรุงเทพมหานคร มีประวัติเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2462[1] เมื่อนางสาว อี. เอส. โคล หรือ "แหม่มโคล" ครูใหญ่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ได้ย้ายโรงเรียนจากข้างโรงพยาบาลศิริราชมาอยู่ริมคลองแสนแสบซึ่งตอนนั้นยังไม่มีชุมชน การคมนาคมก็มีเพียงแต่คลองแสนแสบ จึงขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ตัดถนนเพลินจิตต่อจากถนนปทุมวัน (ถนนพระรามที่ 1) จนถึงจุดบรรจบบนถนนวิทยุที่แยกไปสถานีวิทยุโทรเลข (แยกเพลินจิต) ซึ่งถนนดังกล่าวอยู่ในแนวถนนที่เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ดำริจะตัดไปสมุทรปราการอยู่แล้ว แต่กรมสุขาภิบาลยังไม่มีเงินสร้าง ในปี พ.ศ. 2466 โรงเรียนกุลสตรีวังหลังเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย นาย เอ.อี.นานา ได้เรี่ยไรเจ้าของที่ดินในย่าน แล้วนำเงินมาให้กรมสุขาภิบาลขุดคลองเอาดินพูนขึ้นเป็นถนน จากจุดตัดของถนนเพลินจิตกับถนนวิทยุ ไปจนถึงซอยเข้าโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย เป็นระยะทาง 3,072 เมตร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงลพบุรีราเมศร เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ขอพระบรมราชานุญาต รัชกาลที่ 7 ตัดถนนต่อจากปากซอยโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยไปถึงสมุทรปราการ ได้ชื่อว่า "ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ" เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2479 ต่อมาพระพิศาลสุขุมวิท (ประสพ สุขุม) บุตรเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และท่านผู้หญิงตลับ พระพิศาลสุขุมวิทดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทางคนที่ 5 ได้จัดทำ "โครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทย" เป็นแม่บทในการสร้างทางหลวงเป็นเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ ถูกกำหนดให้เป็นทางสายหลักของภาคตะวันออก จึงสร้างต่อจากสมุทรปราการ ผ่านชลบุรี ระยอง ไปจนถึงตัวเมืองตราด เรียกชื่อว่า "ถนนกรุงเทพฯ-ตราด" ทำให้คณะรัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีมติให้ตั้งชื่อทางหลวงสายกรุงเทพฯ-ตราดว่า ถนนสุขุมวิท เพื่อเป็นเกียรติแก่พระพิศาลสุขุมวิท เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493

ต่อมาได้มีการกำหนดให้รวมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 318 ตลอดทั้งสาย (ช่วงตัวเมืองตราดถึงด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่) ให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ทำให้ถนนสุขุมวิทมีระยะทางเพิ่มขึ้นอีก 89 กิโลเมตร

รายละเอียดของเส้นทาง

กรุงเทพมหานคร

ถนนสุขุมวิทในเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

ถนนสุขุมวิทเริ่มนับหลักกิโลเมตรที่ 0 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กรุงเทพมหานคร ไปทางทิศตะวันออก ไปตามถนนราชดำเนินกลาง ถนนมหาไชย ถนนบำรุงเมือง ถนนพระราม 1 ถนนเพลินจิต และได้เริ่มต้นเรียกชื่อถนนสุขุมวิทตั้งแต่บริเวณถนนเพลินจิตหลังจากข้ามทางรถไฟสายปากน้ำ อนึ่งถนนสุขุมวิทช่วงตั้งแต่สี่แยกใต้ด่วนเพลินจิตถึงซอยสุขุมวิท 52 เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตวัฒนากับเขตคลองเตย หลังจากนั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเขตพระโขนงและเขตบางนา ก่อนเข้าเขตจังหวัดสมุทรปราการ

ถนนสุขุมวิทช่วงต้น ๆ สายที่ผ่านกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตธุรกิจสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ตามซอยต่าง ๆ ตลอดแนวถนนสุขุมวิทในช่วงนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งบันเทิงใหญ่ของเมืองอีกด้วย และที่สำคัญถนนสุขุมวิทยังมีแนวระบบขนส่งมวลชนตามแผนแม่บท ซึ่งก็คือรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิทด้วย โดยวิ่งเหนือถนนสุขุมวิทตั้งแต่สถานีเพลินจิตถึงสถานีแบริ่งหรือสุดเขตกรุงเทพมหานคร

จังหวัดสมุทรปราการถึงจังหวัดตราด

เมื่อเข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ จะผ่านอำเภอเมืองสมุทรปราการ ตัดกับทางพิเศษกาญจนาภิเษก เมื่อเข้าสู่ตัวเมืองสมุทรปราการ เส้นทางจะเลี่ยงเมืองไปทางทิศตะวันออก จากนั้นจะเลียบคลอง และมีช่องจราจรลดลงจนเหลือ 2 ช่องจราจร เข้าสู่อำเภอบางบ่อ แล้วเข้าสู่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ตัดกับถนนเทพรัตน และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 314 ที่แยกคลองอ้อม แล้วนับกิโลเมตรไปตามถนนเทพรัตน เข้าสู่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เมื่อสุดถนนเทพรัตน ถนนสุขุมวิทจะเข้าตัวเมืองชลบุรี แล้วผ่านอำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง ผ่านเมืองพัทยา และอำเภอสัตหีบ เข้าสู่จังหวัดระยอง ผ่านอำเภอบ้านฉาง อำเภอเมืองระยอง อำเภอแกลง เข้าสู่จังหวัดจันทบุรี ผ่านอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอแหลมสิงห์ และอำเภอขลุง เข้าสู่จังหวัดตราด ผ่านอำเภอเขาสมิง อำเภอเมืองตราด และสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ เชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 48 ในจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา

