ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทุ่งศรีเมือง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
* งานกาชาดและงานปีใหม่
* งานกาชาดและงานปีใหม่


== พิธีเผาศพแบบนกหัสดีลิงค์หรือนกสักกะไดลิงค์ ==
== พิธีเผาศพแบบนกหัสดีลิงค์หรือนกสักกะไดลิงก์ ==
ทุ่งศรีเมืองใช้เป็นที่ประกอบพิธีเผาศพเจ้านายพื้นเมือง และคณะอาญาสี่ ที่ประกอบไปด้วย เจ้าเมือง อุปฮาด ราชบุตร และราชวงศ์ ซึ่งถือว่าเป็นราชสกุลที่มีมาแต่เชียงรุ้งแสนหวีฟ้า เมื่อถึงแก่อสัญกรรมให้อัญเชิญศพขึ้นเมรุรูปนกหัสดีลิงค์ หรือนักสักกะไดลิงค์ แล้วชักลากออกไปบำเพ็ญกุศลที่ทุ่งศรีเมือง จำนวน 3 วัน จึงประกอบพิธีเผาศพ ซึ่งจะจัดทำเฉพาะกับเจ้านายเมืองอุบลราชธานีเท่านั้น
ทุ่งศรีเมืองใช้เป็นที่ประกอบพิธีเผาศพเจ้านายพื้นเมือง และคณะอาญาสี่ ที่ประกอบไปด้วย เจ้าเมือง อุปฮาด ราชบุตร และราชวงศ์ ซึ่งถือว่าเป็นราชสกุลที่มีมาแต่เชียงรุ้งแสนหวีฟ้า เมื่อถึงแก่อสัญกรรมให้อัญเชิญศพขึ้นเมรุรูปนกหัสดีลิงค์ หรือนักสักกะไดลิงก์ แล้วชักลากออกไปบำเพ็ญกุศลที่ทุ่งศรีเมือง จำนวน 3 วัน จึงประกอบพิธีเผาศพ ซึ่งจะจัดทำเฉพาะกับเจ้านายเมืองอุบลราชธานีเท่านั้น


ครั้งเมื่อสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ประจำมณฑลอุบลราชธานี ได้มีการยกเลิกประเพณีเผาศพแบบนกสักกะไดลิงค์ที่ทุ่งศรีเมือง และสามารถให้พระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงคุณธรรม เมื่อมรณภาพแล้วสามารถทำพิธีแบบนกสักกะไดลิงค์ได้ โดยพิธีเผาศพดังกล่าวจัดทำครั้งล่าสุดเมื่อราวปี พ.ศ.2448 ของพระธรรมบาล (ผุย) นับว่าเป็นนกตัวสุดท้ายที่ได้ประกอบพิธีกรรม ณ ทุ่งศรีเมือง และ
ครั้งเมื่อสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ประจำมณฑลอุบลราชธานี ได้มีการยกเลิกประเพณีเผาศพแบบนกสักกะไดลิงก์ที่ทุ่งศรีเมือง และสามารถให้พระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงคุณธรรม เมื่อมรณภาพแล้วสามารถทำพิธีแบบนกสักกะไดลิงก์ได้ โดยพิธีเผาศพดังกล่าวจัดทำครั้งล่าสุดเมื่อราวปี พ.ศ. 2448 ของพระธรรมบาล (ผุย) นับว่าเป็นนกตัวสุดท้ายที่ได้ประกอบพิธีกรรม ณ ทุ่งศรีเมือง และ
พ.ศ. 2558 ทางจังหวัดอุบลราชธานีได้ใช้ทุ่งศรีเมืองเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมเผาศพแบบนกหัสดีลิงค์ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอุบลราชธานีแต่เดิมมา โดยใช้ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระเทพกิตติมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาวนาราม (พระอารามหลวง) พระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่สำคัญของชาวอุบลราชธานี
พ.ศ. 2558 ทางจังหวัดอุบลราชธานีได้ใช้ทุ่งศรีเมืองเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมเผาศพแบบนกหัสดีลิงค์ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอุบลราชธานีแต่เดิมมา โดยใช้ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระเทพกิตติมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาวนาราม (พระอารามหลวง) พระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่สำคัญของชาวอุบลราชธานี

