ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 36: บรรทัด 36:
## เจ้านางบุญเหลือ ณ จำปาศักดิ์
## เจ้านางบุญเหลือ ณ จำปาศักดิ์
## เจ้านางสุดาจันทร์ ณ จำปาศักดิ์
## เจ้านางสุดาจันทร์ ณ จำปาศักดิ์
######นายจันทร์ โพธิ์สอาด
####นายจันทร์ โพธิ์สอาด
# '''หม่อมจูม''' มีโอรสธิดา 1 องค์ คือ เจ้าจิตประสงค์ ณ จำปาศักดิ์
# '''หม่อมจูม''' มีโอรสธิดา 1 องค์ คือ เจ้าจิตประสงค์ ณ จำปาศักดิ์



รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:42, 14 มกราคม 2560

เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) หรือ เจ้าราชดนัย (หยุย) (พ.ศ. 2440 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2489) เจ้าผู้ครองนครจำปาสักองค์สุดท้าย และเป็นผู้ว่าราชการเมืองจำปาสักในสมัยที่ลาวตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส

ประวัติ

เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2417[1] เป็นพระโอรสองค์โตของเจ้ายุติธรรมธร (คำสุก ณ จำปาศักดิ์) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ลำดับที่ 11 ได้รับพระราชทานพระยศจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นเจ้าราชดนัย ตำแหน่งผู้ช่วยราชการในเจ้านครจำปาศักดิ์เมื่อ พ.ศ. 2440 [2]

ต่อมาเมื่อเจ้ายุติธรรมธร (เจ้าคำสุก ณ จำปาศักดิ์) พิราลัยด้วยพระโรคชราในปี พ.ศ. 2444 ทางราชการสยามได้ให้เจ้าอุปราช (เจ้าคำพันธ์) เป็นผู้รักษาราชการเมืองจำปาศักดิ์ไปพลาง เนื่องจากยังไม่ทันได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์คนใหม่[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ดินแดนของนครจำปาสักได้ตกอยู่ในความปกครองของฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 122 ฝ่ายฝรั่งเศสจึงได้เกลี้ยกล่อมให้เจ้าราชดนัย (หยุย) เป็นผู้ครองเมืองจำปาสักสืบต่อจากพระบิดา พระองค์จึงได้มีหนังสือลับไปทูลปรึกษาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ขณะมีพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นฯ) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในเวลานั้น ซึ่งกรมพระยาดำรงฯ ได้ทรงตอบไปว่า "ให้รับตำแหน่งทำการให้ฝรั่งเศสเสีย มิฉะนั้นถ้าฝรั่งเศสเอาพวกอื่นมาตั้งวงศ์ตระกูลเจ้ายุติธรรมจะได้รับความเดือดร้อน" เจ้าราชดนัย (หยุย) จึงตกลงรับเป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์นับแต่นั้น โดยฝ่ายฝรั่งเศสได้ตั้งให้เจ้าราชดนัย (หยุย) ขึ้นเป็นเจ้ายุติธรรมธร เช่นเดียวกับเจ้านครจำปาสักองค์ก่อนๆ[4] นับเป็นเจ้ายุติธรรมธรลำดับที่ 3

ต่อมารัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศส ได้ยกเลิกฐานะความเป็นเจ้าครองนครลงเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447[1] เจ้ายุติธรรมธร (หยุย) จึงมีฐานะเป็นผู้ว่าราชการเมืองจำปาสักแทนจนถึง พ.ศ. 2484 เมื่อประเทศไทยได้ดินแดนนครจำปาสักกลับคืนมาอีกครั้ง และจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดนครจัมปาศักดิ์แล้ว ทางราชการไทยก็ได้คงเกียรติยศของเจ้ายุติธรรมธร (หยุย) ในฐานะเจ้าผู้ครองนครจำปาสักไว้ตามเดิม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ให้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่ตั้งขึ้นมาใหม่นั้นเอง พระองค์ได้อยู่ในตำแหน่งนี้จนถึงแก่พิราลัยในตำแหน่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2489 ก่อนหน้าที่ดินแดนจำปาสักจะกลับไปเป็นของฝรั่งเศสอีกครั้งไม่นานนัก[5]

ผู้สืบสกุล

เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) มีโอรสธิดาเกิดแต่ชายา 5 องค์ ดังนี้ [6][1]

  1. เจ้านางทองพูน ไม่มีโอรสธิดาด้วยกัน
  2. เจ้านางสุดสมร มีโอรสธิดา 3 องค์ คือ
    1. เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ (อดีตนายกรัฐมนตรีลาว)
    2. เจ้าสมบูรณ์ ณ จำปาศักดิ์
    3. เจ้าบุญอ้อม ณ จำปาศักดิ์ (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลาว ในรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาว)
  3. หม่อมนวล มีโอรสธิดา 7 องค์ คือ
    1. เจ้าบุญเอื้อ ณ จำปาศักดิ์
    2. เจ้านางเนย ณ จำปาศักดิ์
    3. เจ้านางน้อม ณ จำปาศักดิ์
    4. เจ้านางบุญล้น ณ จำปาศักดิ์
    5. เจ้านางบุญหลี ณ จำปาศักดิ์
    6. เจ้าสรรพสิทธิ ณ จำปาศักดิ์
    7. เจ้านางสีดา ณ จำปาศักดิ์
  4. เจ้านางจันทร์ มีโอรสธิดา 9 องค์ คือ
    1. เจ้านางบุญชู ณ จำปาศักดิ์
    2. เจ้านางสมบูรณ์ ณ จำปาศักดิ์
    3. เจ้านางเฮียง ณ จำปาศักดิ์
    4. เจ้านางบุญโฮม ณ จำปาศักดิ์
    5. เจ้านางบุญเฮือง ณ จำปาศักดิ์
    6. เจ้าศรีโรเม ณ จำปาศักดิ์
    7. เจ้านางนารี ณ จำปาศักดิ์
    8. เจ้านางบุญเหลือ ณ จำปาศักดิ์
    9. เจ้านางสุดาจันทร์ ณ จำปาศักดิ์
        1. นายจันทร์ โพธิ์สอาด
  5. หม่อมจูม มีโอรสธิดา 1 องค์ คือ เจ้าจิตประสงค์ ณ จำปาศักดิ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

ก่อนหน้า เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) ถัดไป
เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก ณ จำปาศักดิ์) เจ้าผู้ครองนครจำปาสัก
และผู้ว่าราชการเมืองจำปาสัก

(2446 - 2 มี.ค. 2489)
เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์
(ประมุขแห่งราชสกุล ณ จำปาศักดิ์)