ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะรักษาความสงบแห่งชาติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
ปิดเว็บไซต์เรดิโอ
ปิดเว็บไซต์เรดิโอ
ฟังวิทยุฟรี เน็ต ทีวีดาวเทียม รัฐบาลรับสมัครผู้ฟังเดือนละ3,000-40,000กว่าบาท บางคนเดือนละเท่านายกรัฐมนตรี
ฟังวิทยุฟรี เน็ต ทีวีดาวเทียม รัฐบาลรับสมัครผู้ฟังเดือนละ3,000-40,000กว่าบาท บางคนเดือนละเท่านายกรัฐมนตรี
คสช.เรดิโอ ผู้ฟังจะได้รับเงินเดือนเท่ากษัตย์
== สาเหตุ ==
== สาเหตุ ==
{{ดูเพิ่มที่|รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557}}
{{ดูเพิ่มที่|รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:30, 14 สิงหาคม 2559

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ไฟล์:Images on television screen in 2014 Thai coup d'état.png
ภาพบนหน้าจอโทรทัศน์ ใช้ระหว่างยึดการออกอากาศโทรทัศน์ทุกช่อง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม และใช้สำหรับเปิดและปิด รายการพิเศษของ คสช.
ก่อตั้ง22 พฤษภาคม 2557
ประเภทคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง
สํานักงานใหญ่กองบัญชาการกองทัพบก
เดิม กองบังคับการ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
หัวหน้า
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
บุคลากรหลัก
เว็บไซต์คสช. ที่เฟซบุ๊ก

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. (อังกฤษ: National Council for Peace and Order (NCPO) เดิมใช้ชื่อ National Peace and Order Maintaining Council (NPOMC) ) เป็นคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง โดยรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ตั้งแต่เวลา 16:30 น. หลังเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร พร้อมทั้งจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ได้สองวัน และมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ

เรดิโอ พฤษภาทมิฬ เรดิโอ เสื้อแดง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลเดชๆ ปิดเว็บไซต์เรดิโอ ฟังวิทยุฟรี เน็ต ทีวีดาวเทียม รัฐบาลรับสมัครผู้ฟังเดือนละ3,000-40,000กว่าบาท บางคนเดือนละเท่านายกรัฐมนตรี คสช.เรดิโอ ผู้ฟังจะได้รับเงินเดือนเท่ากษัตย์

สาเหตุ

วันที่ 21-22 พฤษภาคม 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ผอ.รส.) เรียกประชุมผู้แทนรัฐบาล, วุฒิสภา, คณะกรรมการการเลือกตั้ง, พรรคเพื่อไทย, พรรคประชาธิปัตย์, นปช. และ กปปส. ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อหาข้อสรุปในการก้าวผ่านวิกฤตการณ์ทางการเมือง แต่ไม่อาจหาข้อสรุปได้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และผู้บัญชาการเหล่าทัพ จึงประกาศกระทำรัฐประหารในที่ประชุม และควบคุมตัวผู้เข้าร่วมประชุม ยกเว้นตัวแทนวุฒิสภา และคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยนำตัวไปยังกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งใช้เป็นกองบัญชาการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันที่ 2 มิถุนายน 2557 ทหารแจกใบปลิวให้ประชาชนที่สัญจรย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เนื้อหาระบุเหตุผลที่ คสช. ยึดอำนาจว่า[1]

