ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภิกษุณีธัมมนันทา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ Dhammabhavita (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Poompong1986
Karaniyametta (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขประวัติให้ถูกต้อง
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
| image = Dhammananda09.jpg
| image = Dhammananda09.jpg
| caption =
| caption =
| birth_date = [[พ.ศ. 2487]]
| birth_date = [[๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๗]]
| birth_place = [[จังหวัดนครปฐม]]
| birth_place = [[กรุงเทพฯ]]
| death_date =
| death_date =
| residence =
| residence =
บรรทัด 18: บรรทัด 18:
| relatives =
| relatives =
| signature =
| signature =
| website =
| website =www.thaibhikkhunis.org
| footnotes =
| footnotes =
}}
}}
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
'''ภิกษุณีธัมมนันทา''' ชื่อเดิม '''รองศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์''' [[ภิกษุณี]]ชาวไทย สังกัด[[สยามนิกาย]] [[ประเทศศรีลังกา]] อดีตอาจารย์ประจำ[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
'''ภิกษุณีธัมมนันทา''' ชื่อเดิม '''รองศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์''' [[ภิกษุณี]]ชาวไทย สังกัด[[สยามนิกาย]] [[ประเทศศรีลังกา]] อดีตอาจารย์ประจำ[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]


== ประวัติ ==
== ประวัติ<ref>http://www.thaibhikkhunis.org/thai2556/index.php?option=com_content&view=article&id=29&Itemid=11</ref> ==
พระภิกษุณีธัมมนันนา นามเดิม รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ '''หรือที่ติดปากลูก ๆ และศิษย์ว่า '''“หลวงแม่”''''''  
ดร.ฉัตรสุมาลย์เป็นบุตรของนาย[[ก่อเกียรติ ษัฏเสน]] อดีต[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง]] และนางวรมัย กบิลสิงห์ (ต่อมาบรรพชาเป็น[[ภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์]]) จบการศึกษาจาก[[โรงเรียนราชินีบน]] และปริญญาตรีสาขา[[ปรัชญา]]จาก[[มหาวิทยาลัยศานตินิเกตัน]] [[ประเทศอินเดีย]] ได้รับทุนรัฐบาลแคนาดาไปศึกษาปริญญาโทและเอกจาก[[มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์]] [[ประเทศแคนาดา]] และ[[มหาวิทยาลัยมคธ]] ประเทศอินเดีย


'''ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นชาวกรุงเทพมหานครโดยกำเนิด''' 
ดร.ฉัตรสุมาลย์เป็นอาจารย์สอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา เมื่อ พ.ศ. 2512 และเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่าง พ.ศ. 2516 - 2543 มีผลงานวิชาการ เขียนบทความธรรมะ และเป็นพิธีกรรายการธรรมะ ถ่ายทอดทาง[[ช่อง 3]] เป็นผู้แปลหนังสือ ''ลามะจากลาซา'' ของ[[ทะไลลามะ]]


คุณทวดคือ หลวงเรืองฤทธิ์เดชะ ราชรองเมือง (แหลม) 
ดร.ฉัตรสุมาลย์บรรพชาเป็นสามเณรีโดยคณะภิกษุและภิกษุณีสงฆ์ สยามนิกาย ประเทศศรีลังกา ซึ่งใช้สายพระวินัยจากนิกาย[[ธรรมคุปต์]]<ref>สุวิดา แสงสีหนาท, ''นักบวชสตรีไทยในพระพุทธศาสนา พลังขับเคลื่อนคุณธรรมสู่สังคม'', ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม, 2552, หน้า 44-6</ref> ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 มีฉายาว่า '''ธัมมนันทา''' และอุปสมบทเป็นภิกษุณีในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ปัจจุบันจำพรรษาอยู่ที่ [[วัตรทรงธรรมกัลยาณี]] [[ตำบลพระประโทน]] [[จังหวัดนครปฐม]] (สามเณรี และ ภิกษุณี ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคณะสงฆ์ไทย)

คุณปู่คือ หลวงพิทักษ์เหลียน สถาน (รื่น ษัฎเสน) ได้รับพระราชทานนามสกุล “ษัฎเสน” ใน พ.ศ. ๒๔๕๘ 

ทั้งสองท่านเวียนเป็นนายอำเภอทุกอำเภอในจังหวัดตรัง

บิดา คือ นายก่อเกียรติ ษัฎเสน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง ๓ สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ (๒๔๘๙ – ๒๕๐๑) หลังจากบิดาวางมือทางการเมือง ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุและมรณภาพภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์

มารดาคือ นางวรมัย กบิลสิงห์ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ อุปสมบทเป็นภิกษุณี ภิกษุณีวรมัย ได้ฉายา มหาโพธิธรรมาจารย์ (คนทั่วไปมักใช้สรรพนามเรียกท่านว่า “หลวงย่า”) ภิกษุณีวรมัยอุทิศตัวรับใช้พระศาสนา และก่อตั้งวัตรทรงธรรมกัลยาณี ด้วยทุนส่วนตัวของครอบครัว เพื่อใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและเผยแพร่พระธรรมคำสอนให้แก่ลูกผู้หญิงที่สนใจ

นับเป็นการเตรียมหลวงแม่ให้ได้เห็นบทบาทของผู้หญิงบนวิถีพุทธธรรมมาตั้งแต่เยาว์วัย

ในวัยเพียง ๑๑ ขวบ หลวงแม่ต้องช่วยมารดาทำหนังสือ คือหนังสือรายเดือน '''''วิปัสสนาและบันเทิงสาร''''' ถือเป็นการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ ในการเป็นนักเขียนและด้วยพรสวรรค์บวกกับประสบการณ์ที่มี ทำให้ท่านเริ่มงานเขียนตั้งแต่อายุเพียง ๑๙ ปี โดยมีผลงานแปลคือ “ตาที่สาม “ และหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นเล่มแรกคือ '''''ปรัชญาจากภาพ''''' (ติดอันดับ ๑ ใน๑๐ หนังสือขายดีของร้านหนังสือดอกหญ้า ปี ๒๕๒๕) 

