ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขุนศึก (บันเทิงคดี)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เวิ่นเว้อ ชื่ิอเดียวที่คนทั่วไปเข้าใจก็พอ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
== เนื้อเรื่อง ==
== เนื้อเรื่อง ==
{{เก็บกวาด-เรื่องย่อ}}
{{เก็บกวาด-เรื่องย่อ}}
[[ไฟล์:ขุนศึก อารีย์ นักดนตรี กำธรสุวรรณปิยะศิริ.jpg|thumb|ละครขุนศึก สถานีไทยโทรทัศน์ช่อง ๔ บางขุนพรหม - อารีย์ นักดนตรี กำธร สุวรรณปิยะศิริ]]
[[ไฟล์:ละคร ขุนศึก ช่องสี่บางขุนพรหม.jpg|thumb|ละครขุนศึก ปี พ.ศ. 2502 จากซ้ายไปขวา
กำธร สุวรรณปิยะศิริ - จำรูญ หนวดจิ๋ม - ไม่ทราบชื่อ - ทัต เอกทัต (ประวัติ ผิวเผือก)- สมจินต์ ธรรมทัต - ไม่ทราบชื่อ - วลิต สนธิรัตน์]]
[[ไฟล์:ขุนศึก (2519).jpg|thumb|ภาพยนตร์ขุนศึก ปี พ.ศ. 2519 สมบัติ เมทะนี - นัยนา ชีวานันท์]]
[[ไฟล์:ขุนศึก ช่อง 5.jpg|thumb|ละครขุนศึก ปี พ.ศ. 2520 พิศาล อัครเศรณี - ผุสดี พลางกูร]]
[[ไฟล์:ขุนศึก ช่อง 3.jpg|thumb|ละครขุนศึก ปี พ.ศ. 2523 โกวิท วัฒนกุล - นิภาพร นงนุช]]
[[ไฟล์:ขุนศึก พ.ศ. 2538.jpg|thumb|ละครขุนศึก ปี พ.ศ. 2538 ธนายง ว่องตระกูล - วิมลเรขา ศิริชัยราวรรณ]]
[[ไฟล์:ขุนศึก (2546).jpg|thumb|ภาพยนตร์ขุนศึก ปี พ.ศ. 2546 วรวิทย์ แก้วเพชร - สาวิณี ภู่การุณ]]
[[ไฟล์:ขุนศึก 2555.jpg|thumb|ละครขุนศึก ปี พ.ศ. 2555 อธิชาติ ชุมนานนท์ - เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์]]
ในช่วงปี พ.ศ. 2127 [[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] ซึ่งในตอนนั้นยังดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราชวังหน้า ยังไม่ได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ได้หลั่งอุทกธาราประกาศเอกราชให้ชาติไทยไม่ขึ้นต่อกรุงหงสาวดีอีกต่อไป ท่ามกลางเสียงโห่ร้องกึกก้องของกองทัพไทย และความดีใจของคนไทยที่ไม่ต้องเป็นเมืองขึ้นอีกต่อไป
ในช่วงปี พ.ศ. 2127 [[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] ซึ่งในตอนนั้นยังดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราชวังหน้า ยังไม่ได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ได้หลั่งอุทกธาราประกาศเอกราชให้ชาติไทยไม่ขึ้นต่อกรุงหงสาวดีอีกต่อไป ท่ามกลางเสียงโห่ร้องกึกก้องของกองทัพไทย และความดีใจของคนไทยที่ไม่ต้องเป็นเมืองขึ้นอีกต่อไป


บรรทัด 18: บรรทัด 27:


เสร็จศึก พระเจ้าเชียงใหม่พ่ายแพ้กลับไป เสมาได้กลับมาและเอาแหวนทองของเรไรมาคืน และตนจะพยายามก้าวหน้าเป็นใหญ่เป็นโตให้ได้ เพื่อที่เรไรจะได้ไม่น้อยหน้าใคร เรไรปลื้มใจที่เสมารักตน โดยหลังจากศึกครั้งนี้เสมาขึ้นเป็นหัวหมู่โดยมีสมบุญเป็นศิษย์เอกคอยฝึกหัด ทหาร แต่ขันได้ตำแหน่งเป็น พันฤทธิ์รณรบ และได้ย้ายสังกัดไปอยู่ที่ดีขึ้น แต่ขันก็ยังริษยาเสมาอยู่ตลอด เลยวางแผนจีบ จำเรียง น้องสาวของเสมา จำเรียงหลงขันมากและยิ่ง บุญเรือน แม่ของตนเห็นดีเห็นงามด้วย ขันก็ยิ่งได้ใจ กลั่นแกล้งเสมาตลอดแถมยังเอาเรื่องที่เสมาจีบเรไรไปนินทา จนเสมาเป็นตัวตลกเหมือนหมาวัดที่คิดหมายปองดอกฟ้า
เสร็จศึก พระเจ้าเชียงใหม่พ่ายแพ้กลับไป เสมาได้กลับมาและเอาแหวนทองของเรไรมาคืน และตนจะพยายามก้าวหน้าเป็นใหญ่เป็นโตให้ได้ เพื่อที่เรไรจะได้ไม่น้อยหน้าใคร เรไรปลื้มใจที่เสมารักตน โดยหลังจากศึกครั้งนี้เสมาขึ้นเป็นหัวหมู่โดยมีสมบุญเป็นศิษย์เอกคอยฝึกหัด ทหาร แต่ขันได้ตำแหน่งเป็น พันฤทธิ์รณรบ และได้ย้ายสังกัดไปอยู่ที่ดีขึ้น แต่ขันก็ยังริษยาเสมาอยู่ตลอด เลยวางแผนจีบ จำเรียง น้องสาวของเสมา จำเรียงหลงขันมากและยิ่ง บุญเรือน แม่ของตนเห็นดีเห็นงามด้วย ขันก็ยิ่งได้ใจ กลั่นแกล้งเสมาตลอดแถมยังเอาเรื่องที่เสมาจีบเรไรไปนินทา จนเสมาเป็นตัวตลกเหมือนหมาวัดที่คิดหมายปองดอกฟ้า
[[ไฟล์:ละคร ขุนศึก ช่องสี่บางขุนพรหม.jpg|thumb|ละครขุนศึก ปี พ.ศ. 2502 จากซ้ายไปขวา
กำธร สุวรรณปิยะศิริ - จำรูญ หนวดจิ๋ม - ไม่ทราบชื่อ - ทัต เอกทัต (ประวัติ ผิวเผือก)- สมจินต์ ธรรมทัต - ไม่ทราบชื่อ - วลิต สนธิรัตน์]]


[[ไฟล์:ขุนศึก อารีย์ นักดนตรี กำธรสุวรรณปิยะศิริ.jpg|thumb|ละครขุนศึก สถานีไทยโทรทัศน์ช่อง ๔ บางขุนพรหม - อารีย์ นักดนตรี กำธร สุวรรณปิยะศิริ]]
[[ไฟล์:ขุนศึก (2519).jpg|thumb|ภาพยนตร์ขุนศึก ปี พ.ศ. 2519 สมบัติ เมทะนี - นัยนา ชีวานันท์]]
[[ไฟล์:ขุนศึก ช่อง 5.jpg|thumb|ละครขุนศึก ปี พ.ศ. 2520 พิศาล อัครเศรณี - ผุสดี พลางกูร]]
[[ไฟล์:ขุนศึก ช่อง 3.jpg|thumb|ละครขุนศึก ปี พ.ศ. 2523 โกวิท วัฒนกุล - นิภาพร นงนุช]]
[[ไฟล์:ขุนศึก พ.ศ. 2538.jpg|thumb|ละครขุนศึก ปี พ.ศ. 2538 ธนายง ว่องตระกูล - วิมลเรขา ศิริชัยราวรรณ]]
[[ไฟล์:ขุนศึก (2546).jpg|thumb|ภาพยนตร์ขุนศึก ปี พ.ศ. 2546 วรวิทย์ แก้วเพชร - สาวิณี ภู่การุณ]]
[[ไฟล์:ขุนศึก 2555.jpg|thumb|ละครขุนศึก ปี พ.ศ. 2555 อธิชาติ ชุมนานนท์ - เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์]]
ศึกที่ 2 พระเจ้าหงสาวดีทรงกริ้วที่พระเจ้าเชียงใหม่รบแพ้ เลยให้รบแก้ตัว โดยครั้งนี้เป็นศึกใหญ่เพราะพระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพมานับแสน สมเด็จพระนเรศวรเลยรับสั่งให้เกณฑ์คนจากหัวเมืองเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยรับ ศึก เสมาเลยสมัครเข้าเป็นทหารหัวเมืองช่วยรบ จนมีความดีความชอบได้อภัยโทษเก่า และได้ตำแหน่งเป็น หมื่นศึกอาสา แถมได้เจอกับ สิน ซึ่งได้กลายเป็นลูกน้องคู่ใจอีกคน เสมากลับมาอย่างภาคภูมิใจ แต่ก็ได้รู้ว่าขันกลับไปจีบเรไรอีกครั้ง โดยทิ้งจำเรียงน้องสาวตน เพราะดูถูกที่ครอบครัวตนยากจน เสมาห่วงกลัวเรไรจะเปลี่ยนใจ เลยแอบลอบพบเรไร เสมาปลื้มใจที่รู้ว่าเรไรยังคงรักตนไม่เปลี่ยนแปลง เลยตั้งใจจะหาทางก้าวหน้าในราชการเพื่อยกฐานะให้เทียมหน้าเทียมตาเรไรให้ได้
ศึกที่ 2 พระเจ้าหงสาวดีทรงกริ้วที่พระเจ้าเชียงใหม่รบแพ้ เลยให้รบแก้ตัว โดยครั้งนี้เป็นศึกใหญ่เพราะพระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพมานับแสน สมเด็จพระนเรศวรเลยรับสั่งให้เกณฑ์คนจากหัวเมืองเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยรับ ศึก เสมาเลยสมัครเข้าเป็นทหารหัวเมืองช่วยรบ จนมีความดีความชอบได้อภัยโทษเก่า และได้ตำแหน่งเป็น หมื่นศึกอาสา แถมได้เจอกับ สิน ซึ่งได้กลายเป็นลูกน้องคู่ใจอีกคน เสมากลับมาอย่างภาคภูมิใจ แต่ก็ได้รู้ว่าขันกลับไปจีบเรไรอีกครั้ง โดยทิ้งจำเรียงน้องสาวตน เพราะดูถูกที่ครอบครัวตนยากจน เสมาห่วงกลัวเรไรจะเปลี่ยนใจ เลยแอบลอบพบเรไร เสมาปลื้มใจที่รู้ว่าเรไรยังคงรักตนไม่เปลี่ยนแปลง เลยตั้งใจจะหาทางก้าวหน้าในราชการเพื่อยกฐานะให้เทียมหน้าเทียมตาเรไรให้ได้


