ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาดุกแอฟริกา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
| binomial = ''Clarias gariepinus''
| binomial = ''Clarias gariepinus''
| binomial_authority = ([[Burchell]], 1822)
| binomial_authority = ([[Burchell]], 1822)
|synonyms = *''Heterobranchus anguillaris'' <small>(non Linnaeus, 1758)</small>
}}
}}


'''ปลาดุกแอฟริกา''' เป็นปลาน้ำจืดในอันดับ[[ปลาหนัง]]ชนิดหนึ่ง มี[[ชื่อวิทยาศาสตร์]]ว่า ''Clarias gariepinus'' ใน[[วงศ์ปลาดุก]] (Clariidae) มีลักษณะทั่วไปคล้าย[[ปลาดุกด้าน]] (''C. batrachus'') ซึ่งเป็นปลาใน[[สกุล (ชีววิทยา)|สกุล]]เดียวกัน แต่มีส่วนหัวยาวกว่าและแนวระหว่างจะงอยปากถึงท้ายทอยเว้าและโค้งลาด ด้านบนของศีรษะขรุขระกว่า เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นเป็นรูป[[สามเหลี่ยม]] ท้ายทอยแหลมเป็นโค้ง 3 โค้ง โดยส่วนกลางยื่นยาวมากที่สุด ลำตัวยาว ครีบหลังและครีบก้นยาว ลำตัวด้านบนมี[[สีน้ำตาล]]คล้ำอม[[เหลือง]] และมีลายแต้มแบบลาย[[หินอ่อน]]บนลำตัว แก้มและท้องสีจาง ที่โคนครีบหางมีแถบตามแนวตั้งสีจาง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของปลาชนิดนี้ ครีบมีสีเข้ามกว่าลำตัวเล็กน้อย บางตัวอาจมีขอบครีบ[[สีแดง]]
'''ปลาดุกแอฟริกา''' เป็นปลาน้ำจืดในอันดับ[[ปลาหนัง]]ชนิดหนึ่ง มี[[ชื่อวิทยาศาสตร์]]ว่า ''Clarias gariepinus'' ใน[[วงศ์ปลาดุก]] (Clariidae) มีลักษณะทั่วไปคล้าย[[ปลาดุกด้าน]] (''C. batrachus'') ซึ่งเป็นปลาใน[[Clarias|สกุลเดียวกัน]] แต่มีส่วนหัวยาวกว่าและแนวระหว่างจะงอยปากถึงท้ายทอยเว้าและโค้งลาด ด้านบนของศีรษะขรุขระกว่า เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นเป็นรูป[[สามเหลี่ยม]] ท้ายทอยแหลมเป็นโค้ง 3 โค้ง โดยส่วนกลางยื่นยาวมากที่สุด ลำตัวยาว ครีบหลังและครีบก้นยาว ลำตัวด้านบนมี[[สีน้ำตาล]]คล้ำอม[[เหลือง]] และมีลายแต้มแบบลาย[[หินอ่อน]]บนลำตัว แก้มและท้องสีจาง ที่โคนครีบหางมีแถบตามแนวตั้งสีจาง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของปลาชนิดนี้ ครีบมีสีเข้ามกว่าลำตัวเล็กน้อย บางตัวอาจมีขอบครีบ[[สีแดง]]


นับเป็นปลาที่ขนาดใหญ่สุดในสกุล ''[[Clarias]]'' ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 1.70 [[เมตร]]
นับเป็นปลาที่ขนาดใหญ่สุดในสกุล ''[[Clarias]]'' ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 1.70 [[เมตร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:25, 7 สิงหาคม 2559

ปลาดุกแอฟริกา
ทั้งตัว
บริเวณส่วนหัว
สถานะการอนุรักษ์
ปลอดภัยจากการคุกคาม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Siluriformes
วงศ์: Clariidae
สกุล: Clarias
สปีชีส์: C.  gariepinus
ชื่อทวินาม
Clarias gariepinus
(Burchell, 1822)
ชื่อพ้อง
  • Heterobranchus anguillaris (non Linnaeus, 1758)

ปลาดุกแอฟริกา เป็นปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clarias gariepinus ในวงศ์ปลาดุก (Clariidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาดุกด้าน (C. batrachus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีส่วนหัวยาวกว่าและแนวระหว่างจะงอยปากถึงท้ายทอยเว้าและโค้งลาด ด้านบนของศีรษะขรุขระกว่า เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม ท้ายทอยแหลมเป็นโค้ง 3 โค้ง โดยส่วนกลางยื่นยาวมากที่สุด ลำตัวยาว ครีบหลังและครีบก้นยาว ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลคล้ำอมเหลือง และมีลายแต้มแบบลายหินอ่อนบนลำตัว แก้มและท้องสีจาง ที่โคนครีบหางมีแถบตามแนวตั้งสีจาง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของปลาชนิดนี้ ครีบมีสีเข้ามกว่าลำตัวเล็กน้อย บางตัวอาจมีขอบครีบสีแดง

นับเป็นปลาที่ขนาดใหญ่สุดในสกุล Clarias ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 1.70 เมตร

เป็นปลาพื้นเมืองของทวีปแอฟริกา พบได้ในตอนเหนือและตอนตะวันออกของทวีป สำหรับในประเทศไทยได้ถูกนำเข้ามาในปี พ.ศ. 2528 โดยเอกชนบางรายในจังหวัดหนองคายและอุบลราชธานี โดยนำเข้ามาจากประเทศลาวเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น เนื่องจากมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าปลาดุกทั่วไป ต่อมากรมประมงได้นำมาทดลองผสมข้ามพันธุ์กับปลาดุกอุย (C. macrocephalus) พบว่าลูกผสมระหว่างพ่อปลาดุกแอฟริกาและแม่ปลาดุกอุยมีผลการรอดสูง และมีการเจริญเติบโตเร็วที่สุด เนื้อมีรสชาติที่ดีขึ้น จึงส่งเสริมและแพร่วิธีการเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงดูสู่เกษตรกรอย่างกว้างขวาง จนปัจจุบันนี้ กลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมชนิดหนึ่งของไทย และเรียกชื่อลูกปลาผสมนี้ว่า "ปลาดุกบิ๊กอุย"

แต่ในปัจจุบัน สถานะของปลาดุกแอฟริกาในประเทศไทย จากบางส่วนได้หลุดรอดและถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เป็นสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นชนิดหนึ่งที่คุกคามการอยู่รอดสัตว์น้ำพื้นเมืองของไทย

สำหรับชื่ออื่น ๆ ที่เรียกปลาดุกแอฟริกา ก็ได้แก่ "ปลาดุกรัสเซีย", "ปลาดุกเทศ" เป็นต้น

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น