ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามปฏิวัติอเมริกา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 53: บรรทัด 53:


ความพยายามยึดยุทโธปกรณ์อเมริกันของบริเตนในเดือนเมษายน 1775 นำสู่การยุทธ์อย่างเปิดเผยระหว่างกำลังคราวน์และทหารอาสาสมัครแพทริอัต ทหารอาสาสมัครเดินหน้าล้อมกำลังบริติชในบอสตัน บังคับให้ต้องอพยพนครในเดือนมีนาคม 1776 สภาภาคพื้นทวีปตั้ง[[จอร์จ วอชิงตัน]]ให้บังคับบัญชาทหารอาสาสมัคร ต่อมา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพภาคพื้นทวีปที่เพิ่งตั้ง ตลอดจนประสานงานหน่วยทหารอาสาสมัครของรัฐ ในเวลาเดียวกับ[[การทัพบอสตัน]] ความพยายามบุกครองควิเบกของอเมริกาและปลุกการกบฏต่อพระมหากษัตริย์บริติชล้มเหลวโดยสิ้นเชิง วันที่ 2 กรกฎาคม 1774 สภา[[คำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา|ลงมติสนับสนุนเอกราช]]อย่างเป็นทางการ โดยออกคำประกาศในวันที่ 4 กรกฎาคม
ความพยายามยึดยุทโธปกรณ์อเมริกันของบริเตนในเดือนเมษายน 1775 นำสู่การยุทธ์อย่างเปิดเผยระหว่างกำลังคราวน์และทหารอาสาสมัครแพทริอัต ทหารอาสาสมัครเดินหน้าล้อมกำลังบริติชในบอสตัน บังคับให้ต้องอพยพนครในเดือนมีนาคม 1776 สภาภาคพื้นทวีปตั้ง[[จอร์จ วอชิงตัน]]ให้บังคับบัญชาทหารอาสาสมัคร ต่อมา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพภาคพื้นทวีปที่เพิ่งตั้ง ตลอดจนประสานงานหน่วยทหารอาสาสมัครของรัฐ ในเวลาเดียวกับ[[การทัพบอสตัน]] ความพยายามบุกครองควิเบกของอเมริกาและปลุกการกบฏต่อพระมหากษัตริย์บริติชล้มเหลวโดยสิ้นเชิง วันที่ 2 กรกฎาคม 1774 สภา[[คำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา|ลงมติสนับสนุนเอกราช]]อย่างเป็นทางการ โดยออกคำประกาศในวันที่ 4 กรกฎาคม

เซอร์วิลเลียม ฮาว (William Howe) เริ่มการตีโต้ตอบซึ่งมุ่งยึดนครนิวยอร์กคืน ฮาวชนะวอชิงตันด้วยอุบาย ทำให้ความมั่นใจของฝ่ายอเมริกาแตะจุดต่ำสุด วอชิงตันสามารถยึดกองทัพเฮชชัน (Hessian) ได้ที่เทรนตัน และขับบริเตนออกจากนิวเจอร์ซีย์ ฟื้นความมั่นใจของฝ่ายอเมริกา ในปี 1777 บริเตนส่งกองทัพใหม่โดยมีจอห์น เบอร์กอยน์ (John Burgoyne) เป็นผู้บังคับบัญชาให้ยกลงใต้จากแคนาดาและแยกอาณานิคมนิวอิงแลนด์ ทว่า ฮาวไม่สนับสนุนเบอร์กอยน์ แต่นำกองทัพของเขาในอีกการทัพหนึ่งต่อกรุงฟิลาเดลเฟีย เมืองหลวงฝ่ายปฏิวัติ เบอร์กอยน์หมดกำลังบำรุง ถูกล้อมและยอมจำนนในเดือนตุลาคม 1777


