ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
|government_type = [[สาธารณรัฐ]]
|government_type = [[สาธารณรัฐ]]
|leader_title1 =[[ประธานาธิบดี]]
|leader_title1 =[[ประธานาธิบดี]]
|leader_name1 = [[ มุฮัมมัด อับดุลอะซีซ]]
|leader_name1 = [[บราฮีม กาลี]]
|leader_title2 = [[นายกรัฐมนตรี]]
|leader_title2 = [[นายกรัฐมนตรี]]
|leader_name2 = [[อับดุลกาเดร์ ตาเลบ อูมัร]]
|leader_name2 = [[อับดุลกาเดร์ ตาเลบ อูมัร]]
บรรทัด 68: บรรทัด 68:
หลังจากสเปนถอนตัวออกไปจาก[[เวสเทิร์นสะฮารา]] ทั้ง[[สเปน]] โมร็อกโกและ[[มอริเตเนีย]]ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญามาดริดทำให้ทั้งโมร็อกโกและมอริเตเนียต้องการผนวกดินแดนนี้ ไม่มีการยอมรับในระดับนานาชาติต่อการประกาศเอกราชของแนวร่วมโปลีซารีโอ โดยแนวร่วมกล่าวว่าดินแดนนี้เป็นดินแดนของชนพื้นเมืองซาห์ราวี แนวร่วมได้ประกาศตั้งสาธารณรัฐที่[[บีรละห์ลู]]ในเวสเทิร์นสะฮาราเมื่อ27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 โดยแนวร่วมประกาศว่าต้องการความเป็นเอกภาพภายในดินแดนหลังจากสเปนถอนตัวออกไป บีรละห์ลูยังคงเป็นดินแดนที่ถูกฝ่ายแนวร่วมควบคุมไว้หลังการลงนามในสนธิสัญญาสงบศึก พ.ศ. 2534 โปลีซารีโอกล่าวว่าเมือง[[เอลอายูน]]ที่ถูกโมร็อกโกยึดครองคือเมืองหลวงของสาธารณรัฐ การดำเนินการทางธุรกิจส่วนใหญ่เกิดในค่ายผู้อพยพในแอลจีเรียซึ่งเป็นที่อยู่ของ[[ชาวซาห์ราวี]]ลี้ภัย
หลังจากสเปนถอนตัวออกไปจาก[[เวสเทิร์นสะฮารา]] ทั้ง[[สเปน]] โมร็อกโกและ[[มอริเตเนีย]]ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญามาดริดทำให้ทั้งโมร็อกโกและมอริเตเนียต้องการผนวกดินแดนนี้ ไม่มีการยอมรับในระดับนานาชาติต่อการประกาศเอกราชของแนวร่วมโปลีซารีโอ โดยแนวร่วมกล่าวว่าดินแดนนี้เป็นดินแดนของชนพื้นเมืองซาห์ราวี แนวร่วมได้ประกาศตั้งสาธารณรัฐที่[[บีรละห์ลู]]ในเวสเทิร์นสะฮาราเมื่อ27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 โดยแนวร่วมประกาศว่าต้องการความเป็นเอกภาพภายในดินแดนหลังจากสเปนถอนตัวออกไป บีรละห์ลูยังคงเป็นดินแดนที่ถูกฝ่ายแนวร่วมควบคุมไว้หลังการลงนามในสนธิสัญญาสงบศึก พ.ศ. 2534 โปลีซารีโอกล่าวว่าเมือง[[เอลอายูน]]ที่ถูกโมร็อกโกยึดครองคือเมืองหลวงของสาธารณรัฐ การดำเนินการทางธุรกิจส่วนใหญ่เกิดในค่ายผู้อพยพในแอลจีเรียซึ่งเป็นที่อยู่ของ[[ชาวซาห์ราวี]]ลี้ภัย
== โครงสร้างรัฐบาล ==
== โครงสร้างรัฐบาล ==
โครงสร้างสูงสุดของสาธารณรัฐคือประธานาธิบดีแห่งเวสเทิร์นสะฮารา ปัจจุบันคือ มุฮัมมัด อับดุลอะซีซ และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ อับดุลกาเดร์ ตาเลบ อูมัร โครงสร้างรัฐบาลประกอบด้วยสภารัฐมนตรีที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำ อำนาจตุลาการที่เป็นของประธานาธิบดี และสมัชชาแห่งชาติซาห์ราวีซึ่งมีโฆษกคนปัจจุบันคือ มาห์ฟูด อาลี เบยบา หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใน พ.ศ. 2519 แล้ว ได้มีการแก้ไขอีกหลายครั้ง
โครงสร้างสูงสุดของสาธารณรัฐคือประธานาธิบดีแห่งเวสเทิร์นสะฮารา ปัจจุบันคือ นาย บราฮีม กาลี และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ อับดุลกาเดร์ ตาเลบ อูมัร โครงสร้างรัฐบาลประกอบด้วยสภารัฐมนตรีที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำ อำนาจตุลาการที่เป็นของประธานาธิบดี และสมัชชาแห่งชาติซาห์ราวีซึ่งมีโฆษกคนปัจจุบันคือ มาห์ฟูด อาลี เบยบา หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใน พ.ศ. 2519 แล้ว ได้มีการแก้ไขอีกหลายครั้ง
ได้มีการจัดตั้งระบบศาล ซึ่งมีทั้งศาลท้องถิ่นและศาลสูง แต่เนื่องจากเป็นรัฐบาลพลัดถิ่น โครงสร้างต่าง ๆ จึงไม่ได้ทำงานโดยสมบูรณ์ สถาบันคู่ขนานกับโครงสร้างรัฐบาลอื่นๆอยู่ในแนวร่วมโปลีซารีโอ ทำให้มีการซ้อนเหลื่อมระหว่างพรรคและสถาบันต่างๆ สมัชชาแห่งชาติในปัจจุบันมีบทบาทน้อยมากในการออกกฎหมาย
ได้มีการจัดตั้งระบบศาล ซึ่งมีทั้งศาลท้องถิ่นและศาลสูง แต่เนื่องจากเป็นรัฐบาลพลัดถิ่น โครงสร้างต่าง ๆ จึงไม่ได้ทำงานโดยสมบูรณ์ สถาบันคู่ขนานกับโครงสร้างรัฐบาลอื่นๆอยู่ในแนวร่วมโปลีซารีโอ ทำให้มีการซ้อนเหลื่อมระหว่างพรรคและสถาบันต่างๆ สมัชชาแห่งชาติในปัจจุบันมีบทบาทน้อยมากในการออกกฎหมาย



รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:06, 30 ตุลาคม 2559

สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี

Sahrawi Arab Democratic Republic (อังกฤษ)
رافي شاه العربية الديمقراطية الشعبية (อาหรับ)
República Árabe Saharaui Democrática (สเปน)
ตราแผ่นดินของเวสเทิร์นสะฮารา
ตราแผ่นดิน
คำขวัญไม่มี
ที่ตั้งของเวสเทิร์นสะฮารา
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
เอลอายูน
ภาษาราชการ- ภาษาอาหรับ (โดยนิตินัย)1
- ภาษาสเปนและภาษาฝรั่งเศส (ใช้กันอย่างกว้างขวาง)
- ภาษาเบอร์เบอร์และภาษาอาหรับฮัสซานียะ (พูดในท้องถิ่น)
เดมะนิมซาห์ราวี
การปกครองสาธารณรัฐ
บราฮีม กาลี
อับดุลกาเดร์ ตาเลบ อูมัร
เอกราช (ยังเป็นที่ขัดแย้ง2)
• สเปนถอนกำลังออกไป
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518
พื้นที่
• รวม
266,000 ตารางกิโลเมตร (103,000 ตารางไมล์) (77)
น้อยมาก
ประชากร
• 2552 ประมาณ
513,000 คน[1] (168)
[convert: %s]%s (236)
สกุลเงินดีร์แฮมโมร็อกโก, เปเซตาซาห์ราวี
เขตเวลาUTC+0 (UTC)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
GMT
รหัสโทรศัพท์2123
โดเมนบนสุด.ma (.eh ถูกจองไว้แต่ไม่ได้ใช้)
1ภาษาอาหรับเป็นภาษาทางการของทั้งโมร็อกโกและสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีซึ่งอ้างอธิปไตยเหนือดินแดนแห่งนี้
2ส่วนใหญ่ปกครองโดยโมร็อกโกในฐานะจังหวัดทางใต้ (Southern Provinces) ส่วนขบวนการแนวร่วมโปลีซารีโอครอบครองพื้นที่หลังแนวกำแพงพรมแดนในฐานะเขตเสรีในนามของสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี
3เป็นรหัสสำหรับโมร็อกโก; สหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ (ITU) ยังไม่ออกรหัสสำหรับเวสเทิร์นสะฮาราเป็นการเฉพาะ

สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี (อังกฤษ: Sahrawi Arab Democratic Republic, SADR; อาหรับ: الجمهورية العربية الصحراوية الديمقراطية; สเปน: República Árabe Saharaui Democrática, RASD) เป็นรัฐบาลพลัดถิ่นจัดตั้งโดยแนวร่วมโปลีซารีโอเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ปัจจุบันควบคุมบริเวณเวสเทิร์นสะฮาราที่เคยเป็นอาณานิคมของสเปน โมร็อกโกได้เข้าควบคุมและบริหารดินแดนส่วนใหญ่ในเขตดังกล่าวในนามของจังหวัดเซาเทิร์น ในขณะที่แนวร่วมโปลีซารีโอกล่าวว่าการปกครองของโมร็อกโกเป็นการรุกราน โดยแนวร่วมนี้มีอำนาจควบคุมบริเวณแนวชายแดนที่ติดต่อกับแอลจีเรีย ซึ่งแนวร่วมเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า "เขตอิสระ"

ประวัติศาสตร์

หลังจากสเปนถอนตัวออกไปจากเวสเทิร์นสะฮารา ทั้งสเปน โมร็อกโกและมอริเตเนียได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญามาดริดทำให้ทั้งโมร็อกโกและมอริเตเนียต้องการผนวกดินแดนนี้ ไม่มีการยอมรับในระดับนานาชาติต่อการประกาศเอกราชของแนวร่วมโปลีซารีโอ โดยแนวร่วมกล่าวว่าดินแดนนี้เป็นดินแดนของชนพื้นเมืองซาห์ราวี แนวร่วมได้ประกาศตั้งสาธารณรัฐที่บีรละห์ลูในเวสเทิร์นสะฮาราเมื่อ27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 โดยแนวร่วมประกาศว่าต้องการความเป็นเอกภาพภายในดินแดนหลังจากสเปนถอนตัวออกไป บีรละห์ลูยังคงเป็นดินแดนที่ถูกฝ่ายแนวร่วมควบคุมไว้หลังการลงนามในสนธิสัญญาสงบศึก พ.ศ. 2534 โปลีซารีโอกล่าวว่าเมืองเอลอายูนที่ถูกโมร็อกโกยึดครองคือเมืองหลวงของสาธารณรัฐ การดำเนินการทางธุรกิจส่วนใหญ่เกิดในค่ายผู้อพยพในแอลจีเรียซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวซาห์ราวีลี้ภัย

โครงสร้างรัฐบาล

โครงสร้างสูงสุดของสาธารณรัฐคือประธานาธิบดีแห่งเวสเทิร์นสะฮารา ปัจจุบันคือ นาย บราฮีม กาลี และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ อับดุลกาเดร์ ตาเลบ อูมัร โครงสร้างรัฐบาลประกอบด้วยสภารัฐมนตรีที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำ อำนาจตุลาการที่เป็นของประธานาธิบดี และสมัชชาแห่งชาติซาห์ราวีซึ่งมีโฆษกคนปัจจุบันคือ มาห์ฟูด อาลี เบยบา หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใน พ.ศ. 2519 แล้ว ได้มีการแก้ไขอีกหลายครั้ง ได้มีการจัดตั้งระบบศาล ซึ่งมีทั้งศาลท้องถิ่นและศาลสูง แต่เนื่องจากเป็นรัฐบาลพลัดถิ่น โครงสร้างต่าง ๆ จึงไม่ได้ทำงานโดยสมบูรณ์ สถาบันคู่ขนานกับโครงสร้างรัฐบาลอื่นๆอยู่ในแนวร่วมโปลีซารีโอ ทำให้มีการซ้อนเหลื่อมระหว่างพรรคและสถาบันต่างๆ สมัชชาแห่งชาติในปัจจุบันมีบทบาทน้อยมากในการออกกฎหมาย