  1. มีความขัดแย้งทางความคิดการเมืองอย่างรุนแรง หยั่งลึกจากระดับประเทศไปถึงระดับครอบครัวคนไทย
  2. การใช้อำนาจการปกครองที่กระทำอยู่เดิม ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ความแตกแยก และการกระทำผิดของกลุ่มต่าง ๆ ได้อีกต่อไป
  3. แนวทางการเลือกตั้งในรูปแบบเดิมมีการต่อต้านอย่างกว้างขวาง ถ้าเลือกตั้งต่อไปในสถานการณ์เช่นนี้ อาจเกิดปัญหาความวุ่นวายไม่จบสิ้น
  4. การชุมนุมทางการเมืองที่มีต่อเนื่องมาถึง 6 เดือน ซึ่งมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางความคิด และการแก่งแย่งผลประโยชน์ทางการเมือง ตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา (วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 และ พ.ศ. 2556–2557) ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนทุกหมู่เหล่า ทำให้ประชาชนแตกความสามัคคี จนไม่อาจปรองดองกันได้
  5. ปัญหาทุจริต มีคดีความจำนวนมากอยู่ในชั้นศาล และยังรอกระบวนการยุติธรรมตัดสิน
  6. การบังคับใช้กฎหมายปกติต่อปัญหาข้างต้น บังคับใช้ไม่ได้ทุกกลุ่ม ทำให้เกิดความหวาดระแวง เกลียดชังกันในหมู่ประชาชนเป็นวงกว้าง ความเคลื่อนไหวของทุกฝ่าย โดยเฉพาะแกนนำที่มีความผิด ตามกระบวนการยุติธรรม นำไปสู่การยุยงปลุกปั่นแนวร่วมของฝ่ายตน ให้พร้อมที่จะกระทำการใด ๆ ต่อฝ่ายตรงข้ามด้วยความรุนแรง
  7. การบริหารราชการแผ่นดินในห้วงที่ผ่านมาไม่สามารถกระทำได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของชาติ และก่อปัญหาความเดือดร้อนต่อประชาชนทุกระดับจนถึงรากหญ้า
  8. มีการล่วงละเมิดสถาบันกษัตริย์ตามมาตรา 112 ทั้งทางลับและเปิดเผย สร้างความไม่พอใจและเกลียดชังของประชาชนโดยรวม ที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ
  9. การปลุกระดมมวลชนที่มุ่งเอาชนะฝ่ายตรงข้ามโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ทวีความรุนแรงและเป็นไปอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ
  10. ปรากฏชัดว่ามีการจัดตั้งและใช้กองกำลังติดอาวุธรวมถึงการตระเวนอาวุธสงครามจำนวนมาก เพื่อปฏิบัติการอย่างรุนแรงต่อฝ่ายตรงข้ามของตน โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งกองทัพจะยอมให้เกิดขึ้นในประเทศชาติไม่ได้โดยเด็ดขาด

โครงสร้าง

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ผู้บัญชาการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
พลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
หน้าที่ เป็นหน่วยงานในระดับนโยบาย มีหน้าที่กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินทั้งนโยบายเฉพาะหน้า และนโยบายระยะยาว เพื่อให้ส่วนงานระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และระดับปฏิบัตินำไปดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้
สำนักงานเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ /ศูนย์ติดตามสถานการณ์ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ผู้บัญชาการ พลเอก ธีรชัย นาควานิช เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
พลเอก ชาตอุดม ติตถะสิริ รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
หน้าที่ รับผิดชอบหน่วยงาน / ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงาน / ส่วนราชการที่มิได้กำหนดไว้ในโครงสร้างดังกล่าวนี้รวมทั้งกำกับดูแลการปฏิบัติงานทั้งปวงของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.)
ผู้บัญชาการ พลเอก ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย
พลโท เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ แม่ทัพภาคที่ 1 (กกล.รส.ทภ.1)
พลโท วิชัย แชจอหอ แม่ทัพภาคที่ 2 (กกล.รส.ทภ.2)
พลโท สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล แม่ทัพภาคที่ 3 (กกล.รส.ทภ.3)
พลโท วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ แม่ทัพภาคที่ 4 (กกล.รส.ทภ.4)
หน้าที่ ควบคุมกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยทั้ง 4 กองทัพภาค กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยกองทัพภาคที่ 1–4 (กำลังของกองทัพไทย เหล่าทัพ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติขึ้นควบคุมทางยุทธการ)
ฝ่ายความมั่นคง
ผู้บัญชาการ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง
พลเอก อักษรา เกิดผล รองหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง
หน้าที่ ควบคุม 3 กระทรวง ได้แก่
ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
ผู้บัญชาการ พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รองหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
พลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข รองหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
หน้าที่ ควบคุม 1 กระทรวง 3 หน่วย ได้แก่
ฝ่ายเศรษฐกิจ
ผู้บัญชาการ พลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ
หน้าที่ ควบคุม 8 กระทรวง ได้แก่
ฝ่ายสังคมจิตวิทยา
ผู้บัญชาการ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา
พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รองหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา
หน้าที่ ควบคุม 7 กระทรวง ได้แก่
ฝ่ายกิจการพิเศษ
ผู้บัญชาการ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ
พลเอก สุชาติ หนองบัว รองหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ
หน้าที่ ควบคุม 20 หน่วยงาน ได้แก่
หน่วยงานขึ้นตรงกับหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ผู้บัญชาการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หน้าที่ ควบคุม 6 หน่วยงาน ได้แก่

