ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลมฟ้าอากาศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ad
ฟกฟกฟ
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
จากนั้น ความแตกต่างของอุณหภูมิพื้นผิวทำให้เกิดความแตกต่างของความดัน ที่ระดับความสูงสูงกว่าจะเย็นกว่าที่ระดับความสูงต่ำกว่าเนื่องจากความแตกต่างของความร้อนจากการบีบอัด การพยากรณ์อากาศเป็นการประยุกต์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพยากรณ์สภาพของ[[บรรยากาศโลก|บรรยากาศ]]ในเวลาอนาคตและในที่ตั้งหนึ่ง ๆ บรรยากาศเป็น[[ทฤษฎีอลวน|ระบบอลวน]] ฉะนั้นการเปลี่ยยแปลงเล็กน้อยต่อส่วนหนึ่งของระบบสามารถพัฒนาไปมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อระบบโดยรวมได้ ความพยายามของมนุษย์ในการควบคุมลมฟ้าอากาศมีตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์ และมีหลักฐานว่ากิจกรรมของมนุษย์อย่าง เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบลมฟ้าอากาศโดยมิได้ตั้งใจ
จากนั้น ความแตกต่างของอุณหภูมิพื้นผิวทำให้เกิดความแตกต่างของความดัน ที่ระดับความสูงสูงกว่าจะเย็นกว่าที่ระดับความสูงต่ำกว่าเนื่องจากความแตกต่างของความร้อนจากการบีบอัด การพยากรณ์อากาศเป็นการประยุกต์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพยากรณ์สภาพของ[[บรรยากาศโลก|บรรยากาศ]]ในเวลาอนาคตและในที่ตั้งหนึ่ง ๆ บรรยากาศเป็น[[ทฤษฎีอลวน|ระบบอลวน]] ฉะนั้นการเปลี่ยยแปลงเล็กน้อยต่อส่วนหนึ่งของระบบสามารถพัฒนาไปมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อระบบโดยรวมได้ ความพยายามของมนุษย์ในการควบคุมลมฟ้าอากาศมีตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์ และมีหลักฐานว่ากิจกรรมของมนุษย์อย่าง เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบลมฟ้าอากาศโดยมิได้ตั้งใจ


การศึกษาว่าลมฟ้าอากาศทำงานอย่างไรบนดาวเคราะห์ดวงอื่นนั้นมีประโยชน์ในการทำความเข้าใจว่าลมฟ้าอากาศบนโลกทำงานอย่างไร จุดสังเกตที่มีชื่อเสียงใน[[ระบบสุริยะ]] [[จุดแดงใหญ่]]บน[[ดาวพฤหัสบดี]] เป็นพายุแอนติไซโคลนซึ่งรู้จักกันว่ามีมาแล้วอย่างน้อย 300 ปี อย่างไรก็ดี ลมฟ้าอากาศมิได้จำกัดอยู่เฉพาะบนดาวเคราะห์เท่านั้น ชั้น[[โคโรนา]]ของ[[ดาวฤกษ์]]สูญหายไปในอวกาศอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดเป็นสิ่งที่เป็นบรรยากาศบาง ๆ ทั่วระบบสุริยะ การเคลื่อนที่ของแก๊สที่พุ่งออกจากดวงอาทิตย์เรียกว่า [[ลมสุริยะ]] {{รายการอ้างอิง}}
การศึกษาว่าลมฟ้าอากาศทำงานอย่างไรบนดาวเคราะห์ดวงอื่นนั้นมีประโยชน์ในการทำความเข้าใจว่าลมฟ้าอากาศบนโลกทำงานอย่างไร จุดสังเกตที่มีชื่อเสียงใน[[ระบบสุริยะ]] [[จุดแดงใหญ่]]บน[[ดาวพฤหัสบดี]] เป็นพายุแอนติไซโคลนซึ่งรู้จักกันว่ามีมาแล้วอย่างน้อย 300 ปี อย่างไรก็ดี ลมฟ้าอากาศมิได้จำกัดอยู่เฉพาะบนดาวเคราะห์เท่านั้น ชั้น[[โคโรนา]]ของ[[ดาวฤกษ์]]สูญหายไปในอวกาศอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดเป็นสิ่งที่เป็นบรรยากาศบาง ๆ ทั่วระบบสุริยะ การเคลื่อนที่ของแก๊สที่พุ่งออกจากดวงอาทิตย์เรียกว่า [[ลมสุริยะ]] ๐หลวงพี่แจ๊ส4G๐ {{รายการอ้างอิง}}


[[หมวดหมู่:สภาพอากาศ| ]]
[[หมวดหมู่:สภาพอากาศ| ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:56, 6 ธันวาคม 2559

