ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภิกษุณีธัมมนันทา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Karaniyametta (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขประวัติให้ถูกต้อง
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น การแก้ไขแบบเห็นภาพ
ห้ามคัดลอก
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
| image = Dhammananda09.jpg
| image = Dhammananda09.jpg
| caption =
| caption =
| birth_date = [[ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๗]]
| birth_date = [[6 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2487]]
| birth_place = [[กรุงเทพฯ]]
| birth_place = [[จังหวัดนครปฐม]]
| death_date =
| death_date =
| residence =
| residence =
บรรทัด 18: บรรทัด 18:
| relatives =
| relatives =
| signature =
| signature =
| website =www.thaibhikkhunis.org
| website =
| footnotes =
| footnotes =
}}
}}
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
'''ภิกษุณีธัมมนันทา''' ชื่อเดิม '''รองศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์''' [[ภิกษุณี]]ชาวไทย สังกัด[[สยามนิกาย]] [[ประเทศศรีลังกา]] อดีตอาจารย์ประจำ[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
'''ภิกษุณีธัมมนันทา''' ชื่อเดิม '''รองศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์''' [[ภิกษุณี]]ชาวไทย สังกัด[[สยามนิกาย]] [[ประเทศศรีลังกา]] อดีตอาจารย์ประจำ[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]


== ประวัติ<ref>http://www.thaibhikkhunis.org/thai2556/index.php?option=com_content&view=article&id=29&Itemid=11</ref> ==
== ประวัติ ==
ดร.ฉัตรสุมาลย์เป็นบุตรของนาย[[ก่อเกียรติ ษัฏเสน]] อดีต[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง]] และนางวรมัย กบิลสิงห์ (ต่อมาบรรพชาเป็น[[ภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์]]) จบการศึกษาจาก[[โรงเรียนราชินีบน]] และปริญญาตรีสาขา[[ปรัชญา]]จาก[[มหาวิทยาลัยศานตินิเกตัน]] [[ประเทศอินเดีย]] ได้รับทุนรัฐบาลแคนาดาไปศึกษาปริญญาโทและเอกจาก[[มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์]] [[ประเทศแคนาดา]] และ[[มหาวิทยาลัยมคธ]] ประเทศอินเดีย
พระภิกษุณีธัมมนันนา นามเดิม รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ '''หรือที่ติดปากลูก ๆ และศิษย์ว่า '''“หลวงแม่”''''''  


ดร.ฉัตรสุมาลย์เป็นอาจารย์สอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา เมื่อ พ.ศ. 2512 และเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่าง พ.ศ. 2516 - 2543 มีผลงานวิชาการ เขียนบทความธรรมะ และเป็นพิธีกรรายการธรรมะ ถ่ายทอดทาง[[ช่อง 3]] เป็นผู้แปลหนังสือ ''ลามะจากลาซา'' ของ[[ทะไลลามะ]]
'''ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นชาวกรุงเทพมหานครโดยกำเนิด''' 


ดร.ฉัตรสุมาลย์บรรพชาเป็นสามเณรีโดยคณะภิกษุและภิกษุณีสงฆ์ สยามนิกาย ประเทศศรีลังกา ซึ่งใช้สายพระวินัยจากนิกาย[[ธรรมคุปต์]]<ref>สุวิดา แสงสีหนาท, ''นักบวชสตรีไทยในพระพุทธศาสนา พลังขับเคลื่อนคุณธรรมสู่สังคม'', ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม, 2552, หน้า 44-6</ref> ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 มีฉายาว่า '''ธัมมนันทา''' และอุปสมบทเป็นภิกษุณีในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ปัจจุบันจำพรรษาอยู่ที่ [[วัตรทรงธรรมกัลยาณี]] [[ตำบลพระประโทน]] [[จังหวัดนครปฐม]] (สามเณรี และ ภิกษุณี ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคณะสงฆ์ไทย)
คุณทวดคือ หลวงเรืองฤทธิ์เดชะ ราชรองเมือง (แหลม) 

คุณปู่คือ หลวงพิทักษ์เหลียน สถาน (รื่น ษัฎเสน) ได้รับพระราชทานนามสกุล “ษัฎเสน” ใน พ.ศ. ๒๔๕๘ 

