ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
มังกรคาบแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 41: บรรทัด 41:
* พ.ศ. 2556 ในปีการศึกษา1/2556 ทางโรงเรียนได้เปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ เป็นโครงการในความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) เพื่อเป็นการขยายฐานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ จำนวน 1 ห้องเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
* พ.ศ. 2556 ในปีการศึกษา1/2556 ทางโรงเรียนได้เปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ เป็นโครงการในความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) เพื่อเป็นการขยายฐานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ จำนวน 1 ห้องเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


=== ทำเนียบผู้บริหาร ===
=== ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย ===
{| class="toccolours" width=750
{| class="toccolours" width=750
|-
|-

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:25, 4 สิงหาคม 2559

โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย
Queen College
ที่ตั้ง
170 หมู่ 2 ตำบลอ่างหิน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 70140
พิกัด13°26′04″N 99°37′56″E / 13.434334°N 99.632347°E / 13.434334; 99.632347พิกัดภูมิศาสตร์: 13°26′04″N 99°37′56″E / 13.434334°N 99.632347°E / 13.434334; 99.632347
ข้อมูล
ชื่ออื่นบ.ร.ร.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
โรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษ
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
คำขวัญความเป็นเลิศทางวิชาการและคุณธรรม
นิมิตฺตํ สาธุ รูปานํ กตญฺญู กตเวทิตา
(ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี)
สถาปนา5 สิงหาคม พ.ศ. 2535
(31 ปี 236 วัน)
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัสรหัสโรงเรียน 10 หลัก : 1070480381
รหัส Smis 8 หลัก : 70012009
รหัส Obec 6 หลัก : 480381
ผู้อำนวยการนายเฉลา พวงมาลัย
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
สี   สีฟ้า - เทา
เพลงราชวิทยาลัยในฝัน
ต้นไม้ราชพฤกษ์
เว็บไซต์http://www.qc.ac.th
อาคารเฉลิมพระเกียรติโรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย

โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย เป็นโรงเรียนในโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เดิมชื่อ "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ราชบุรี" กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2535 ในสมัยที่ พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ เป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนสหศึกษาแบบประจำรับนักเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมีเนื้อที่ 75 ไร่ 1 งาน 72 ตารางวา ได้รับบริจาคจากนายวัลลภ เจียรวนนนท์ และนายเชิดชัย เรียรวนนท์ ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทมัลติอโกร ราชบุรี โดยประสงค์จะมอบให้กรมสามัญศึกษาสร้างโรงเรียนเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วาระที่มีพระชนมายุ 60 พรรษา กรมสามัญศึกษาจึงจัดให้เป็นสาขาของ "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา" และให้ผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขณะนั้น คือ คุณหญิงพรรณี กาญจนะวสิต เป็นผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ราชบุรี อีกตำแหน่งหนึ่ง

วันที่ 5 สิงหาคม 2535 โรงเรียนได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานชื่อโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย" และมีพระบรมราชานุญาตให้ประดับตราสัญลักษณ์ในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ ซุ้มประตูโรงเรียน และใช้เป็นตราประจำโรงเรียน