บรรทัด 69: บรรทัด 69:


== ละครเวที ==
== ละครเวที ==
'''ขุนศึก''' ได้เคยถูกสร้างเป็นละครเวทีมาแล้วถึง 3 คร้ง มีรายละเอียดดังนี้
'''ขุนศึก''' ได้เคยถูกสร้างเป็นละครเวทีมาแล้วถึง 3 ครั้ง ดังนี้


ครั้งแรก ในปี [[พ.ศ. 2489]] ได้สร้างเป็นละครเวทีแสดง ณ โรงละครศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ในราว [[พ.ศ. 2490]] ทางคณะนิยมไทยจึงได้นำมาจัดการแสดงขึ้นที่โรงภาพยนตร์นาครเขษม และครั้งที่ 3 คณะศิวารมย์ สร้างเป็นละครเวทีแสดงที่[[เฉลิมไทย|โรงภาพยนตร์เฉลิมไทย]] ในปี [[พ.ศ. 2494]]
ครั้งแรก ในปี [[พ.ศ. 2489]] ได้สร้างเป็นละครเวทีแสดง ณ โรงละครศรีอยุธยา
ครั้งที่ 2 ในราว [[พ.ศ. 2490]] ทางคณะนิยมไทยจึงได้นำมาจัดการแสดงขึ้นที่โรงภาพยนตร์นาครเขษม
ครั้งที่ 3 คณะศิวารมย์ สร้างเป็นละครเวทีแสดงที่[[เฉลิมไทย|โรงภาพยนตร์เฉลิมไทย]] ในปี [[พ.ศ. 2494]]


== ภาพยนตร์ ==
== ภาพยนตร์ ==
ภาพยนตร์เรื่อง '''ขุนศึก''' ฉบับ [[พ.ศ. 2519]] สร้างโดยบริษัท [[ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น]] กำกับภาพยนตร์โดย [[สักกะ จารุจินดา]] เขียนบทโดย [[สุภาว์ เทวกุล]] ออกแบบสร้างฉากโดย สุพจน์ จารุจินดา ลำดับภาพโดย ณรงค์ จารุจินดา นำแสดงโดย [[สมบัติ เมทะนี]], [[นัยนา ชีวานันท์]], [[มานพ อัศวเทพ]], [[ดวงใจ หทัยกาญจน์]], [[สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์]], [[ธัญญรัตน์ โลหนันท์]], [[จีระศักดิ ปิ่นสุวรรณ]], [[สายัณห์ จันทรวิบูลย์]], [[ดวงดาว จารุจินดา]] เข้าฉายวันที่ 11 กันยายน 2519 ได้รับ[[รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี|รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง]] ปี 2519 ได้รางวัล 3 สาขา และการประกวดภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิค ที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลี ปี 2519 ใน 2 สาขา
ฉบับ [[พ.ศ. 2519]] สร้างโดยบริษัท [[ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น]] กำกับภาพยนตร์โดย [[สักกะ จารุจินดา]] เขียนบทโดย [[สุภาว์ เทวกุล]] ออกแบบสร้างฉากโดย สุพจน์ จารุจินดา ลำดับภาพโดย ณรงค์ จารุจินดา นำแสดงโดย [[สมบัติ เมทะนี]], [[นัยนา ชีวานันท์]], [[มานพ อัศวเทพ]], [[ดวงใจ หทัยกาญจน์]], [[สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์]], [[ธัญญรัตน์ โลหนันท์]], [[จีระศักดิ ปิ่นสุวรรณ]], [[สายัณห์ จันทรวิบูลย์]], [[ดวงดาว จารุจินดา]] เข้าฉายวันที่ 11 กันยายน 2519 ได้รับ[[รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี|รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง]] ปี 2519 ได้รางวัล 3 สาขา และการประกวดภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิค ที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลี ปี 2519 ใน 2 สาขา


และฉบับ [[พ.ศ. 2546]] กำกับภาพยนตร์โดย [[ธนิตย์ จิตนุกูล]] นำแสดงโดย [[วรวิทย์ แก้วเพชร]], [[สาวิณี ภู่การุณ]], [[ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง]], [[จรัล งามดี]], [[ธิดารัตน์ จันทร์ดารา]], [[พิมทอง กลิ่มสมิทธิ์]], ภุมรินทร์ จันทร์จิต, แผลงฤทธิ์ แสงชา เข้าฉายวันที่ 17 ตุลาคม 2546<ref>[http://www.siamzone.com/movie/m/1394 ขุนศึก 2003]</ref>
ฉบับ [[พ.ศ. 2546]] กำกับภาพยนตร์โดย [[ธนิตย์ จิตนุกูล]] นำแสดงโดย [[วรวิทย์ แก้วเพชร]], [[สาวิณี ภู่การุณ]], [[ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง]], [[จรัล งามดี]], [[ธิดารัตน์ จันทร์ดารา]], [[พิมทอง กลิ่มสมิทธิ์]], ภุมรินทร์ จันทร์จิต, แผลงฤทธิ์ แสงชา เข้าฉายวันที่ 17 ตุลาคม 2546<ref>[http://www.siamzone.com/movie/m/1394 ขุนศึก 2003]</ref>


== ละครโทรทัศน์ ==
== ละครโทรทัศน์ ==
'''ขุนศึก''' ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์จำนวน 5 ครั้ง ดังนี้
'''ขุนศึก''' ยังถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์จำนวน 4 ครั้ง ครั้งแรกฉายทาง[[ช่อง 4 บางขุนพรหม]] กำกับการแสดงโดย ทัต เอกทัต ในปี [[พ.ศ. 2502]] จัดโดยคณะนาฏศิลป์สัมพันธ์ โดย สัมพันธ์ พันธ์มณี เขียนบทโดย [[สุมทุม บุญเกื้อ]] และ [[รพีพร]] แพร่ภาพครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2502 - กุมภาพันธ์ 2504 ความยาวทั้งสิ้น 16 ตอน โดยจัดแสดงเดือนละครั้งๆละ 2 ชั่วโมง จำนวนบทมีความยาวประมาณ 25 หน้าต่อ 1 ตอน เป็นละครที่ทำลายสถิติของช่อง 4 บางขุนพรหมทุกเรื่องที่ผ่านมาตลอด 3 ปี <ref>[http://www.manager.co.th/drama/ViewNews.aspx?NewsID=9550000059204 “เสมา” ตัวขาว ปากแดง - ขุนศึก 2012]</ref>

ครั้งแรก ฉายทาง[[ช่อง 4 บางขุนพรหม]] กำกับการแสดงโดย ทัต เอกทัต ในปี [[พ.ศ. 2502]] จัดโดยคณะนาฏศิลป์สัมพันธ์ โดย สัมพันธ์ พันธ์มณี เขียนบทโดย [[สุมทุม บุญเกื้อ]] และ [[รพีพร]] แพร่ภาพครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2502 - กุมภาพันธ์ 2504 ความยาวทั้งสิ้น 16 ตอน โดยจัดแสดงเดือนละครั้งๆละ 2 ชั่วโมง จำนวนบทมีความยาวประมาณ 25 หน้าต่อ 1 ตอน เป็นละครที่ทำลายสถิติของช่อง 4 บางขุนพรหมทุกเรื่องที่ผ่านมาตลอด 3 ปี<ref>[http://www.manager.co.th/drama/ViewNews.aspx?NewsID=9550000059204 “เสมา” ตัวขาว ปากแดง - ขุนศึก 2012]</ref>