พื้นที่ครอบครอง

สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีในปัจจุบันมีรัฐบาลบริหารงานในค่ายผู้อพยพชาวซาห์ราวีซึ่งอยู่ที่จังหวัดตินดุฟในแอลจีเรียตะวันตก โดยผู้นำอยู่ในค่ายราบัวนี ทางใต้ของจังหวัดทินดอฟ แม้ว่าสำนักงานบางแห่งอยู่ในเวสเทิร์นสะฮาราที่เมืองบีรละห์ลูและตีฟารีตี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ขบวนการโปลีซารีโอควบคุมอยู่ ความเป็นอิสระยังไม่แน่ชัด โดยขบวนการโปลีซารีโอและแอลจีเรียประกาศรับรองรัฐบาลพลัดถิ่น และอยู่นอกค่ายผู้อพยพ แต่มีข้อโต้แย้งจากอดีตสมาชิกขบวนการโปลีซารีโอและผู้สังเกตการณ์ภายนอก ความช่วยเหลือจากต่างชาติส่วนใหญ่ที่มีให้กับผู้อพยพมาจากข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ

รัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีมีลักษณะใกล้เคียงกับระบอบรัฐสภาของยุโรป แต่มีบางมาตราที่ดำเนินการไม่ได้จนกว่าจะได้รับเอกราชที่แท้จริง ตามรัฐธรรมนูญ ผู้นำรัฐเป็นเลขาธิการทั่วไปของขบวนการโปลีซารีโอในช่วงเวลาที่เรียกว่าก่อนได้รับเอกราช และเป็นรัฐบาลเฉพาะกาลเมื่อได้รับเอกราช และกำหนดการเปลี่ยนผ่านในระยะแรกหลังได้รับเอกราช โดยสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีได้ประกาศเป็นรัฐบาลของเวสเทิร์นสะฮารา นอกจากนั้นยังกำหนดให้ใช้ระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคและยอมรับระบบตลาด ได้กำหนดความหมายของชาวซาห์ราวีว่าเป็นชาวอาหรับหรือแอฟริกันที่เป็นมุสลิม[2] และใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ ยอมรับหลักการสิทธิมนุษยชน และแนวคิดสหภาพอาหรับมักเรบและอาหรับทั้งหมด

การยอมรับในระดับนานาชาติ

ในปัจจุบันมี 43 ประเทศที่ยอมรับว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีเป็นตัวแทนของเวสเทิร์นสะฮารา ส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกาและประเทศในโลกที่สาม มีประเทศที่ถอนการรับรองก่อนหน้านี้ออกไป 22 ประเทศ และมี 12 ประเทศที่ระงับความสัมพันธ์ทางการทูต ในปัจจุบันมีสถานทูตของสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีใน 13 ประเทศ ในทางตรงกันข้าม กลุ่มประเทศพันธมิตรอาหรับและอีก 25 ประเทศรับรองการผนวกเวสเทิร์นสะฮาราของโมร็อกโก[3][4]

แม้ว่าจะไม่มีตัวแทนในสหประชาชาติ สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีถือเป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ของสหภาพแอฟริกาตั้งแต่ พ.ศ. 2527 โมร็อกโกได้ประท้วงด้วยการลาออกจากสหภาพแอฟริกา และเป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ไม่ได้เป็นสมาชิกนับตั้งแต่แอฟริกาใต้เข้าเป็นสมาชิกอีกครั้งใน พ.ศ. 2537 นอกจากนั้น สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวียังเป็นสมาชิกพันธมิตรเชิงกลยุทธเอเชีย-แอฟริกาที่มีการชัดประชุมใน พ.ศ. 2548 โดยโมร็อกโกได้ถอนตัวเพื่อประท้วงการเข้าร่วมของสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี ใน พ.ศ. 2549 สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีเข้าร่วมในการประชุมพรรคการเมืองแห่งลาตินอเมริกนและแคริบเบียน [5] ใน พ.ศ. 2553 สถานทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีในนิคารากัวได้เข้าร่วมการเปิดประชุมสภาอเมริกากลาง[6]สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีไม่ได้เป็นสมาชิกทั้งพันธมิตรอาหรับหรือสหภาพอาหรับมักเรบ ซึ่งมีโมร็อกโกเป็นสมาชิก

