ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพรหม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
{{กล่องข้อมูล เทวะ | name = พระพรหม | native_name = ब्रह्मा | image = Thai 4 Buddies.jpg | caption = ท้าวมหาพรหม ที่แยกราชประสงค์ [[
== เทวสถานและเทวรูปที่สร้างอุทิศถวายในประเทศต่าง ๆ == === ประเทศอินเดีย === {{โครงส่วน}} === [[ประเ
บรรทัด 48: บรรทัด 48:
=== [[ประเทศไทย]] ===
=== [[ประเทศไทย]] ===
=== [[เทวสถาน]]ใน[[ศาสนาฮินดู]]ที่มีเทวรูปใน[[ประเทศไทย]] ===
=== [[เทวสถาน]]ใน[[ศาสนาฮินดู]]ที่มีเทวรูปใน[[ประเทศไทย]] ===
[[ไฟล์:Bkkdevasathan0609a.jpg|thumb|250px|right| ศาลพระพรหม ด้านหน้า หอพระอิศวร [[เทวสถานโบสถ์พราหมณ์]] [[กรุงเทพมหานคร]] [[ประเทศไทย]].]]
* ศาลพระพรหม [[วัดพระศรีมหาอุมาเทวี]]([[วัดพระศรีมหาอุมาเทวี|วัดแขกสีลม]]) [[ถนนสีลม]] [[เขตบางรัก]] [[กรุงเทพมหานคร]] [[เทวรูป]]ทำด้วย[[สัมฤทธิ์]][[ประติมานวิทยา|เทวลักษณะ]][[ราชวงศ์โจฬะ|ศิลปะโจฬะ]]
* ศาลพระพรหม [[วัดพระศรีมหาอุมาเทวี]]([[วัดพระศรีมหาอุมาเทวี|วัดแขกสีลม]]) [[ถนนสีลม]] [[เขตบางรัก]] [[กรุงเทพมหานคร]] [[เทวรูป]]ทำด้วย[[สัมฤทธิ์]][[ประติมานวิทยา|เทวลักษณะ]][[ราชวงศ์โจฬะ|ศิลปะโจฬะ]]
* ศาลพระพรหม ด้านหน้า หอพระอิศวร [[เทวสถานโบสถ์พราหมณ์]] [[กรุงเทพมหานคร]] และที่ด้านหน้า[[เครื่องบูชาแบบไทย|เบญจา]]ที่ประดิษฐาน[[เทวรูป]][[พระศิวะ|พระอิศวร]]องค์ประธานและหมู่[[เทวรูป]]สำหรับใช้ในพิธีหลวง
* ศาลพระพรหม ด้านหน้า หอพระอิศวร [[เทวสถานโบสถ์พราหมณ์]] [[กรุงเทพมหานคร]] และที่ด้านหน้า[[เครื่องบูชาแบบไทย|เบญจา]]ที่ประดิษฐาน[[เทวรูป]][[พระศิวะ|พระอิศวร]]องค์ประธานและหมู่[[เทวรูป]]สำหรับใช้ในการพระราชพิธี
* [[สมาคมฮินดูธรรมสภา]] (วัดวิษณุ) [[เขตยานนาวา]] [[กรุงเทพมหานคร]] ด้านหน้าวิหาร[[ทุรคา|พระแม่ทุรคา]]
* [[สมาคมฮินดูธรรมสภา]] (วัดวิษณุ) [[เขตยานนาวา]] [[กรุงเทพมหานคร]] ด้านหน้าวิหาร[[ทุรคา|พระแม่ทุรคา]]
* [[สมาคมฮินดูสมาช]] [[กรุงเทพมหานคร]](วัดเทพมณเฑียร) ประดิษฐาน[[เทวรูป]]ร่วมกับ[[เทวรูป]][[พระแม่คายตรี]] ซึ่งอยู่ด้านตรงข้ามหอ[[ทุรคา|พระแม่ทุรคา]]
* [[สมาคมฮินดูสมาช]] [[กรุงเทพมหานคร]](วัดเทพมณเฑียร) ประดิษฐาน[[เทวรูป]]ร่วมกับ[[เทวรูป]][[พระแม่คายตรี]] ซึ่งอยู่ด้านตรงข้ามหอ[[ทุรคา|พระแม่ทุรคา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:54, 19 กุมภาพันธ์ 2560

พระพรหม
ब्रह्मा
ตำแหน่งเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์
จำพวกตรีมูรติ
สัตว์พาหนะหงส์ หรือ ห่าน
คู่ครองสรัสวดี
ศาสนา/ลัทธิพราหมณ์-ฮินดู