ครั้งที่ 2 ฉายทาง[[ช่อง 5]] ในปี [[พ.ศ. 2520]] สร้างโดย [[รัชฟิล์ม ทีวี|รัชฟิล์ม]]

ครั้งที่ 3 ฉายทาง[[ช่อง 3]] ในปี [[พ.ศ. 2523]] ด้วยรูปแบบภาพยนตร์ โดย [[ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น]] กำกับการแสดงโดย สักกะ จารุจินดา<ref>[http://www.facebook.com/media/set/?set=a.365651676815029.86324.100001105997277&type=3 ภาพหนังและละคร ขุนศึก ในสมัยก่อน]</ref>

ครั้งที่ 4 ฉายทาง[[ช่อง 9]] [[พ.ศ. 2538]] สร้างโดย อัครมีเดีย จัดโดย กนกวรรณ ด่านอุดม กำกับการแสดง สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์


ครั้งที่ 2 ฉายทาง[[ช่อง 5]] ในปี [[พ.ศ. 2520]] สร้างโดย [[รัชฟิล์ม ทีวี|รัชฟิล์ม]] ครั้งที่ 3 ฉายทาง[[ช่อง 3]] ในปี [[พ.ศ. 2523]] ด้วยรูปแบบภาพยนตร์ โดย [[ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น]] กำกับการแสดงโดย สักกะ จารุจินดา <ref>[http://www.facebook.com/media/set/?set=a.365651676815029.86324.100001105997277&type=3 ภาพหนังและละคร ขุนศึก ในสมัยก่อน]</ref> ถือว่าโด่งดังเช่นเดียวกัน ครั้งที่ 4 ฉายทาง[[ช่อง 9]] ในปี [[พ.ศ. 2538]] สร้างโดย อัครมีเดีย จัดโดย กนกวรรณ ด่านอุดม กำกับการแสดง สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์ และครั้งล่าสุด ฉายทาง[[ช่อง 3]] ในปี [[พ.ศ. 2555]]<ref>[http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2010/01/A8767020/A8767020.html รายชื่อละคร ที่ขึ้นต้นด้วย ข ไข่]</ref> สร้างโดย [[ทีวีซีน]] กำกับการแสดงโดย [[อดุลย์ บุญบุตร]] ออกอากาศ 1 พฤษภาคม 2555 ถึง 25 มิถุนายน 2555 จำนวน 16 ตอน
ครั้งที่ 5 ฉายทาง[[ช่อง 3]] ในปี [[พ.ศ. 2555]] สร้างโดย [[ทีวีซีน]] กำกับการแสดงโดย [[อดุลย์ บุญบุตร]] ออกอากาศ 1 พฤษภาคม 2555 ถึง 25 มิถุนายน 2555 จำนวน 16 ตอน


== รายชื่อนักแสดงและการสร้าง ==
== รายชื่อนักแสดงและการสร้าง ==
บรรทัด 94: บรรทัด 106:
| ผู้กำกับ || [[ทัต เอกทัต]] || [[สักกะ จารุจินดา]] || [[สมจินต์ ธรรมทัต]] || [[สักกะ จารุจินดา]] || [[สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์]] || [[ธนิตย์ จิตนุกูล]] || อดุลย์ บุญบุตร
| ผู้กำกับ || [[ทัต เอกทัต]] || [[สักกะ จารุจินดา]] || [[สมจินต์ ธรรมทัต]] || [[สักกะ จารุจินดา]] || [[สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์]] || [[ธนิตย์ จิตนุกูล]] || อดุลย์ บุญบุตร
|-
|-
| เสมา || [[กำธร สุวรรณปิยะศิริ]] || [[สมบัติ เมทะนี]] || [[พิศาล อัครเศรณี]] || [[โกวิท วัฒนกุล]] || [[ธนายง ว่องตระกูล]] || [[วรวิทย์ แก้วเพชร]] || [[อธิชาติ ชุมนานนท์]]
| หมื่นศึกอาสา/ขุนศึกอาสา/หลวงโจมจาตุรงค์/ขุนแสนศึกพ่าย/จมื่นแสนศึกสะท้าน/พระยารามจัตตุรงค์/เสมา || [[กำธร สุวรรณปิยะศิริ]] || [[สมบัติ เมทะนี]] || [[พิศาล อัครเศรณี]] || [[โกวิท วัฒนกุล]] || [[ธนายง ว่องตระกูล]] || [[วรวิทย์ แก้วเพชร]] || [[อธิชาติ ชุมนานนท์]]
|-
|-
| แม่หญิงเรไร || [[อารีย์ นักดนตรี]] || [[นัยนา ชีวานันท์]] || ผุสดี พลางกูล || [[นิภาพร นงนุช]] || [[วิมลเรขา ศิริชัยราวรรณ]] || [[สาวิณี ภู่การุณ]] || [[เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์]]
| แม่หญิงเรไร || [[อารีย์ นักดนตรี]] || [[นัยนา ชีวานันท์]] || ผุสดี พลางกูล || [[นิภาพร นงนุช]] || [[วิมลเรขา ศิริชัยราวรรณ]] || [[สาวิณี ภู่การุณ]] || [[เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์]]
|-
|-
| หมู่ขัน || [[สมจินต์ ธรรมทัต]] || [[มานพ อัศวเทพ]] || [[วุฒิ คงคาเขต]] || [[สุเชาว์ พงษ์วิไล]] || [[พลรัตน์ รอดรักษา]] || [[ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง]] || [[วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์]]
| หมื่นชาญณรงค์/ขุนณรงค์วิชิต/หมู่ขัน || [[สมจินต์ ธรรมทัต]] || [[มานพ อัศวเทพ]] || [[วุฒิ คงคาเขต]] || [[สุเชาว์ พงษ์วิไล]] || [[พลรัตน์ รอดรักษา]] || [[ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง]] || [[วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์]]
|-
|-
| ดวงแข || นวละออ ทองเนื้อดี || [[ดวงใจ หทัยกาญจน์]] || สุกัญญา นาคสนธิ || หรรษา จริยาพร<br>พิมพ์ใจ พรหมมาลี || [[ปวีณา ชารีฟสกุล]] || [[ธิดารัตน์ จันทร์ดารา]] || [[พรชิตา ณ สงขลา]]
| ดวงแข || นวละออ ทองเนื้อดี || [[ดวงใจ หทัยกาญจน์]] || สุกัญญา นาคสนธิ || หรรษา จริยาพร<br>พิมพ์ใจ พรหมมาลี || [[ปวีณา ชารีฟสกุล]] || [[ธิดารัตน์ จันทร์ดารา]] || [[พรชิตา ณ สงขลา]]
บรรทัด 104: บรรทัด 116:
| จำเรียง || || [[ธัญญรัตน์ โลหะนันท์]] || ดิถีทิพ เกสะวัฒนะ || || [[วาสนา พลเยี่ยม]] || [[พิมทอง กลิ่มสมิทธิ์]] || [[ภัทรินทร์ เจียรสุข]]
| จำเรียง || || [[ธัญญรัตน์ โลหะนันท์]] || ดิถีทิพ เกสะวัฒนะ || || [[วาสนา พลเยี่ยม]] || [[พิมทอง กลิ่มสมิทธิ์]] || [[ภัทรินทร์ เจียรสุข]]
|-
|-
| ขุนรามเดชะ || [[ทัต เอกทัต]] || [[สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์]] || ตรัยเทพ เทวะผลิน || || [[สมบัติ เมทะนี]] || [[สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์]] || [[นิรุตติ์ ศิริจรรยา]]
| ขุนรามเดชะ/หลวงรามเดชะ/พระรามเดชะ/พระยาศรีพิชัยสงคราม/ขุนราม || [[ทัต เอกทัต]] || [[สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์]] || ตรัยเทพ เทวะผลิน || || [[สมบัติ เมทะนี]] || [[สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์]] || [[นิรุตติ์ ศิริจรรยา]]
|-
|-
| สมบุญ || [[ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา]] || [[สายัณห์ จันทรวิบูลย์]] || ชูศักดิ์ สุธีรธรรม || || [[วีระชัย หัตถโกวิท]] || [[แผลงฤทธิ์ แสงชา]] || [[เกียรติกมล ล่าทา]]
| หลวงวิสุทธิ์โยธามาศ/สมบุญ || [[ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา]] || [[สายัณห์ จันทรวิบูลย์]] || ชูศักดิ์ สุธีรธรรม || || [[วีระชัย หัตถโกวิท]] || [[แผลงฤทธิ์ แสงชา]] || [[เกียรติกมล ล่าทา]]
|-
|-
| หมู่สิน || [[จำรูญ หนวดจิ๋ม]] || [[จีระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ]] || [[รอง เค้ามูลคดี]] || || || ภุมรินทร์ จันทร์จิต || [[โกสินทร์ ราชกรม]]
| หลวงราชโยธาเทพ/หมู่สิน || [[จำรูญ หนวดจิ๋ม]] || [[จีระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ]] || [[รอง เค้ามูลคดี]] || || || ภุมรินทร์ จันทร์จิต || [[โกสินทร์ ราชกรม]]
|-
|-
| เอื้อยแตง || || [[ดวงดาว จารุจินดา]] || || ||[[สุธิตา เกตานนท์]]|| || [[มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล]]
| เอื้อยแตง || || [[ดวงดาว จารุจินดา]] || || ||[[สุธิตา เกตานนท์]]|| || [[มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล]]
|-
|-
| พันอิน || || || || || || || [[สรพงศ์ ชาตรี]]
| พันอินทราช/หลวงพิมานมงคลพั/พันอิน || || || || || || || [[สรพงศ์ ชาตรี]]
|-
|-
| พุฒ || || || || || || || [[วรรธนะ กัมทรทิพย์]]
| หมื่นทรงเดชะ/ขุนวิเศษสรไกร/พุฒ || || || || || || || [[วรรธนะ กัมทรทิพย์]]
|-
|-
| ศรีเมือง || || || || || || || [[อรุณณภา พาณิชจรูญ]]
| ศรีเมือง || || || || || || || [[อรุณณภา พาณิชจรูญ]]
บรรทัด 156: บรรทัด 168:
| อาจารย์บ่าย || || || || || || || [[พงศภัค อุบล]]
| อาจารย์บ่าย || || || || || || || [[พงศภัค อุบล]]
|-
|-
| ขุนจำนง || || || || || || || [[อติเทพ ชดช้อย]]
| ขุนจำนงรักษา || || || || || || || [[อติเทพ ชดช้อย]]
|-
|-
| พระเจ้าแปร || || || || || || || [[โชคชัย บุญวรเมธี]]
| พระเจ้าแปร || || || || || || || [[โชคชัย บุญวรเมธี]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:51, 8 ธันวาคม 2559