[[ราชอาณาจักรฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]], [[ราชอาณาจักรสเปน|สเปน]] และ[[สาธารณรัฐดัตช์]]ล้วนจัดหาเสบียง เครื่องกระสุนและอาวุธอย่างลับ ๆ ให้แก่กองทัพปฏิวัติเริ่มตั้งแต่ต้น ค.ศ. 1776 หลังอังกฤษประสบความสำเร็จในตอนต้น สงครามเริ่มเปลี่ยนเป็นไม่แน่นอน ฝ่ายอังกฤษใช้ความเหนือกว่าทางทะเลยึดและครอบครองนครชายฝั่งของอเมริกา ขณะที่ฝ่ายกบฏยังควบคุมแถบชนบทเป็นส่วนใหญ่ อันเป็นที่ซึ่งประชากรกว่า 90% อาศัยอยู่ ยุทธศาสตร์ของอังกฤษอาศัยการระดมทหารอาสาสมัครที่จงรักภักดี แต่อังกฤษไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างเต็มที่ การรุกรานของอังกฤษจากแคนาดาสิ้นสุดลงด้วยการจับกองทัพอังกฤษเป็นเชลยที่ยุทธการซาราโตกาใน ค.ศ. 1777 ชัยชนะของอเมริกาครั้งนั้นโน้มน้าวให้ฝรั่งเศสเข้าสู่สงครามอย่างเปิดเผยในต้น ค.ศ. 1778 ซึ่งทำให้กำลังทางทหารของทั้งสองฝ่ายสมดุล สเปนและสาธารณรัฐดัตช์ พันธมิตรของฝรั่งเศส เข้าสู่สงครามกับอังกฤษภายในอีกสองปีถัดมา ซึ่งคุกคามจะรุกรานบริเตนใหญ่และทดสอบความเข้มแข็งทางทหารของอังกฤษอย่างรุนแรงด้วยการทัพในยุโรป การมีส่วนร่วมของสเปนส่งผลให้กองทัพอังกฤษในเวสต์ฟลอริดาถอนตัวออก ซึ่งเป็นการทำให้ปีกด้านใต้ของอเมริกาปลอดภัย
[[ราชอาณาจักรฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]], [[ราชอาณาจักรสเปน|สเปน]] และ[[สาธารณรัฐดัตช์]]ล้วนจัดหาเสบียง เครื่องกระสุนและอาวุธอย่างลับ ๆ ให้แก่กองทัพปฏิวัติเริ่มตั้งแต่ต้น ค.ศ. 1776 หลังอังกฤษประสบความสำเร็จในตอนต้น สงครามเริ่มเปลี่ยนเป็นไม่แน่นอน ฝ่ายอังกฤษใช้ความเหนือกว่าทางทะเลยึดและครอบครองนครชายฝั่งของอเมริกา ขณะที่ฝ่ายกบฏยังควบคุมแถบชนบทเป็นส่วนใหญ่ อันเป็นที่ซึ่งประชากรกว่า 90% อาศัยอยู่ ยุทธศาสตร์ของอังกฤษอาศัยการระดมทหารอาสาสมัครที่จงรักภักดี แต่อังกฤษไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างเต็มที่ การรุกรานของอังกฤษจากแคนาดาสิ้นสุดลงด้วยการจับกองทัพอังกฤษเป็นเชลยที่ยุทธการซาราโตกาใน ค.ศ. 1777 ชัยชนะของอเมริกาครั้งนั้นโน้มน้าวให้ฝรั่งเศสเข้าสู่สงครามอย่างเปิดเผยในต้น ค.ศ. 1778 ซึ่งทำให้กำลังทางทหารของทั้งสองฝ่ายสมดุล สเปนและสาธารณรัฐดัตช์ พันธมิตรของฝรั่งเศส เข้าสู่สงครามกับอังกฤษภายในอีกสองปีถัดมา ซึ่งคุกคามจะรุกรานบริเตนใหญ่และทดสอบความเข้มแข็งทางทหารของอังกฤษอย่างรุนแรงด้วยการทัพในยุโรป การมีส่วนร่วมของสเปนส่งผลให้กองทัพอังกฤษในเวสต์ฟลอริดาถอนตัวออก ซึ่งเป็นการทำให้ปีกด้านใต้ของอเมริกาปลอดภัย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:50, 3 มกราคม 2560