นอกจากนั้นท่านยังเป็นบรรณาธิการให้แก่หนังสือจดหมายข่าวภาษาอังกฤษ '''''YASODHARA''''' ที่จัดพิมพ์ต่อเนื่องมาถึง ๓๐ ปีแล้ว

เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี หลวงแม่มีโอกาสบวชชี โดยปลงผมและสวมชุดนักบวชสีเหลืองอ่อน ได้รับฉายา “การุณกุมารี”

จากวัยเด็กจวบวัยรุ่นสาว หลวงแม่เติบโตมาในรอบรั้วภิกษุณีอาราม โดยได้รับการหล่อหลอมให้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวโพธิสัตต์ ครอบครัวใหญ่ของชาววัตรทรงธรรมกัลยาณีที่มีหลวงย่าเป็นมารดาแห่งธรรมของคนทั้งวัตร ท่านทำงานเพื่อสังคม รับเลี้ยงดูเด็กกำพร้าและผู้หญิงด้อยโอกาสจำนวนมาก

บริบทชีวิตเช่นนี้ทำให้เด็กหญิงฉัตรสุมาลย์เติบโตมาพร้อมกับแนวคิดของ งานสืบสานพุทธศาสนาบนแนวทางโพธิสัตต์นั้นมิได้เป็นเพียงการสงเคราะห์ชีวิตเพื่อนมนุษย์ให้พ้นจากสภาพความทุกข์ยากอดอยากเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการอบรมธรรมะ พัฒนาจิตใจยกระดับจิตวิญญาณไปสู่การปฏิบัติธรรมด้วย

'''การศึกษา'''

หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมจากโรงเรียนราชินีบน มารดาได้สนับสนุนให้เดินทางไปศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยที่ประเทศอินเดีย ด้วยความสามารถด้านภาษาอังกฤษ บวกกับความเพียรพยายามทำให้ท่านประสบความสำเร็จในการเรียน โดยจบปริญญาตรีเกียรตินิยม สาขาวิชาเอกปรัชญา วิชาโทประวัติศาสตร์ ในเวลา ๓ ปี อีกทั้งยังได้เรียนภาษาจีน จากท่านผู้ปกครองคือ Prof. Tan Yun Shan ซึ่งเป็นทูตวัฒนธรรมจีนที่ตั้งรกรากอยู่ในอินเดีย

หลังจากกลับมาเมืองไทยฉัตรสุมาลย์ได้ทำงานให้สมาคมไทยอเมริกัน แต่พบว่าตนเองยังสั่งสมวิชาความรู้ไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้ทำงาน จึงตัดสินใจไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาศาสนาที่มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา ''ก่อนจะศึกษาปริญญาโท ท่านต้องศึกษาปริญญาตรี สาขาศาสนาปีสุดท้ายไปด้วย โดยท่านได้รับทุนจากรัฐบาลแคนาดา ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ในสาขาศาสนา  และ''ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบภิกขุนีปาฏิโมกข์ (วินัยของภิกษุณี)”''''

การเรียนที่แคนาดาได้เปิดโลกทัศน์เรื่องการศึกษาพุทธศาสนาให้แก่ท่านเป็นอย่างมาก เนื่องเพราะท่านได้ค้นพบคำตอบว่า '''ตัวเราเองเป็นชาวพุทธ เกิดในเมืองพุทธ ทว่ากลับได้เรียนรู้ศึกษาวิชาพุทธศาสตร์จนจบชั้นปริญญาเอกจากประเทศที่ไม่ใช่เมืองพุทธเลย'''

'''ชีวิตครอบครัว'''

ท่านได้สมรสกับนาวาอากาศโท พรพจน์ และ มีบุตรชายรวม ๓ คน ชีวิตการแต่งงานและการมีบุตรชายเป็นการเติมเต็มชีวิตวัยเด็กที่อยู่ในสังคมผู้หญิงล้วน

'''ชีวิตการทำงาน'''

สำหรับชีวิตการทำงาน เริ่มจากพ.ศ. ๒๕๑๓ – ๒๕๑๕ ดร.ฉัตรสุมาลย์ได้เริ่มงานสอนที่มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา

พ.ศ.๒๕๑๖ – ๒๕๔๓  รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรสุมาลย์ได้เข้าเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งยังเป็นอาจารย์ดูแลวิทยานิพนธ์ทั้งปริญญาโทและปริญญาเอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล  มหาวิทยาลัยรามคำแหง  และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ฯลฯ

พ.ศ.๒๕๑๘ – ๒๕๔๔ ดำรงตำแหน่งภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถาน  สาขาศาสนศาสตร์  และเป็นอนุกรรมการบัญญัติศัพท์ศาสนาสากล ราชบัณฑิตสถาน

พ.ศ.๒๕๒๓ แผนกศาสนา และวัฒนธรรมของรัฐบาลทิเบตได้ส่งจดหมายเชิญให้ รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ ร่วมเป็นกรรมการพิจารณาการบวชภิกษุณีของทิเบต และด้วยความเคลื่อนไหวดังกล่าว เปรียบได้กับ '''"ปรากฎการณ์ผีเสื้อขยับปีก"''' โดยเฉพา'''ะ'''การประชุมที่ธรรมศาลาครั้งนั้นทำให้องค์ทาไลลามะ องค์พระประมุขของทิเบตทรงพิจารณาเปิดโอกาสให้ผู้หญิงทิเบตมีทางเลือกบนเส้นทางของนักบวชหญิงมากขึ้น

พ.ศ.๒๕๒๖ ท่านได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด   ให้ไปบรรยายเรื่อง  "อนาคตของภิกษุณีสงฆ์ในประเทศไทย" จากการประชุมครั้งนั้นเอง  ทำให้ท่านเกิดสำนึกได้ว่า  หากท่านไม่ลงมือเคลื่อนไหวหรือกระทำสิ่งใด  ความรู้ในเรื่องภิกษุณีสงฆ์ที่ท่านมีจะไม่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หรือการเปลี่ยนแปลงในหลักคิดได้

