ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Hamleamsrijan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Onepeach (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไข
บรรทัด 85: บรรทัด 85:
|การขานรับ = เกล้ากระหม่อม
|การขานรับ = เกล้ากระหม่อม
|ลำดับโปเจียม = 8
|ลำดับโปเจียม = 8
|ตราประจำพระองค์=Emblem of Princess Bajrakitiyabha.png}}
}}
=== พระอิสริยยศ ===
=== พระอิสริยยศ ===
* พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา (7 ธันวาคม พ.ศ. 2521 — ปัจจุบัน)
* พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา (7 ธันวาคม พ.ศ. 2521 — ปัจจุบัน)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:02, 3 ธันวาคม 2559

พระเจ้าหลานเธอ
พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

พัชรกิติยาภา
พระเจ้าหลานเธอ
ประสูติ7 ธันวาคม พ.ศ. 2521 (45 ปี)
พระที่นั่งอัมพรสถาน, พระราชวังดุสิต, กรุงเทพมหานคร ไทย
ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
พระราชมารดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

ร้อยเอกหญิง ดอกเตอร์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา (ประสูติ: 7 ธันวาคม พ.ศ. 2521) พระราชธิดาองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และเป็นพระราชนัดดาพระองค์แรกของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

พระประวัติ

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ประสูติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต[1] เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ (พระนามเดิม หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร[2]) อดีตพระวรชายา[3]

การศึกษา

พระกรณียกิจ

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในด้านต่างๆ ทั้งด้านสาธารณกุศลผ่าน มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก สภากาชาดไทย และด้านกฎหมาย ซึ่งทรงมีความเชี่ยวชาญ ตลอดจนปฏิบัติพระกรณียกิจสนองพระเดชพระคุณ ในการเสด็จแทนพระองค์อยู่โดยเสมอมา เมื่อครั้งที่ทรงศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทรงร่วมงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ และทรงเป็นผู้เชิญธรรมจักร ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย มากไปกว่านั้น ทรงเข้าทำงาน ที่คณะทูตถาวรแห่งประเทศไทย ประจำองค์การสหประชาชาตินครนิวยอร์ก

ด้านกฎหมาย

  • พ.ศ. 2549 - อัยการผู้ช่วย สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด[6]
  • พ.ศ. 2550 - อัยการประจำกอง (ข้าราชการอัยการชั้น 2) สำนักงานคดียาเสพติด[7]
  • พ.ศ. 2551 - อัยการจังหวัดผู้ช่วย(ข้าราชการอัยการชั้น 2) สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี[8]
  • พ.ศ. 2552 - รองอัยการจังหวัดอุดรธานี (ข้าราชการอัยการชั้น 3) สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี[9]
  • พ.ศ. 2553 - รองอัยการจังหวัดพัทยา (ข้าราชการอัยการชั้น 3) สำนักงานอัยการจังหวัดพัทยา[10]
  • พ.ศ. 2554 - รองอัยการจังหวัดหนองบัวลำภู (ข้าราชการอัยการชั้น 3) สำนักงานอัยการจังหวัดหนองบัวลำภู[11]
  • พ.ศ. 2554 - อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด (ข้าราชการชั้น 4) สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน[12]
  • พ.ศ. 2555 - เอกอัครราชทูต (นักบริหารระดับสูง) ประจำคณะกรรมาธิการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย[13]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำ สาธารณรัฐออสเตรีย[14]
  • 7 มกราคม พ.ศ. 2556 - เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำสาธารณรัฐสโลวัก อีกตำแหน่งหนึ่ง[15]
  • 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำสาธารณรัฐสโลวีเนีย อีกตำแหน่งหนึ่ง[16]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด (ข้าราชการชั้น 4) สำนักงานอัยการจังหวัดหนองบัวลำภู[17]

มูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภา)ยามยาก สภากาชาดไทย

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย เริ่มต้นจากการดำเนิน โครงการอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย ซึ่งมีขึ้นในขณะที่มีอุทกภัยครั้งร้ายแรงในกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2538 และมีผู้ได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก จนภาคราชการและองค์กรการกุศลที่มีอยู่มิอาจให้ความช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง จนเกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งกันระหว่างประชาชนอันเกิดจากความเครียดอันเนื่องมาจากการป้องกันน้ำให้ท่วมในวงจำกัด ผู้ที่เดือนร้อนจึงรู้สึกว่าขาดที่พึ่ง ขาดความเห็นอกเห็นใจ ต้องได้รับความเดือดร้อนเฉพาะชาวพื้นที่ของตนเอง ขณะที่พื้นที่ติดกันได้รับความสะดวกสบายอย่างเป็นปกติ

