ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rotlink (คุย | ส่วนร่วม)
gcache removed this entry
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
| ขนาดภาพ = 250 px
| ขนาดภาพ = 250 px
| บรรยายภาพ = พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 120/ตอนที่ 95 ก/หน้า 1/2 ตุลาคม 2546)
| บรรยายภาพ = พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 120/ตอนที่ 95 ก/หน้า 1/2 ตุลาคม 2546)
| ชื่อเต็ม = 555+
| ชื่อเต็ม =
| ชื่อสำหรับอ้าง =
| ชื่อสำหรับอ้าง =
| ผู้ตรา = [[รัฐสภาไทย]]
| ผู้ตรา = [[รัฐสภาไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:23, 25 เมษายน 2559

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก
พ.ศ. 2546
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 120/ตอนที่ 95 ก/หน้า 1/2 ตุลาคม 2546)
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ตรารัฐสภาไทย
ผู้ลงนามพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
วันลงนาม24 กันยายน 2546
ผู้ลงนามรับรองพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
วันลงนามรับรอง24 กันยายน 2546
วันประกาศ2 ตุลาคม 2546
(ราชกิจจานุเบกษา: เล่ม 120/ตอนที่ 95 ก/หน้า 1/2 ตุลาคม 2546)
วันเริ่มใช้30 มีนาคม 2547
(เมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ) [1]
ท้องที่ใช้ไทย ทั่วประเทศไทย
ผู้รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[2]
การร่าง
ชื่อร่างดูในบทความ
ผู้เสนอดูในบทความ
การยกร่างในชั้นสภาล่าง
วาระที่หนึ่ง30 ตุลาคม 2545
ขั้นรับหลักการ ให้รับหลักการ[3]
วาระที่สอง26 มีนาคม 2546
ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา[4]
วาระที่สาม26 มีนาคม 2546
ขั้นสุดท้าย ให้เสนอวุฒิสภาพิจารณาต่อได้[4]
การยกร่างในชั้นสภาสูง
วาระที่หนึ่ง4 เมษายน 2546
ขั้นรับหลักการให้รับหลักการ[5]
วาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา
วาระที่สามขั้นสุดท้าย
คำสำคัญ
การคุ้มครองเด็ก • สวัสดิภาพของเด็ก
เว็บไซต์
ห้องสมุดกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เป็นกฎหมายไทย ประเภทพระราชบัญญัติ ร่างขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีไทยในสมัยพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และตราขึ้นโดยรัฐสภาไทยในสมัย อุทัย พิมพ์ใจชน เป็นประธานรัฐสภา โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2546 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2546 และมีผลใช้บังคับในอีกหนึ่งร้อยแปดสิบวันถัดมา คือ วันที่ 30 มีนาคม 2547 แทนที่ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 และ ฉบับที่ 294

การยกร่าง

ชั้นสภาผู้แทนราษฎร

การเสนอร่างพระราชบัญญัติ ในปลาย พ.ศ. 2545 มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กถึงแปดฉบับ ต่อสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 21 คือ[3]

ที่
ผู้เสนอ
ชื่อร่างพระราชบัญญัติ
1. คณะรัฐมนตรี "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ..."
2. นิภา พริ้งศุลกะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และคณะ "ร่างพระราชบัญญัติสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน พ.ศ. ..."
3. ปวีณา หงสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร "ร่างพระราชบัญญัติสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เยาวชน และครอบครัว พ.ศ. ..."
4. ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ และศรคม ฦๅชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ..."
5. กัญจนา ศิลปอาชา และจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ..."
6. อำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และคณะ "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ..."
7. พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ..."
8. สลิลทิพย์ ชัยสดมภ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ..."

วาระที่หนึ่ง ขั้นรับหลักการ ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ปีที่ 2 ครั้งที่ 24 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันที่ 30 ตุลาคม 2545 ที่ประชุมมีมติให้รับหลักการของร่างพระราชบัญญัติทั้งแปด หลักการ คือ ให้มีกฎหมายคุ้มครองเด็ก[3] นอกจากนี้ ที่ประชุมยังให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้งแปดรวมกัน ประกอบกรรมาธิการทั้งสิ้นสามสิบห้าคน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 190 และให้แปรญัตติร่างพระราชบัญญัติทั้งแปดภายในเจ็ดวัน[6]

วาระที่สอง ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา แม้ว่าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรให้แปรญัตติร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2545 แต่มีการปิดประชุมรัฐสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติก่อนในช่วงขึ้นปีใหม่ ต่อมา เมื่อคณะกรรมาธิการรวมร่างพระราชบัญญัติทั้งแปดฉบับเข้าเป็นร่างฉบับเดียวกัน ให้ชื่อว่า "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ..." แล้ว สภาผู้แทนราษฎรจึงให้นำขึ้นพิจารณาใหม่ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ปีที่ 3 ครั้งที่ 15 วันที่ 26 มีนาคม 2546 โดยที่ประชุมพิจารณาชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงมาตราตามลำดับจนจบร่าง

วาระที่สาม ขั้นสุดท้าย ในการประชุมครั้งเดียวกันกับวาระที่สอง ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อวุฒิสภาได้ เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการในชั้นสภาผู้แทนราษฎร[4]