หลังการสัมมนาที่ฮาร์วาร์ดครั้งนั้น ส่งผลให้ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ออกจดหมายข่าวชื่อ NIBWA (News-letter on International Buddhist Women’s Activities)  เพี่อเป็นสื่อกลางในการติดต่อกับสตรีชาวพุทธ  ทั่วทุกมุมโลก มีสมาชิกครั้งแรก ๓๗ คนและขยายตัวอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นเครือข่ายผู้หญิง ที่จัดการประชุมระดับโลกหลายครั้งหลายครา โดยดร.ฉัตรสุมาลย์ ได้รับเชิญให้ไปบรรยายในเรื่องพุทธศาสนามากขึ้น จนในที่สุดก็เริ่มโยงเข้าสู่ประเด็นบทบาทของสตรีในพุทธศาสนาเข้ามาเป็นหัวข้อสำคัญในการสัมมนา

พ.ศ.๒๕๓๑ ท่านจึงได้ร่วมก่อตั้งองค์กรศากยธิดานานาชาติ International Buddhist  Women Association และได้รับเลือกเป็นประธานองค์กร ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๘ พร้อมกันนั้นนั้นท่านยังเป็นบรรณาธิการให้แก่หนังสือจดหมายข่าวพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษ ''YASODHARA'' ที่จัดพิมพ์ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเมื่อเครือข่ายของผู้หญิง เกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มพลังที่เข้มแข็งมากขึ้น จึงได้ร่วมกันก่อตั้งชมรมสตรีชาวพุทธนานาชาติชื่อว่า '''สมาคมศากยธิดา''' ขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๒  ซึ่งทางวัตรทรงธรรมกัลยาณีเองก็ได้เริ่มต้น จัด “การอบรมพุทธสาวิกา” เพื่อกระตุ้นให้สตรีไทยได้ตื่นตัวในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

พ.ศ. ๒๕๓๔ ท่านได้รับเลือกเป็นผู้จัดการประชุมทางวิชาการนานาชาติเรื่องสตรีชาวพุทธ

พ.ศ.๒๕๓๔ – ๒๕๔๓  ท่านเข้าสอนโครงการวัฒนธรรม โรงแรมโอเรียนเต็ล

พ.ศ.๒๕๓๗ – ๒๕๓๘  ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานโครงการสตรีศึกษา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ.๒๕๓๙ - ๒๕๔๓  เป็นประธานศูนย์อินเดียศึกษา และเป็นกรรมการโครงการจีนศึกษา   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์     

พ.ศ.๒๕๓๙ -  ท่านเริ่มก่อตั้งโครงการบ้านศานติ์รักษ์ เพื่อส่งเสริมให้เด็กและสตรีมีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

พ.ศ. ๒๕๔๒  - ท่านได้ก่อตั้งก่อตั้งมูลนิธิ พุทธสาวิกา

นอกจากผลงานดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ด้วยพรสวรรค์ในด้านงานเขียน ท่านยังได้เขียนบทความในสื่อหลากหลายประเภท  อาทิเช่นคอลัมน์ “ธรรมลีลา” ในหนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ คมชัดลึก ไม่นับรวมผลงานหนังสือและงานแปลอีกกว่า ๑๐๐ เล่ม โดยหนังสือที่ท่านเขียนขึ้นนี้ สะท้อนวิญญาณความเป็นนักอ่านและนักเขียนของท่านได้เป็นอย่างดี ทั้งการบอกเล่าเรื่องราวในเชิงวิชาการ การเก็บเกี่ยวประสบการณ์ การอ่านหนังสือและเดินทางไปทั่วโลก สาระที่ถ่ายทอดออกมาในสื่อรูปแบบต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ล้วนเป็นธรรมะที่ย่อยและกลั่นกรองจากมุมมองของนักอ่าน นักเขียน นักประวัติศาสตร์  นักสตรีนิยม  นักสิ่งแวดล้อม และนักปฏิบัติ ผลงานของท่านจึงมีความลุ่มลึกในสำนวนภาษาและวิธีถ่ายทอด สามารถสร้างศรัทธาและสาระให้แก่นักอ่านจำนวนมาก

นอกจากความสำเร็จในฐานะนักวิชาการและนักเขียน ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติแล้ว รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ยังได้รับเชิญให้เป็นพิธีกรในรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับศาสนา ชื่อรายการ ''ชีวิตไม่สิ้นหวัง'' ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ ทางช่อง ๓ โดยรายการดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องถึง ๗ ปี และยังได้รับรางวัลรายการธรรมะยอดเยี่ยมถึง ๒ ปีซ้อน (พ.ศ. ๒๕๔๓ และ พ.ศ. ๒๕๔๔)

'''เกียรติประวัติ'''

พ.ศ.๒๕๔๕ – ๒๕๔๙ ท่านเป็นหนึ่งในคณะกรรมการคัดเลือกผู้รับรางวัลนิวาโน สันติภาพ ประเทศญี่ปุ่น

พ.ศ.๒๕๔๗  ท่านได้รับเลือกเป็นสตรีชาวพุทธดีเด่นขององค์การสหประชาชาติ (UN Outstanding Buddhist  Women Award)

พ.ศ.๒๕๔๘  ท่านเป็นหนึ่งใน  ๑,๐๐๐ สตรีเพื่อสันติภาพที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบล  สาขาสันติภาพ

พ.ศ.๒๕๔๙  ได้รับรางวัล Prestige Woman  ในฐานะนักการศึกษา และ Bangkok Post ได้คัดเลือกท่านเป็น ๑ ใน ๕๐  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในโอกาสหนังสือพิมพ์ฉลองครบรอบ ๕๐ ปี และท่านยังได้รับการคัดเลือกเป็น ๑ ใน ๓๐ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในโอกาสหนังสือพิมพ์ The Nation ฉลองครบรอบ ๓๐ ปี ซ้ำในปีเดียวกันอีกด้วย

พ.ศ.๒๕๕๒ ได้รับการยกย่องเป็นบุคคลเกียรติยศประจำปีจาก มูลนิธิโกมล คีมทอง

พ.ศ.๒๕๕๓ ได้รับรางวัล ๑ ใน ๒๐ สตรีที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากโรงแรมสุโขทัยและนิตยสาร Thailand Tatler

พ.ศ. ๒๕๕๕ ท่านได้รับรางวัลนักแปลดีเด่น

พ.ศ. ๒๕๕๕  ท่านได้รับรางวัล ''Sakyamuni Buddha International Award'' 2012 จากประเทศอินเดีย