ทั้งสองท่านเวียนเป็นนายอำเภอทุกอำเภอในจังหวัดตรัง

บิดา คือ นายก่อเกียรติ ษัฎเสน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง ๓ สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ (๒๔๘๙ – ๒๕๐๑) หลังจากบิดาวางมือทางการเมือง ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุและมรณภาพภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์

มารดาคือ นางวรมัย กบิลสิงห์ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ อุปสมบทเป็นภิกษุณี ภิกษุณีวรมัย ได้ฉายา มหาโพธิธรรมาจารย์ (คนทั่วไปมักใช้สรรพนามเรียกท่านว่า “หลวงย่า”) ภิกษุณีวรมัยอุทิศตัวรับใช้พระศาสนา และก่อตั้งวัตรทรงธรรมกัลยาณี ด้วยทุนส่วนตัวของครอบครัว เพื่อใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและเผยแพร่พระธรรมคำสอนให้แก่ลูกผู้หญิงที่สนใจ

นับเป็นการเตรียมหลวงแม่ให้ได้เห็นบทบาทของผู้หญิงบนวิถีพุทธธรรมมาตั้งแต่เยาว์วัย

ในวัยเพียง ๑๑ ขวบ หลวงแม่ต้องช่วยมารดาทำหนังสือ คือหนังสือรายเดือน '''''วิปัสสนาและบันเทิงสาร''''' ถือเป็นการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ ในการเป็นนักเขียนและด้วยพรสวรรค์บวกกับประสบการณ์ที่มี ทำให้ท่านเริ่มงานเขียนตั้งแต่อายุเพียง ๑๙ ปี โดยมีผลงานแปลคือ “ตาที่สาม “ และหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นเล่มแรกคือ '''''ปรัชญาจากภาพ''''' (ติดอันดับ ๑ ใน๑๐ หนังสือขายดีของร้านหนังสือดอกหญ้า ปี ๒๕๒๕) 

นอกจากนั้นท่านยังเป็นบรรณาธิการให้แก่หนังสือจดหมายข่าวภาษาอังกฤษ '''''YASODHARA''''' ที่จัดพิมพ์ต่อเนื่องมาถึง ๓๐ ปีแล้ว

เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี หลวงแม่มีโอกาสบวชชี โดยปลงผมและสวมชุดนักบวชสีเหลืองอ่อน ได้รับฉายา “การุณกุมารี”

จากวัยเด็กจวบวัยรุ่นสาว หลวงแม่เติบโตมาในรอบรั้วภิกษุณีอาราม โดยได้รับการหล่อหลอมให้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวโพธิสัตต์ ครอบครัวใหญ่ของชาววัตรทรงธรรมกัลยาณีที่มีหลวงย่าเป็นมารดาแห่งธรรมของคนทั้งวัตร ท่านทำงานเพื่อสังคม รับเลี้ยงดูเด็กกำพร้าและผู้หญิงด้อยโอกาสจำนวนมาก

บริบทชีวิตเช่นนี้ทำให้เด็กหญิงฉัตรสุมาลย์เติบโตมาพร้อมกับแนวคิดของ งานสืบสานพุทธศาสนาบนแนวทางโพธิสัตต์นั้นมิได้เป็นเพียงการสงเคราะห์ชีวิตเพื่อนมนุษย์ให้พ้นจากสภาพความทุกข์ยากอดอยากเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการอบรมธรรมะ พัฒนาจิตใจยกระดับจิตวิญญาณไปสู่การปฏิบัติธรรมด้วย

'''การศึกษา'''

หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมจากโรงเรียนราชินีบน มารดาได้สนับสนุนให้เดินทางไปศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยที่ประเทศอินเดีย ด้วยความสามารถด้านภาษาอังกฤษ บวกกับความเพียรพยายามทำให้ท่านประสบความสำเร็จในการเรียน โดยจบปริญญาตรีเกียรตินิยม สาขาวิชาเอกปรัชญา วิชาโทประวัติศาสตร์ ในเวลา ๓ ปี อีกทั้งยังได้เรียนภาษาจีน จากท่านผู้ปกครองคือ Prof. Tan Yun Shan ซึ่งเป็นทูตวัฒนธรรมจีนที่ตั้งรกรากอยู่ในอินเดีย