พระพรหม (อังกฤษ: Brahma; เตลูกู: బ్రహ్మ; สันสกฤต: ब्रह्मा; เทวนาครี: ब्रह्मा) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ เป็นเทพเจ้าแห่งความเมตตา เป็นผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท[1]

พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์ หรือ ห่าน พระชายา คือ พระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้

ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระ(เทวดา)และอสุระ(อสุรกาย)ทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ [2]

และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ เกิดจากพระโอษฐ์, วรรณะกษัตริย์ เกิดจากอก, วรรณะแพศย์ เกิดจากส่วนท้อง และวรรณะศูทร เกิดจากเท้า[3]

ในบรรดาตรีมูรติ พระพรหมถือเป็นเทพเจ้าที่มีผู้เคารพบูชามาก่อนเทพเจ้าองค์อื่น ๆ มีหลักฐานตั้งแต่ก่อนยุคพุทธกาล[4] แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นหนึ่งในตรีมูรติ ทว่าพระพรหมกลับเป็นเทพเจ้าที่ผู้คนให้การบูชาน้อยมากในบรรดาตรีมูรติและเทพองค์อื่น ๆ โดยในอินเดีย มีเทวสถานสำหรับบูชาพระพรหมเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น โดยเทวสถานที่เป็นรู้จักดีอยู่ที่ ตำบลบุษกร แคว้นอาชมีร์ มัธยมประเทศ (ปัจจุบันคือ เมืองอาชมีร์ รัฐราชสถาน[5][6])

ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร"[1] และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย[7]

ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น[8] ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่"[9]

โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร" เป็นต้น[8]

นิยามของ พรหม ใน ภควัทคีตา (บทเพลงแห่งองค์ภควันต์)

สิ่งที่บุคคลควรรู้สูงสุดคือ พรหม
พรหมคือสภาวะอันสูงสุด ไม่มีเบื้องต้น ไม่เป็นทั้งสิ่งมีอยู่และสิ่งไม่มีอยู่
พรหมหยั่งรู้ถึง อารมณ์ โลภ โกรธ หลง แต่พรหมปราศจากอารมณ์เหล่านั้น
พรหมไม่มีความยึดมั่นในสรรพสิ่ง
พรหมคือสภาวะอยู่เหนือความดีและความชั่ว
พรหมมิอาจหยั่งรู้ได้ด้วยการคิดและใช้เหตุผล
พรหมคือแสงสว่างเหนือแสงสว่างทั้งปวง

เทวสถานและเทวรูปที่สร้างอุทิศถวายในประเทศต่าง ๆ

ประเทศอินเดีย

ประเทศไทย

เทวสถานในศาสนาฮินดูที่มีเทวรูปในประเทศไทย

ศาลพระพรหม ด้านหน้า หอพระอิศวร เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย.


โบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องในประเทศไทย

วัดและพุทธสถานในพระพุทธศาสนาที่มีเทวรูปในประเทศไทยปัจจุบัน

  • อุทยานศาสนาพระโพธิสัตว์กวนอิม ตำบลพูสวรรค์ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี.
  • วัดทองนาปรัง ตำบลบางไผ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี.

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 พระพรหม
  2. "พระพรหม". ไทยรัฐ. 30 March 2014. สืบค้นเมื่อ 30 March 2014.
  3. ประวัติพระพรหม
  4. "พระ (นารายณ์) มาโปรด". ไทยรัฐ. 11 December 2015. สืบค้นเมื่อ 13 December 2015.
  5. "บุตรแห่งพรหม". ไทยรัฐ. 21 August 2015. สืบค้นเมื่อ 22 August 2015.
  6. Bradnock, Robert; Roma Bradnock (2001). Rajasthan & Gujarat Handbook: The Travel Guide. Pushkar. Footprint Travel Guides. p. 161. ISBN 1-900949-92-X. สืบค้นเมื่อ 2010-01-26.
  7. "ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง". บ้านจอมยุทธ์. สืบค้นเมื่อ 10 June 2014.
  8. 8.0 8.1 พรหม จากสนุกดอตคอม
  9. สุจิตต์ วงษ์เทศ. "พลังลาว" ชาวอีสาน มาจากไหน ?. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549, หน้า 104
  • นิตย์ จารุศร (รวบรวม และ เรียบเรียง). สารธรรม. กรุงเทพฯ : เหรียญบุญ การพิมพ์, 2547.
  • พระพานิช ญาณชีโว. ไตรภูมิพระร่วง (ฉบับย่อความ). กรุงเทพฯ : ตรงหัว,, 2539.
  • เสฐียรโกเศศ. ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์ในพญาลิไทย. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2545.
  • เสฐียรโกเศศ. เล่าเรื่องในไตรภูมิ. ธนบุรี : โรงพิมพ์อักษรเพชรเกษม, 2512.