ขุนศึก ของ ไม้ เมืองเดิม

ขุนศึก เป็นผลงานประพันธ์เรื่องสุดท้ายของ ไม้ เมืองเดิม ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2482 ในนิตยสารเพลินจิตรายสัปดาห์ โดยใช้เวลาเพียงสองปีเศษในการสร้างสรรค์งานเขียนชิ้นนี้ก่อนเสียชีวิตในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2484 โดยตอนสุดท้ายในการเขียนของ ไม้ เมืองเดิม ลงตีพิมพ์เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2485 [1] ต่อมากิ่ง พึ่งบุญ ณ อยุธยา น้องชายของ ไม้ เมืองเดิม ได้เขียนเรื่องขุนศึกจนเสร็จสมบูรณ์ โดยใช้นามปากกา "สุมทุม บุญเกื้อ" ภายหลังได้มีการนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2502 และภาพยนตร์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2519[2] ต่อมามีการสร้างเป็นละครและภาพยนตร์อีกหลายครั้งสลับกันไป โดยการสร้างครั้งล่าสุดเป็นละครโทรทัศน์ ฉายทางช่อง 3 ใน พ.ศ. 2555

เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหลังกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชพร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้ยกทัพไปตีเมืองแกลงและได้ทรงหลั่งอุทกธาราประกาศตัดไมตรีกับพม่า เสมาลูกชายช่างตีเหล็กได้เป็นทหารสมกับความมุ่งมั่น แต่เกิดไปมีเรื่องกับหัวหมู่ จึงต้องหนีเตลิดเข้าป่าและได้พบกับทหารหลวงอีกกลุ่มหนึ่ง เสมาจึงอาสาร่วมรบตีทัพพม่าจนแตกกระเจิง เมื่อบ้านเมืองสงบลง เสมาจึงได้รับยศเป็นขุนแสนศึกพ่ายและได้แต่งงานกับแม่หญิงสมดังปรารถนา

เนื้อเรื่อง

ละครขุนศึก สถานีไทยโทรทัศน์ช่อง ๔ บางขุนพรหม - อารีย์ นักดนตรี กำธร สุวรรณปิยะศิริ
ละครขุนศึก ปี พ.ศ. 2502 จากซ้ายไปขวา กำธร สุวรรณปิยะศิริ - จำรูญ หนวดจิ๋ม - ไม่ทราบชื่อ - ทัต เอกทัต (ประวัติ ผิวเผือก)- สมจินต์ ธรรมทัต - ไม่ทราบชื่อ - วลิต สนธิรัตน์
ภาพยนตร์ขุนศึก ปี พ.ศ. 2519 สมบัติ เมทะนี - นัยนา ชีวานันท์
ละครขุนศึก ปี พ.ศ. 2520 พิศาล อัครเศรณี - ผุสดี พลางกูร
ละครขุนศึก ปี พ.ศ. 2523 โกวิท วัฒนกุล - นิภาพร นงนุช
ไฟล์:ขุนศึก พ.ศ. 2538.jpg
ละครขุนศึก ปี พ.ศ. 2538 ธนายง ว่องตระกูล - วิมลเรขา ศิริชัยราวรรณ
ภาพยนตร์ขุนศึก ปี พ.ศ. 2546 วรวิทย์ แก้วเพชร - สาวิณี ภู่การุณ
ละครขุนศึก ปี พ.ศ. 2555 อธิชาติ ชุมนานนท์ - เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์

ในช่วงปี พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งในตอนนั้นยังดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราชวังหน้า ยังไม่ได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ได้หลั่งอุทกธาราประกาศเอกราชให้ชาติไทยไม่ขึ้นต่อกรุงหงสาวดีอีกต่อไป ท่ามกลางเสียงโห่ร้องกึกก้องของกองทัพไทย และความดีใจของคนไทยที่ไม่ต้องเป็นเมืองขึ้นอีกต่อไป

เสมา ลูกชาย มั่น ช่างตีเหล็ก ซึ่งปรารถนาจะใช้วิชาความรู้ในเชิงรบที่ได้ร่ำเรียนมารักษาแผ่นดินเกิดไว้ มั่นเห็นลูกชายมีความตั้งใจจริง และฝีมือในเชิงรบโดยเฉพาะดาบสองมือก็ไม่เป็นสองรองใคร มั่นจึงพาเสมาไปฝากตัวเป็นลูกบุญธรรมของ พันอินทราช เพื่อนสนิทของมั่น พันอินเห็นเสมามีหน่วยก้านดี และเป็นศิษย์เอกของ พระครูขุน ภิกษุแห่งวัดพุทไธสวรรย์ ซึ่งเป็นอดีตแม่ทัพกองอาทมาตที่มีชื่อเสียงเลื่องลือ เลยพาเสมาไปฝากกับ ขุนรามเดชะ เพื่อนและเจ้านายของพันอิน ซึ่งมีหน้าที่รับและฝึกสอนทหารใหม่

ขุนรามต้องการทดสอบฝีมือเสมา เลยให้ประลองดาบสองมือกับ ขัน หัวหน้าที่ฝีมือดีที่สุดแต่ขันประมาทเลยแพ้จึงทำให้ขันเจ็บใจว่าตนสู้เสมา ไม่ได้ ขันเลยอิจฉาเสมา แต่เหตุการณ์ครั้งนี้เอง ทำให้เสมาได้เจอกับ เรไร ลูกสาวคนสวยของขุนราม ซึ่งเป็นนางข้าหลวงอยู่ในวังแต่กลับมาเยี่ยม ลำภู มารดาที่ไม่สบายพอดี เสมาหลงรักเรไรตั้งแต่แรกพบ เช่นเดียวกับที่เรไรก็แอบชอบเสมาเช่นกัน

จนวันที่เสมาได้รับเครื่องแบบทหาร ทั้งคู่จึงได้เจอกันอีกครั้ง ในขณะที่เรไรกำลังเก็บดอกจำปีอยู่เสมาเก็บได้ เสมาขอดอกจำปีดอกนั้นเอาไว้เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจของตน ซึ่งขันได้เข้ามาเห็นพอดี เลยรู้ว่าเรไรผู้หญิงที่ตนแอบชอบอยู่มีใจให้เสมา ทำให้ยิ่งริษยาเสมาหนักขึ้น แต่ สมบุญ ทาสของขุนรามซึ่งนับถือเสมาตั้งแต่วันที่ทดสอบดาบกับขัน ได้เอาแผนการของขันมาบอกเสมา เสมาโมโหเลยไปท้าดวลดาบกับขัน ขุนรามกลับมาเห็นเข้าเลยไม่พอใจ เพราะการกระทำของเสมาเหมือนกับการกระด้างกระเดื่องกับผู้บังคับบัญชา ขุนรามเลยสั่งจำคุกเสมาเอาไว้เพื่อเป็นการสั่งสอน เรไรสงสารเสมาเลยแอบมาเยี่ยม เสมาดีใจที่เรไรมีใจให้ตน เรไรบอกเสมาให้ขยันหมั่นเพียรสร้างเนื้อสร้างตัว ภายภาคหน้าจะได้มียศถาบรรดาศักดิ์ไม่น้อยหน้าคนอื่น เสมารับปากและมีเรไรเป็นกำลังใจตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา พอครบกำหนดโทษออกมา ก็เกิดศึกพระเจ้าเชียงใหม่ทัพมา ทำให้เสมาได้เข้าสู่สมรภูมิการรบเป็นครั้งแรก พอถึงเวลาไปศึก เรไรเป็นห่วงเสมากลัวจะเป็นอันตราย เลยถอดแหวนทองของตนมอบให้เสมาเพื่อเป็นกำลังใจ เสมาดีใจมากและสัญญาว่าจะเอาแหวนวงนี้กลับมา คืนให้เรไรให้ได้

