ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมชาย แสวงการ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pitpisit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล ผู้นำประเทศ
{{กล่องข้อมูล ผู้นำประเทศ
| name = สมชาย แสวงการ
| name = สมชาย แสวงการ
| image = สมชายแสวง.JPG
| image = Somchai Sawaengkarn.jpg
| imagesize = 200px
| imagesize =
| order = สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
| order = สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
| primeminister =
| primeminister =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:11, 29 มีนาคม 2560

สมชาย แสวงการ
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 เมษายน พ.ศ. 2505 (61 ปี)

สมชาย แสวงการ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ประวัติ

นายสมชาย แสวงการ เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2505 จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดราชบพิธ กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท สาขาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี,ปริญญาบัตร วปอ.รุ่นที่ 58 ประจำปีการศึกษา 2558-2559

การทำงาน

สมชาย ทำงานเป็นบรรณาธิการและผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจ สายการเมือง และสายทหาร ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จนกระทั่งเป็นผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ ไอ.เอ็น.เอ็น.กรุ๊ป ร่วมกับนายสนธิญาณ หนูแก้ว (สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม) ที่ถือหุ้นใหญ่โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และกลุ่มบริษัทยูคอม (1) เป็นผู้ผลิตรายการร่วมด้วยช่วยกัน ได้รับสิทธิจากหน่วยบัญชาการกำลังสำรองในการเข้ามาบริหารและผลิตรายการ “ร่วมด้วยช่วยกัน” เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี นับตั้งแต่ธันวาคม 2540 เป็นต้นมา ปัจจุบันวิทยุร่วมด้วยช่วยกันยังคงออกอากาศทางสถานีวิทยุกรมรักษาดินแดน เอฟเอ็ม 96 เมกกะเฮิร์ซ (2) เป็นเจ้าของสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น. ทำธุรกิจสำนักข่าว ผลิตข่าวและรายการวิทยุ โทรทัศน์ สื่อออนไลน์และสื่อสิ่งพิมพ์ นอกจากนี้สมชายยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย 2 สมัยติดต่อกัน

หลังเกิดการปฏิวัติรัฐประหาร ในปี 2549 สมชายได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จากสายวิชาชีพสื่อมวลชนในปี พ.ศ. 2549 หลังได้รับการแต่งตั้งเป็น สนช. สมชายจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เพื่อเป็นการรักษาระยะห่างระหว่างการทำหน้าที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและการทำงานของสมาคมฯ ในฐานะองค์กรวิชาชีพสื่อวิทยุโทรทัศน์ที่จะต้องติดตามและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและฝ่ายต่างๆ ในสังคม

ในปีพ.ศ. 2551 สมชายได้รับการสรรหาให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาสรรหา ภาควิชาชีพ โดยมีมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิดเป็นผู้ส่งเข้ารับการสรรหา ในช่วงที่ทำหน้าที่ ได้ผลักดันการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อสารมวลชนหลายฉบับ อาทิ พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ซึ่งก่อให้เกิดสถานีโทรทัศน์สาธารณะเป็นครั้งแรกของประเทศไทย เป็นสถานีโทรทัศน์ "ไทยพีบีเอส" ในปัจจุบัน,พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 ,พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551, พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553,พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ประธานคณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริงและติดตามความคืบหน้าทางคดีของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ทางการเมือง กรณีการเสียชีวิต พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตรองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.21 รอ.) และเหตุการการชุมนุมทางการเมือง 10 เม.ย. 2553