ลมฟ้าอากาศ (weather)

เป็นสถานะของบรรยากาศ ถึงระดับที่ว่าบรรยากาศร้อนหรือเย็น เปียกหรือแห้ง สงบหรือมีพายุ เปิดหรือมีเมฆ[1] ปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศส่วนมากเกิดขึ้นในชั้นโทรโพสเฟียร์[2][3] ใต้ชั้นสตราโทสเฟียร์ ลมฟ้าอากาศโดยทั่วไปหมายถึงอุณหภูมิวันต่อวันและกิจกรรมหยาดน้ำฟ้า ขณะที่ภูมิอากาศ (climate) เป็นคำใช้กับสภาพบรรยากาศโดยเฉลี่ยเป็นระยะเวลานาน[4]

ลมฟ้าอากาศเกิดจากความแตกต่างของแรงดันอากาศ (อุณหภูมิและความชื้น) ระหว่างที่หนึ่งกับอีกที่หนึ่ง ความแตกต่างของความดันและอุณหภูมิเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นเนื่องจากมุมของดวงอาทิตย์ที่จุดหนึ่ง ๆ ซึ่งแตกต่างกันโดยละติจูดจากเขตร้อน ความแตกต่างของอุณหภูมิที่มากระหว่างอากาศบริเวณขั้วโลกและเขตร้อนทำให้เกิดเจ็ตสตรีม ระบบลมฟ้าอากาศในละติจูดกลาง เช่น พายุหมุนนอกเขตร้อน เกิดขึ้นจากความไร้เสถียรภาพของการไหลของเจ็ตสตรีม เพราะแกนของโลกเอียงเมื่อเทียบกับระนาบวงโคจร แสงอาทิตย์จึงตกกระทบที่มุมต่างกันในแต่ละช่วงเวลาของปี บนพื้นผิวโลก ตามปกติอุณหภูมิมีพิสัย ±40 °C ต่อปี ในช่วงหลายพันปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงวงโคจรของโลกกระทบต่อปริมาณและการกระจายพลังงานแสงอาทิตย์ที่โลกได้รับและส่งอิทธิพลต่อภูมิอากาศระยะยาวและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก

จากนั้น ความแตกต่างของอุณหภูมิพื้นผิวทำให้เกิดความแตกต่างของความดัน ที่ระดับความสูงสูงกว่าจะเย็นกว่าที่ระดับความสูงต่ำกว่าเนื่องจากความแตกต่างของความร้อนจากการบีบอัด การพยากรณ์อากาศเป็นการประยุกต์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพยากรณ์สภาพของบรรยากาศในเวลาอนาคตและในที่ตั้งหนึ่ง ๆ บรรยากาศเป็นระบบอลวน ฉะนั้นการเปลี่ยยแปลงเล็กน้อยต่อส่วนหนึ่งของระบบสามารถพัฒนาไปมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อระบบโดยรวมได้ ความพยายามของมนุษย์ในการควบคุมลมฟ้าอากาศมีตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์ และมีหลักฐานว่ากิจกรรมของมนุษย์อย่าง เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบลมฟ้าอากาศโดยมิได้ตั้งใจ

การศึกษาว่าลมฟ้าอากาศทำงานอย่างไรบนดาวเคราะห์ดวงอื่นนั้นมีประโยชน์ในการทำความเข้าใจว่าลมฟ้าอากาศบนโลกทำงานอย่างไร จุดสังเกตที่มีชื่อเสียงในระบบสุริยะ จุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี เป็นพายุแอนติไซโคลนซึ่งรู้จักกันว่ามีมาแล้วอย่างน้อย 300 ปี อย่างไรก็ดี ลมฟ้าอากาศมิได้จำกัดอยู่เฉพาะบนดาวเคราะห์เท่านั้น ชั้นโคโรนาของดาวฤกษ์สูญหายไปในอวกาศอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดเป็นสิ่งที่เป็นบรรยากาศบาง ๆ ทั่วระบบสุริยะ การเคลื่อนที่ของแก๊สที่พุ่งออกจากดวงอาทิตย์เรียกว่า ลมสุริยะ ๐หลวงพี่แจ๊ส4G๐

  1. Merriam-Webster Dictionary. Weather. Retrieved on 27 June 2008.
  2. Glossary of Meteorology. Hydrosphere. Retrieved on 27 June 2008.
  3. Glossary of Meteorology. Troposphere. Retrieved on 27 June 2008.
  4. "Climate". Glossary of Meteorology. American Meteorological Society. สืบค้นเมื่อ 14 May 2008.