ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเดินเรือ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
WUTJUNG (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
WUTJUNG (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 83: บรรทัด 83:


== Passage Planning ==
== Passage Planning ==
ในการเดินเรือจากเมืองท่าใดเมืองท่าหนึ่งไปยังเมืองท่าปลายทาง จำเป็นจะต้องมีการวางแผนการเดินเรือ เพื่อศึกษาและกำหนดเส้นทางในการเดินเรือ ความปลอดภัยในการเดินเรือทั้งในชีวิตของลูกเรือ และสินค้าบนเรือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังนั้นการทำ [[Passage Planning]] จึงต้องละเอียดรอบคอบ และมีความเข้าใจในการทำแผนการเดินเรือเป็นอย่างดี
ในการเดินเรือจากเมืองท่าใดเมืองท่าหนึ่งไปยังเมืองท่าปลายทาง จำเป็นจะต้องมีการวางแผนการเดินเรือ เพื่อศึกษาและกำหนดเส้นทางในการเดินเรือ ความปลอดภัยในการเดินเรือทั้งในชีวิตของลูกเรือ และสินค้าบนเรือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังนั้นการทำ Passage Planning จึงต้องละเอียดรอบคอบ และมีความเข้าใจในการทำแผนการเดินเรือเป็นอย่างดี
* '''หลักในการทำแผนการเดินเรือ'''
* '''หลักในการทำแผนการเดินเรือ'''
*# [[From berth to berth]]
*# [[From berth to berth]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:14, 12 พฤษภาคม 2559

การเดินเรือ ถือเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่ไม่เป็นที่แพร่หลาย จะมีเฉพาะในกลุ่มของชาวเรือและมีองค์กรหรือบุคคลที่สนใจจริงๆเท่านั้น และถ้าจะบอกว่าการเดินเรือเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ก็คงจะไม่เกินเลยจากความเป็นจริง เพราะการเดินเรือถือเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ นักเดินเรือที่ดีจะต้องมีทั้ง 2 อย่างที่ว่านี้ ในประเทศไทยสถาบันซึ่งถือว่าเป็นสถาบันหลักในการผลิตนักเดินเรือทั้งผู้ที่เป็นผู้นำเรือรบทางทหารและผู้นำเรือสินค้า(พาณิชย์) อีกทั้งยังเป็นแหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับการเดินเรือและยังเป็นสถานที่สำหรับฝึกฝนอบรมเพิ่มความรู้และทักษะต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษามีลักษณะความเป็นชาวเรือ คือ - โรงเรียนนายเรือ (Royal Thai Naval Academy, RTNA) - ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี(MERCHANT MARINE TRAINING CENTER) - คณะโลจิสติกส์ สาขาวิทยาการเดินเรือ มหาวิทยาลัยบูรพา (http://bmc.buu.ac.th/index.php) - วิทยาลัยพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา (International Maritime College) - คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ความรู้พื้นฐาน

การที่จะเป็นนักเดินเรือที่ดีได้นั้น จะต้องรอบรู้ในศาสตร์การเดินเรือเป็นอย่างดีเริ่มจากพื้นฐานก่อน แล้วจึงค่อยๆเรียนรู้ในศาสตร์อื่นๆที่สูงขึ้นไป ดังนั้นพื้นฐานจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจเป็นอย่างดีเสียก่อน

  1. โลก

สัณฐานของโลก (Shape of the earth) เป็น รูปอิลลิปซอยด์ โดยเกิดจากการหมุนรูปอิลลิปซ์ โดยมี เส้นผ่าศูนย์กลางอิเควเตอร์ ยาว 12756.7760 กิโลเมตร ( 6888.10 ไมล์ทะเล)และเส้นผ่าศูนย์กลางขั้วโลกยาว 12713.8238 กิโลเมตร ( 6894.90ไมล์ทะเล ) ดังนั้นโลกจึงมีลักษณะคล้ายทรงกลม ในการคำนวณการเดินเรือจึงถือว่าโลกมีลักษณะเป็นทรงกลม โดยค่าที่ได้เกิดความเคลื่อนคลาดไม่มากนัก

  • ศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับโลก
    • ขั้วโลก
      • ขั้วเหนือ คือส่วนที่อยู่บริเวณปลายเหนือของแกนโลก
      • ขั้วใต้ คือส่วนที่อยู่ตรงข้ามกับขั้วเหนือ
    • อิเควเตอร์ ( Equator ) คือ เส้นที่แบ่งโลกออกเป็นสองส่วนที่เท่าๆกัน คือ กึ่งทรงกลมเหนือและกึ่งทรงกลมใต้ ดังนั้นอิเควเตอร์ก็คือวงใหญ่ของโลกนั้นเอง โดยทุกจุดบนเส้นอิเควเตอร์อยู่ห่างจากขั้วโลกแต่ละขั้ว 90 องศา
    • เมริเดียน ( MERIDIANS ) เป็นวงใหญ่ของโลกที่ผ่านขั้วโลกทั้งสอง ดังนั้นพื้นเมริเดียนทุกพื้นจะมีแกนโลกรวมอยู่ด้วย ดังนั้นแกนโลกจึงแบ่งพื้นเมริเดียนออกเป็นสองส่วนที่เท่ากัน ทำให้เกิดเป็น เมริเดียนส่วนบน และ เมริเดียนล่วนล่าง และเมริเดียนจะตั้งฉากกับเส้นอิเควเตอร์
      • เมริเดียนแรก เป็นเมริเดียนแรกที่ให้เป็นหลักในการวัดลองจิจูด โดยอยู่ที่หอตรวจดาวเมือง กรีนิช ประเทศอังกฤษ
      • แอนตี้เมริเดียน เป็นครึ่งของเมริเดียนแรก ที่ทำให้เมริเดียนแรกเป็นวงใหญ่สมบูรณ์
    • ละติจูด LATITUDE เป็นระยะทางเชิงมุมของตำบลที่ใดตำบลที่หนึ่ง โดยนับไปทางเหนือหรือใต้ของอิเควเตอร์ ละติจูดนี้คือมุมที่ศูนย์กลางโลก ระหว่างเมริเดียนที่ผ่านตำบลที่นั้นกับเส้นอิเควเตอร์

อักขระต่างๆ

การเรียกขานอักขระต่างๆในการเดินเรือมีดังนี้

Passage Planning

ในการเดินเรือจากเมืองท่าใดเมืองท่าหนึ่งไปยังเมืองท่าปลายทาง จำเป็นจะต้องมีการวางแผนการเดินเรือ เพื่อศึกษาและกำหนดเส้นทางในการเดินเรือ ความปลอดภัยในการเดินเรือทั้งในชีวิตของลูกเรือ และสินค้าบนเรือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังนั้นการทำ Passage Planning จึงต้องละเอียดรอบคอบ และมีความเข้าใจในการทำแผนการเดินเรือเป็นอย่างดี