ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลจัมปาศรี ยูไนเต็ด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Earthpanot (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
PUNG191230 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 39: บรรทัด 39:
| shorts3 = 000000
| shorts3 = 000000
| socks3 = 000000-->
| socks3 = 000000-->
| current = สโมสรฟุตบอลซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการในฤดูกาล 2559
| current = สโมสรฟุตบอลซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการในฤดูกาล 2560
}}
}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:33, 12 กุมภาพันธ์ 2560

Super Power Samut Prakan
ซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ
ไฟล์:Super power Samut Prakan logo, June 2016.jpg
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรสาคร
ฉายาThe Power
(เดอะ พาวเวอร์)
ก่อตั้งพ.ศ. 2520
สนามโลโซ-ดี สเตเดียม
จังหวัดสมุทรปราการ
Ground ความจุ5,000 คน
ประธานกิระวิศร์ พิทยภูวนันท์
หัวหน้าผู้ฝึกสอนเฉลิมวุฒิ สง่าพล
ลีกไทยลีก
2559ไทยลีก, อันดับที่ 15
สีชุดทีมเยือน
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ เป็นสโมสรฟุตบอลในจังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย ปัจจุบันเล่นในไทยลีก สำหรับผลงานในระดับเอเชียนั้น ในอดีตได้ร่วมเล่นใน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2002–03 ภายหลังจากได้อันดับสองในไทยลีก และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2550 ที่ได้เข้าร่วมแข่งขันใน เอเอฟซีคัพ ฤดูกาล 2007 ในรอบแบ่งกลุ่ม

ประวัติสโมสร

สโมสรฟุตบอลซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2520 ในชื่อ โอสถสภา เอฟซี ด้วยกระแสความนิยมของฟุตบอลไทย และความสนใจในการสนับสนุนด้านกีฬาของโอสถสภาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของพนักงานบริษัท โอสถสภา จำกัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยที่ทำงานอยู่ในบริษัท จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้โอสถสภา หันมาสนใจในการร่วมพัฒนาศักยภาพวงการฟุตบอลไทย สโมสรฟุตบอลโอสถสภา ได้พัฒนาทีมอย่างต่อเนื่อง หานักกีฬาและผู้ฝึกสอนมาร่วมสร้างทีมและพัฒนานักเตะที่มีคุณภาพ จนสามารถสร้างผลงานเป็นทีมระดับแนวหน้าของประเทศ และได้ผ่านการเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลอาชีพในรายการต่างๆ มากมาย เช่น การแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก, เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก, เอเอฟซีคัพ และฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนส์ คัพ โดยสามารถคว้าแชมป์การแข่งขันควีนสคัพได้ถึง 3 สมัยซ้อน ในปี พ.ศ. 2545พ.ศ. 2547 และคว้าถ้วยพระราชทาน ก. ได้ 2 สมัย

ต่อมาสโมสรฟุตบอลโอสถสภาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลโอสถสภา เอ็ม-150 สมุทรปราการ ภายใต้การสนับสนุนของเครื่องดื่ม M-150 และความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทีมอย่างเป็นระบบ ทั้งด้านบุคลากร และด้านการบริหาร เพื่อยกระดับทีม ให้ก้าวสู่มาตรฐานการแข่งขันฟุตบอลระดับสากล ตามกระแสความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน

วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ทางบริษัทซุปเปอร์พาวเวอร์ผู้รับสิทธิ์การทำทีมจากทางโอสถสภาได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลซุปเปอร์พาวเวอร์ สมุทรปราการ โดยทางโอสถสภาจะเป็นเพียงสปอนเซอร์ให้กับทีมเท่านั้น


สัญลักษณ์สโมสร

สนามเหย้า

สโมสรฟุตบอลเอ็มพาวเวอร์ สมุทรปราการ มีสนามเหย้าใหม่คือ เอ็มพาวเวอร์สเตเดียม ย้ายมาจาก สนามราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามเหย้าแทบทั้งฤดูกาล เนื่องจากสโมสรฟุตบอลจังหวัดสระบุรี ได้เลื่อนชั้นขึ้นมา และตามกฎห้ามทีมในระดับไทยพรีเมียร์ลีกใช้สนามเหย้าร่วมกัน