ชั้นวุฒิสภา

วาระที่หนึ่ง ขั้นรับหลักการ ในการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 16 (สมัยสามัญทั่วไป) วันที่ 4 เมษายน 2546 ที่ประชุมวุฒิสภาอภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แถลงตอบ เสร็จแล้ว ที่ประชุมมีมติให้รับหลักการ คือ ให้มีกฎหมายคุ้มครองเด็ก[7] ในการนี้ ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ประกอบกรรมาธิการยี่สิบเจ็ดคน แล้วกำหนดให้แปรญัตติภายในสิบห้าวัน[5]

อย่างไรก็ดี ในการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 19 (สมัยสามัญทั่วไป) วันที่ 25 เมษายน 2546 คณะกรรมาธิการขอขยายเวลาพิจารณาออกไปอีกสามสิบวัน จากเดิมให้พิจารณาถึงวันที่ 27 เมษายน 2546 และที่ประชุมอนุมัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศ้กราช 2540 มาตรา 174[8]

วาระที่สอง ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา

วาระที่สาม ขั้นสุดท้าย

โครงสร้าง

พระราชบัญญัตินี้ ประกอบด้วยมาตราทั้งหมดแปดสิบแปดมาตรา แบ่งเป็นสิบเอ็ดหมวด ดังต่อไปนี้

ที่
ชื่อหมวด
มาตรา
1. - (หมวดนิรนาม) 1-6
2. หมวด 1 คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก 7-21
3. หมวด 2 การปฏิบัติต่อเด็ก 22-31
4. หมวด 3 การสงเคราะห์เด็ก 32-39
5. หมวด 4 การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก 40-47
6. หมวด 5 ผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก 48-50
7. หมวด 6 สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู 51-62
8. หมวด 7 การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา 63-67
9. หมวด 8 กองทุนคุ้มครองเด็ก 68-77
10. หมวด 9 บทกำหนดโทษ 78-86
11. บทเฉพาะกาล 87-88

ภาพรวม

เหตุผล

เหตุผล ของพระราชบัญญัตินี้ คือ

"...โดยที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2515 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 294 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน สาระสำคัญและรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก ไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน สมควรกำหนดขั้นตอนและปรับปรุงวิธีการปฏิบัติต่อเด็กให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และมีพัฒนาการที่เหมาะสม อันเป็นการส่งเสริมความมั่นคงของสถาบันครอบครัว รวมทั้งป้องกันมิให้เด็กถูกทารุณกรรม ตกเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หรือถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และสมควรปรับปรุงวิธีการส่งเสริมความร่วมมือในการคุ้มครองเด็กระหว่างหน่วยงานของรัฐและเอกชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตตินี้"

คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก

การคุ้มครองเด็ก

พระราชบัญญัติดังกล่าวคุ้มครองเด็ก คือ บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่สมรส โดยมีการจดทะเบียนสมรสชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว แต่ไม่นับรวมการสมรสโดยพฤตินัย

เด็กในกระบวนการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพหรือส่งเสริมความประพฤติตามพระราชบัญญัตินี้ จะต้องมีอายุไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์ แต่หากเข้าสู่กระบวนการนี้แล้ว แม้จะอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์แล้ว ก็ถือว่าบุคคลนั้นยังมีสิทธิได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพหรือส่งเสริมความประพฤติต่อไป[9]

หัวใจของบทบาทของผู้ปกครองอยู่ที่มาตรา 23 ซึ่งบัญญัติว่า[10]

"ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ"

กองทุนคุ้มครองเด็ก

ความผิดอาญา

กรณีการห้ามเด็กออกจากบ้านหลัง 22.00 นาฬิกา พ.ศ. 2554

โฆษกสำนักงานตำรวจนครบาลเปิดเผยว่า แนวคิดการห้ามเด็กออกจากบ้านเริ่มขึ้นในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 โดยเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองโนยบายลดอาชญากรรมในกรุงเทพมหานคร 20% ภายใน 6 เดือนของรัฐบาล[11]

พลตำรวจตรีอำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเสนอให้ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัตินี้ ห้ามเด็กออกจากบ้านหลัง 22.00 นาฬิกา [12] เพื่อลดอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเด็ก โดยมีพื้นที่เฝ้าจับตา คือ สถานบันเทิง และร้านให้บริการคอมพิวเตอร์ โดยใช้มาตรการคือ หากพบเด็กอยู่ในสถานที่ไม่เหมาะสม โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร จะนำตัวไปยังโรงพัก เพื่อทำประวัติและเรียกผู้ปกครองมารับกลับบ้าน[12] รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลระบุว่ามาตรการดังกล่าวช่วยปกป้องเด็ก ซึ่งอาศัยความตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก หากพบเด็กคนใดฝ่าฝืน เจ้าหน้าที่จะนำตัวมาทำประวัติและเชิญผู้ปกครองมาพบ ผู้ปกครองที่ปล่อยปละละเลยให้เด็กกระทำความผิดมากกว่า 1 ครั้ง มีโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 2 หมื่นบาท[13]