สงครามปฏิวัติอเมริกา
วันที่19 เมษายน ค.ศ. 1775 – 3 กันยายน ค.ศ. 1783 (8 ปี 137 วัน)
สถานที่
ทวีปอเมริกาเหนือตะวันออก, ยิบรอลตาร์, หมู่เกาะแบลีแอริก, อเมริกากลาง;
อาณานิคมในครอบครองฝรั่งเศส ดัตช์และอังกฤษในอนุทวีปอินเดียและที่อื่น;
น่านน้ำชายฝั่งยุโรป, ทะเลแคริบเบียน, มหาสมุทรแอตแลนติกและอินเดีย
ผล

สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783)

  • ชัยชนะของอเมริกา ได้รับเอกราช
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
อังกฤษเสียดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี และทางใต้ของเกรตเลกส์และแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ให้แก่สหรัฐอเมริกาที่มีเอกราช และสเปน สเปนได้ฟลอริดาตะวันออก ฟลอริดาตะวันตก และไมนอร์กา; อังกฤษยกโตบาโกและเซเนกัลให้แก่ฝรั่งเศส
สาธารณรัฐดัตช์เสียนาคปัตตินัมให้แก่อังฤษ
คู่สงคราม

 สหรัฐ
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
สเปน สเปน
 สาธารณรัฐดัตช์
Oneida
Tuscarora
สาธารณรัฐเวอร์มอนต์
Watauga Association
Catawba

Lenape

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ บริเตนใหญ่
Onondaga
Mohawk
Cayuga
Seneca

เชโรกี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหรัฐ จอร์จ วอชิงตัน
สหรัฐ Nathanael Greene
สหรัฐ Horatio Gates
สหรัฐ Richard Montgomery
สหรัฐ Daniel Morgan
สหรัฐ Henry Knox
สหรัฐ Ethan Allen
สหรัฐ Francis Nash
สหรัฐ Francis Marion
สหรัฐ Benedict Arnold (แปรพักตร์)
สหรัฐ Friedrich Wilhelm von Steuben
สหรัฐ Marquis de La Fayette
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส Comte de Rochambeau
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส Comte de Grasse
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส Bailli de Suffren
สเปน Bernardo de Gálvez
สเปน Luis de Córdova
สเปน Juan de Lángara
ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่Lord North
ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ Sir William Howe
ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ Thomas Gage
ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ Sir Henry Clinton
ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ Lord Cornwallis (เชลย)
ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ Sir Guy Carleton
Allan Maclean
Alexander Stewart
James Agnew
James Grant
ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ John Burgoyne (เชลย)
ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ Benedict Arnold
ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ George Rodney
ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ Richard Howe
ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ Wilhelm von Knyphausen
Joseph Brant
กำลัง

ณ จุดสูงสุด:
กองทัพภาคพื้นทวีป 35,000 นาย
ทหารชาวบ้าน 44,500 คน
กะลาสีกองทัพภาคพื้นทวีป 5,000 คน (สูงสุดใน ค.ศ. 1779)[1]
เรือกองทัพเรือภาคพื้นทวีป 34 ลำ (สูงสุดใน ค.ศ. 1779)[2]; 53 ลำ (ณ บางจุดระหว่างสงคราม)[1]
ฝรั่งเศส 10,000 นาย (ในอเมริกา)

ฝรั่งเศสและสเปน ~60,000 นาย (ในยุโรป)[3]

ณ จุดสูงสุด:
อังกฤษ 56,000 นาย[ต้องการอ้างอิง]
เรือราชนาวี 78 ลำ ใน ค.ศ. 1775[1] กะลาสี 171,000 คน[4]
เยอรมัน 30,000 นาย[5]
ฝ่ายภักดีอังกฤษ 50,000 คน[6]

ชนพื้นเมือง 13,000 คน[7]
ความสูญเสีย
อเมริกัน 50,000± คน เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ[8]

กองทัพอังกฤษ 20,000± คน เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ กะลาสี 19,740 คน เสียชีวิต[4]
กละาสี 42,000 คน เสียชีวิตด้วยความหิวโหย[4]