ในช่วงเช้าของวันที่ 29 ตุลาคม เป็นวันที่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงออกปฏิบัติภารกิจในโครงการ ฯ เป็นครั้งแรก โดยเสด็จออกรับน้ำใจจากผู้ไม่ประสบอุทกภัยที่สถานีบริการน้ำมัน ต่อจากนั้นในช่วงบ่าย ได้เสด็จพระดำเนินเยี่ยมเยียนประชาชนที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 34 เขตบางกอกน้อย ซอยจรัญสนิทวงศ์ 82, 84 และ 86 เขตบางพลัด

การออกปฏิบัติพระกรณียกิจในครั้งนี้ส่งผลให้เหตุการณ์สงบลง จากนั้นมาโครงการ ฯ ก็ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จนได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิที่ผู้บริจาคสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 และได้พัฒนาการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา

นอกจากนี้ ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554 พระองค์เจ้าโสมสวลี และพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ รศ.ดร.นายแพทย์พิชิต สุวรรณประกร เป็นผู้แทนพระองค์นำถุงยังชีพ 3,000 ถุง ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ[18]

โครงการกำลังใจ ในพระดำริ

ทรงก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 เมื่อครั้งยังทรงเป็นนักศึกษากฎหมาย โดยครั้งแรก เสด็จเยี่ยมผู้ต้องขังหญิง ณ ทัณฑสถานหญิงกลาง แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ด้วยความสนพระทัยในสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้ต้องขัง

โครงการนี้ได้ขยายความช่วยเหลือไปยัง “เด็ก” ที่ติดท้องแม่ก่อนเข้าจำคุก รวมทั้ง “ผู้ต้องขังหญิงสูงอายุ” อีกด้วย และเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิง ได้กระจายไปทั่วโลก ทรงมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอและยกร่างข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำต่อสหประชาชาติสำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง ภายใต้ชื่อ “Enhancing Life for Female Inmates: ELFI”

มูลนิธิ ณภาฯ ในพระดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

เป็นมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นด้วยพระประสงค์ของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 โดยประทานพระกรุณารับเป็นองค์ประธานมูลนิธิ เพื่อดำเนินกิจการตามพระดำริด้านสาธารณกุศลในการให้โอกาส การเป็นตัวกลางในการแสวงหาโอกาส และการพัฒนาชีวิตแก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอดีตผู้ต้องขังและผู้ต้องขัง ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้สาธารณชนตระหนักถึงความสำคัญของการให้โอกาส มูลนิธิ ณภาฯ จึงได้ดำเนินการตามพระดำริดังกล่าว เพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ด้อยโอกาสให้สามารถกลับมาดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข

ผลิตภัณฑ์จากมูลนิธิ ณภาฯ ในปัจจุบัน ประกอบด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอุปโภคตรา "จัน" และ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มบริโภคตรา "ธรา" โดยมูลนิธิ ณภาฯ มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการเผยแพร่และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพื่อนำมาเป็นทุนในการสนับสนุนงานของมูลนิธิต่อไป

มูลนิธิ/องค์กรในพระอุปถัมภ์

  • มูลนิธิกุมาร โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • มูลนิธิ ณภาฯ ในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
  • เครือข่ายคนรักน้องหมา
  • กองทุนกำลังใจ
  • ศูนย์ควบคุมสุนัข กทม. (ประเวศ)

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าหลานเธอ
พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
ไฟล์:Emblem of Princess Bajrakitiyabha.png
ตราประจำพระองค์
ธงประจำพระองค์
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม
ลำดับโปเจียม8

พระอิสริยยศ

  • พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา (7 ธันวาคม พ.ศ. 2521 — ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

พระยศทางทหาร

  • พ.ศ. 2543 - ว่าที่ร้อยตรีหญิง , ร้อยตรีหญิง[24] และ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[25]
  • พ.ศ. 2545 - ร้อยโทหญิง[26] และนายทหารพิเศษ ประจำกองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์[27]
  • พ.ศ. 2551 - ร้อยเอกหญิง[28]

พระเกียรติคุณ

  • รางวัลนักศึกษากฎหมายดีเด่นประจำปี 2544

วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2543 คณะกรรมการรางวัลสัญญาธรรมศักดิ์ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ถวายรางวัลนักศึกษากฎหมายดีเด่นประจำปี 2544 เป็นกรณีพิเศษแด่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ด้วยทรงเป็นตัวอย่างในด้านการศึกษาและด้านกิจกรรมนักศึกษา โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่า ตลอดเวลาที่ทรงศึกษาในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น พระองค์ทรงปฏิบัติเช่นนักศึกษาทั่วไปทั้งในด้านการศึกษา การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ

  • รางวัล Medal of Recognition

หน่วยงาน UNODC (ยูเอ็นโอดีซี) สหประชาชาติ จากทรงมีบทบาทสำคัญในระดับนานาชาติหลายอย่างเริ่มตั้งแต่การจัดตั้งกองทุนพัชรกิติยาภา เพื่อการศึกษากฎหมาย การรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี โครงการกำลังใจ ในพระดำริฯ โครงการจัดทำมาตรฐานผู้ต้องขังหญิง หรือ ELFI (เอลฟี)การทรงงานด้านกระบวนการยุติธรรมเหล่านี้ จึงพิจารณาทูลเกล้าถวายรางวัลกียรติยศสูงสุดจากสหประชาชาติ

