ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 56: บรรทัด 56:
{{UEFA Euro 2016 Group F table}}
{{UEFA Euro 2016 Group F table}}


ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย โปรตุเกสสามารถเอาชนะ[[ฟุตบอลทีมชาติโครเอเชีย|โครเอเชีย]] ซึ่งเป็นที่หนึ่งของกลุ่มดี มาได้ 0–1 ในช่วงทดเวลาพิเศษหลังเวลาแข่งขันปกติ ทั้งที่ถูกมองว่าเป็นรองกว่า ใน[[ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016#รอบ 4 ทีมสุดท้าย|รอบ 4 ทีมสุดท้าย]]ก็เอาชนะ[[ฟุตบอลทีมชาติเวลส์|เวลส์]]มาได้ 2–0 จนกระทั่งในรอบชิงชนะเลิศก็เอาชนะฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าภาพได้ 1–0 ช่วงทดเวลาพิเศษหลังเวลาแข่งขันปกติ จากการยิงของ[[แอดืร์ (นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส)|แอดืร์]] ในนาทีที่ 109 ได้แชมป์ไปในที่สุด<ref>{{cite news|title=เอแดร์ ซัดชัย พา 'ฝอยทอง' เชือดเจ้าภาพ เถลิงแชมป์ยุโรปสมัยแรก|url=http://morning-news.bectero.com/m/main.php?m=newsdetail&cname=sport&nid=82907|work=เรื่องเล่าเช้านี้|date=July, 11 2016|accessdate=July 11, 2016}}</ref>
ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย โปรตุเกสสามารถเอาชนะ[[ฟุตบอลทีมชาติโครเอเชีย|โครเอเชีย]] ซึ่งเป็นที่หนึ่งของกลุ่มดี มาได้ 0–1 ในช่วงทดเวลาพิเศษหลังเวลาแข่งขันปกติ ทั้งที่ถูกมองว่าเป็นรองกว่า ใน[[ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016#รอบ 8 ทีมสุดท้าย|รอบ 8 ทีมสุดท้าย]]ก็เอาชนะ[[ฟุตบอลทีมชาติโปแลนด์|โปแลนด์]]มาได้ 5–3 จาก[[การดวลลูกโทษ (ฟุตบอล)|การดวลจุดโทษ]]ตัดสิน หลังจบการแข่งขันในเวลาปกติ เสมอกันที่ 1–1 ใน[[ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016#รอบ 4 ทีมสุดท้าย|รอบ 4 ทีมสุดท้าย]]ก็เอาชนะ[[ฟุตบอลทีมชาติเวลส์|เวลส์]]มาได้ 2–0 จนกระทั่งในรอบชิงชนะเลิศก็เอาชนะฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าภาพได้ 1–0 ช่วงทดเวลาพิเศษหลังเวลาแข่งขันปกติ จากการยิงของ[[แอดืร์ (นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส)|แอดืร์]] ในนาทีที่ 109 ได้แชมป์ไปในที่สุด<ref>{{cite news|title=เอแดร์ ซัดชัย พา 'ฝอยทอง' เชือดเจ้าภาพ เถลิงแชมป์ยุโรปสมัยแรก|url=http://morning-news.bectero.com/m/main.php?m=newsdetail&cname=sport&nid=82907|work=เรื่องเล่าเช้านี้|date=July, 11 2016|accessdate=July 11, 2016}}</ref> โดยถือว่าเป็นแชมป์ได้อย่างน่าเหลือเชื่อ เพราะไม่มีการคาดคิดมาก่อนว่าโปรตุเกสจะสามารถทำได้ เนื่องจากการเล่นแต่ละครั้งเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่น โดยการแข่งขันทั้งหมด 7 นัด รวมถึงรอบชิงชนะเลิศ โปรตุเกสเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ในเวลาแข่งขันปกติเพียงนัดเดียวเท่านั้น คือการเอาชนะเวลส์ นอกนั้นต้องตัดสินกันที่การต่อเวลาพิเศษออกไปอีก 30 นาที และการดวลจุดโทษตัดสิน<ref>หน้า 19 สังคม/มวย/ฟุตบอลต่างประเทศ/สกู๊ป, ''ตำนานเทพนิยาย 'ฝอยทอง' ต้นร้าย–ปลายแชมป์''. '''คมชัดลึก'''ปีที่ 15 ฉบับที่ 5379: วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559</ref>


==รายชื่อผู้เล่น==
==รายชื่อผู้เล่น==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:29, 12 กรกฎาคม 2559

ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส
Shirt badge/Association crest
ฉายาSelecção das Quinas[1], Os Navegadores(ผู้นำทาง)[2], A Selecção (ผู้ถูกเลือก)
ฝอยทอง (ในภาษาไทย)[3]
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลโปรตุเกส
สมาพันธ์UEFA (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนแฟร์นานดู ซันตูส คริสเตียโน โรนัลโด
กัปตันคริสเตียโน โรนัลโด
ติดทีมชาติสูงสุดลูอีช ฟีกู (127)
ทำประตูสูงสุดโรนัลโด (56)
รหัสฟีฟ่าPOR
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน3
อันดับสูงสุด3 (พฤษภาคม 2010)
อันดับต่ำสุด43 (สิงหาคม 1998)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
สเปน สเปน 3–1 โปรตุเกส โปรตุเกส
(มาดริด, สเปน; 18 ธันวาคม 1921)
ชนะสูงสุด
โปรตุเกส โปรตุเกส 8–0 ลีชเทินชไตน์ ธงชาติลีชเทินชไตน์
(ลิสบอน, โปรตุเกส; 18 พฤศจิกายน 1994)
โปรตุเกส โปรตุเกส 8–0 คอสตาริกา คอสตาริกา
(กูอิงบรา, โปรตุเกส; 9 มิถุนายน 1999)
โปรตุเกส โปรตุเกส 8–0 คูเวต ธงชาติคูเวต
(ไลเรียอา, โปรตุเกส; 19 พฤศจิกายน 2003)
แพ้สูงสุด
โปรตุเกส โปรตุเกส 0–10 อังกฤษ อังกฤษ
(ลิสบอน, โปรตุเกส; 25 พฤษภาคม 1947)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม5 (ครั้งแรกใน 1966)
ผลงานดีที่สุดที่ 3, 1966
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม5 (ครั้งแรกใน 1984)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ, 2016

ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส (โปรตุเกส: Seleção Portuguesa de Futebol) เป็นตัวแทนทีมฟุตบอลระดับทีมชาติจากโปรตุเกส ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลโปรตุเกส

ในระดับโลก โปรตุเกสยังไม่เคยได้แชมป์ใด ๆ โปรตุเกสเคยได้อันดับ 4 ในฟุตบอลโลก 2006 เข้าแข่งฟุตบอลโลกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1966 ที่เข้ารอบ 4 ทีมสุดท้าย (ที่ 3) แพ้ให้กับอังกฤษ 2–1 ต่อมาโปรตุเกสติดเข้ารอบฟุตบอลโลกในปี ค.ศ. 1986 และ 2002 แต่ตกรอบไปตั้งแต่รอบแรก

ในปี ค.ศ. 2003 สหพันธ์ฟุตบอลโปรตุเกสตัดสินใจจ้างลูอิส ฟีลีปี สโกลารี ชาวบราซิลที่เคยนำบราซิล ได้แชมป์ในฟุตบอลโลก 2002 โดยสโกลารีนำโปรตุเกสเข้าสู่รอบสุดท้ายในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 แต่แพ้ต่อกรีซในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งนั่นทำให้โปรตุเกสจนถึงปัจจุบันนี้กลายเป็นเจ้าภาพเพียงชาติเดียวในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปที่ในรอบชิงชนะเลิศ ไม่ชนะ[4] และต่อมายังทำให้ทีมเข้าสู่ฟุตบอลโลก 4 ทีมสุดท้าย เป็นครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 2006 แต่หลังจากนั้นสโกลารีออกไปในปี ค.ศ. 2008 เพื่อเป็นผู้จัดการทีมเชลซี โดยได้การ์ลุช ไกรอช มาเป็นผู้จัดการคนใหม่ของทีมชาติโปรตุเกสในปี 2008 และเคยรอซได้นำทีมชาติโปรตุเกสเข้าสู่สุดท้ายในฟุตบอลโลก 2010

ในฟุตบอลโลก 2006 โปรตุเกสได้รับรางวัล "ฟีฟ่าเวิลด์คัพเอนเตอร์เทนเมนต์ทีมอวอร์ด" คือ ทีมที่เล่นได้สนุกเร้าใจที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย โดยเป็นทีมสุดท้ายด้วยที่ได้รับรางวัลนี้ก่อนที่จะถูกยกเลิกไป[4]

โปรตุเกสเป็นแชมป์ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ที่ฝรั่งเศส โดยในรอบชิงชนะเลิศสามารถเอาชนะฝรั่งเศสซึ่งเป็นเจ้าภาพไปได้ 1–0 ในช่วงทดเวลาพิเศษหลังเวลาการแข่งขันปกติ ในนาทีที่ 109 จากแอดืร์ ถือเป็นรายการใหญ่รายการแรกและรายการเดียวถึงขณะนี้ที่โปรตุเกสคว้าชัยชนะมาได้

ประวัติ

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016

บทความหลัก ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016

ในรอบคัดเลือก โปรตุเกสผ่านเข้ารอบมาได้อย่างกระท่อนกระแท่น โดยนัดแรกก็เป็นฝ่ายแพ้ต่อสวีเดน แต่ท้ายสุดก็สามารถผ่านเข้าร่วมการแข่งขันได้ โดยอยู่ในกลุ่มเอฟ ซึ่งเป็นกลุ่มสุดท้ายร่วมกับฮังการี, ออสเตรีย และไอซ์แลนด์ ในรอบแรกโปรตุเกสไม่สามารถเอาชนะทีมใดได้เลย โดยได้ผลเสมอทั้ง 3 นัด แต่ได้ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายมาได้ ด้วยการเป็นทีมที่ได้อันดับ 3 หนึ่งในจำนวน 4 ทีม ที่มีคะแนนดีที่สุดในบรรดา 6 กลุ่ม

อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1 ธงชาติฮังการี ฮังการี 3 1 2 0 6 4 +2 5 เข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2 ธงชาติไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์ 3 1 2 0 4 3 +1 5
3 ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 3 0 3 0 4 4 0 3
4 ธงชาติออสเตรีย ออสเตรีย 3 0 1 2 1 4 −3 1
แหล่งที่มา : ยูฟ่า
กฎการจัดอันดับ : กฎการจัดอันดับรอบแบ่งกลุ่ม

ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย โปรตุเกสสามารถเอาชนะโครเอเชีย ซึ่งเป็นที่หนึ่งของกลุ่มดี มาได้ 0–1 ในช่วงทดเวลาพิเศษหลังเวลาแข่งขันปกติ ทั้งที่ถูกมองว่าเป็นรองกว่า ในรอบ 8 ทีมสุดท้ายก็เอาชนะโปแลนด์มาได้ 5–3 จากการดวลจุดโทษตัดสิน หลังจบการแข่งขันในเวลาปกติ เสมอกันที่ 1–1 ในรอบ 4 ทีมสุดท้ายก็เอาชนะเวลส์มาได้ 2–0 จนกระทั่งในรอบชิงชนะเลิศก็เอาชนะฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าภาพได้ 1–0 ช่วงทดเวลาพิเศษหลังเวลาแข่งขันปกติ จากการยิงของแอดืร์ ในนาทีที่ 109 ได้แชมป์ไปในที่สุด[5] โดยถือว่าเป็นแชมป์ได้อย่างน่าเหลือเชื่อ เพราะไม่มีการคาดคิดมาก่อนว่าโปรตุเกสจะสามารถทำได้ เนื่องจากการเล่นแต่ละครั้งเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่น โดยการแข่งขันทั้งหมด 7 นัด รวมถึงรอบชิงชนะเลิศ โปรตุเกสเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ในเวลาแข่งขันปกติเพียงนัดเดียวเท่านั้น คือการเอาชนะเวลส์ นอกนั้นต้องตัดสินกันที่การต่อเวลาพิเศษออกไปอีก 30 นาที และการดวลจุดโทษตัดสิน[6]

รายชื่อผู้เล่น

ผู้เล่นทั้งหมดนี้ถูกเรียกตัวมาในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2016