ศึกที่ 1 พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงได้ให้พระเจ้าเชียงใหม่ กับ พระยาพสิม ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวร กับ สมเด็จพระเอกาทศรถ ได้ยกกองทัพเข้าต่อสู้ โดยเสมา ขัน สมบุญ ขุนราม อยู่ในกองทัพของ พระราชมนู แม่ทัพของสมเด็จพระนเรศวร เสมากับขันได้ท้าทายกัน ว่าใครจะตัดหัวขุนศึกฝ่ายตรงข้ามได้มากกว่ากัน ขันแกล้งไม่ยกทัพเข้าช่วยเสมา ทำให้เสมาต้องถูกคู่ต่อสู้รุมตี แต่เสมาก็เอาตัวรอดพาทหารหักฝ่ามาได้ ในขณะที่ขันไปเจอกองทัพใหญ่ของคู่ต่อสู้ เลยถูกตีจนเกือบตาย เสมาพาทหารบุกเข้าไปช่วยขันกับลูกน้องออกมาได้ แถมยังตัดหัวขุนพลของข้าศึกได้อีกต่างหาก แต่เสมาไม่รู้ว่า ที่ต้องเอาผ้าโพกหัวของข้าศึกไปเป็นหลักฐานยืนยันความดีความชอบ ขันเลยเอาผ้าโพกหัวของขุนพลพม่ากลับไปรับความดีความชอบแทน

เสร็จศึก พระเจ้าเชียงใหม่พ่ายแพ้กลับไป เสมาได้กลับมาและเอาแหวนทองของเรไรมาคืน และตนจะพยายามก้าวหน้าเป็นใหญ่เป็นโตให้ได้ เพื่อที่เรไรจะได้ไม่น้อยหน้าใคร เรไรปลื้มใจที่เสมารักตน โดยหลังจากศึกครั้งนี้เสมาขึ้นเป็นหัวหมู่โดยมีสมบุญเป็นศิษย์เอกคอยฝึกหัด ทหาร แต่ขันได้ตำแหน่งเป็น พันฤทธิ์รณรบ และได้ย้ายสังกัดไปอยู่ที่ดีขึ้น แต่ขันก็ยังริษยาเสมาอยู่ตลอด เลยวางแผนจีบ จำเรียง น้องสาวของเสมา จำเรียงหลงขันมากและยิ่ง บุญเรือน แม่ของตนเห็นดีเห็นงามด้วย ขันก็ยิ่งได้ใจ กลั่นแกล้งเสมาตลอดแถมยังเอาเรื่องที่เสมาจีบเรไรไปนินทา จนเสมาเป็นตัวตลกเหมือนหมาวัดที่คิดหมายปองดอกฟ้า

ศึกที่ 2 พระเจ้าหงสาวดีทรงกริ้วที่พระเจ้าเชียงใหม่รบแพ้ เลยให้รบแก้ตัว โดยครั้งนี้เป็นศึกใหญ่เพราะพระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพมานับแสน สมเด็จพระนเรศวรเลยรับสั่งให้เกณฑ์คนจากหัวเมืองเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยรับ ศึก เสมาเลยสมัครเข้าเป็นทหารหัวเมืองช่วยรบ จนมีความดีความชอบได้อภัยโทษเก่า และได้ตำแหน่งเป็น หมื่นศึกอาสา แถมได้เจอกับ สิน ซึ่งได้กลายเป็นลูกน้องคู่ใจอีกคน เสมากลับมาอย่างภาคภูมิใจ แต่ก็ได้รู้ว่าขันกลับไปจีบเรไรอีกครั้ง โดยทิ้งจำเรียงน้องสาวตน เพราะดูถูกที่ครอบครัวตนยากจน เสมาห่วงกลัวเรไรจะเปลี่ยนใจ เลยแอบลอบพบเรไร เสมาปลื้มใจที่รู้ว่าเรไรยังคงรักตนไม่เปลี่ยนแปลง เลยตั้งใจจะหาทางก้าวหน้าในราชการเพื่อยกฐานะให้เทียมหน้าเทียมตาเรไรให้ได้

แต่เรื่องนี้รู้เข้าถึงหูขุนราม ทำให้ขุนรามไม่พอใจแถมยังได้ลูกยุจากขัน พุฒ อีกขุนรามเลยยิ่งรังเกียจเสมาและกลัวว่าถ้าเสมาเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมาแล้วจะ ล้างแค้นตน เสมามีแต่ตำแหน่งอย่างเดียว และจะได้เงินก็ต่อเมื่อออกรบเท่านั้น (ประมาณทหารรับจ้าง) ขุนรามชอบขันเพราะบ้านขันร่ำรวยมาก แถมขัน พุฒ ยังช่วยกันประจบทั้งขุนราม เสมาเลยต้องไปตีเหล็กหาเงินใช้ ทำให้ได้เจอกับ เอื้อยแตงเพื่อนสมัยเด็ก ทั้งคู่สนิทกันมาก แถมเอื้อยแตง ยังแอบชอบเสมา เลยมีคนเอาไปนินทา ทำให้ เรไรเข้าใจผิดคิดว่าเสมานอกใจ จนทั้งคู่ทะเลาะกัน ในขณะที่พุฒเห็นบัวเผื่อน ก็เลยจีบเพื่อหวังจะใช้บัวเผื่อนเป็นเครื่องมือในการยุแยงเรไรให้โกรธกับ เสมา

เสมาตามมา ง้อเรไรที่บ้าน แต่บัวเผื่อนแอบเห็นเข้าเลยฟ้องขุนราม ขุนรามโกรธมากเลยไล่เสมาออกจากบ้านแล้วจับเรไรล่ามโซ่ขังไว้เป็นการลงโทษ (สมัยก่อน ถ้าผู้หญิงผู้ชายทำผิดประเพณีถือเป็นเรื่องร้ายแรง แม้ว่าจะไม่มีอะไรเสียหายก็ตาม) เสมาเสียใจกับเรื่องที่เกิดขึ้นมาก แต่เกิดศึกใหญ่เข้ามาประชิดพระนครซะก่อน เรื่องวุ่นวายทั้งหมดเลยต้องพักเอาไว้ก่อน

ศึกที่ 3 พระเจ้าหงสาวดีทรงพิโรธมากที่รบแพ้ไทยถึงสองครั้ง เลยกรีธาทัพใหญ่เป็นทัพกษัตริย์ มีรี้พลถึงห้าแสนมาบุกเข้าตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรเห็นเป็นศึกใหญ่มาก สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้ส่งทัพออกตีค่ายทุกวัน โดยรบแบบกองโจร โดยออกรบปล้นค่ายด้วยพระองค์เองแม้จะถูกอาวุธบาดเจ็บหลายครั้งก็ไม่ทรงหวาด เกรง ทำให้ทัพไทยมีขวัญดีเยี่ยม เสมาเองก็เข้าตีค่ายหลายครั้งจนมีความดีความชอบมากมาย จนในที่สุดทัพหงสาวดีก็ต้องแตกพ่ายไป

เสมาได้เลื่อนยศเป็น ขุนศึกอาสา แต่ยังคงไม่มีเงินเหมือนเดิม แถมยังโดนขันกลั่นแกล้ง จนครอบครัวตนต้องติดหนี้ และถูกบีบเอาจำเรียงไปเป็นทาส เสมาเจ็บใจมาก พยายามหาเงินมาใช้หนี้ก็ยังได้เงินไม่มากนัก ในขณะที่เรไรได้รับการปล่อยตัวออกมา พ่อแม่ของเรไรเลยยิ่งอยากจะยกเรไรให้ขันมากขึ้น แต่เรไรไม่ยอมเพราะตนรักเสมา ขุนรามโกรธลูกมาก ลำภูเองก็กลุ้มใจจนไม่สบาย เรไรเลยยิ่งรู้สึกผิดเหมือนตนเป็นลูกอกกตัญญู เสมารู้ข่าว เรไรเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง ขุนรามจับได้ว่าเสมาลอบมาพบเรไร เลยกะเกณฑ์คนจะทำร้ายเสมา เรไรไม่อยากให้พ่อกับชายคนรักต้องสู้กัน เลยขอร้องพ่อและรับปากว่าจะทำตามที่พ่อสั่งทุกอย่าง เพื่อไม่ให้มีเรื่องกัน ขันฉวยโอกาสช่วงนี้จะขอหมั้นเรไรไว้ แต่พอเสมารู้ข่าวก็แอบทำลายพิธีหมั้นด้วยการเผาเรือนขุนรามจนเสียฤกษ์ แต่ขันเจ็บใจมากที่ไม่ได้หมั้นและยังโดนหักหน้า เลยวางแผนจะรวบหัวรวบหางจำเรียงเป็นเมียน้อยเพื่อแก้แค้นเสมา