  • ทูตสันถวไมตรี (Goodwill Ambassador)

ดร.จีน เดอคูน่า ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ กองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า จากผลการดำเนินงาน โครงการกำลังใจ ในพระดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระองค์ทรงประทานความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ต้องขังสตรีและเด็กติดผู้ต้องขัง และทรงประทานความช่วยเหลือให้ผู้ต้องขังได้มีโอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี ซึ่งหน่วยงาน UNIFEM รู้สึกสำนึกในพระกรุณาธิคุณ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในพระกรณียกิจที่ทรงช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกลุ่มหนึ่งในสังคมไทย โดยหน่วยงาน UNIFEM ขอพระราชทานกราบทูลเชิญพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงเป็นองค์ “ทูตสันถวไมตรี” (Goodwill Ambassador) ในการต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิง[29]

ปริญญากิตติมศักดิ์

สิ่งอันเนื่องด้วยพระนาม

การแพทย์และสาธารณสุข

  • อาคารพัชรกิติยาภา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

สถาบันการศึกษา

  • อาคารพัชรกิติยาภา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อื่นๆ

  • อาคารเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน อุดรธานี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
  • อาคารเฉลิมพระเกียรติพัชรกิติยาภา สำนักงานเทศบาลนครอุดรธานี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. หนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ 5 ทศวรรษ(2539) โดย : มูลนิธิ 5 ธันวามหาราช
  2. มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก - ประวัติมูลนิธิฯ
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศเฉลิมพระนาม (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ), เล่ม ๑๐๘, ตอน ๑๔๐ก ฉบับพิเศษ, ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔, หน้า ๑
  4. http://www.princess-pa-foundation.or.th/home/legend.php
  5. "Commencement 2005: Cell phones, cameras, congratulations, challenges and a princess". Cornell Univesity News Service. May 29, 2005. สืบค้นเมื่อ 2011-10-21.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ, เล่ม ๑๒๓, ตอนพิเศษ ๙๕ ง, ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙, หน้า ๑๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ, เล่ม ๑๒๔, ตอน ๑๑๒ ง, ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐, หน้า ๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ, เล่ม ๑๒๕, ตอนพิเศษ ๗๔ ง, ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑, หน้า ๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ, เล่ม ๑๒๖, ตอนพิเศษ ๓๙ ง, ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒, หน้า ๒๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ, เล่ม ๑๒๗, ตอนพิเศษ ๔๔ ง, ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓, หน้า ๑๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ, เล่ม ๑๒๘, ตอนพิเศษ ๓๗ ง, ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑๓
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ, เล่ม ๑๒๙, ตอนพิเศษ ๑๑ ง, ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๑
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการอัยการพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน, เล่ม ๑๒๙, ตอนพิเศษ ๒๔ ง, ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๑
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน, เล่ม ๑๒๙, ตอนพิเศษ ๑๔๖ ง, ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๔
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำสาธารณรัฐสโลวัก, เล่ม ๑๓๐, ตอนพิเศษ ๑๐ ง, ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖, หน้า ๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำสาธารณรัฐสโลวีเนีย, เล่ม ๑๓๐, ตอนพิเศษ ๓๓ ง, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖, หน้า ๕
  17. "'พระองค์ภา' ทรงโอนกลับรับราชการอัยการ จ.หนองบัวลำภู". ไทยรัฐ. 21 กันยายน 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. “พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ” มอบถุงยังชีพ 3 พันชุดช่วยผู้ประสบภัยสึนามิ
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน (เพิ่มเติม) ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๔), เล่ม ๑๐๘, ตอน ๘๑ ง ฉบับพิเศษ, ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔, หน้า ๑
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา, พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา, พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์), เล่ม ๑๒๒, ตอน ๒๐ ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘, หน้า ๒
  21. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๔,๕๒๔ ราย)เล่ม ๑๑๓ ตอน ๒๒ ข ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ปฐมดิเรกคุณภรณ์ จำนวน ๘ พระองค์), เล่ม ๑๑๒, ตอน ๑๗ ข เล่มที่ ๐๐๓, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘, หน้า ๑
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑, ตอน ๑๖๒ ง ฉบับพิเศษ, ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗, หน้า ๗
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ขอพระราชทานพระยศทหาร, เล่ม ๑๑๒, ตอน ๑๙ ข, ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔, หน้า ๑
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ, เล่ม ๑๑๘, ตอน ๒ ง, ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔, หน้า ๘
  26. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร, เล่ม ๑๑๙, ตอน ๒๔ ข, ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕, หน้า ๑
  27. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ, เล่ม ๑๑๙, ตอน ๑๑๘ ง, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕, หน้า ๑
  28. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร, เล่ม ๑๒๑, ตอน ๒๖ ข, ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗, หน้า ๑
  29. http://www.novaw.or.th/?p=5

แหล่งข้อมูลอื่น