ถนนสุขุมวิทในเขตจังหวัดสมุทรปราการยังเป็นที่ตั้งของรถไฟฟ้าบีทีเอส ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทระยะที่ 2 ระหว่างแบริ่ง - สมุทรปราการ โดยวิ่งเหนือถนนตั้งแต่สถานีสำโรงถึงสถานีเคหะฯ บริเวณย่านบางปิ้ง หรือการเคหะสมุทรปราการ ในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ

รายชื่อทางแยก

รายชื่อทางแยกบน ถนนสุขุมวิท ทิศทาง: กรุงเทพมหานคร–หาดเล็ก
จังหวัด อำเภอ/เขต กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
กรุงเทพมหานคร คลองเตย เชื่อมต่อจาก: ถนนเพลินจิต
ตรงไป: ข้ามทางรถไฟสายแม่น้ำ
แยกนานา ซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ซอยสุขุมวิท 4 (นานาใต้)
แยกอโศกมนตรี ถนนอโศกมนตรี ไป ถนนเพชรบุรี ถนนรัชดาภิเษก ไป ถนนพระรามที่ 4
แยกสายน้ำผึ้ง ไม่มี ซอยสุขุมวิท 22 (สายน้ำผึ้ง)
แยกสวัสดี ซอยสุขุมวิท 31 (สวัสดี) ไม่มี
แยกสุขุมวิท 24 ไม่มี ซอยสุขุมวิท 24 (เกษม)
แยกอารี ไม่มี ซอยสุขุมวิท 26 (อารี)
แยกทองหล่อ ซอยสุขุมวิท 55 (ทองหล่อ) ไม่มี
แยกเอกมัยใต้ ซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย) ไม่มี
แยกพระโขนง ไม่มี ถนนพระรามที่ 4
แยกสุขุมวิท 71 ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) ไม่มี
สะพาน ข้ามคลองพระโขนง
แยกอ่อนนุช ถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท 77) ไม่มี
พระโขนง แยกสุขุมวิท 62 ไม่มี ซอยสุขุมวิท 62 (สามภพนฤมิตร)
แยกปุณณวิถี ซอยสุขุมวิท 101 (ปุณณวิถี) (แยกปิด) ไม่มี
แยกทุ่งสาธิต ซอยสุขุมวิท 101/1 (วชิรธรรมสาธิต) ไม่มี
บางนา แยกอุดมสุข ถนนอุดมสุข (สุขุมวิท 103) ไม่มี
16+670 แยกบางนา ไม่มี ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ถนนบางนา-ตราด ไป ชลบุรี ถนนสรรพาวุธ
สะพาน ข้ามคลองบางนา
แยกลาซาล ถนนลาซาล (สุขุมวิท 105) ไม่มี
แยกแบริ่ง ซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง) (ทางหลวงชนบท สป.4009)[2] ไม่มี
สมุทรปราการ เมืองสมุทรปราการ สะพาน ข้ามคลองสำโรง
20+018 แยกสำโรง ถนนเทพารักษ์ ไป อำเภอบางพลี ไม่มี
20+325 แยกปู่เจ้าสมิงพราย ไม่มี ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ไป อำเภอพระประแดง
แยกต่างระดับช้างเอราวัณ ถนนกาญจนาภิเษก ไป เขตบางนา ถนนกาญจนาภิเษก ไป ถนนพระรามที่ 2
22+234 ไม่มี ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ ไป ถนนสรรพาวุธ
สะพาน ข้ามคลองตาหมู
สะพาน ข้ามคลองมหาวงศ์
25+333 แยกปากน้ำ ถนนสุขุมวิท ไป จังหวัดชลบุรี ตรงไป: ถนนด่านเก่า เข้าเมืองสมุทรปราการ
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ

ทางหลวงที่เกี่ยวข้อง

  • ทางเลี่ยงเมืองชลบุรี ระยะทาง 13.851 กิโลเมตร (ปัจจุบันเปลี่ยนหมายเลขทางหลวงเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361)
    • กม.4.245 สะพานข้ามแยกตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315 (กม.3.261)
    • กม.8.848 สะพานข้ามแยกตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 (กม.1.945)
    • กม.11.611 ทางแยกต่างระดับตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 7 สายเดิม (กม.0)
  • ทางเลี่ยงเมืองระยอง (ปัจจุบันรวมสายทางกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 และเปลี่ยนหมายเลขทางหลวงช่วงหลักกิโลเมตรที่ 0+000 - 3+909 เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 364)

อ้างอิง

  1. โรม บุนนาค (10 มิถุนายน 2556). "เรื่องเก่าเล่าสนุก : หลักกิโลเมตรที่ 0 ของประเทศไทย". all Magazine ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือน มิถุนายน 2556. all Magazine. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. แผนที่สำนักทางหลวงชนบทที่ 1 (ปทุมธานี)
  3. http://www.ds.ac.th/highlight/

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′34.09″N 100°33′1.46″E / 13.7428028°N 100.5504056°E / 13.7428028; 100.5504056