'''การสืบสาน : เส้นทางภิกษุณี'''

แม้จะประสบความสำเร็จทั้งในฐานะนักวิชาการ นักกิจกรรม ทั้งการงาน ชื่อเสียง และอาชีพ แต่ทว่าในห้วงเวลาดังกล่าว รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์กล่าวว่าตนเองยังหาคำตอบให้ตัวเองไม่ได้ว่าความหมายของชีวิตคืออะไร

''“ ในช่วงแรกอาตมาพยายามต้านกระแสการเรียกร้องให้บวช แต่เมื่อมาถึงจุดหนึ่งของชีวิตก็พบว่า แม้ชีวิตอาตมาเดินทางมาถึงความสำเร็จตามประสาที่ชาวโลกแสวงหากันตามวิสัยปุถุชน แต่ก็ยังไม่ค้นพบสาระที่แท้จริงของชีวิต ขณะเดียวกันอาตมาก็เกิดความเบื่อหน่ายชีวิตทางโลกที่ต้องแต่งหน้าทาปากออกไปทำมาหากินเลี้ยงชีพทุกวัน อาตมาจึงตัดสินใจออกบวชออกบวช เพื่อถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา”'' 

ในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ.๒๕๔๔ รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์จึงตัดสินใจเข้ารับการบรรพชาเป็นสามเณรีจากคณะภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์สายสยามวงศ์จากวัดตโปทานรามยะ ประเทศศรีลังกา โดยได้รับฉายาว่า “ธัมมนันทา” ''และอุปสมบทเป็นภิกษุณี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖ ที่ประเทศศรีลังกา '''''นับเป็นภิกษุณีเถรวาทสายสยามวงศ์รูปแรกในประเทศไทย''''' และเมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านจึงได้นิมนต์ปวัตตินี (ภิกษุณีอุปัชฌาย์) มาอบรมสั่งสอนติดต่อกัน ๒ พรรษา ตามเงื่อนไขในพระวินัยอีกด้วย''

''หลวงแม่ธัมนันทา จึงนับได้ว่าเป็นปฐมภิกษุณีสายเถรวาทรูปแรก  และ เป็นผู้วางอิฐก้อนแรกสำหรับสตรีไทยที่จะได้มีโอกาสก้าวย่างออกมาสู่ชีวิตภิกษุณี''

''ภายหลังที่ท่านออกบวชแล้ว หลวงแม่ธัมมนันทายังคงเป็นบรรณาธิการจดหมายข่าวสตรีชาวพุทธนานาชาติ มีสมาชิกใน ๓๘ ประเทศทั่วโลก เพื่อรับทราบความเคลื่อนไหวของภิกษุณีในต่างประเทศมากว่า ๓๐ ปี และด้วยประสบการณ์ดังกล่าวยิ่งสร้างสมให้ท่านเกิดความมั่นใจมากขึ้นในการรื้อฟื้นภิกษุณีว่า "เป็นเรื่องที่ถูกต้องในพระธรรมและวินัย"''

''“เพราะพระภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล โดยพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้อนุญาตให้ผู้หญิงบวชเป็นภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จึงเป็นองค์ประกอบของพุทธบริษัทสี่ ที่พระพุทธองค์ประดิษฐานไว้ ด้วยพระพุทธองค์ทรงยืนยันว่าผู้หญิงสามารถบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกับผู้ชาย ท่านมักกล่าวเสมอว่าเป็นความจริงที่ว่าคฤหัสถ์ทั้งชายและหญิง  สามารถปฏิบัติจนถึงซึ่งความหลุดพ้นได้เช่นเดียวกัน  หากแต่ชีวิตการบวชนั้นเป็นชีวิตที่ประเสริฐ เพราะเป็นทางลัดตัดตรง ช่วยให้ผู้บวชได้ละวางความยึดติดทางโลกให้น้อยลง  เพราะวิถีการบวชเป็นการทำให้ชีวิตเรียบง่ายขึ้นเอื้อประโยชน์ในการปฏิบัติได้ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้อาตมาจึงตัดสินใจออกบวชเพราะต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนา เพื่อทำหน้าที่เผยแพร่พระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อาตมาบวชด้วยความศรัทธาจากหัวใจ  พร้อมปฏิบัติด้วยความมุ่งมั่นและตั้งอกตั้งใจอย่างดีที่สุด ด้วยความกตัญญูต่อพระพุทธเจ้า เพราะอาตมาได้ศึกษาแล้วว่าภิกษุสงฆ์นั้นเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าประทานไว้ให้แก่ลูกผู้หญิงและพระศาสนา ซึ่งพระองค์ทรงมอบหมายให้พุทธบริษัทสี่ช่วยกันดูแลและสืบสานพระพุทธศาสนาร่วมกัน”''

ตราบจนถึงวันนี้ (๒๕๖๐) เป็นเวลากว่า ๑๖ ปีแล้วที่รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ตัดสินใจสละเพศฆราวาส ครองวิถีนักบวชอยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ นับแต่วันที่ตัดสินใจถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา พระภิกษุณีธัมมนันทาไม่เพียงค้นพบเส้นทางลัดที่นำพาชีวิตไปสู่ความดับทุกข์เฉพาะตนเท่านั้น ท่านยังได้ใช้วิชาความรู้ทางพุทธศาสนาเพื่อยังประโยชน์แก่ญาติโยม โดยการนำประสบการณ์การเผยแพร่พุทธศาสนาจากนานาชาติมาสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นอย่างมหาศาลทั้งสำหรับผู้หญิงไทยและผู้หญิงทั่วโลก ด้วยหัวใจแห่งโพธิสัตต์ และแนวทางโพธิสัตต์ที่วัตรทรงธรรมกัลยาณียึดถือปฏิบัติมานานกว่า ๕๐ ปี อันเป็นอุดมการณ์ของพุทธศาสนาเพื่อสังคม (Socially Engaged Buddhism) โดยแท้ ซึ่งด้วยหลักการคิดและแบบแผนในวิถีโพธิสัตต์นี้ ย่อมเกื้อกูลสังคมที่มิใช่เพียงความปรารถนาที่จะพากเพียรไปถึงพระนิพพานแต่เพียงเฉพาะตนเท่านั้น หากแต่ยังปรารถนาเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดด้วย