เสมารู้ข่าวเข้าเลยแอบขึ้นเรือนขันตอนกลางคืนเพื่อช่วยจำเรียงออกมา แต่จังหวะชุลมุน เสมาเลยหลงเข้าห้อง ดวงแข น้องสาวคนสวยของขัน เสมาเจ็บใจขันเลยแกล้งลวนลามดวงแขเพื่อแก้แค้น ทำให้ดวงแขทั้งรักทั้งเสมาตั้งแต่บัดนั้น

ศึกที่ 4 พระมหาธรรมราชา พระราชบิดาของสมเด็จพระนเรศวรเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรเลย ขึ้นครองราชย์ โดยให้สมเด็จพระเอกาทศรถขึ้นเป็นพระมหาอุปราชวังหน้า พระเจ้าหงสาวดีเห็นไทยกำลังผลัดแผ่นดิน เลยรับสั่งให้พระมหาอุปราชายกทัพใหญ่มาตีไทยอีกครั้ง และในการรบครั้งนี้เอง สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้หลงเข้าไปในกองทัพพม่า จนเกิดการยุทธหัตถี ขึ้น สมเด็จพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ ทำให้กองทัพไทยได้รับชัยชนะอย่างงดงาม รวมทั้งเสมาที่ได้ตามช้างของสมเด็จพระนเรศรวรด้วย จนได้ความดีความชอบเป็น หลวงโจมจัตุรงค์

ขุนรามกลับจากศึก โดยได้รับความช่วยเหลือจากขัน พุฒ ทำให้รอดชีวิตมาได้ เลยยิ่งไว้ใจ ขัน พุฒมากขึ้น ไม่ว่าทั้งคู่จะพูดอะไรก็เชื่อตลอด โดยขันใส่ร้ายเสมาว่าการที่พวกตนต้องโดนโทษ น่าจะเป็นเพราะเสมาไปเป่าหูขุนนางผู้ใหญ่เพื่อล้างแค้น ขุนรามเลยผูกใจเจ็บ เอาเรื่องนี้มาเล่าให้ลูกเมียฟัง เรไรกำลังหึงหวงเสมาก็เลยพลอยเชื่อไปด้วย จนถึงกับยอมรับปากจะหมั้นและแต่งงานกับขันแต่โดยดี ทำให้เสมาเสียใจสุด ๆ เสมาลอบมาพบเรไรและทะเลาะกันรุนแรง ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เสมาเสียสมาธิจนทำการรบผิดพลาดเกือบเอาชีวิตไม่ รอด

ศึกที่ 5 สมเด็จพระนเรศวรทรงแค้นเคืองเมืองละแวกที่ชอบทำร้ายไทยลับหลังเลยให้พระราช มนูยกทัพ ไปตีเมืองละแวก โดยมีเสมาเป็นรองแม่ทัพแต่เพราะเรื่องเรไร เสมาเลยเสียสมาธิ ไม่รอบคอบ และทำให้ทัพไทยพ่ายแพ้ สมเด็จพระนเรศวรพิโรธมาก สั่งประหารพระราชมนูและเสมา แต่สมเด็จพระเอกาทศรถทูลขอไว้พระราชมนูเลยได้ไปตีเมืองปัตบอง (พระตะบอง) และเมืองโพธิสัตว์เป็นการแก้ตัว ส่วนเสมาโดนถอดยศริบทรัพย์และส่งไปเป็น ตะพุ่นหญ้าช้าง ชีวิตตกต่ำสุด ๆ แถมเรไรยังหมั้นกับขันซึ่งตอนนี้ได้ยศเป็น หมื่นชาญณรงค์ พุฒเป็น หมื่นทรงเดชะ ขุนรามเป็น หลวงรามเดชะ รุ่งเรืองขึ้นกว่าเดิม

เสมามางานหมั้นด้วยใจที่เจ็บปวด และเอาพานใส่ดอกจำปีมาให้เป็นของขวัญ เรไรเห็นดอกจำปี ก็รำลึกความหลัง จนร้องไห้เสียใจ แต่ต้องหักใจ เสมากลับไปเกี่ยวหญ้าให้ช้างกินตามหน้าที่ต่อไป แต่เพราะเรื่องนี้เอง ทำให้เสมาเจอคนมากขึ้นจนเข้าใจระเบียบการรับราชการ เลยรู้ว่าที่ตน ไม่มีเงินซักทีเพราะขุนรามกลั่นแกล้งนี่เองแถมเรื่องที่เสมาเที่ยวไปเจ้าชู้ ก็ยังเป็นที่โจษจันไปทั่ว เพราะขัน พุฒ เที่ยวไปใส่ไฟ จนไม่มีใครรับเสมาเข้ากรมกองจนกระทั่งเสมาได้พบกับ พันจิตรเสน่หา นายทหารรับใช้ประจำวังจันทร์เกษมของสมเด็จพระเอกกาทศรถ เสมาเลยรู้ว่าจะมีการประลองหน้าพระที่นั่งเพื่อคัดคนเข้าเป็นทหารประจำวัง เสมาเลยเข้าประลองด้วย โดยได้สู้กับ ขุนจำนงรักษา ยอดฝีมือเพลงทวนประจำวัง แต่เสมาก็ใช้เพลงทวนเอาชนะ ขุนจำนงได้ จนมีโอกาสร่วมทัพไปต่อสู้เพื่อไถ่โทษ

ศึกที่ 6 หลังจากพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ หัวเมืองต่าง ๆ ที่เคยขึ้นกับหงสาวดีก็กระด้างกระเดื่องเพราะเห็นว่าหงสาวดีไม่มีน้ำยาแล้ว ไม่สามารถเอาชนะไทยได้ ทำให้พระเจ้าหงสาวดีต้องส่งทัพไปปราบปรามจนขาดแคลนคน จึงรับสั่งให้ พระเจ้าแปร ไปกะเกณฑ์ผู้คนตามหัวเมืองมาเป็นกำลัง พระเจ้าแปรไปจัดการตามรับสั่ง แต่เกิดรบกับทัพไทยที่เฝ้ารักษาชายแดนและเอาชนะได้อย่างง่ายดาย จนฮึกเหิมยกทัพบุกเข้ามามากขึ้น ทำให้สมเด็จพระนเรศวรต้องทรงออกรบ

ใน ขณะที่สองทัพประจันหน้ากัน สมิงมะตะเบิด ทหารเอกพระเจ้าแปรได้ออกมาท้ารบทหารกรุงศรีฯ แต่ทัพอยุธยาไม่มีใครสามารถสู้สมิงมะตะเบิดได้ซักคน เสมาเลยออกรบ ทั้งรบบนหลังม้าด้วยเพลงทวน และลงมารบพื้นราบด้วยดาบสองมือ จนสามารถตัดคอสมิงมะตะเบิดได้สำเร็จ ทำให้กองทัพไทยมีกำลังขวัญ บุกตะลุยทัพแปรจนแตกพ่ายไป เสมามีความดีความชอบมาก ได้พ้นโทษและได้ยศเป็น ขุนแสนศึกพ่าย รับใช้สมเด็จพระเอกาทศรถ ทำให้เสมามั่งมีร่ำรวยขึ้นมากจนใช้หนี้ขันได้หมด ในขณะที่พวกขันเริ่มแตกคอกัน เพราะพุฒซึ่งหลงรักดวงแขอยู่ แต่ดวงแขไม่เล่นด้วย ทำให้พุฒผูกใจเจ็บหาว่าขันไม่ยอมช่วยเหลือ ส่วนขันก็เร่งรัดจะแต่งงานกับเรไร แต่ก็เกิดเหตุ ขุนรามป่วยจนเลื่อนไป ทำให้ขันเริ่มระแวงว่าขุนรามเดชะจะไม่อยากได้ตนเป็นเขยเพราะเห็นเสมาร่ำรวย ขึ้น จนทั้งสามคนเริ่มมึนตึงใส่กัน

ในขณะที่เรไรรู้เรื่องจากบัวเผื่อนและพันอินว่าเข้าใจเสมาผิดไป และในการรบครั้งล่าสุด เสมายังช่วยชีวิตพ่อของตนด้วย แต่ขุนราม มีทิฐิเลยไม่ยอมเล่าเรื่องนี้ให้ใครฟัง เรไรเลยปรับความเข้าใจกับเสมาได้สำเร็จ แต่เมื่อพ่อแม่รับปากขันแล้ว ตนก็เลยไม่สามารถถอนหมั้นขันได้ เสมาเองก็เข้าใจเลยได้แต่บอกตัวเองว่าตนกับเรไรคงสิ้นวาสนากันแต่เพียงเท่า นี้ และพยายามหักใจจากเรไร