หลังจากกลับมาเมืองไทยฉัตรสุมาลย์ได้ทำงานให้สมาคมไทยอเมริกัน แต่พบว่าตนเองยังสั่งสมวิชาความรู้ไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้ทำงาน จึงตัดสินใจไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาศาสนาที่มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา ''ก่อนจะศึกษาปริญญาโท ท่านต้องศึกษาปริญญาตรี สาขาศาสนาปีสุดท้ายไปด้วย โดยท่านได้รับทุนจากรัฐบาลแคนาดา ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ในสาขาศาสนา  และ''ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบภิกขุนีปาฏิโมกข์ (วินัยของภิกษุณี)”''''

การเรียนที่แคนาดาได้เปิดโลกทัศน์เรื่องการศึกษาพุทธศาสนาให้แก่ท่านเป็นอย่างมาก เนื่องเพราะท่านได้ค้นพบคำตอบว่า '''ตัวเราเองเป็นชาวพุทธ เกิดในเมืองพุทธ ทว่ากลับได้เรียนรู้ศึกษาวิชาพุทธศาสตร์จนจบชั้นปริญญาเอกจากประเทศที่ไม่ใช่เมืองพุทธเลย'''

'''ชีวิตครอบครัว'''

ท่านได้สมรสกับนาวาอากาศโท พรพจน์ และ มีบุตรชายรวม ๓ คน ชีวิตการแต่งงานและการมีบุตรชายเป็นการเติมเต็มชีวิตวัยเด็กที่อยู่ในสังคมผู้หญิงล้วน

'''ชีวิตการทำงาน'''

สำหรับชีวิตการทำงาน เริ่มจากพ.ศ. ๒๕๑๓ – ๒๕๑๕ ดร.ฉัตรสุมาลย์ได้เริ่มงานสอนที่มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา

พ.ศ.๒๕๑๖ – ๒๕๔๓  รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรสุมาลย์ได้เข้าเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งยังเป็นอาจารย์ดูแลวิทยานิพนธ์ทั้งปริญญาโทและปริญญาเอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล  มหาวิทยาลัยรามคำแหง  และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ฯลฯ

พ.ศ.๒๕๑๘ – ๒๕๔๔ ดำรงตำแหน่งภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถาน  สาขาศาสนศาสตร์  และเป็นอนุกรรมการบัญญัติศัพท์ศาสนาสากล ราชบัณฑิตสถาน

พ.ศ.๒๕๒๓ แผนกศาสนา และวัฒนธรรมของรัฐบาลทิเบตได้ส่งจดหมายเชิญให้ รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ ร่วมเป็นกรรมการพิจารณาการบวชภิกษุณีของทิเบต และด้วยความเคลื่อนไหวดังกล่าว เปรียบได้กับ '''"ปรากฎการณ์ผีเสื้อขยับปีก"''' โดยเฉพา'''ะ'''การประชุมที่ธรรมศาลาครั้งนั้นทำให้องค์ทาไลลามะ องค์พระประมุขของทิเบตทรงพิจารณาเปิดโอกาสให้ผู้หญิงทิเบตมีทางเลือกบนเส้นทางของนักบวชหญิงมากขึ้น

พ.ศ.๒๕๒๖ ท่านได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด   ให้ไปบรรยายเรื่อง  "อนาคตของภิกษุณีสงฆ์ในประเทศไทย" จากการประชุมครั้งนั้นเอง  ทำให้ท่านเกิดสำนึกได้ว่า  หากท่านไม่ลงมือเคลื่อนไหวหรือกระทำสิ่งใด  ความรู้ในเรื่องภิกษุณีสงฆ์ที่ท่านมีจะไม่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หรือการเปลี่ยนแปลงในหลักคิดได้

