ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมธนารักษ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 161: บรรทัด 161:


=== ส่วนภูมิภาค ===
=== ส่วนภูมิภาค ===
* สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ 75 พื้นที่
* สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ 76 พื้นที่


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:46, 18 พฤษภาคม 2559

กรมธนารักษ์
The Treasury Department
ไฟล์:TTD logo.GIF
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง23 พฤษภาคม พ.ศ. 2476
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ซอยพระรามที่ 6 ซอย 30 (อารีย์สัมพันธ์) ถนนพระรามที่ 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
งบประมาณประจำปี3,682.111 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล[2], อธิบดี
  • วีระวุฒิ ศรีเปารยะ, รองอธิบดี
  • ปรีชา มงคลหัตถี, รองอธิบดี
  • เอกวัฒน์ มานะแก้ว, รองอธิบดี
เว็บไซต์http://www.treasury.go.th

กรมธนารักษ์ เป็นกรมในสังกัดของกระทรวงการคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการทำเหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก การดูแลที่ราชพัสดุตามอำนาจหน้าที่ การประเมินราคาทรัพย์สิน การรับจ่ายและรักษาพระราชทรัพย์ทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร และการจัดการเงินในพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเกี่ยวกับพระราชทรัพย์ของบรมวงศ์

ประวัติ

ในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ได้มีการก่อตั้ง ‘’’กรมธนารักษ์’’’ ขึ้นมา โดยกรมธนารักษ์รวมกรมที่มีหน้าที่สำคัญ ๆ ไว้ถึง 4 กรม ด้วยกันคือ

  • กรมกษาปณ์สิทธิการ
  • กรมพระคลังมหาสมบัติ
  • กรมเงินตรา
  • กรมรักษาที่หลวงและกัลปนา

โดยทั้งนี้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกรมในกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2476 กรมธนารักษ์แต่เดิมใช้ชื่อว่ากรมพระคลัง และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมคลัง เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ สำนักงานและกรมในกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2495 จากนั้นได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2495 จึงได้เปลี่ยนชื่อจากกรมคลัง เป็น "กรมธนารักษ์" เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 ตราบจนถึงปัจจุบัน

รายชื่อและหน้าที่ของกรมต่าง ๆ ที่มารวมกันเป็นกรมธนารักษ์ มีดังนี้

  • กรมกษาปณ์สิทธิการ

กรมกษาปณ์สิทธิการ ก่อตั้งขึ้นเนื่องจากเมื่อปี พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่จะจัดตั้งโรงกษาปณ์ทำเหรียญแบนขึ้นตามลักษณะสากลนิยมใช้แทนเงินพดด้วง จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้คณะทูตไทยที่ส่งไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษ จัดซื้อเครื่องทำเงินมาถวาย และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานขึ้นในพระบรมมหาราชวัง และในต้นปี พ.ศ. 2403 ได้ติดตั้งเครื่องจักรเสร็จเรียบร้อย โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า "โรงกระษาปณ์สิทธิการ" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมกระษาปณ์" และเป็น "กองกษาปณ์" และเป็น "สำนักกษาปณ์" ในปัจจุบัน

  • กรมพระคลังมหาสมบัติ

เดิม กรมพระคลังมหาสมบัติมีชื่อเรียกว่า "กรมเก็บ" ขึ้นกับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เป็นพระคลังแผ่นดินสำหรับรับจ่ายและรักษาพระราชทรัพย์ทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร และเป็นต้นเรื่องรับส่งเงินแผ่นดินถึงพระคลังในหัวเมืองทั่วราชอาณาจักร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2455 จึงได้เปลี่ยนชื่อจากกรมเก็บเป็นกรมพระคลังมหาสมบัติ

  • กรมเงินตรา

กรมเงินตรากำเนิดขึ้นโดยประกาศพระราชบัญญัติธนบัตร พ.ศ. 2445 โดยรัฐออกเงินกระดาษรูปตั๋วสัญญาใช้เงินตามกฎหมายเรียกว่า "ธนบัตร" โดยสัญญาจะจ่ายเงินให้แก่ผู้นำตั๋วมายื่นทันที เจ้าพนักงานผู้ออกธนบัตรและผู้รับจ่ายเงินขึ้นธนบัตรให้เรียกว่า "กรมธนบัตร"

ต่อมาในปี พ.ศ. 2452 กรมธนบัตร ได้ถูกโอนไปขึ้นกับกรมตำรวจและกรมสารบัญชี ซึ่งภายหลังได้ชื่อใหม่ว่ากรมบัญชีกลาง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2471 จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก "กรมธนบัตร" เป็น "กรมเงินตรา"

เมื่อมีพระราชกฤษฎีการจัดวางระเบียบกรมในกระทรวงการคลังในปี พ.ศ. 2476 แล้ว กรมเงินตราก็ได้ลดฐานะลงเป็น กองเงินตรา สังกัดกรมพระคลัง โดยมีหน้าที่เกี่ยวกับธนบัตรและเหรียญกษาปณ์

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2485 ได้จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้น กิจการเกี่ยวกับธนบัตรจึงเป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยหน้าที่ของกองเงินตราไปอยู่กับฝ่ายออกบัตรธนาคาร กรมเงินตราจึงพ้นไปจากกรมธนารักษ์

  • กรมรักษาที่หลวงและกัลปนา

กรมรักษาที่หลวงและกัลปนา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเงินในพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเกี่ยวกับพระราชทรัพย์ของบรมวงศ์ และดูแลที่ดินซึ่งมีผู้อุทิศแต่ประโยชน์ให้วัดหรือพระศาสนา ซึ่งเรียกว่า "ที่กัลปนา" อีกด้วย แต่ปัจจุบันเป็นหน้าที่ของกรมการศาสนาซึ่งเป็นผู้ดูแล

จากการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2545 ได้มีการโอนสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย มาสังกัดที่กรมธนารักษ์

กรมธนารักษ์ในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน กรมธนารักษ์มีหน้าที่ในด้านต่าง ๆ คือ ด้านที่ราชพัสดุ ด้านเหรียญกษาปณ์และบริหารเงินตรา ด้านทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน และด้านการประเมินราคาทรัพย์สิน

โดยสถานที่ทำการแห่งแรกของกรมธนารักษ์ตั้งอยู่บริเวณถนนเขื่อนขันฑ์นิเวศในพระบรมมหาราชวัง ในปี พ.ศ. 2503 ได้ย้ายที่ทำการจากพระบรมมหาราชวัง มาอยู่ที่ถนนจักรพงษ์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพ และในปี พ.ศ. 2535 สถานที่ทำการกรมธนารักษ์ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ในบริเวณกระทรวงการคลัง ถนนพระรามที่ 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

นอกจากนี้ยังมีที่ทำการของหน่วยงานในสังกัดกรมธนารักษ์ (ไม่รวมสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ซึ่งตั้งอยู่ทุกจังหวัด 76 จังหวัด) มีที่ทำการอยู่ภายนอกกรม ดังนี้

สำนักกษาปณ์
13/1 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
สำนักบริหารเงินตรา
ถนนจักรพงษ์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน
ในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน
1 อาคารบางกอกน้อย ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางบำหรุ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
2 อาคารตลิ่งชัน ถนนบรมราชชนนี แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170

หน่วยงานในสังกัด

ส่วนกลาง

  • สำนักบริหารที่ราชพัสดุกรุงเทพมหานคร
  • สำนักบริหารที่ราชพัสดุ1
  • สำนักบริหารที่ราชพัสดุ2
  • สำนักบริหารจัดการฐานข้อมูลที่ราชพัสดุ
  • สำนักพัฒนาและบำรุงรักษาอาคารราชพัสดุ
  • สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน
  • สำนักพัฒนาธุรกิจและศักยภาพที่ราชพัสดุ
  • สำนักบริหารเงินตรา
  • สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน
  • สำนักกษาปณ์
  • สำนักบริหารกลาง
  • กองแผนงาน
  • สำนักการคลัง
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สำนักกฎหมาย
  • บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด

ส่วนภูมิภาค

  • สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ 76 พื้นที่

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/020/2.PDF

แหล่งข้อมูลอื่น