ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กล้วย เชิญยิ้ม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kasio (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 120: บรรทัด 120:
===พิธีกรรายการโทรทัศน์===
===พิธีกรรายการโทรทัศน์===
*2557 ข่าวบ่ายคลายเครียด ทาง[[ฟ้าวันใหม่]]
*2557 ข่าวบ่ายคลายเครียด ทาง[[ฟ้าวันใหม่]]

===อื่น ๆ===
*บันทึกการแสดงสด ร่วมกับชาวคณะ ในรายการ จี้เส้นคอนเสิร์ต สร้างโดยบริษัท [[เอสทีวิดีโอ]] ใช้ชื่อชุดว่า '''ยกทีมฮากับน้ากล้วย'''


==เชิงอรรถ==
==เชิงอรรถ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:43, 7 มีนาคม 2560

กล้วย เชิญยิ้ม
ไฟล์:Gluai thanuphong.jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด1 สิงหาคม พ.ศ. 2499 (67 ปี)
ฐานุพงศ์ ศักดิ์ธนาวัฒน์
อำเภอทองแสนขัน
จังหวัดอุตรดิตถ์
คู่สมรสธัญญพัทธ์ ศักดิ์ธนาวัฒน์ (ชื่อเดิม กรรณิกา คมขำ [note 1])
อาชีพนักแสดง, นักการเมือง, พิธีกรรายการโทรทัศน์
ผลงานเด่นอาฮวด-เฮง เฮง เฮง ซิทคอมทางช่อง 3
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

กล้วย เชิญยิ้ม นักแสดงตลกชาวไทยชื่อดังในคณะเชิญยิ้ม มีชื่อจริงว่า ฐานุพงศ์ ศักดิ์ธนาวัฒน์ (ชื่อเดิม: สุนทร คมขำ[1])

ประวัติ

กล้วยเกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2499 ที่อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นบุตรของนายบุญจันทร์ และนางบุญธรรม คมขำ บิดาเป็นหัวหน้าคณะลิเก "สวรรค์ถาวร" และได้ย้ายไปอยู่กับบิดาที่จังหวัดสุโขทัยหลังจบชั้นประถม 5 ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ และเริ่มหัดเล่นลิเก และออกตระเวนเล่นไปกับคณะ จนเริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงเมื่ออายุ 26 ปี ร่วมคณะเชิญยิ้ม [2]

กล้วย เชิญยิ้ม เริ่มศึกษาต่อการศึกษานอกโรงเรียนเมื่ออายุ 30 ปี ที่โรงเรียนนนทรีวิทยา และศึกษาต่อปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยปทุมธานี และมหาวิทยาลัยเกริก และจบปริญญาโท นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก

งานการเมือง

กล้วยได้หันมาเล่นการเมืองท้องถิ่นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ บ้านเกิด เคยเป็นที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ และเป็นหนึ่งในคณะทำงานของนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี และได้ประกาศตัวเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุตรดิตถ์ ในนามพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อ พ.ศ. 2553[3] และเป็นผู้สมัครในเขต 3 จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งประกอบด้วย อำเภอตรอน อำเภอลับแล และอำเภอพิชัย ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2554 [4] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยได้คะแนน 12,800 คะแนน แพ้ให้กับนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย จากพรรคเพื่อไทย[5]

งานบันเทิง

ภาพยนตร์

  • 2538 กอง100 501 ตอน ถึงใจจะแตกแต่ไม่แตกแถว
  • 2539 กลิ่นสีและทีแปรง
  • 2539 กองพันทหารเกณฑ์+12 ตอน แนวรักริมฟุตบาท

ละครโทรทัศน์

ละครซิทคอม

พิธีกรรายการโทรทัศน์

อื่น ๆ

  • บันทึกการแสดงสด ร่วมกับชาวคณะ ในรายการ จี้เส้นคอนเสิร์ต สร้างโดยบริษัท เอสทีวิดีโอ ใช้ชื่อชุดว่า ยกทีมฮากับน้ากล้วย

เชิงอรรถ

  1. กล้วย ภรรยา พร้อมด้วยบุตรชาย-บุตรสาว 3 คน ได้เปลี่ยนชื่อและนามสกุลพร้อมกันทุกคน หลังจากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์กับบุตรสาวคนกลาง เมื่อ พ.ศ. 2551

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น