เยอรมันเสียชีวิต 7,554 นาย

สงครามปฏิวัติอเมริกา (อังกฤษ: American Revolutionary War; ค.ศ. 1775–1783) หรือเรียก สงครามประกาศอิสรภาพอเมริกา (อังกฤษ: American War of Independence) หรือสงครามปฏิวัติในสหรัฐ เป็นการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างบริเตนใหญ่และสิบสามอาณานิคมอเมริกาเหนือซึ่งหลังสงครามเปิดฉากประกาศอิสรภาพเป็นสหรัฐอเมริกา

สงครามนี้มีจุดกำเนิดจากการต่อต้านภาษีบางชนิดและพระราชบัญญัติซึ่งชาวอเมริกันจำนวนมากอ้างว่าไม่ชอบธรรมและมิชอบด้วยกฎหมาย การประท้วงของแพทริอัต (Patriot) ลุกลามเป็นการคว่ำบาตร และในวันที่ 16 ธันวาคม 1773 พวกเขาทำลายการส่งสินค้าชาในท่าบอสตัน รัฐบาลบริเตนตอบโต้โดยปิดท่าบอสตัน แล้วผ่านมาตรการโดยมุ่งลงโทษอาณานิคมที่เป็นกบฏ แพทริอัตสนองโดยซัฟฟอล์กรีซอฟส์ (Suffolk Resolves) คือ การสถาปนารัฐบาลเงาซึ่งกำจัดการควบคุมมณฑลจากคราวน์นอกบอสตัน สิบสองอาณานิคมตั้งสภาภาคพื้นทวีปเพื่อประสานงานการต่อต้าน และสถาปนาคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ซึ่งยึดอำนาจชะงัด

ความพยายามยึดยุทโธปกรณ์อเมริกันของบริเตนในเดือนเมษายน 1775 นำสู่การยุทธ์อย่างเปิดเผยระหว่างกำลังคราวน์และทหารอาสาสมัครแพทริอัต ทหารอาสาสมัครเดินหน้าล้อมกำลังบริติชในบอสตัน บังคับให้ต้องอพยพนครในเดือนมีนาคม 1776 สภาภาคพื้นทวีปตั้งจอร์จ วอชิงตันให้บังคับบัญชาทหารอาสาสมัคร ต่อมา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพภาคพื้นทวีปที่เพิ่งตั้ง ตลอดจนประสานงานหน่วยทหารอาสาสมัครของรัฐ ในเวลาเดียวกับการทัพบอสตัน ความพยายามบุกครองควิเบกของอเมริกาและปลุกการกบฏต่อพระมหากษัตริย์บริติชล้มเหลวโดยสิ้นเชิง วันที่ 2 กรกฎาคม 1774 สภาลงมติสนับสนุนเอกราชอย่างเป็นทางการ โดยออกคำประกาศในวันที่ 4 กรกฎาคม

เซอร์วิลเลียม ฮาว (William Howe) เริ่มการตีโต้ตอบซึ่งมุ่งยึดนครนิวยอร์กคืน ฮาวชนะวอชิงตันด้วยอุบาย ทำให้ความมั่นใจของฝ่ายอเมริกาแตะจุดต่ำสุด วอชิงตันสามารถยึดกองทัพเฮชชัน (Hessian) ได้ที่เทรนตัน และขับบริเตนออกจากนิวเจอร์ซีย์ ฟื้นความมั่นใจของฝ่ายอเมริกา ในปี 1777 บริเตนส่งกองทัพใหม่โดยมีจอห์น เบอร์กอยน์ (John Burgoyne) เป็นผู้บังคับบัญชาให้ยกลงใต้จากแคนาดาและแยกอาณานิคมนิวอิงแลนด์ ทว่า ฮาวไม่สนับสนุนเบอร์กอยน์ แต่นำกองทัพของเขาในอีกการทัพหนึ่งต่อกรุงฟิลาเดลเฟีย เมืองหลวงฝ่ายปฏิวัติ เบอร์กอยน์หมดกำลังบำรุง ถูกล้อมและยอมจำนนในเดือนตุลาคม 1777

