ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
| common_name = วัดสระเกศ, วัดภูเขาทอง
| common_name = วัดสระเกศ, วัดภูเขาทอง
| image_temple = พระวิหาร วัดสระเกศ.jpg
| image_temple = พระวิหาร วัดสระเกศ.jpg
| short_describtion = [[พระวิหารวัดสระเกศ]]
| short_describtion = พระวิหารวัดสระเกศ
| type_of_place = [[พระอารามหลวง]]ชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร
| type_of_place = [[พระอารามหลวง]]ชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร
| branch = [[เถรวาท]] [[มหานิกาย]]
| branch = [[เถรวาท]] [[มหานิกาย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:07, 28 ธันวาคม 2559

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
พระวิหารวัดสระเกศ
แผนที่
ชื่อสามัญวัดสระเกศ, วัดภูเขาทอง
ที่ตั้งริมคลองมหานาคและคลองรอบกรุง แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
ประเภทพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร
นิกายเถรวาท มหานิกาย
เจ้าอาวาสพระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ)
จุดสนใจสักการะพระบรมสารีริกธาตุบนบรมบรรพต
เว็บไซต์www.watsraket.com
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร[1] ตั้งอยู่ริมคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีจุดเด่นคือ พระบรมบรรพต

ประวัติ

วัดสระเกศ เป็นวัดโบราณในสมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนาน เมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. 2325 มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพระราชทานเปลี่ยนชื่อวัดสะแก เป็นวัดสระเกศนี้ มีหลักฐานที่ควรอ้างถึงคือ พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีข้อ 11 ว่า"รับสั่งพระโองการ ตรัสวัดสะแกเรียกวัดสระเกศแล้วบูรณปฏิสังขรณ์ เห็นควร ที่ต้นทางเสด็จพระนคร"ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า"ปฏิสังขรณ์วัดสะแกและเปลี่ยน ชื่อเป็น วัดสระเกศเอามากล่าวปนกับวัดโพธิ์เพราะเป็นต้นทางที่เสด็จเข้ามาพระนครมีคำ เล่า ๆ กันว่า เสด็จเข้าโขลนทวารสรงพระมุธาภิเษกตามประเพณีกลับจากทางไกลที่ วัดสะแก จึงเปลี่ยนนามว่า 'วัดสระเกศ'

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะและสร้างพระบรมบรรพตหรือภูเขาทอง ทรงกำหนดให้เป็นพระปรางค์มีฐานย่อมุมไม้สิบสอง แต่สร้างไม่สำเร็จในรัชกาล เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงให้เปลี่ยนแบบเป็นภูเขาก่อพระเจดีย์ไว้บนยอด เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ การก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระอุโบสถ

พระระเบียงรอบพระอุโบสถ มีพระเจดีย์รายรอบ ภายในพระระเบียงมีพระพุทธรูปประดิษฐานเรียงกันอยู่เต็มพระระเบียงทั้ง 4 ด้าน มีจำนวนทั้งหมด 163 องค์ ประดิษฐานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระประธานปางสมาธิ ซึ่งเป็นพระปั้นปิดทองปางสมาธิที่ใหญ่โต พร้อมด้วยความงามสมพุทธลักษณะองค์หนึ่งในกรุงเทพมหานคร เล่ากันมาว่าปั้นหุ้มพระประธานองค์เดิมของวัดซึ่งดูเล็กเกินไปไม่สมกับความใหญ่โตของพระอุโบสถ ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 แล้วมาทำการปฏิสังขรณ์เขียนใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 7 ที่ฝาผนังด้านใน สองด้านเบื้องล่างเป็นภาพทศชาติ ด้านบนเป็นภาพเทวดาและท้าวจตุโลกบาล ด้านหน้าเป็นภาพมารวิชัย ส่วนด้านหลังพระประธานเป็นภาพไตรภูมิ คือสวรรค์ มนุษย์ และนรก