ด้วยเจตนาเช่นนี้ หลวงแม่ธัมมนันทา จึงกล้าหาญที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยจัดให้มีการบรรพชาหมู่สามเณรีภาคฤดูร้อน ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ.วัตรทรงธรรมกัลยาณี ในจังหวัดนครปฐมที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส และจากการบรรพชาในครั้งนั้น (พ.ศ.๒๕๕๒) จนปัจจุบัน ท่านได้เป็นอุปัชฌาย์ให้การบรรพชาสามเณรีทั้งที่ จ.นครปฐม จ.พะเยา จ.สงขลา และ จ.สุราษฏร์ธานี ได้มีผู้หญิงกว่า ๗๐๐ ชีวิตได้ตัดสินใจร่วมเดินตามรอยของการประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์ ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อร่วมเติมเต็มพุทธบริษัท ๔ ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย และในพ.ศ. ๒๕๕๖ ท่านได้ริเริ่ม "เครือข่ายภิกษุณีสงฆ์ไทย" ขึ้น เพื่อความเป็นกลุ่มก้อนของภิกษุณีไทยที่กระจายอยู่ใน ๒๐ จังหวัด ให้มีทิศทางการปฏิบัติชัดเจนในพระธรรมวินัย เพื่อสืบทอดพุทธศาสนาตามพุทธดำรัสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง

ปัจจุบันจำพรรษาอยู่ที่ [[วัตรทรงธรรมกัลยาณี]] ตำบลพระประโทน [[จังหวัดนครปฐม]] (สามเณรี และ ภิกษุณี ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคณะสงฆ์ไทย)


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:29, 17 มกราคม 2560

ภิกษุณีธัมมนันทา
(ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์)
เกิด๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๗
กรุงเทพฯ
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนา และ ภิกษุณี
บุพการีนายก่อเกียรติ ษัฏเสน
นางวรมัย กบิลสิงห์
เว็บไซต์www.thaibhikkhunis.org

ภิกษุณีธัมมนันทา ชื่อเดิม รองศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ภิกษุณีชาวไทย สังกัดสยามนิกาย ประเทศศรีลังกา อดีตอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติ[1]

พระภิกษุณีธัมมนันนา นามเดิม รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ 'หรือที่ติดปากลูก ๆ และศิษย์ว่า “หลวงแม่”'  

ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นชาวกรุงเทพมหานครโดยกำเนิด 

คุณทวดคือ หลวงเรืองฤทธิ์เดชะ ราชรองเมือง (แหลม) 

คุณปู่คือ หลวงพิทักษ์เหลียน สถาน (รื่น ษัฎเสน) ได้รับพระราชทานนามสกุล “ษัฎเสน” ใน พ.ศ. ๒๔๕๘ 

ทั้งสองท่านเวียนเป็นนายอำเภอทุกอำเภอในจังหวัดตรัง

บิดา คือ นายก่อเกียรติ ษัฎเสน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง ๓ สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ (๒๔๘๙ – ๒๕๐๑) หลังจากบิดาวางมือทางการเมือง ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุและมรณภาพภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์

มารดาคือ นางวรมัย กบิลสิงห์ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ อุปสมบทเป็นภิกษุณี ภิกษุณีวรมัย ได้ฉายา มหาโพธิธรรมาจารย์ (คนทั่วไปมักใช้สรรพนามเรียกท่านว่า “หลวงย่า”) ภิกษุณีวรมัยอุทิศตัวรับใช้พระศาสนา และก่อตั้งวัตรทรงธรรมกัลยาณี ด้วยทุนส่วนตัวของครอบครัว เพื่อใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและเผยแพร่พระธรรมคำสอนให้แก่ลูกผู้หญิงที่สนใจ

นับเป็นการเตรียมหลวงแม่ให้ได้เห็นบทบาทของผู้หญิงบนวิถีพุทธธรรมมาตั้งแต่เยาว์วัย

ในวัยเพียง ๑๑ ขวบ หลวงแม่ต้องช่วยมารดาทำหนังสือ คือหนังสือรายเดือน วิปัสสนาและบันเทิงสาร ถือเป็นการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ ในการเป็นนักเขียนและด้วยพรสวรรค์บวกกับประสบการณ์ที่มี ทำให้ท่านเริ่มงานเขียนตั้งแต่อายุเพียง ๑๙ ปี โดยมีผลงานแปลคือ “ตาที่สาม “ และหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นเล่มแรกคือ ปรัชญาจากภาพ (ติดอันดับ ๑ ใน๑๐ หนังสือขายดีของร้านหนังสือดอกหญ้า ปี ๒๕๒๕) 

นอกจากนั้นท่านยังเป็นบรรณาธิการให้แก่หนังสือจดหมายข่าวภาษาอังกฤษ YASODHARA ที่จัดพิมพ์ต่อเนื่องมาถึง ๓๐ ปีแล้ว

เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี หลวงแม่มีโอกาสบวชชี โดยปลงผมและสวมชุดนักบวชสีเหลืองอ่อน ได้รับฉายา “การุณกุมารี”

จากวัยเด็กจวบวัยรุ่นสาว หลวงแม่เติบโตมาในรอบรั้วภิกษุณีอาราม โดยได้รับการหล่อหลอมให้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวโพธิสัตต์ ครอบครัวใหญ่ของชาววัตรทรงธรรมกัลยาณีที่มีหลวงย่าเป็นมารดาแห่งธรรมของคนทั้งวัตร ท่านทำงานเพื่อสังคม รับเลี้ยงดูเด็กกำพร้าและผู้หญิงด้อยโอกาสจำนวนมาก

บริบทชีวิตเช่นนี้ทำให้เด็กหญิงฉัตรสุมาลย์เติบโตมาพร้อมกับแนวคิดของ งานสืบสานพุทธศาสนาบนแนวทางโพธิสัตต์นั้นมิได้เป็นเพียงการสงเคราะห์ชีวิตเพื่อนมนุษย์ให้พ้นจากสภาพความทุกข์ยากอดอยากเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการอบรมธรรมะ พัฒนาจิตใจยกระดับจิตวิญญาณไปสู่การปฏิบัติธรรมด้วย