หลังการสัมมนาที่ฮาร์วาร์ดครั้งนั้น ส่งผลให้ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ออกจดหมายข่าวชื่อ NIBWA (News-letter on International Buddhist Women’s Activities)  เพี่อเป็นสื่อกลางในการติดต่อกับสตรีชาวพุทธ  ทั่วทุกมุมโลก มีสมาชิกครั้งแรก ๓๗ คนและขยายตัวอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นเครือข่ายผู้หญิง ที่จัดการประชุมระดับโลกหลายครั้งหลายครา โดยดร.ฉัตรสุมาลย์ ได้รับเชิญให้ไปบรรยายในเรื่องพุทธศาสนามากขึ้น จนในที่สุดก็เริ่มโยงเข้าสู่ประเด็นบทบาทของสตรีในพุทธศาสนาเข้ามาเป็นหัวข้อสำคัญในการสัมมนา

พ.ศ.๒๕๓๑ ท่านจึงได้ร่วมก่อตั้งองค์กรศากยธิดานานาชาติ International Buddhist  Women Association และได้รับเลือกเป็นประธานองค์กร ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๘ พร้อมกันนั้นนั้นท่านยังเป็นบรรณาธิการให้แก่หนังสือจดหมายข่าวพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษ ''YASODHARA'' ที่จัดพิมพ์ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเมื่อเครือข่ายของผู้หญิง เกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มพลังที่เข้มแข็งมากขึ้น จึงได้ร่วมกันก่อตั้งชมรมสตรีชาวพุทธนานาชาติชื่อว่า '''สมาคมศากยธิดา''' ขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๒  ซึ่งทางวัตรทรงธรรมกัลยาณีเองก็ได้เริ่มต้น จัด “การอบรมพุทธสาวิกา” เพื่อกระตุ้นให้สตรีไทยได้ตื่นตัวในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

พ.ศ. ๒๕๓๔ ท่านได้รับเลือกเป็นผู้จัดการประชุมทางวิชาการนานาชาติเรื่องสตรีชาวพุทธ

พ.ศ.๒๕๓๔ – ๒๕๔๓  ท่านเข้าสอนโครงการวัฒนธรรม โรงแรมโอเรียนเต็ล

พ.ศ.๒๕๓๗ – ๒๕๓๘  ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานโครงการสตรีศึกษา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ.๒๕๓๙ - ๒๕๔๓  เป็นประธานศูนย์อินเดียศึกษา และเป็นกรรมการโครงการจีนศึกษา   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์     

พ.ศ.๒๕๓๙ -  ท่านเริ่มก่อตั้งโครงการบ้านศานติ์รักษ์ เพื่อส่งเสริมให้เด็กและสตรีมีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

พ.ศ. ๒๕๔๒  - ท่านได้ก่อตั้งก่อตั้งมูลนิธิ พุทธสาวิกา

นอกจากผลงานดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ด้วยพรสวรรค์ในด้านงานเขียน ท่านยังได้เขียนบทความในสื่อหลากหลายประเภท  อาทิเช่นคอลัมน์ “ธรรมลีลา” ในหนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ คมชัดลึก ไม่นับรวมผลงานหนังสือและงานแปลอีกกว่า ๑๐๐ เล่ม โดยหนังสือที่ท่านเขียนขึ้นนี้ สะท้อนวิญญาณความเป็นนักอ่านและนักเขียนของท่านได้เป็นอย่างดี ทั้งการบอกเล่าเรื่องราวในเชิงวิชาการ การเก็บเกี่ยวประสบการณ์ การอ่านหนังสือและเดินทางไปทั่วโลก สาระที่ถ่ายทอดออกมาในสื่อรูปแบบต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ล้วนเป็นธรรมะที่ย่อยและกลั่นกรองจากมุมมองของนักอ่าน นักเขียน นักประวัติศาสตร์  นักสตรีนิยม  นักสิ่งแวดล้อม และนักปฏิบัติ ผลงานของท่านจึงมีความลุ่มลึกในสำนวนภาษาและวิธีถ่ายทอด สามารถสร้างศรัทธาและสาระให้แก่นักอ่านจำนวนมาก

นอกจากความสำเร็จในฐานะนักวิชาการและนักเขียน ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติแล้ว รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ยังได้รับเชิญให้เป็นพิธีกรในรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับศาสนา ชื่อรายการ ''ชีวิตไม่สิ้นหวัง'' ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ ทางช่อง ๓ โดยรายการดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องถึง ๗ ปี และยังได้รับรางวัลรายการธรรมะยอดเยี่ยมถึง ๒ ปีซ้อน (พ.ศ. ๒๕๔๓ และ พ.ศ. ๒๕๔๔)