แร้งวัดสระเกศ

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พ.ศ. 2363 เกิดโรคห่าระบาดอย่างหนัก ในกรุงเทพมหานคร ขณะนั้น ยังไม่มีวิธีรักษา และรู้จักการป้องกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงใช้วิธีให้กำลังใจ โปรดฯ ให้ตั้งพิธีขับไล่โรคนี้ขึ้น เรียกว่า "พิธีอาพาธพินาศ" โดยจัดขึ้นที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีการยิงปืนใหญ่รอบพระนครตลอดคืน อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบรมสารีริกธาตุออกแห่ มีพระราชาคณะโปรยพระพุทธมนต์ตลอดทาง ทรงทำบุญเลี้ยงพระ โปรดให้ปล่อยปลาปล่อยสัตว์ และประกาศไม่ให้ประชาชนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต อยู่กันแต่ในบ้าน กระนั้นก็ยังมีคนตายเพราะอหิวาตกโรคประมาณ 3 หมื่นคน ศพกองอยู่ตามวัดเป็นภูเขาเลากา เพราะฝังและเผาไม่ทัน บ้างก็แอบเอาศพทิ้งลงในแม่น้ำลำคลองในเวลากลางคืน จึงมีศพลอยเกลื่อนกลาดไปหมด ประชาชนต่างอพยพหนีออกไปจากเมืองด้วยความกลัว พระสงฆ์ทิ้งวัด งานของราชการ และธุรกิจทั้งหลายต้องหยุดชะงัก เพราะผู้คนถ้าไม่หนีไปก็มีภาระในการดูแลคนป่วย และจัดการกับศพของญาติมิตร ในเวลานั้น วัดสระเกศ เป็นศูนย์รวมของแร้งจำนวนนับพัน

อหิวาตกโรคเวียนมาในทุกฤดูแล้งและหายไปในฤดูฝนเช่นนี้ทุกปี จะในปี พ.ศ. 2392 อหิวาต์ก็ระบาดหนักอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ เกิดขึ้นที่ปีนังก่อน แล้วแพร่ระบาดมาจนถึงกรุงเทพฯ เรียกกันว่า "ห่าลงปีระกา" ในระยะเวลาช่วง 1 เดือน ที่เริ่มระบาดมีผู้เสียชีวิตถึง 15,000 - 20,000 คน และตลอดฤดู ตายถึง 40,000 คน เจ้าฟ้ามงกุฏฯ คือ รัชกาลที่ 4 ซึ่งขณะนั้นดำรงเพศบรรพชิต เป็นพระราชาคณะ ได้ทรงบัญชาให้วัดสามวัด คือ วัดสระเกศ วัดบางลำพู (วัดสังเวชวิศยาราม) และวัดตีนเลน (วัดเชิงเลน หรือวัดบพิตรพิมุข) เป็นสถานที่สำหรับเผาศพ มีศพที่นำมาเผาสูงสุด ถึงวันละ 696 ศพ แต่กระนั้น ศพที่เผาไม่ทัน ก็ถูกกองสุมกันอยู่ตามวัด โดยเฉพาะวัดสระเกศ มีศพส่งไปไว้มากที่สุด ทำให้ฝูงแร้งแห่งไปลงทึ้งกินซากศพ ตามลานวัด บนต้นไม้ บนกำแพง และหลังคากุฏิเต็มไปด้วยแร้ง แม้เจ้าหน้าที่จะถือไม้คอยไล่ก็ไม่อาจกั้นฝูงแร้ง ที่จ้องเข้ามารุมทึ้งซากศพอย่างหิวกระจายได้ และจิกกินซากศพ จนเห็นกระดูกขาวโพลน พฤติกรรมของ "แร้งวัดสระเกศ" ที่น่าสยดสยองจึงเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่ว

ลำดับเจ้าอาวาส

ลำดับที่ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 สมเด็จพระพนรัตน (อาจ) ? ?
2 สมเด็จพระพนรัตน (ด่อน) พ.ศ. 2362 พ.ศ. 2365
3 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) ? ?
4 พระบวรวิชา (เขียน) ? ?
5 พระวินยานุกูลเถระ (ศรี) ? ?
6 พระธรรมทานาจารย์ (จุ่น) ? ?
7 พระวินยานุกูลเถระ (เม่น) ? พ.ศ. 2515
8 พระธรรมปิฎก (น่วม) พ.ศ. 2456 พ.ศ. 2467
9 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) พ.ศ. 2467 พ.ศ. 2508
10 พระธรรมเจดีย์ (เทียบ ธมฺมธโร) พ.ศ. 2508 พ.ศ. 2508
11 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) พ.ศ. 2508 พ.ศ. 2556
12 พระพรหมสุธี (เสนาะ ปญฺญาวชิโร) พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2558
13 พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) พ.ศ. 2558 ปัจจุบัน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′13″N 100°30′30″E / 13.753475°N 100.50838°E / 13.753475; 100.50838