ฝรั่งเศส, สเปน และสาธารณรัฐดัตช์ล้วนจัดหาเสบียง เครื่องกระสุนและอาวุธอย่างลับ ๆ ให้แก่กองทัพปฏิวัติเริ่มตั้งแต่ต้น ค.ศ. 1776 หลังอังกฤษประสบความสำเร็จในตอนต้น สงครามเริ่มเปลี่ยนเป็นไม่แน่นอน ฝ่ายอังกฤษใช้ความเหนือกว่าทางทะเลยึดและครอบครองนครชายฝั่งของอเมริกา ขณะที่ฝ่ายกบฏยังควบคุมแถบชนบทเป็นส่วนใหญ่ อันเป็นที่ซึ่งประชากรกว่า 90% อาศัยอยู่ ยุทธศาสตร์ของอังกฤษอาศัยการระดมทหารอาสาสมัครที่จงรักภักดี แต่อังกฤษไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างเต็มที่ การรุกรานของอังกฤษจากแคนาดาสิ้นสุดลงด้วยการจับกองทัพอังกฤษเป็นเชลยที่ยุทธการซาราโตกาใน ค.ศ. 1777 ชัยชนะของอเมริกาครั้งนั้นโน้มน้าวให้ฝรั่งเศสเข้าสู่สงครามอย่างเปิดเผยในต้น ค.ศ. 1778 ซึ่งทำให้กำลังทางทหารของทั้งสองฝ่ายสมดุล สเปนและสาธารณรัฐดัตช์ พันธมิตรของฝรั่งเศส เข้าสู่สงครามกับอังกฤษภายในอีกสองปีถัดมา ซึ่งคุกคามจะรุกรานบริเตนใหญ่และทดสอบความเข้มแข็งทางทหารของอังกฤษอย่างรุนแรงด้วยการทัพในยุโรป การมีส่วนร่วมของสเปนส่งผลให้กองทัพอังกฤษในเวสต์ฟลอริดาถอนตัวออก ซึ่งเป็นการทำให้ปีกด้านใต้ของอเมริกาปลอดภัย

การมีส่วนร่วมของฝรั่งเศสพิสูจน์แล้วว่ามีผลชี้ขาด[9] แต่ก็ทำลายเศรษฐกิจของฝรั่งเศสเช่นกัน[10] ชัยชนะทางทะเลของฝรั่งเศสในเชซาพีคบีบให้กองทัพอังกฤษที่สองยอมจำนนที่การล้อมยอร์กทาวน์ใน ค.ศ. 1781 ใน ค.ศ. 1783 สนธิสัญญาปารีสยุติสงครามและยอมรับอธิปไตยของสหรัฐอเมริกาเหนือดินแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับแคนาดาทางเหนือ ฟลอริดาทางใต้ และแม่น้ำมิสซิสซิปปีทางตะวันตก[11][12]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Jack P. Greene and J. R. Pole. A Companion to the American Revolution (Wiley-Blackwell, 2003), p. 328.
  2. Everett C. Dolman. The Warrior State: How Military Organization Structures Politics (Macmillan, 2004), p. 163.
  3. Montero[โปรดขยายความ] p. 356
  4. 4.0 4.1 4.2 Mackesy (1964), pp. 6, 176 (British seamen)
  5. A. J. Berry, A Time of Terror (2006) p. 252
  6. Claude, Van Tyne, The loyalists in the American Revolution (1902) pp. 182–3.
  7. Greene and Pole (1999), p. 393; Boatner (1974), p. 545
  8. American dead and wounded: Shy, pp. 249–50. The lower figure for number of wounded comes from Chambers, p. 849.
  9. Greene and Pole, A companion to the American Revolution p 357
  10. Jonathan R. Dull, A Diplomatic History of the American Revolution (1987) p. 161
  11. Dull, A Diplomatic History of the American Revolution ch 18
  12. Lawrence S. Kaplan, "The Treaty of Paris, 1783: A Historiographical Challenge," International History Review, Sept 1983, Vol. 5 Issue 3, pp 431-442

ดูเพิ่ม