ในปีพ.ศ. 2554 สมชายยังได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา เป็นสมัยที่ 2 เป็นการต่อเนื่อง โดยมูลนิธิสื่อสร้างสรรค์เป็นผู้เสนอชื่อเข้ารับการสรรหา รับหน้าที่สำคัญ ๆ ทั้งการกลั่นกรองกฎหมาย และการตรวจสอบ อาทิ โฆษกกรรมาธิการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา 2551-2557 ,กรรมาธิการคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา 2554-2557 ,กรรมการคณะกรรมการพัฒนาระบบงานกฎหมาย วุฒิสภา 2556 ประธานคณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิทางการเมือง 2555-2556 เป็นต้น ช่วงปลายปี 2556 ได้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองและการใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม มีปัญหาทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง แม้ต่อมารัฐบาลจะประกาศยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่ด้วยความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างนำไปสู่การคัดค้านการเลือกตั้ง ในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะ สมชายได้ร่วมกับ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา และสมาชิกวุฒิสภา ร่วมกันหาทางออกให้กับประเทศ  โดยได้เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะจากหลายองค์กร และมีความเห็นตรงกันให้วุฒิสภาทำการแก้ไขวิกฤติชาติ เพื่อยับยั้งความเสียหาย ด้วยการเรียกร้องไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ 1.ให้มีการแก้ไขวิกฤติชาติ โดยคืนความสงบสุข ความสมานฉันท์ของคนในชาติ ด้วยการจัดให้มีปฏิรูปประเทศทุกด้าน ซึ่งต้องมีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีอำนาจเต็มเพื่อดำเนินการ 2.เรียกร้อง ครม.ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ขณะนั้น รัฐบาล และพรรคการเมืองทุกพรรค ให้ความร่วมมือกับวุฒิสภาในการหาทางออกประเทศ ภายใต้การมีส่วนร่วมของคนในชาติอย่างเต็มกำลังและลดเงื่อนไขความรุนแรงขัดแย้ง 3.วุฒิสภาพร้อมทุ่มเทการทำงานอย่างหนักและต่อเนื่อง โดยจะนำความเห็นทุกภาคส่วนมาพิจารณาประกอบ และหากจำเป็นวุฒิสภาจะอาศัยข้อบังคับประชุมของวุฒิสภา เปิดประชุมเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้ได้มาซึ่งนายกฯ ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ และประเพณีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ตามประเพณีทั้งของสากล และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในที่สุด วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 [คณะรักษาความสงบแห่งชาติ] (คสช.) อันมีพลเอก [ประยุทธ์ จันทร์โอชา] เป็นหัวหน้าคณะ โค่นรัฐบาลรักษาการ[นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล] ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

วันที่ 31 กรกฎาคม 2557 สมชาย ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัตแห่งชาติ เป็นสมัยที่ 2 โดยมีตำแหน่งสำคัญ อาทิ เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ,กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการประสานงานระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาขับเครื่องการปฏิรูปประเทศ, กรรมการคณะกรรมการประสานงานรวม 3 ฝ่าย (คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ,รองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ คนที่สาม และกรรมาธิการคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน นอกจากนี้ยังเป็นกรรมาธิการวิสามัญในการร่างกฎหมายอีกหลายฉบับ เป็นต้น

การอบรมและสัมมนา

  • หลักสูตร ประกาศนียบัตรชั้นสูงการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) รุ่นที่ 5 จาก สถาบันพระปกเกล้า
  • หลักสูตร วุฒิบัตรการบริหารจัดการภาครัฐและกฎหมายมหาชน รุ่นที่ 7 จาก สถาบันพระปกเกล้า
  • หลักสูตร ประกาศนียบัตรและเข็มวิทยฐานะ ผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ (บ.ย.ส.14) จาก วิทยาลัยการยุติธรรม
  • หลักสูตร หลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย (นธป.) รุนที่ 3 วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ

ประสบการณ์การทำงาน

  • สมาชิกวุฒิสภา 2554-2557
  • สมาชิกวุฒิสภา 2551-2554
  • นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย 2 สมัย พ.ศ. 2546-2548,2548-2549
  • กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอเอ็นเอ็นเรดิโอ จำกัด และผู้อำนวยการวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน
  • บรรณาธิการข่าว สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 อสมท.
  • กรรมการมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด และมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง