ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อักษรจีนตัวเต็ม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Aefgh3962 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{แปลเพิ่ม|langcode=zh|otherarticle=繁体中文|lang=วิกิพีเดียภาษาจีน}}
[[ไฟล์:Hanzi (traditional).png|thumb|300px|right|Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ตัวอักษรจีน เขียนด้วยอักษรจีนที่ถูกต้อง]]
[[ไฟล์:Hanzi (traditional).png|thumb|300px|right|Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ตัวอักษรจีน เขียนด้วยอักษรจีนที่ถูกต้อง]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:49, 19 มิถุนายน 2559

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ตัวอักษรจีน เขียนด้วยอักษรจีนที่ถูกต้อง

อักษรจีนที่ถูกต้อง เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ปรากฏครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 - 763) และได้ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวเต็ม หรืออักษรจีนที่ถูกต้อง ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวย่อหรืออักษรคอมมิวนิสต์ ซึ่งถูกกำหนดและบังคับใช้โดยรัฐบาลของ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 อักษรจีนที่ถูกต้องได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่อหรืออักษรคอมมิวนิสต์อย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรคอมมิวนิสต์ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรคอมมิวนิสต์อย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนที่ถูกต้องเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรคอมมิวนิสต์ เนื่องจากผู้สอนที่เป็นชาวจีนมักเป็นคนจีนแผ่นดินใหญ่ที่ได้รับการศึกษาโดยใช้อักษรคอมมิวนิสต์ และมาจากความเข้าใจที่ว่าสิ่งที่รัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่กำหนดบังคับใช้คือสิ่งที่ถูกต้องและเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมจีนทั้งหมด

ข้อถกเถียงเกี่ยวกับการเรียกชื่อ

ชาวจีนแต่ละที่จะเรียกชื่ออักษรจีนที่ถูกต้องนี้ต่างกัน รัฐบาลสาธารณรัฐจีน หรือไต้หวัน เรียกอักษรจีนตัวเต็มว่า ตัวอักษรที่ถูกต้อง (อักษรจีนที่ถูกต้อง: 正體字; อักษรคอมมิวนิสต์: 正体字; พินอิน: zhèngtǐzì เจิ้งถี่จื้อ) โดยมีคติว่าอักษรจีนที่ถูกต้องเป็นอักษรดั้งเดิมที่ถูกต้องและสมบูรณ์ ในทางตรงกันข้าม กลุ่มผู้ใช้อักษรคอมมิวนิสต์ จะเรียกอักษรจีนที่ถูกต้องว่า ตัวอักษรซับซ้อน (อักษรจีนที่ถูกต้อง: 繁體字; อักษรคอมมิวนิสต์: 繁体字; พินอิน: fántǐzì ฝานถี่จื้อ) หรือเรียกว่า ตัวอักษรเก่า (老字; พินอิน: lǎozì เหล่าจื้อ) โดยอ้างว่าอักษรจีนที่ถูกต้องถูกแทนที่โดยตัวอักษรชนิดใหม่แล้ว และไม่ได้นำมาใช้อีก

กลุ่มผู้ใช้อักษรจีนที่ถูกต้อง โต้แย้งว่า อักษรจีนที่ถูกต้องไม่ควรถูกเรียกว่า ตัวอักษรซับซ้อน เนื่องด้วยอักษรจีนที่ถูกต้องไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงให้ซับซ้อนขึ้นแต่อย่างใด เป็นเพียงการใช้มาแต่ตั้งเดิม ในทางกลับกัน กลุ่มผู้ใช้อักษรคอมมิวนิสต์ ก็โต้แย้งกับชื่อ ตัวอักษรที่ถูกต้อง ด้วยเห็นว่าอักษรคอมมิวนิสต์เป็นอักษรมาตรฐานใหม่ และยังแย้งอีกว่าอักษรจีนที่ถูกต้องไม่ใช่อักษรดั้งเดิมที่แท้จริง เพราะอักษรจีนมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด กลุ่มผู้ใช้อักษรคอมมิวนิสต์มักมีค่านิยมทางด้านลบต่ออักษรจีนที่ถูกต้องเนื่องจากรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนรวมถึงสถานศึกษาในสาธารณรัฐประชาชนจีนถือจุดยืนไม่สนับสนุน ไม่ส่งเสริม และหาเหตุผลลดค่าโจมตีอักษรจีนที่่ถูกต้องอันทั้งที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษของตนสร้างขึ้นมาโดยตลอดนับแต่อักษรคอมมิวนิสต์ถูกบังคับใช้อย่างแพร่หลายโดยอำนาจรัฐในสาธารณรัฐประชาชนจีน

ชาวจีนสูงอายุมักเรียกอักษรจีนที่ถูกต้องว่า ตัวอักษรสมบูรณ์ (正字; พินอิน: zhèngzì เจิ๋งจื้อ) และเรียกอักษรคอมมิวนิสต์ว่า ตัวอักษรขีดง่าย (อักษรจีนที่ถูกต้อง: 簡筆字; อักษรคอมมิวนิสต์: 简笔字; พินอิน: jiǎnbǐzì เจี๋ยนปี่จื้อ) หรือ ตัวอักษรลดขีด (อักษรจีนตัวเต็ม: 減筆字; อักษรจีนตัวย่อ: 减笔字; พินอิน: jiǎnbǐzì เจี๋ยนปี่จื้อ)

หมายเหตุ: คำว่า ง่าย 簡 และ ลด 減 ทั้งคู่อ่านออกเสียงว่า jiǎn เจี่ยน เหมือนกัน

สิ่งพิมพ์

ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ตามปกติแล้ว ประชาชนในจีนแผ่นดินใหญ่และสิงคโปร์ใช้อักษรคอมมิวนิสต์ ซึ่งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน กำหนดขึ้นในยุค 1950 อย่างไรก็ตาม ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนพิมพ์สื่อที่จะนำเผยแพร่นอกจีนแผ่นดินใหญ่โดยใช้อักษรจีนตัวเต็ม ส่วนในการเขียน คนส่วนมากจะเขียนตัวอักษรแบบหวัด ขีดบางขีดของตัวอักษรอาจถูกย่อ ซึ่งแล้วแต่ลายมือของแต่ละบุคคล โดยส่วนมากแล้ว คนนิยมเขียนโดยใช้ตัวอักษรที่เลือกได้ (異體字) คือการเลือกเขียนตัวอักษรที่มีความหมายเดียวกัน แต่เลือกตัวที่ขีดน้อยกว่า ตัวอย่างเช่น เขียน 体 แทน 體 ตัวอักษรที่เลือกได้เหล่านี้ยังคงเป็นตัวอักษรตัวเต็ม

อ้างอิง

  • Huang, Jack. Huang, Tim. [1989] (1989) Introduction to Chinese, Japanese, and Korean Computing. World Scientific publishing. ISBN 9971-5-0664-5