'''เกียรติประวัติ'''

พ.ศ.๒๕๔๕ – ๒๕๔๙ ท่านเป็นหนึ่งในคณะกรรมการคัดเลือกผู้รับรางวัลนิวาโน สันติภาพ ประเทศญี่ปุ่น

พ.ศ.๒๕๔๗  ท่านได้รับเลือกเป็นสตรีชาวพุทธดีเด่นขององค์การสหประชาชาติ (UN Outstanding Buddhist  Women Award)

พ.ศ.๒๕๔๘  ท่านเป็นหนึ่งใน  ๑,๐๐๐ สตรีเพื่อสันติภาพที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบล  สาขาสันติภาพ

พ.ศ.๒๕๔๙  ได้รับรางวัล Prestige Woman  ในฐานะนักการศึกษา และ Bangkok Post ได้คัดเลือกท่านเป็น ๑ ใน ๕๐  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในโอกาสหนังสือพิมพ์ฉลองครบรอบ ๕๐ ปี และท่านยังได้รับการคัดเลือกเป็น ๑ ใน ๓๐ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในโอกาสหนังสือพิมพ์ The Nation ฉลองครบรอบ ๓๐ ปี ซ้ำในปีเดียวกันอีกด้วย

พ.ศ.๒๕๕๒ ได้รับการยกย่องเป็นบุคคลเกียรติยศประจำปีจาก มูลนิธิโกมล คีมทอง

พ.ศ.๒๕๕๓ ได้รับรางวัล ๑ ใน ๒๐ สตรีที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากโรงแรมสุโขทัยและนิตยสาร Thailand Tatler

พ.ศ. ๒๕๕๕ ท่านได้รับรางวัลนักแปลดีเด่น

พ.ศ. ๒๕๕๕  ท่านได้รับรางวัล ''Sakyamuni Buddha International Award'' 2012 จากประเทศอินเดีย

'''การสืบสาน : เส้นทางภิกษุณี'''

แม้จะประสบความสำเร็จทั้งในฐานะนักวิชาการ นักกิจกรรม ทั้งการงาน ชื่อเสียง และอาชีพ แต่ทว่าในห้วงเวลาดังกล่าว รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์กล่าวว่าตนเองยังหาคำตอบให้ตัวเองไม่ได้ว่าความหมายของชีวิตคืออะไร

''“ ในช่วงแรกอาตมาพยายามต้านกระแสการเรียกร้องให้บวช แต่เมื่อมาถึงจุดหนึ่งของชีวิตก็พบว่า แม้ชีวิตอาตมาเดินทางมาถึงความสำเร็จตามประสาที่ชาวโลกแสวงหากันตามวิสัยปุถุชน แต่ก็ยังไม่ค้นพบสาระที่แท้จริงของชีวิต ขณะเดียวกันอาตมาก็เกิดความเบื่อหน่ายชีวิตทางโลกที่ต้องแต่งหน้าทาปากออกไปทำมาหากินเลี้ยงชีพทุกวัน อาตมาจึงตัดสินใจออกบวชออกบวช เพื่อถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา”'' 

ในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ.๒๕๔๔ รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์จึงตัดสินใจเข้ารับการบรรพชาเป็นสามเณรีจากคณะภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์สายสยามวงศ์จากวัดตโปทานรามยะ ประเทศศรีลังกา โดยได้รับฉายาว่า “ธัมมนันทา” ''และอุปสมบทเป็นภิกษุณี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖ ที่ประเทศศรีลังกา '''''นับเป็นภิกษุณีเถรวาทสายสยามวงศ์รูปแรกในประเทศไทย''''' และเมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านจึงได้นิมนต์ปวัตตินี (ภิกษุณีอุปัชฌาย์) มาอบรมสั่งสอนติดต่อกัน ๒ พรรษา ตามเงื่อนไขในพระวินัยอีกด้วย''