เอ็มพาวเวอร์สเตเดียม เดิมเป็นสนามของการกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดสมุทรปราการ ทางโอสถสภาได้ร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อทำสนามใหม่ และพัฒนาเมืองสมุทรปราการให้เป็นเมืองกีฬา[1]

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย ประภาส กอบแก้ว
2 MF ไทย สุรเดช ธงชัย
3 DF ไทย คริสต์มาส สมเป็น
4 MF ไทย ฟาหริด หมาดโสะ
5 DF บัลแกเรีย ลูย์เบน นีโกลอฟ
6 DF ไทย เอกสิทธิ์ ฉาวบุตร
7 MF ไทย กิตติภพ อุปะชาคำ
8 MF ไทย ศักดา เจิมดี (กัปตันทีม)
10 FW นามิเบีย แซดนีย์ อูริโคบ
11 MF โกตดิวัวร์ อ็องโตนี โคเมนัน
13 DF ไทย เอกภพ สนิทวงษ์
14 DF ไทย กีรติกรณ์ นิลมาศ
15 DF ไทย วันใหม่ เศรษฐนันท์
17 GK ไทย ณรงค์ วิเศษศรี
18 DF ไทย กิตติศักดิ์ บุญถา
19 FW ไทย โชคลาภ นิลแสง
20 DF ไทย อาทิตย์ เอื้อเฟื้อ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
21 FW ไทย สุรเดช สีจันทองทิพย์
22 DF ไทย ทศพร ชูชิน
23 GK ไทย ทนงศักดิ์ พันภิพัฒน์
25 FW ไทย นลธวัช รักอก
28 FW ไทย เอกพันธ์ อินทะเสน
29 FW ไทย อริยพล จันทร์สอน
32 FW ไทย เตชดล ชูวิลาศ
33 MF เกาหลีใต้ ลี ค็อน-พิล
35 DF ไทย กฤติกร โพธิ์งาม
36 DF ไทย สามารถ เพชรหนู
39 DF ไทย วศิน ทองสง
44 MF ไทย รามณรงค์ ยอดจันทร์
69 DF ไทย อันตอนิโอ แวร์ซูรา
77 MF ไทย จิระเดช แสงสง่า
80 FW บราซิล มูเรย์รา
89 MF ไทย ธีรกรณ์ สุนทรเวช
99 DF ไทย ธนพล อุดมลาภ

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

ผลงาน

ผลงานที่ดีสุดในระดับเอเชีย

ผลงานในไทยลีก

  • 2541 - ไทยลีก - อันดับ 10
  • 2542 - ไทยลีก - อันดับ 4
  • 2543 - ไทยลีก - อันดับ 8
  • 2544/45 - ไทยลีก - อันดับ 2
  • 2545/46 - ไทยลีก - อันดับ 6
  • 2546/47 - ไทยลีก - อันดับ 3
  • 2547/48 - ไทยลีก - อันดับ 3
  • 2549 - ไทยลีก - อันดับ 2
  • 2550 - ไทยลีก - อันดับ 9
  • 2551 - ไทยลีก - อันดับ 4
  • 2552 - ไทยลีก - อันดับ 5
  • 2553 - ไทยลีก - อันดับ 7
  • 2554 - ไทยลีก - อันดับ 6
  • 2555 - ไทยลีก - อันดับ 5
  • 2557 - ไทยลีก - อันดับ 11
  • 2558 - ไทยลีก - อันดับ 11
  • 2559 -

อ้างอิง

  1. ""พลังเอ็ม" เตรียมใช้ "เทพหัสดิน" เป็นรังเหย้าปีหน้า". ผู้จัดการออนไลน์. 7 November 2014. สืบค้นเมื่อ 9 November 2014.