ศึกที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรต้องการแก้แค้นเมืองละแวก เลยรับสั่งให้พระราชมนูกับเสมาที่เคยพ่ายศึกเมืองละแวก ทำการยกไปตีแก้ตัว ทั้งคู่สามารถตีเมืองละแวกและจับตัวพระยาละแวกมาถวายสมเด็จพระนเรศวรได้ สำเร็จ ทำให้พระราชมนูก็เป็นเจ้าพระยามหาเสนาบดี สมุหพระกลาโหมคุมอำนาจสูงสุดในหัวเมืองฝ่ายเหนือ แต่ยังไม่ทันที่จะยกทัพกลับ ก็เกิดศึกขึ้นที่เมืองตะนาวศรีตามมาทันที

ศึกที่ 8 พระยาศรีไสยณรงค์ที่ถูกส่งไปปกครองเมืองตะนาวศรีเป็นกบฏขึ้น สมเด็จพระเอกาทศรถเลย ยกทัพไปปราบโดยมีเสมาเป็นทัพหน้า เสมาเลยได้เลื่อนเป็น จมื่นแสนศึกสะท้าน องครักษ์ประจำพระองค์ ทำให้ชีวิตของเสมาดีกว่าเดิมมาก แถมสังกัดสมเด็จพระเอกาทศรถโดยตรง ไม่ต้องมีมูลนายอื่นทำให้มีศักดินามากมายกว่าขุนราม ซึ่งตอนนี้เป็น พระรามเดชะ และมีเงินมากกว่าขันที่เป็น ขุนณรงค์วิชิต หรือพุฒที่เป็น ขุนวิเศษสรไกร

ต่อมา ขันได้เลื่อนเป็น หลวงณรงค์วิชิต พุฒเป็น หลวงวิเศษสรไกร ทำให้ทั้งคู่หลงตัวเอง ไม่ยำเกรงขุนรามเหมือนแต่ก่อน ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสามคนเลวร้ายลงไปอีก ต่างกับเสมาที่รอบคอบสุขุม ไม่บุ่มบ่ามเถียงคำไม่ตกฟากเหมือนเมื่อก่อน ทำให้ก้าวหน้าในหน้าที่การงานเป็นอย่างดี

ศึกที่ 9 สมเด็จพระนเรศวรมีพระราชดำริจะตีกรุงหงสาวดีคืนบ้าง เพราะตอนนี้กรุงหงสาวดี ไม่เป็นปึกแผ่น แตกแยกกันไปหมด เลยจะยกทัพบุกกรุงหงสาวดีเพื่อเป็นพระเกียรติยศ พระเจ้าตองอูได้ข่าว เลยแกล้งทำเป็นสวามิภักดิ์อยุธยา แล้วเข้าไปจับตัวพระเจ้า หงสาวดีมาที่ตองอูรวมทั้งขนสมบัติ ไพร่พลราษฎรมากมายมาด้วย แล้วเผาหงสาวดีจนราบเป็นหน้ากลอง กว่าสมเด็จพระนเรศวรจะเสด็จไปถึงก็ไม่เหลืออะไรแล้ว ทำให้สมเด็จพระนเรศวรทรงพิโรธมาก เพราะตั้งใจจะทำศึกเพื่อเป็นพระเกียรติยศสืบไป แต่พระเจ้าตองอูกลับใช้อุบายหลอกพระองค์แล้วยังเผาเมืองทิ้งอีก

สมเด็จพระนเรศวรเลยสั่งทัพไปบุกตองอูแทน ประกอบกับ ทัพไทยไม่ได้เตรียมเสบียงมาเผื่อตีตองอู เสบียงเลยขัดสนทำให้เสียหายหนักจนต้องยกทัพกลับ และศึกครั้งนี้เอง ที่ขัน พุฒ ทำงานผิดพลาดจนถูกลงโทษให้ออกจากราชการ ตรงข้ามกับเสมาที่ได้ขึ้นเป็น พระยามหาสงคราม ขันได้ก่อเรื่องอีกหลายอย่างแถมยังทำร้ายพี่ชายของขุนรามเดชะเพราะความโกรธ ด้วย ขุนรามเลยถอนหมั้นขันกับเรไรซะ เสมาเลยได้โอกาสทูลขอเรไรจากสมเด็จพระเอกาทศรถ ทั้งคู่จึงได้แต่งงานกันสมกับที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคร่วมกันมานาน

หลังจากแต่งงานไม่นาน พันอินทราชซึ่งตอนนี้เป็น หลวงพิมานมงคล ได้เสียชีวิตลงและฝากฝังให้เสมาดูแลศรีเมืองแทนตนด้วย เรไรเลยอนุญาตให้เสมารับศรีเมืองไว้เป็นภรรยาน้อยได้ ส่วนขันกับพุฒก็ทะเลาะกันรุนแรง เพราะพุฒใช้เส้นน้าชายไปสังกัดกรมกองใหม่โดยไม่บอกขัน แม่ของขันทนสงสารลูกไม่ได้ เลยไปขอให้เสมาช่วย เสมาลืมเรื่องเก่า ๆ ทำให้ขันซึ้งใจ ยอมรับผิดและทั้งคู่ก็กลายเป็นเพื่อนกัน

ผ่านมาอีกไม่กี่ปี สมเด็จพระนเรศวรเสด็จสวรรคต ทำให้สมเด็จพระเอกาทศรถขึ้นครองราชย์ เสมา ได้เลื่อนเป็น พระยารามจัตุรงค์ มีชีวิตความเป็นอยู่รุ่งเรืองสุขสบายอยู่หลายปี จนสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคต เสมาจึงต้องออกจากราชการเพราะ เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ กษัตริย์พระองค์ใหม่ไม่โปรด แต่ถึงอย่างงั้น เสมาก็ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง จนซึ้งถึงความไม่แน่นอนของชีวิต และรู้ว่าคนเราในขณะที่มี ชีวิตอยู่ ควรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด โดยมีความกตัญญูกตเวทีเป็นที่ตั้งของชีวิต

ละครเวที

ขุนศึก ได้เคยถูกสร้างเป็นละครเวทีมาแล้วถึง 3 ครั้ง ดังนี้

ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2489 ได้สร้างเป็นละครเวทีแสดง ณ โรงละครศรีอยุธยา

ครั้งที่ 2 ในราว พ.ศ. 2490 ทางคณะนิยมไทยจึงได้นำมาจัดการแสดงขึ้นที่โรงภาพยนตร์นาครเขษม

ครั้งที่ 3 คณะศิวารมย์ สร้างเป็นละครเวทีแสดงที่โรงภาพยนตร์เฉลิมไทย ในปี พ.ศ. 2494

ภาพยนตร์

ฉบับ พ.ศ. 2519 สร้างโดยบริษัท ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น กำกับภาพยนตร์โดย สักกะ จารุจินดา เขียนบทโดย สุภาว์ เทวกุล ออกแบบสร้างฉากโดย สุพจน์ จารุจินดา ลำดับภาพโดย ณรงค์ จารุจินดา นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, นัยนา ชีวานันท์, มานพ อัศวเทพ, ดวงใจ หทัยกาญจน์, สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์, ธัญญรัตน์ โลหนันท์, จีระศักดิ ปิ่นสุวรรณ, สายัณห์ จันทรวิบูลย์, ดวงดาว จารุจินดา เข้าฉายวันที่ 11 กันยายน 2519 ได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง ปี 2519 ได้รางวัล 3 สาขา และการประกวดภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิค ที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลี ปี 2519 ใน 2 สาขา

ฉบับ พ.ศ. 2546 กำกับภาพยนตร์โดย ธนิตย์ จิตนุกูล นำแสดงโดย วรวิทย์ แก้วเพชร, สาวิณี ภู่การุณ, ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง, จรัล งามดี, ธิดารัตน์ จันทร์ดารา, พิมทอง กลิ่มสมิทธิ์, ภุมรินทร์ จันทร์จิต, แผลงฤทธิ์ แสงชา เข้าฉายวันที่ 17 ตุลาคม 2546[3]

ละครโทรทัศน์

ขุนศึก ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์จำนวน 5 ครั้ง ดังนี้

ครั้งแรก ฉายทางช่อง 4 บางขุนพรหม กำกับการแสดงโดย ทัต เอกทัต ในปี พ.ศ. 2502 จัดโดยคณะนาฏศิลป์สัมพันธ์ โดย สัมพันธ์ พันธ์มณี เขียนบทโดย สุมทุม บุญเกื้อ และ รพีพร แพร่ภาพครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2502 - กุมภาพันธ์ 2504 ความยาวทั้งสิ้น 16 ตอน โดยจัดแสดงเดือนละครั้งๆละ 2 ชั่วโมง จำนวนบทมีความยาวประมาณ 25 หน้าต่อ 1 ตอน เป็นละครที่ทำลายสถิติของช่อง 4 บางขุนพรหมทุกเรื่องที่ผ่านมาตลอด 3 ปี[4]

ครั้งที่ 2 ฉายทางช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2520 สร้างโดย รัชฟิล์ม

ครั้งที่ 3 ฉายทางช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2523 ด้วยรูปแบบภาพยนตร์ โดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น กำกับการแสดงโดย สักกะ จารุจินดา[5]

ครั้งที่ 4 ฉายทางช่อง 9 พ.ศ. 2538 สร้างโดย อัครมีเดีย จัดโดย กนกวรรณ ด่านอุดม กำกับการแสดง สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์