''หลวงแม่ธัมนันทา จึงนับได้ว่าเป็นปฐมภิกษุณีสายเถรวาทรูปแรก  และ เป็นผู้วางอิฐก้อนแรกสำหรับสตรีไทยที่จะได้มีโอกาสก้าวย่างออกมาสู่ชีวิตภิกษุณี''

''ภายหลังที่ท่านออกบวชแล้ว หลวงแม่ธัมมนันทายังคงเป็นบรรณาธิการจดหมายข่าวสตรีชาวพุทธนานาชาติ มีสมาชิกใน ๓๘ ประเทศทั่วโลก เพื่อรับทราบความเคลื่อนไหวของภิกษุณีในต่างประเทศมากว่า ๓๐ ปี และด้วยประสบการณ์ดังกล่าวยิ่งสร้างสมให้ท่านเกิดความมั่นใจมากขึ้นในการรื้อฟื้นภิกษุณีว่า "เป็นเรื่องที่ถูกต้องในพระธรรมและวินัย"''

''“เพราะพระภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล โดยพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้อนุญาตให้ผู้หญิงบวชเป็นภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จึงเป็นองค์ประกอบของพุทธบริษัทสี่ ที่พระพุทธองค์ประดิษฐานไว้ ด้วยพระพุทธองค์ทรงยืนยันว่าผู้หญิงสามารถบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกับผู้ชาย ท่านมักกล่าวเสมอว่าเป็นความจริงที่ว่าคฤหัสถ์ทั้งชายและหญิง  สามารถปฏิบัติจนถึงซึ่งความหลุดพ้นได้เช่นเดียวกัน  หากแต่ชีวิตการบวชนั้นเป็นชีวิตที่ประเสริฐ เพราะเป็นทางลัดตัดตรง ช่วยให้ผู้บวชได้ละวางความยึดติดทางโลกให้น้อยลง  เพราะวิถีการบวชเป็นการทำให้ชีวิตเรียบง่ายขึ้นเอื้อประโยชน์ในการปฏิบัติได้ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้อาตมาจึงตัดสินใจออกบวชเพราะต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนา เพื่อทำหน้าที่เผยแพร่พระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อาตมาบวชด้วยความศรัทธาจากหัวใจ  พร้อมปฏิบัติด้วยความมุ่งมั่นและตั้งอกตั้งใจอย่างดีที่สุด ด้วยความกตัญญูต่อพระพุทธเจ้า เพราะอาตมาได้ศึกษาแล้วว่าภิกษุสงฆ์นั้นเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าประทานไว้ให้แก่ลูกผู้หญิงและพระศาสนา ซึ่งพระองค์ทรงมอบหมายให้พุทธบริษัทสี่ช่วยกันดูแลและสืบสานพระพุทธศาสนาร่วมกัน”''

ตราบจนถึงวันนี้ (๒๕๖๐) เป็นเวลากว่า ๑๖ ปีแล้วที่รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ตัดสินใจสละเพศฆราวาส ครองวิถีนักบวชอยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ นับแต่วันที่ตัดสินใจถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา พระภิกษุณีธัมมนันทาไม่เพียงค้นพบเส้นทางลัดที่นำพาชีวิตไปสู่ความดับทุกข์เฉพาะตนเท่านั้น ท่านยังได้ใช้วิชาความรู้ทางพุทธศาสนาเพื่อยังประโยชน์แก่ญาติโยม โดยการนำประสบการณ์การเผยแพร่พุทธศาสนาจากนานาชาติมาสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นอย่างมหาศาลทั้งสำหรับผู้หญิงไทยและผู้หญิงทั่วโลก ด้วยหัวใจแห่งโพธิสัตต์ และแนวทางโพธิสัตต์ที่วัตรทรงธรรมกัลยาณียึดถือปฏิบัติมานานกว่า ๕๐ ปี อันเป็นอุดมการณ์ของพุทธศาสนาเพื่อสังคม (Socially Engaged Buddhism) โดยแท้ ซึ่งด้วยหลักการคิดและแบบแผนในวิถีโพธิสัตต์นี้ ย่อมเกื้อกูลสังคมที่มิใช่เพียงความปรารถนาที่จะพากเพียรไปถึงพระนิพพานแต่เพียงเฉพาะตนเท่านั้น หากแต่ยังปรารถนาเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดด้วย