การศึกษา

หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมจากโรงเรียนราชินีบน มารดาได้สนับสนุนให้เดินทางไปศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยที่ประเทศอินเดีย ด้วยความสามารถด้านภาษาอังกฤษ บวกกับความเพียรพยายามทำให้ท่านประสบความสำเร็จในการเรียน โดยจบปริญญาตรีเกียรตินิยม สาขาวิชาเอกปรัชญา วิชาโทประวัติศาสตร์ ในเวลา ๓ ปี อีกทั้งยังได้เรียนภาษาจีน จากท่านผู้ปกครองคือ Prof. Tan Yun Shan ซึ่งเป็นทูตวัฒนธรรมจีนที่ตั้งรกรากอยู่ในอินเดีย

หลังจากกลับมาเมืองไทยฉัตรสุมาลย์ได้ทำงานให้สมาคมไทยอเมริกัน แต่พบว่าตนเองยังสั่งสมวิชาความรู้ไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้ทำงาน จึงตัดสินใจไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาศาสนาที่มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา ก่อนจะศึกษาปริญญาโท ท่านต้องศึกษาปริญญาตรี สาขาศาสนาปีสุดท้ายไปด้วย โดยท่านได้รับทุนจากรัฐบาลแคนาดา ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ในสาขาศาสนา  และทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบภิกขุนีปาฏิโมกข์ (วินัยของภิกษุณี)”'

การเรียนที่แคนาดาได้เปิดโลกทัศน์เรื่องการศึกษาพุทธศาสนาให้แก่ท่านเป็นอย่างมาก เนื่องเพราะท่านได้ค้นพบคำตอบว่า ตัวเราเองเป็นชาวพุทธ เกิดในเมืองพุทธ ทว่ากลับได้เรียนรู้ศึกษาวิชาพุทธศาสตร์จนจบชั้นปริญญาเอกจากประเทศที่ไม่ใช่เมืองพุทธเลย

ชีวิตครอบครัว

ท่านได้สมรสกับนาวาอากาศโท พรพจน์ และ มีบุตรชายรวม ๓ คน ชีวิตการแต่งงานและการมีบุตรชายเป็นการเติมเต็มชีวิตวัยเด็กที่อยู่ในสังคมผู้หญิงล้วน

ชีวิตการทำงาน

สำหรับชีวิตการทำงาน เริ่มจากพ.ศ. ๒๕๑๓ – ๒๕๑๕ ดร.ฉัตรสุมาลย์ได้เริ่มงานสอนที่มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา

พ.ศ.๒๕๑๖ – ๒๕๔๓  รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรสุมาลย์ได้เข้าเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งยังเป็นอาจารย์ดูแลวิทยานิพนธ์ทั้งปริญญาโทและปริญญาเอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล  มหาวิทยาลัยรามคำแหง  และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ฯลฯ

พ.ศ.๒๕๑๘ – ๒๕๔๔ ดำรงตำแหน่งภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถาน  สาขาศาสนศาสตร์  และเป็นอนุกรรมการบัญญัติศัพท์ศาสนาสากล ราชบัณฑิตสถาน

พ.ศ.๒๕๒๓ แผนกศาสนา และวัฒนธรรมของรัฐบาลทิเบตได้ส่งจดหมายเชิญให้ รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ ร่วมเป็นกรรมการพิจารณาการบวชภิกษุณีของทิเบต และด้วยความเคลื่อนไหวดังกล่าว เปรียบได้กับ "ปรากฎการณ์ผีเสื้อขยับปีก" โดยเฉพาการประชุมที่ธรรมศาลาครั้งนั้นทำให้องค์ทาไลลามะ องค์พระประมุขของทิเบตทรงพิจารณาเปิดโอกาสให้ผู้หญิงทิเบตมีทางเลือกบนเส้นทางของนักบวชหญิงมากขึ้น

พ.ศ.๒๕๒๖ ท่านได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด   ให้ไปบรรยายเรื่อง  "อนาคตของภิกษุณีสงฆ์ในประเทศไทย" จากการประชุมครั้งนั้นเอง  ทำให้ท่านเกิดสำนึกได้ว่า  หากท่านไม่ลงมือเคลื่อนไหวหรือกระทำสิ่งใด  ความรู้ในเรื่องภิกษุณีสงฆ์ที่ท่านมีจะไม่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หรือการเปลี่ยนแปลงในหลักคิดได้

หลังการสัมมนาที่ฮาร์วาร์ดครั้งนั้น ส่งผลให้ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ออกจดหมายข่าวชื่อ NIBWA (News-letter on International Buddhist Women’s Activities)  เพี่อเป็นสื่อกลางในการติดต่อกับสตรีชาวพุทธ  ทั่วทุกมุมโลก มีสมาชิกครั้งแรก ๓๗ คนและขยายตัวอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นเครือข่ายผู้หญิง ที่จัดการประชุมระดับโลกหลายครั้งหลายครา โดยดร.ฉัตรสุมาลย์ ได้รับเชิญให้ไปบรรยายในเรื่องพุทธศาสนามากขึ้น จนในที่สุดก็เริ่มโยงเข้าสู่ประเด็นบทบาทของสตรีในพุทธศาสนาเข้ามาเป็นหัวข้อสำคัญในการสัมมนา

พ.ศ.๒๕๓๑ ท่านจึงได้ร่วมก่อตั้งองค์กรศากยธิดานานาชาติ International Buddhist  Women Association และได้รับเลือกเป็นประธานองค์กร ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๘ พร้อมกันนั้นนั้นท่านยังเป็นบรรณาธิการให้แก่หนังสือจดหมายข่าวพุทธศาสนาภาคภาษาอังกฤษ YASODHARA ที่จัดพิมพ์ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเมื่อเครือข่ายของผู้หญิง เกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มพลังที่เข้มแข็งมากขึ้น จึงได้ร่วมกันก่อตั้งชมรมสตรีชาวพุทธนานาชาติชื่อว่า สมาคมศากยธิดา ขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๒  ซึ่งทางวัตรทรงธรรมกัลยาณีเองก็ได้เริ่มต้น จัด “การอบรมพุทธสาวิกา” เพื่อกระตุ้นให้สตรีไทยได้ตื่นตัวในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

พ.ศ. ๒๕๓๔ ท่านได้รับเลือกเป็นผู้จัดการประชุมทางวิชาการนานาชาติเรื่องสตรีชาวพุทธ

พ.ศ.๒๕๓๔ – ๒๕๔๓  ท่านเข้าสอนโครงการวัฒนธรรม โรงแรมโอเรียนเต็ล

พ.ศ.๒๕๓๗ – ๒๕๓๘  ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานโครงการสตรีศึกษา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ.๒๕๓๙ - ๒๕๔๓  เป็นประธานศูนย์อินเดียศึกษา และเป็นกรรมการโครงการจีนศึกษา   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์     

พ.ศ.๒๕๓๙ -  ท่านเริ่มก่อตั้งโครงการบ้านศานติ์รักษ์ เพื่อส่งเสริมให้เด็กและสตรีมีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

พ.ศ. ๒๕๔๒  - ท่านได้ก่อตั้งก่อตั้งมูลนิธิ พุทธสาวิกา

นอกจากผลงานดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ด้วยพรสวรรค์ในด้านงานเขียน ท่านยังได้เขียนบทความในสื่อหลากหลายประเภท  อาทิเช่นคอลัมน์ “ธรรมลีลา” ในหนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ คมชัดลึก ไม่นับรวมผลงานหนังสือและงานแปลอีกกว่า ๑๐๐ เล่ม โดยหนังสือที่ท่านเขียนขึ้นนี้ สะท้อนวิญญาณความเป็นนักอ่านและนักเขียนของท่านได้เป็นอย่างดี ทั้งการบอกเล่าเรื่องราวในเชิงวิชาการ การเก็บเกี่ยวประสบการณ์ การอ่านหนังสือและเดินทางไปทั่วโลก สาระที่ถ่ายทอดออกมาในสื่อรูปแบบต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ล้วนเป็นธรรมะที่ย่อยและกลั่นกรองจากมุมมองของนักอ่าน นักเขียน นักประวัติศาสตร์  นักสตรีนิยม  นักสิ่งแวดล้อม และนักปฏิบัติ ผลงานของท่านจึงมีความลุ่มลึกในสำนวนภาษาและวิธีถ่ายทอด สามารถสร้างศรัทธาและสาระให้แก่นักอ่านจำนวนมาก

นอกจากความสำเร็จในฐานะนักวิชาการและนักเขียน ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติแล้ว รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ยังได้รับเชิญให้เป็นพิธีกรในรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับศาสนา ชื่อรายการ ชีวิตไม่สิ้นหวัง ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ ทางช่อง ๓ โดยรายการดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องถึง ๗ ปี และยังได้รับรางวัลรายการธรรมะยอดเยี่ยมถึง ๒ ปีซ้อน (พ.ศ. ๒๕๔๓ และ พ.ศ. ๒๕๔๔)

เกียรติประวัติ

พ.ศ.๒๕๔๕ – ๒๕๔๙ ท่านเป็นหนึ่งในคณะกรรมการคัดเลือกผู้รับรางวัลนิวาโน สันติภาพ ประเทศญี่ปุ่น

พ.ศ.๒๕๔๗  ท่านได้รับเลือกเป็นสตรีชาวพุทธดีเด่นขององค์การสหประชาชาติ (UN Outstanding Buddhist  Women Award)

พ.ศ.๒๕๔๘  ท่านเป็นหนึ่งใน  ๑,๐๐๐ สตรีเพื่อสันติภาพที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบล  สาขาสันติภาพ

พ.ศ.๒๕๔๙  ได้รับรางวัล Prestige Woman  ในฐานะนักการศึกษา และ Bangkok Post ได้คัดเลือกท่านเป็น ๑ ใน ๕๐  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในโอกาสหนังสือพิมพ์ฉลองครบรอบ ๕๐ ปี และท่านยังได้รับการคัดเลือกเป็น ๑ ใน ๓๐ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในโอกาสหนังสือพิมพ์ The Nation ฉลองครบรอบ ๓๐ ปี ซ้ำในปีเดียวกันอีกด้วย

พ.ศ.๒๕๕๒ ได้รับการยกย่องเป็นบุคคลเกียรติยศประจำปีจาก มูลนิธิโกมล คีมทอง

พ.ศ.๒๕๕๓ ได้รับรางวัล ๑ ใน ๒๐ สตรีที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากโรงแรมสุโขทัยและนิตยสาร Thailand Tatler

พ.ศ. ๒๕๕๕ ท่านได้รับรางวัลนักแปลดีเด่น

พ.ศ. ๒๕๕๕  ท่านได้รับรางวัล Sakyamuni Buddha International Award 2012 จากประเทศอินเดีย

การสืบสาน : เส้นทางภิกษุณี

แม้จะประสบความสำเร็จทั้งในฐานะนักวิชาการ นักกิจกรรม ทั้งการงาน ชื่อเสียง และอาชีพ แต่ทว่าในห้วงเวลาดังกล่าว รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์กล่าวว่าตนเองยังหาคำตอบให้ตัวเองไม่ได้ว่าความหมายของชีวิตคืออะไร

“ ในช่วงแรกอาตมาพยายามต้านกระแสการเรียกร้องให้บวช แต่เมื่อมาถึงจุดหนึ่งของชีวิตก็พบว่า แม้ชีวิตอาตมาเดินทางมาถึงความสำเร็จตามประสาที่ชาวโลกแสวงหากันตามวิสัยปุถุชน แต่ก็ยังไม่ค้นพบสาระที่แท้จริงของชีวิต ขณะเดียวกันอาตมาก็เกิดความเบื่อหน่ายชีวิตทางโลกที่ต้องแต่งหน้าทาปากออกไปทำมาหากินเลี้ยงชีพทุกวัน อาตมาจึงตัดสินใจออกบวชออกบวช เพื่อถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา” 

ในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ.๒๕๔๔ รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์จึงตัดสินใจเข้ารับการบรรพชาเป็นสามเณรีจากคณะภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์สายสยามวงศ์จากวัดตโปทานรามยะ ประเทศศรีลังกา โดยได้รับฉายาว่า “ธัมมนันทา” และอุปสมบทเป็นภิกษุณี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖ ที่ประเทศศรีลังกา นับเป็นภิกษุณีเถรวาทสายสยามวงศ์รูปแรกในประเทศไทย และเมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านจึงได้นิมนต์ปวัตตินี (ภิกษุณีอุปัชฌาย์) มาอบรมสั่งสอนติดต่อกัน ๒ พรรษา ตามเงื่อนไขในพระวินัยอีกด้วย