มาตรการดังกล่าวได้รับการตอบรับทั้งสนับสนุนและคัดค้าน โดยฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยเรียกมาตรการนี้ว่า "เคอร์ฟิวเด็ก" และเห็นว่าอาจเป็นอันตรายต่อเด็ก เช่น อาจถูกตำรวจรีดไถ หรือมีคนอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ทำอันตรายต่อเด็ก ส่วนนักวิชาการและองค์การสิทธิมนุษยชนเห็นว่าอาจละเมิดสิทธิและเสรีภาพของเด็ก บางคนยืนยันว่าตำรวจไม่มีอำนาจออกคำสั่งเช่นนี้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติ ซึ่งอาจทำให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้ต้องหาฐานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบเสียเอง[14] สำหรับฝ่ายที่เชื่อว่าตำรวจนครบาลสามารถใช้อำนาจตามพระราชบัญญัตินี้บังคับใช้นโยบาลดังกล่าว อ้างอำนาจตามกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ และกฎกระทรวงที่ออกโดยอาศัยอำนาจคำสั่งคณะปฏิวัติที่ 249 [15]

ตัวแทนตำรวจนครบาล กล่าวว่า ตำรวจมีแนวคิดควบคุมโต๊ะสนุกเกอร์ ร้านอินเทอร์เน็ต ร้านเกม และสถานบันเทิง ซึ่งจะดำเนินการในกรณีที่พบเด็กในสถานที่ดังกล่าวโดยไม่มีผู้ปกครองมาด้วยเท่านั้น[16]

จากสำรวจความคิดเห็นของประชาชนโดยสวนดุสิตโพล ร้อยละ 62.87 เห็นว่าสามารถแก้ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดจากเด็กและเยาวชนได้ ร้อยละ 67.41 คิดว่ารัฐบาลมีสิทธิควบคุมความประพฤติของเยาวชนของประเทศ ร้อยละ 68.15 เห็นว่ามาตรการดังกล่าวเป็นการคุ้มครองเด็ก และร้อยละ 65.91 เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว ส่วนร้อยละ 52.27 เห็นว่ากระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก[17]

เชิงอรรถ

  1. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 2

    "พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป"

  2. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง

    "ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้..."

  3. 3.0 3.1 3.2 "ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาต่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ...". (2545, 12 ธันวาคม 2545). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 119, ตอนที่ 100 ง). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. เข้าถึงเมื่อ: 1 กุมภาพันธ์ 2554.
  4. 4.0 4.1 4.2 "บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 21 ปีที่ 3 ครั้งที่ 15 (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 26 มีนาคม พุทธศักราช 2546 ณ ตึกรัฐสภา". (2545, 12 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 119, ตอนที่ 100 ง). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. เข้าถึงเมื่อ: 1 กุมภาพันธ์ 2554.
  5. 5.0 5.1 "ประกาศวุฒิสภา เรื่อง ตั้งคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาต่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ...". (2546, 13 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 120, ตอนที่ 38 ง). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. เข้าถึงเมื่อ: 1 กุมภาพันธ์ 2554.
  6. "บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 21 ปีที่ 2 ครั้งที่ 24 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ 30 ตุลาคม พุทธศักราช 2545 ณ ตึกรัฐสภา". (2545, 12 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 119, ตอนที่ 100 ง). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. เข้าถึงเมื่อ: 1 กุมภาพันธ์ 2554.
  7. "บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 16 (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2546 ณ ตึกรัฐสภา". (2546, 8 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 120, ตอนที่ 37 ง). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. เข้าถึงเมื่อ: 1 กุมภาพันธ์ 2554.
  8. "บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 19 (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พุทธศักราช 2546 ณ ตึกรัฐสภา". (2546, 22 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 120, ตอนที่ 41 ง). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. เข้าถึงเมื่อ: 1 กุมภาพันธ์ 2554.
  9. สคช.จังหวัดพิจิตร. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546. สืบค้น 30-1-2554.
  10. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546. มูลนิธิอาสาพัฒนาเด็ก. สืบค้น 30-1-2554.
  11. http://www.bangkokpost.com/print/216468
  12. 12.0 12.1 เจาะประเด็น: กฎเหล็ก..เคอร์ฟิวเด็ก 18 ปี. (17 มกราคม 2554). สืบค้น 30-1-2554.
  13. ชุมทางอีสาน ประจำวันที่ 20 มกราคม 2554. แนวหน้า. (20 มกราคม 2554). สืบค้น 13-2-2554.
  14. เคอร์ฟิวเด็กคือดาบ 2 คม. (18 มกราคม 2554). สืบค้น 30-1-2554.
  15. ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 19 – 01 – 2554
  16. ตำรวจย้ำเคอร์ฟิวเด็กแค่ 4 จุดร้านเน็ต-เกม-โต๊ะสนุก-สถานบันเทิง. (27 มกราคม 2554). สืบค้น 30-1-2554.
  17. ดุสิตโพลชี้คนชอบเคอร์ฟิวเด็ก. โพสต์ทูเดย์. (16 มกราคม 2554). สืบค้น 30-1-2554.

แหล่งข้อมูลอื่น