ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮิโรยูกิ มูราโมโตะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 22: บรรทัด 22:


== การเสียชีวิต ==
== การเสียชีวิต ==
มูราโมโตะถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ [[10 เมษายน]] [[พ.ศ. 2553]] ที่[[ประเทศไทย]] ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ทหารบุกเข้าสลาย[[การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553|การชุมนุมของ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน]] บริเวณ[[สะพานผ่านฟ้าลีลาศ]] โดยเขาได้ถ่ายภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณ[[ถนนราชดำเนิน]] และถูกกระสุนปืนยิงเข้าบริเวณหน้าอกเสียชีวิต
มูราโมโตะถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ [[10 เมษายน]] [[พ.ศ. 2553]] ที่[[ประเทศไทย]] ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ทหารบุกเข้าสลาย[[การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553|การชุมนุมของ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน]] บริเวณ[[สะพานผ่านฟ้าลีลาศ]] โดยเขาได้ถ่ายภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณ[[ถนนราชดำเนิน]] และถูกกระสุนปืนยิงเข้าบริเวณหน้าอกเสียชีวิต ศาลอาญาชั้นต้นออกนั่งบัลลังก์เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560 อ่านคำพิพากษา จำคุก นายกิตติศักดิ์ หรืออ้วน สุ่มศรี และนายปรีชา หรือไก่เตี้ย อยู่เย็น คนละ 10 ปี โทษฐานพกพาอาวุธ เครื่องกระสุน ระเบิดเข้าไปในที่ชุมนุม เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการตายของนายมูราโมโตะ และการตายของผู้ชุมนุมเสื้อแดงอีก 2 คน


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:56, 4 กุมภาพันธ์ 2560

ฮิโรยูกิ มูราโมโตะ
เกิดพ.ศ. 2509
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
เสียชีวิต10 เมษายน พ.ศ. 2553
ไทย กรุงเทพมหานคร, ไทย
สัญชาติญี่ปุ่น
อาชีพนักข่าว/ช่างภาพ
องค์การสำนักข่าวรอยเตอร์ส

ฮิโระ มุระโมะโตะ (ญี่ปุ่น: 村本博之, พ.ศ. 250910 เมษายน พ.ศ. 2553) เป็นช่างภาพและผู้สื่อข่าว เคยทำงานให้กับออสเตรเลียนบอร์ดแคสติงคอร์ปอเรชัน (เอบีซี) ในโตเกียว ในปี พ.ศ. 2533s[1] และเป็นผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์สเป็นเวลานานกว่า 15 ปี[2]

การทำงาน

มูราโมโตะจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทมเพิล เขาทำงานให้กับเอ็นบีซี และเอบีซีในเวลาต่อมา หลังจากนั้นเขาเข้าร่วมกับรอยเตอร์สในฐานะช่างภาพสมัครเล่นใน พ.ศ. 2535 และกลายมาเป็นช่างภาพอาชีพใน 3 ปีถัดมา ขณะที่เขาทำงานอยู่กับรอยเตอร์สเขาได้เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงหลายพื้นที่ ทั้งประเทศเกาหลีเหนือและประเทศฟิลิปปินส์ (ในช่วงที่การเมืองไม่มั่นคง)

นอกจากนี้เขายังได้เข้าร่วมกิจกรรมการกุศลหลายประเภท โดยเขาได้ใช้เวลา 2 วัน ในการเดิน 100 กิโลเมตรบริเวณภูเขาไฟฟูจิ เพื่อนำเงินไปช่วยเหลือคนยากไร้ในทวีปแอฟริกา

การเสียชีวิต

มูราโมโตะถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 ที่ประเทศไทย ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ทหารบุกเข้าสลายการชุมนุมของ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ โดยเขาได้ถ่ายภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณถนนราชดำเนิน และถูกกระสุนปืนยิงเข้าบริเวณหน้าอกเสียชีวิต ศาลอาญาชั้นต้นออกนั่งบัลลังก์เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560 อ่านคำพิพากษา จำคุก นายกิตติศักดิ์ หรืออ้วน สุ่มศรี และนายปรีชา หรือไก่เตี้ย อยู่เย็น คนละ 10 ปี โทษฐานพกพาอาวุธ เครื่องกระสุน ระเบิดเข้าไปในที่ชุมนุม เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการตายของนายมูราโมโตะ และการตายของผู้ชุมนุมเสื้อแดงอีก 2 คน

อ้างอิง

  1. Doherty, Ben (2010-04-14). "Military signals Thai PM's time is running out". Telegraph. The Age. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-14. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthor= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help); ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help); ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |work= (help)
  2. Szep, Jason (2010-04-10). "Reuters journalist killed in Bangkok protests". Reuters. The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-13.