หลวงแม่ธัมนันทา จึงนับได้ว่าเป็นปฐมภิกษุณีสายเถรวาทรูปแรก  และ เป็นผู้วางอิฐก้อนแรกสำหรับสตรีไทยที่จะได้มีโอกาสก้าวย่างออกมาสู่ชีวิตภิกษุณี

ภายหลังที่ท่านออกบวชแล้ว หลวงแม่ธัมมนันทายังคงเป็นบรรณาธิการจดหมายข่าวสตรีชาวพุทธนานาชาติ มีสมาชิกใน ๓๘ ประเทศทั่วโลก เพื่อรับทราบความเคลื่อนไหวของภิกษุณีในต่างประเทศมากว่า ๓๐ ปี และด้วยประสบการณ์ดังกล่าวยิ่งสร้างสมให้ท่านเกิดความมั่นใจมากขึ้นในการรื้อฟื้นภิกษุณีว่า "เป็นเรื่องที่ถูกต้องในพระธรรมและวินัย"

“เพราะพระภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล โดยพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้อนุญาตให้ผู้หญิงบวชเป็นภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จึงเป็นองค์ประกอบของพุทธบริษัทสี่ ที่พระพุทธองค์ประดิษฐานไว้ ด้วยพระพุทธองค์ทรงยืนยันว่าผู้หญิงสามารถบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกับผู้ชาย ท่านมักกล่าวเสมอว่าเป็นความจริงที่ว่าคฤหัสถ์ทั้งชายและหญิง  สามารถปฏิบัติจนถึงซึ่งความหลุดพ้นได้เช่นเดียวกัน  หากแต่ชีวิตการบวชนั้นเป็นชีวิตที่ประเสริฐ เพราะเป็นทางลัดตัดตรง ช่วยให้ผู้บวชได้ละวางความยึดติดทางโลกให้น้อยลง  เพราะวิถีการบวชเป็นการทำให้ชีวิตเรียบง่ายขึ้นเอื้อประโยชน์ในการปฏิบัติได้ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้อาตมาจึงตัดสินใจออกบวชเพราะต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนา เพื่อทำหน้าที่เผยแพร่พระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อาตมาบวชด้วยความศรัทธาจากหัวใจ  พร้อมปฏิบัติด้วยความมุ่งมั่นและตั้งอกตั้งใจอย่างดีที่สุด ด้วยความกตัญญูต่อพระพุทธเจ้า เพราะอาตมาได้ศึกษาแล้วว่าภิกษุสงฆ์นั้นเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าประทานไว้ให้แก่ลูกผู้หญิงและพระศาสนา ซึ่งพระองค์ทรงมอบหมายให้พุทธบริษัทสี่ช่วยกันดูแลและสืบสานพระพุทธศาสนาร่วมกัน”

ตราบจนถึงวันนี้ (๒๕๖๐) เป็นเวลากว่า ๑๖ ปีแล้วที่รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ตัดสินใจสละเพศฆราวาส ครองวิถีนักบวชอยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ นับแต่วันที่ตัดสินใจถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา พระภิกษุณีธัมมนันทาไม่เพียงค้นพบเส้นทางลัดที่นำพาชีวิตไปสู่ความดับทุกข์เฉพาะตนเท่านั้น ท่านยังได้ใช้วิชาความรู้ทางพุทธศาสนาเพื่อยังประโยชน์แก่ญาติโยม โดยการนำประสบการณ์การเผยแพร่พุทธศาสนาจากนานาชาติมาสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นอย่างมหาศาลทั้งสำหรับผู้หญิงไทยและผู้หญิงทั่วโลก ด้วยหัวใจแห่งโพธิสัตต์ และแนวทางโพธิสัตต์ที่วัตรทรงธรรมกัลยาณียึดถือปฏิบัติมานานกว่า ๕๐ ปี อันเป็นอุดมการณ์ของพุทธศาสนาเพื่อสังคม (Socially Engaged Buddhism) โดยแท้ ซึ่งด้วยหลักการคิดและแบบแผนในวิถีโพธิสัตต์นี้ ย่อมเกื้อกูลสังคมที่มิใช่เพียงความปรารถนาที่จะพากเพียรไปถึงพระนิพพานแต่เพียงเฉพาะตนเท่านั้น หากแต่ยังปรารถนาเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดด้วย

ด้วยเจตนาเช่นนี้ หลวงแม่ธัมมนันทา จึงกล้าหาญที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยจัดให้มีการบรรพชาหมู่สามเณรีภาคฤดูร้อน ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ.วัตรทรงธรรมกัลยาณี ในจังหวัดนครปฐมที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส และจากการบรรพชาในครั้งนั้น (พ.ศ.๒๕๕๒) จนปัจจุบัน ท่านได้เป็นอุปัชฌาย์ให้การบรรพชาสามเณรีทั้งที่ จ.นครปฐม จ.พะเยา จ.สงขลา และ จ.สุราษฏร์ธานี ได้มีผู้หญิงกว่า ๗๐๐ ชีวิตได้ตัดสินใจร่วมเดินตามรอยของการประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์ ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อร่วมเติมเต็มพุทธบริษัท ๔ ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย และในพ.ศ. ๒๕๕๖ ท่านได้ริเริ่ม "เครือข่ายภิกษุณีสงฆ์ไทย" ขึ้น เพื่อความเป็นกลุ่มก้อนของภิกษุณีไทยที่กระจายอยู่ใน ๒๐ จังหวัด ให้มีทิศทางการปฏิบัติชัดเจนในพระธรรมวินัย เพื่อสืบทอดพุทธศาสนาตามพุทธดำรัสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง

ปัจจุบันจำพรรษาอยู่ที่ วัตรทรงธรรมกัลยาณี ตำบลพระประโทน จังหวัดนครปฐม (สามเณรี และ ภิกษุณี ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคณะสงฆ์ไทย)

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น