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK รุย ปาตรีซีอู 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 (อายุ 28 ปี) 43 0 โปรตุเกส สปอร์ติงลิสบอน
2 2DF บรูนู อัลวึช 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1981 (อายุ 34 ปี) 84 10 ตุรกี เฟแนร์บาห์แช
3 2DF เปปี 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983 (อายุ 33 ปี) 70 3 สเปน เรอัลมาดริด
4 2DF ฌูแซ ฟงตือ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1983 (อายุ 32 ปี) 10 0 อังกฤษ เซาแทมป์ตัน
5 2DF ราฟาแอล กือไรรู 22 ธันวาคม ค.ศ. 1993 (อายุ 22 ปี) 6 2 ฝรั่งเศส ลอรีย็อง
6 2DF รีการ์ดู การ์วัลยู 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1978 (อายุ 38 ปี) 84 5 ฝรั่งเศส มอนาโก
7 4FW คริสเตียโน โรนัลโด (กัปตัน) 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1985 (อายุ 31 ปี) 125 56 สเปน เรอัลมาดริด
8 3MF ฌูเอา โมติญญู 8 กันยายน ค.ศ. 1986 (อายุ 29 ปี) 82 4 ฝรั่งเศส มอนาโก
9 4FW แอดืร์ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1987 (อายุ 28 ปี) 24 2 ฝรั่งเศส ลีล
10 3MF ฌูเอา มารีอู 19 มกราคม ค.ศ. 1993 (อายุ 23 ปี) 9 0 โปรตุเกส สปอร์ติงลิสบอน
11 3MF วีไอริญญา 24 มกราคม ค.ศ. 1986 (อายุ 30 ปี) 20 1 เยอรมนี เฟาเอฟเอล ว็อลฟส์บูร์ก
12 1GK อังโตนี ลอปึช 1 ตุลาคม ค.ศ. 1990 (อายุ 25 ปี) 4 0 ฝรั่งเศส ลียง
13 3MF ดานีลู ปือไรรา 9 กันยายน ค.ศ. 1991 (อายุ 24 ปี) 10 0 โปรตุเกส โปร์ตู
14 3MF วีลีอัง การ์วัลยู 7 เมษายน ค.ศ. 1992 (อายุ 24 ปี) 18 0 โปรตุเกส สปอร์ติงลิสบอน
15 3MF อังแดร โกมึช 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 (อายุ 22 ปี) 6 0 สเปน บาเลนเซีย
16 3MF รือนาตู ซังชึช 18 สิงหาคม ค.ศ. 1997 (อายุ 18 ปี) 3 0 โปรตุเกส ไบฟีกา
17 4FW นานี 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 (อายุ 29 ปี) 94 18 ตุรกี เฟแนร์บาห์แช
18 3MF ราฟา ซิลวา 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 (อายุ 23 ปี) 7 0 โปรตุเกส บรากา
19 2DF แอลีเซว 1 ตุลาคม ค.ศ. 1983 (อายุ 32 ปี) 15 1 โปรตุเกส ไบฟีกา
20 4FW รีการ์ดู กวาแรฌมา 26 กันยายน ค.ศ. 1983 (อายุ 32 ปี) 48 5 ตุรกี เบชิกทัช
21 2DF แซดริก 31 สิงหาคม ค.ศ. 1991 (อายุ 24 ปี) 10 0 อังกฤษ เซาแทมป์ตัน
22 1GK เอดัวร์ดู 19 กันยายน ค.ศ. 1982 (อายุ 33 ปี) 35 0 โครเอเชีย ดีนาโมซาเกร็บ
23 3MF อาดริง ซิลวา 15 มีนาคม ค.ศ. 1989 (อายุ 27 ปี) 8 0 โปรตุเกส สปอร์ติงลิสบอน

เกียรติประวัติ

  • อันดับ 3 (1): 1966
  • รอบแรก (1): 1986
  • อันดับ 4 (1): 2006
  • รอบสอง (1): 2010
  • รองชนะเลิศ (1): 2004
  • อันดับ 1 (1): 2016
  • อันดับ 4 (1): 1996

อดีตผู้เล่นที่มีชื่อเสียง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Selecção das Quinas หมายถึง "ห้าโล่" ("ทีมแห่ง เอสคิวต์เชียน"ส) หรือสัญลักษณ์ห้าจุดข้างใน ("ทีมแห่ง เบเซนตส์") ในธงชาติโปรตุเกส ซึ่งนำมาประดับไว้ในเสื้อตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 70 หมายถึงธงชาติโปรตุเกส หรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับเบเซนตส์เหล่านี้
  2. http://www.abola.pt/nnh/ver.aspx?id=208811
  3. "อุ่นเดือด!โด้นำฝอยทองโป้ง,ตราไก่ใช้ป็อกบาจิก". สยามกีฬา. 4 September 2015. สืบค้นเมื่อ 31 May 2016.
  4. 4.0 4.1 หน้า 13 กีฬา, โปรตุเกส หากท็อปฟอร์มมีลุ้นถึงแชมป์ โดย ทีมข่าวกีฬา. "ตะลุยยูโร". เดลินิวส์ฉบับที่ 24,321: วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก
  5. "เอแดร์ ซัดชัย พา 'ฝอยทอง' เชือดเจ้าภาพ เถลิงแชมป์ยุโรปสมัยแรก". เรื่องเล่าเช้านี้. July, 11 2016. สืบค้นเมื่อ July 11, 2016. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. หน้า 19 สังคม/มวย/ฟุตบอลต่างประเทศ/สกู๊ป, ตำนานเทพนิยาย 'ฝอยทอง' ต้นร้าย–ปลายแชมป์. คมชัดลึกปีที่ 15 ฉบับที่ 5379: วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แหล่งข้อมูลอื่น