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:24, 8 มกราคม 2560

ทุ่งศรีเมือง (Thoung Sri Mueang) เดิมชื่อ "นาทุ่งศรีเมือง" เป็นสถานที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี มีความสำคัญมาตั้งแต่ในอดีต คือ เป็นสถานที่ทำนาของเจ้าเมืองอุบลราชธานี และใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมเผาศพแบบนกหัสดีลิงค์ของเจ้าเมืองและเจ้านายพื้นเมืองอุบลราชธานีศรีวะนาไล ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมที่สำคัญของจังหวัด และเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมืองเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ

ทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่ถนนอุปราช ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีหลังเก่า (ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑ์เมืองอุบลราชธานีศรีวะนาไล) ประกอบด้วยคูเมืองเป็นน้ำล้อมลอบ มีประตูทางเข้า 4 ทิศ 4 ประตู ซึ่งตั้งชื่อตามนามของเจ้านายพื้นเมือง คือ

  • อุบลเดชประชารักษ์
  • อุบลศักดิ์ประชาบาล
  • อุบลการประชานิตย์
  • อุบลกิจประชากร


สิ่งก่อสร้างภายในทุ่งศรีเมือง

ประกอบด้วย

  • อภิมหาเทียนพรรษาเฉลิมพระเกียรติ หรือต้นเทียนจำลอง สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ตอนกลางคืนจะสวยงามมาก
  • ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี สร้างขึ้นเมื่อปี 2515
  • อนุสาวรีย์พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเมืองอุบลฯ
  • ปฏิมากรรมสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) พระเถระที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นนักปราชญ์แห่งภาคอีสาน
  • ปฏิมากรรมพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) พระเถระที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ
  • อนุสาวรีย์แห่งความดี (Monument of Merit) เป็นเชลยศึกชาวต่างประเทศ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความเมตตาปราณี และคุณงามความดีของชาวเมืองอุบลาชธานี
  • ปฏิมากรรมร่วมใจก้าวไปข้างหน้า สร้างขึ้นตามโครงการปฏิมากรรม กับสิ่งแวดล้อมเพื่อเยาวชน ซึ่งแสดงถึง ความสมานฉันท์แห่งความเป็นพี่น้องระหว่าง 4 ประเทศ คือ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

กิจกรรม และเทศกาลประเพณีที่จัด

  • งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา
  • งานสดุดีวีรกรรมพระปทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวะนาไลคนแรก)
  • งานรำลึกคุณความดี ณ อนุสาวรีย์แห่งความดี
  • งานกาชาดและงานปีใหม่

พิธีเผาศพแบบนกหัสดีลิงค์หรือนกสักกะไดลิงก์

ทุ่งศรีเมืองใช้เป็นที่ประกอบพิธีเผาศพเจ้านายพื้นเมือง และคณะอาญาสี่ ที่ประกอบไปด้วย เจ้าเมือง อุปฮาด ราชบุตร และราชวงศ์ ซึ่งถือว่าเป็นราชสกุลที่มีมาแต่เชียงรุ้งแสนหวีฟ้า เมื่อถึงแก่อสัญกรรมให้อัญเชิญศพขึ้นเมรุรูปนกหัสดีลิงค์ หรือนักสักกะไดลิงก์ แล้วชักลากออกไปบำเพ็ญกุศลที่ทุ่งศรีเมือง จำนวน 3 วัน จึงประกอบพิธีเผาศพ ซึ่งจะจัดทำเฉพาะกับเจ้านายเมืองอุบลราชธานีเท่านั้น

ครั้งเมื่อสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ประจำมณฑลอุบลราชธานี ได้มีการยกเลิกประเพณีเผาศพแบบนกสักกะไดลิงก์ที่ทุ่งศรีเมือง และสามารถให้พระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงคุณธรรม เมื่อมรณภาพแล้วสามารถทำพิธีแบบนกสักกะไดลิงก์ได้ โดยพิธีเผาศพดังกล่าวจัดทำครั้งล่าสุดเมื่อราวปี พ.ศ. 2448 ของพระธรรมบาล (ผุย) นับว่าเป็นนกตัวสุดท้ายที่ได้ประกอบพิธีกรรม ณ ทุ่งศรีเมือง และ พ.ศ. 2558 ทางจังหวัดอุบลราชธานีได้ใช้ทุ่งศรีเมืองเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมเผาศพแบบนกหัสดีลิงค์ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอุบลราชธานีแต่เดิมมา โดยใช้ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระเทพกิตติมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาวนาราม (พระอารามหลวง) พระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่สำคัญของชาวอุบลราชธานี