ครั้งที่ 5 ฉายทางช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2555 สร้างโดย ทีวีซีน กำกับการแสดงโดย อดุลย์ บุญบุตร ออกอากาศ 1 พฤษภาคม 2555 ถึง 25 มิถุนายน 2555 จำนวน 16 ตอน

รายชื่อนักแสดงและการสร้าง

ปี พ.ศ. 2502 พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2523 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2555
รูปแบบ ละครแสดงสด ช่อง 4 ภาพยนตร์ 35 มม. ละคร ช่อง 5 ภาพยนตร์ละคร ช่อง 3 ละคร ช่อง 9 ภาพยนตร์ 35 มม. ละคร ช่อง 3
ผู้สร้าง คณะนาฏศิลป์สัมพันธ์ ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น รัชฟิล์ม ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น อัครมีเดีย 2002 บิ๊ก เบสท์ ทีวีซีน
ผู้กำกับ ทัต เอกทัต สักกะ จารุจินดา สมจินต์ ธรรมทัต สักกะ จารุจินดา สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์ ธนิตย์ จิตนุกูล อดุลย์ บุญบุตร
หมื่นศึกอาสา/ขุนศึกอาสา/หลวงโจมจาตุรงค์/ขุนแสนศึกพ่าย/จมื่นแสนศึกสะท้าน/พระยารามจัตตุรงค์/เสมา กำธร สุวรรณปิยะศิริ สมบัติ เมทะนี พิศาล อัครเศรณี โกวิท วัฒนกุล ธนายง ว่องตระกูล วรวิทย์ แก้วเพชร อธิชาติ ชุมนานนท์
แม่หญิงเรไร อารีย์ นักดนตรี นัยนา ชีวานันท์ ผุสดี พลางกูล นิภาพร นงนุช วิมลเรขา ศิริชัยราวรรณ สาวิณี ภู่การุณ เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์
หมื่นชาญณรงค์/ขุนณรงค์วิชิต/หมู่ขัน สมจินต์ ธรรมทัต มานพ อัศวเทพ วุฒิ คงคาเขต สุเชาว์ พงษ์วิไล พลรัตน์ รอดรักษา ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์
ดวงแข นวละออ ทองเนื้อดี ดวงใจ หทัยกาญจน์ สุกัญญา นาคสนธิ หรรษา จริยาพร
พิมพ์ใจ พรหมมาลี
ปวีณา ชารีฟสกุล ธิดารัตน์ จันทร์ดารา พรชิตา ณ สงขลา
จำเรียง ธัญญรัตน์ โลหะนันท์ ดิถีทิพ เกสะวัฒนะ วาสนา พลเยี่ยม พิมทอง กลิ่มสมิทธิ์ ภัทรินทร์ เจียรสุข
ขุนรามเดชะ/หลวงรามเดชะ/พระรามเดชะ/พระยาศรีพิชัยสงคราม/ขุนราม ทัต เอกทัต สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์ ตรัยเทพ เทวะผลิน สมบัติ เมทะนี สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์ นิรุตติ์ ศิริจรรยา
หลวงวิสุทธิ์โยธามาศ/สมบุญ ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา สายัณห์ จันทรวิบูลย์ ชูศักดิ์ สุธีรธรรม วีระชัย หัตถโกวิท แผลงฤทธิ์ แสงชา เกียรติกมล ล่าทา
หลวงราชโยธาเทพ/หมู่สิน จำรูญ หนวดจิ๋ม จีระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ รอง เค้ามูลคดี ภุมรินทร์ จันทร์จิต โกสินทร์ ราชกรม
เอื้อยแตง ดวงดาว จารุจินดา สุธิตา เกตานนท์ มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล
พันอินทราช/หลวงพิมานมงคลพั/พันอิน สรพงศ์ ชาตรี
หมื่นทรงเดชะ/ขุนวิเศษสรไกร/พุฒ วรรธนะ กัมทรทิพย์
ศรีเมือง อรุณณภา พาณิชจรูญ
บัวเผื่อน เพชรดา เทียมเพ็ชร
ลำภู เพ็ญพักตร์ ศิริกุล
มั่น สุเชาว์ พงษ์วิไล
บุญเรือน ดวงใจ หทัยกาญจน์
แต้ม ทองขาว ภัทรโชคชัย
อำพัน โฉมฉาย ฉัตรวิไล
พระราชมนู ชัชวาล เพชรวิศิษฐ์
พระยาศรีไสยณรงค์ กรกฏ ธนภัทร
จมื่นศรีสรรักษ์ ฐากูร การทิพย์
พระครูขุน อิทธิฤทธิ์ สิงหรัตน์
พระเจ้านันทบุเรง จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
พระมหาอุปราชา อดิศร อรรถกฤษณ์
พระเจ้าเชียงใหม่ สุรจิต บุญญานนท์
พระวิสุทธิกษัตรีย์ พิสมัย วิไลศักดิ์
พระมหาธรรมราชา สมภพ เบญจาทิกุล
พระยาพิชัยสงคราม พงศนารถ วินศิริ
สมเด็จพระนพรัตน์ ธีรยุทธ ปรัชญาบำรุง
พันจิตรเสน่หา ดนัย จารุจินดา
อาจารย์บ่าย พงศภัค อุบล
ขุนจำนงรักษา อติเทพ ชดช้อย
พระเจ้าแปร โชคชัย บุญวรเมธี
สมิงโยคราช วัชรชัย สุนทรศิริ
แม่ทัพพม่า เอก ธณากร
สมิงมะตะเบิด ธนาวุฒิ เกสโร
นันทะกะยอสู วัชรชัย สุนทรศิริ
ไชกะยอสู เขมชาติ โรจนะหัสดิน
พิณ ภาวิณี วัฒน์รณชัย

รางวัลที่ได้รับ

  • ภาพยนตร์ พ.ศ. 2519
  1. รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ปี 2519 [6]
  2. รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (สักกะ จารุจินดา) ปี 2519
  3. รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง ผู้สร้างฉากยอดเยี่ยม (สุพจน์ จารุจินดา) ปี 2519
  4. การประกวดภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิค ที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลี สาขานักแสดงดีเด่น (นัยนา ชีวานันท์) ปี 2519
  5. การประกวดภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิค สาขาเทคนิคการถ่ายภาพยอดเยี่ยม ปี 2519
  • ภาพยนตร์ทางโทรทัศน์ พ.ศ. 2523
  1. รางวัลเมขลา ดาราภาพยนตร์โทรทัศน์ดีเด่น (สุเชาว์ พงษ์วิไล) ปี 2523
  • ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2538
  1. รางวัลเมขลา ผู้แสดงประกอบชายดีเด่น (พลรัตน์ รอดรักษา) ปี 2538
  2. รางวัลเมขลา-พิเศษ ดาวรุ่งชาย (ธนายง ว่องตระกูล) ปี 2538
  3. รางวัลเมขลา-พิเศษ นักแสดงผู้มีมนุษยสัมพันธ์ (วิมลเรขา ศิริชัยราวรรณ) ปี 2538
  • ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2555
  1. รางวัลนาฏราช ละครยอดเยี่ยม ปี 2555
  2. รางวัลนาฏราช กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (สุดเขตร ล้วนเจริญ) ปี 2555
  3. รางวัลนาฏราช กำกับภาพยอดเยี่ยม (ชูชาติ นันทิธัญญธาดา) ปี 2555
  4. รางวัลนาฏราช ลำดับภาพยอดเยี่ยม (วิโรจน์ ภุมวิภาชน์) ปี 2555
  5. รางวัลนาฏราช เครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (กิจจา ลาโพธิ์) ปี 2555
  6. รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ละครดีเด่น ปี 2555
  7. รางวัลโทรทัศน์ทองคำ นักแสดงนำชายดีเด่น (อธิชาติ ชุมนานนท์) ปี 2555
  8. รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ผู้กำกับการแสดงละครดีเด่น (อดุลย์ บุญบุตร) ปี 2555
  9. รางวัลเมขลา ละครส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดีเด่นยอดนิยม ปี 2555
  10. รางวัลพระพิฆเนศ นักแสดงชายดีเด่น (อธิชาติ ชุมนานนท์) ปี 2555
  11. รางวัล "ราชบันฑิตยสถานสรรเสริญ" ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นแห่งชาติ นักแสดงนำชาย (อธิชาติ ชุมนานนท์) ปี 2555 [7]
  12. รางวัล "ราชบันฑิตยสถานสรรเสริญ" ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นแห่งชาติ นักแสดงนำหญิง (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์) ปี 2555
  13. รางวัล Drama Award 2012 ละครยอดเยี่ยม ปี 2555 [8]
  14. รางวัล MThai Top Talk-About 2013 ละครที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด ปี 2556
  15. รางวัล MThai Top Talk-About 2013 นักแสดงชายที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด (อธิชาติ ชุมนานนท์) ปี 2556
  16. รางวัล International Drama Festival in Tokyo 2013 ละครต่างชาติยอดเยี่ยม ปี 2556 [9]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น