ปัญหาสิทธิเหนือเวสเทิร์นสะฮารา

ในแผนสันติภาพล่าสุดของสหประชาชาติที่เสนอโดยเจมส์ เบเกอร์และโคฟี อันนัน เลขาธิการทั่วไปแห่งสหประชาชาติได้เสนอแผนเกี่ยวกับเวสเทิร์นสะฮาราให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีถูกแทนที่ด้วยรัฐบาลเวสเทิร์นสะฮารามีระยะเวลา 5 ปี โดยให้โมร็อกโกเป็นที่ปรึกษาก่อนจะได้รับเอกราช แต่แผนนี้ต้องระงับไปเพราะโมร็อกโกไม่เห็นด้วย

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 รัฐบาลโมร็อกโกเสนอให้มีการจัดตั้งเขตปกครองตนเองในเวสเทิร์นสะฮาราและได้เสนอต่อสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อกลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 และนำไปสู่ความพยายามให้มีการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองเกี่ยวกับสิทธิเหนือดินแดนเวสเทิร์นสะฮาราแต่ก็เกิดปัญหาขิ้นเมื่อเวสเทิร์นสะฮาราไม่เห็นด้วย

วันสำคัญของชาติ

มัสยิดในดาคลา
เบโรนีกา ฟอร์เก นักแสดงหญิงชาวสเปน โบกธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี
วันที่ ชื่อ เหตุการณ์ /หมายเหตุ
27 กุมภาพันธ์ วันชาติ วันก่อตั้งสาธารณรัฐเมื่อ พ.ศ. 2519
10 พฤษภาคม วันก่อตั้งแนวร่วมโปลีซารีโอ พ.ศ. 2516
20 พฤษภาคม วันปฏิวัติ 20 พฤษภาคม การเริ่มต้นต่อสู้เพื่อขับไล่สเปนใน พ.ศ. 2516
5 มิถุนายน วันกองทัพที่หายไป รำลึกถึงชาวซาห์ราวีที่สูญหายไป
9 มิถุนายน วันMartyrs วันตายของEl-Ouali พ.ศ. 2519
17 มิถุนายน Zemla Intifada การลุกฮือของฮารากัต ตะห์รีร ที่ เอลอายูน พ.ศ. 2513
12 ตุลาคม วันเอกภาพแห่งชาติ เฉลิมฉลองการประชุมที่ อาลิน เบน ติลี พ.ศ. 2518

วันทางศาสนาอิสลาม

วันหยุดที่ใช้ ปฏิทินอิสลาม

วันที่ ชื่อ หมายเหตุ
Dhul Hijja 10 Eid al-Adha ศีลอด
Shawwal 1 Eid al-Fitr สิ้นสุดรอมดอน

อ้างอิง

  1. Department of Economic and Social Affairs Population Division (2009). "World Population Prospects, Table A.1" (.PDF). 2008 revision. United Nations. สืบค้นเมื่อ 2009-03-12. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help); line feed character ใน |author= ที่ตำแหน่ง 42 (help)
  2. มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ ส่วนมาตรา 2 กล่าวว่า “Islam is the state religion and source of law”.
  3. "Arab League supports Morocco's territorial integrity". Arabic News. 1999-01-08. สืบค้นเมื่อ 2009-02-26.
  4. "Arab League withdraws inaccurate Moroccan maps". Arabic News. 1998-12-17. สืบค้นเมื่อ 2009-02-26.
  5. Prensa Latina (2006-09-11). "LatAm, Caribbean Parties in Nicaragua" (ภาษาEnglish). Prensa Latina. สืบค้นเมื่อ 2006-09-11.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  6. "Saharawi Ambassador to Nicaragua participates in meetings of PARLACEN". SPS. 01-07-2010. สืบค้นเมื่อ 02-07-2010. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

หน้าที่เป็นทางการของสาธารณรัฐฯ
หน้าของสาธารณรัฐฯ
  • (สเปน) Sahara Today  (Independent Digital Journal Sahrawi Arab Democratic Republic)
  • (อาหรับ) (สเปน) Futuro Saharaui  (Saharawi first independent magazine founded in 1999)
  • (สเปน) FiSahara  (Festival de cine del Sahara - Sahara Film Festival)
  • (สเปน) El Bubisher  (Bookmobile and permanent Libraries Project in the Saharawi refugee camps)
  • (สเปน) EFA Abidin Kaid Saleh de la RASD  (Audiovisual Education School Abidin Kaid Saleh of the SADR)
  • (สเปน) ARTifariti  (International Meetings of the Art in the Liberated Territories of SADR)
อื่น ๆ