ด้วยเจตนาเช่นนี้ หลวงแม่ธัมมนันทา จึงกล้าหาญที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยจัดให้มีการบรรพชาหมู่สามเณรีภาคฤดูร้อน ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ.วัตรทรงธรรมกัลยาณี ในจังหวัดนครปฐมที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส และจากการบรรพชาในครั้งนั้น (พ.ศ.๒๕๕๒) จนปัจจุบัน ท่านได้เป็นอุปัชฌาย์ให้การบรรพชาสามเณรีทั้งที่ จ.นครปฐม จ.พะเยา จ.สงขลา และ จ.สุราษฏร์ธานี ได้มีผู้หญิงกว่า ๗๐๐ ชีวิตได้ตัดสินใจร่วมเดินตามรอยของการประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์ ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อร่วมเติมเต็มพุทธบริษัท ๔ ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย และในพ.ศ. ๒๕๕๖ ท่านได้ริเริ่ม "เครือข่ายภิกษุณีสงฆ์ไทย" ขึ้น เพื่อความเป็นกลุ่มก้อนของภิกษุณีไทยที่กระจายอยู่ใน ๒๐ จังหวัด ให้มีทิศทางการปฏิบัติชัดเจนในพระธรรมวินัย เพื่อสืบทอดพุทธศาสนาตามพุทธดำรัสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง

ปัจจุบันจำพรรษาอยู่ที่ [[วัตรทรงธรรมกัลยาณี]] ตำบลพระประโทน [[จังหวัดนครปฐม]] (สามเณรี และ ภิกษุณี ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคณะสงฆ์ไทย)


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:55, 17 มกราคม 2560

ภิกษุณีธัมมนันทา
(ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์)
เกิด6 ตุลาคม พ.ศ. 2487
จังหวัดนครปฐม
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนา และ ภิกษุณี
บิดามารดานายก่อเกียรติ ษัฏเสน
นางวรมัย กบิลสิงห์

ภิกษุณีธัมมนันทา ชื่อเดิม รองศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ภิกษุณีชาวไทย สังกัดสยามนิกาย ประเทศศรีลังกา อดีตอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติ

ดร.ฉัตรสุมาลย์เป็นบุตรของนายก่อเกียรติ ษัฏเสน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง และนางวรมัย กบิลสิงห์ (ต่อมาบรรพชาเป็นภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์) จบการศึกษาจากโรงเรียนราชินีบน และปริญญาตรีสาขาปรัชญาจากมหาวิทยาลัยศานตินิเกตัน ประเทศอินเดีย ได้รับทุนรัฐบาลแคนาดาไปศึกษาปริญญาโทและเอกจากมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา และมหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย

ดร.ฉัตรสุมาลย์เป็นอาจารย์สอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา เมื่อ พ.ศ. 2512 และเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่าง พ.ศ. 2516 - 2543 มีผลงานวิชาการ เขียนบทความธรรมะ และเป็นพิธีกรรายการธรรมะ ถ่ายทอดทางช่อง 3 เป็นผู้แปลหนังสือ ลามะจากลาซา ของทะไลลามะ

ดร.ฉัตรสุมาลย์บรรพชาเป็นสามเณรีโดยคณะภิกษุและภิกษุณีสงฆ์ สยามนิกาย ประเทศศรีลังกา ซึ่งใช้สายพระวินัยจากนิกายธรรมคุปต์[1] ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 มีฉายาว่า ธัมมนันทา และอุปสมบทเป็นภิกษุณีในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ปัจจุบันจำพรรษาอยู่ที่ วัตรทรงธรรมกัลยาณี ตำบลพระประโทน จังหวัดนครปฐม (สามเณรี และ ภิกษุณี ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคณะสงฆ์ไทย)

อ้างอิง

  1. สุวิดา แสงสีหนาท, นักบวชสตรีไทยในพระพุทธศาสนา พลังขับเคลื่อนคุณธรรมสู่สังคม, ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม, 2552, หน้า 44-6

แหล่งข้อมูลอื่น