ห้องพยาบาลของโรงเรียน

ประวัติ

  • พ.ศ. 2535 ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ อธิบดีกรมสามัญศึกษา ได้รับบริจาคที่ดิน จำนวน 75 ไร่ 2 งาน 66 ตารางวา จาก ดร.วัลลภ เจียรวนนท์ และคุณเชิดชัย เจียรวนนท์ นำเข้าโครงการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาเฉลิมพระเกียรติ ในมหามงคลสมัยที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา
  • พ.ศ. 2536 โรงเรียนเปิดรับนักเรียนครั้งแรก จำนวน 3 ห้องเรียน รับนักเรียน 120 คน แยกเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน 80 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ 40 คน โดยได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัทมัลติอโกร ราชบุรี จำกัด ให้ใช้สถานที่ของสนามกอฟล์ดรากอนฮิลล์เป็นอาคารเรียนชั่วคราวและอาคารหอพักนักเรียน
  • พ.ศ. 2537 โรงเรียนได้ย้ายมาอยู่ในที่ปัจจุบัน และรับนักเรียนเพิ่มขึ้น เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 6 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 240 คน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 3 ห้องเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ห้องเรียน และแผนการเรียนศิลป์- คำนวณ 1 ห้องเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ 1 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 341 คน
  • พ.ศ. 2540 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรง เปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ และทรงวางศิลาฤกษ์อาคารหอประชุมของโรงเรียน ในครั้งนี้ นางอมรา เจียรวนนท์ และ นางปิติพร พิชัยวัฒนพงษ์ พร้อมด้วยครอบครัว ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ที่ดินเพิ่มเติม จำนวน 40 ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งหมด 115 ไร่ 2 งาน 66 ตารางวา
  • พ.ศ. 2556 ในปีการศึกษา1/2556 ทางโรงเรียนได้เปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ เป็นโครงการในความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) เพื่อเป็นการขยายฐานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ จำนวน 1 ห้องเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย

ลำดับที่ รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1
คุณหญิงพรรณี กาญจนะวสิต

ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหาร

พ.ศ. 2535 - 2540
2
นางสาวสุมาลี เถียรทอง พฤษภาคม 2540 –พฤศจิกายน 2543
3
นางสาวอารีวรรณ เอมโกษา พฤศจิกายน 2543 –พฤศจิกายน 2546
4
นายจุฬา จี้เพชร พฤศจิกายน 2546 –มีนาคม 2548
5
นายนเรศ สายหล้า มีนาคม 2548 – เมษายน 2551
6
นางอุไร เอี่ยมสอาด เมษายน 2551- 30 กันยายน 2554
7
นายประทีป จำปาศรี 1 ตุลาคม 2554 - 26 มกราคม 2558
8
นายเฉลา พวงมาลัย 28 มกราคม 2558 - ปัจจุบัน

อัตลักษณ์ของโรงเรียน

กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ

เอกลักษณ์ประจำโรงเรียน

บรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้

ตราประจำโรงเรียน

ตราประจำโรงเรียน : ตรามหามงคลเฉลิมพระเกียรติเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ต้นไม้ประจำโรงเรียน

ต้นไม้ประจำโรงเรียน : ราชพฤกษ์

ขนาดของสถานศึกษา

การกำหนดขนาดสถานศึกษา ถูกแบ่งออกเป็น 4 ขนาด  ดังนี้
   1.สถานศึกษาขนาดเล็ก  มีจำนวนนักเรียน ตั้งแต่  499  คน ลงมา
   2.สถานศึกษาขนาดกลาง  มีจำนวนนักเรียน ตั้งแต่  500 – 1,499  คน
   3.สถานศึกษาขนาดใหญ่  มีจำนวนนักเรียน  ตั้งแต่  1,500 – 2,499  คน
   4.สถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ  มีจำนวนนักเรียน  ตั้งแต่ 2,500  คน ขึ้นไป

การกำหนดขนาดสถานศึกษาโรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ที่จัดการเรียนการสอนในระบบเรียนประจำ และ ไป – กลับ ให้คิดเทียบขนาดจำนวนนักเรียน ดังนี้

จำนวนนักเรียนประจำเกินกว่า 60 %

  • จำนวนนักเรียนประจำ X 3 + จำนวนนักเรียน ไป – กลับ
  • ตัวอย่าง โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย มีนักเรียนประจำ 100% (จำนวน502คน) = (502 X 3) = 1,506 คน จัดอยู่ในประเภทสถานศึกษาขนาดใหญ่

จำนวนนักเรียนประจำต่ำกว่า 60 %

  • จำนวนนักเรียนประจำ X 2 + จำนวนนักเรียน ไป – กลับ

อ้างอิง