ค่าตอบแทน

วันที่ 2 สิงหาคม 2557 มีการออกกฎหมายกำหนดเงินเดือนและประโยชน์ทางการเงินอื่นแก่สมาชิก คสช. พลเอกประยุทธ์ได้รวม 125,590 บาทต่อเดือน ขณะที่สมาชิก คสช. คนอื่นได้รับรวม 119,920 บาทต่อเดือน ประโยชน์เหล่านี้เพิ่มเติมจากประโยชน์ที่ได้รับจากตำแหน่งในกองทัพ[2]

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เงินประจำตำแหน่งเพิ่มเป็น 175,590 บาท (เพิ่มขึ้น 50,000 บาท) ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 174,420 บาท (เพิ่มขึ้น 45,500 บาท) [3]

คณะกรรมการที่ยังปฏิบัติงานอยู่

คณะกรรมการตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 4 คณะ คณะกรรมการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 29 คณะ คณะกรรมการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ) 2 คณะ คณะกรรมการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 6 คณะ คณะกรรมการตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี 3 คณะ คณะกรรมการตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 1 คณะ มีจำนวนทั้งหมด 45 คณะ

คณะอนุกรรมการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติจำนวน 7 คณะ ได้แก่

  1. คณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการด้านการผลิตและการตลาดสินค้าข้าว ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 173/2557[4]
  2. คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 175/2557[5]
  3. คณะอนุกรรมการจัดทำบัญชีข้าวคงเหลือของรัฐ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 176/2557[6]
  4. คณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 177/2557[7]
  5. คณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 74/2557[8]
  6. คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 106/2557[9]
  7. คณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อยตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 116/2557[10]

คณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 1 /2559 แต่งตั้งบุคคลทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั้งสิ้น 8 ราย[11] ดังรายนามต่อไปนี้

ผู้ปฏิบัติงานดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

อ้างอิง

  1. คสช.แจกใบปลิว 10 เหตุผลทำรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  2. "เปิดบัญชีอัตราเงินตอบแทน "หัวหน้า คสช. - สนช. - สปช."". Isra News. 2014-08-02. สืบค้นเมื่อ 2014-08-02. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |trans_title= (help)
  3. "คลอดแล้ว!ค่าตอบแทน หน.คสช. สนช. สปช. รับ 113,560 -125,590 บาท/ด". Isra News. 2014-11-10. สืบค้นเมื่อ 2014-11-14. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |trans_title= (help)
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/163/11.PDF
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/163/13.PDF
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/163/15.PDF
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/163/17.PDF
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/125/4.PDF
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/144/12.PDF
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/163/3.PDF
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/009/18.PDF
  12. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/311/24.PDF
  13. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/B/003/1.PDF

แหล่งข้อมูลอื่น