ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาสนวิหารวินเชสเตอร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 57: บรรทัด 57:


ระหว่างปีค.ศ. 1905 - ปี ค.ศ. 1912 มีการปฏิสังขรณ์โดย ที จี แจ็คสัน (T.G. Jackson) ที่สำคัญคือการป้องกันไม่ให้มหาวิหารทรุดลงมาทั้งหลัง พื้นที่สร้างมหาวิหารเป็นพื้นที่ที่มีน้ำขังทางกำแพงด้านใต้และด้านตะวันออกซึ่งต้องให้นักประดาน้ำวิลเลียม วอลคเคอร์ (William Walker) เอาถุง[[คอนกรีต]]เข้าไปอัดไว้ใต้ฐาน 25,000 ถุงและ ก้อน คอนกรีตอีก 115,000 ก้อน และ [[อิฐ]]อีก 900,000 ก้อน วอลคเคอร์ใช้เวลาดำน้ำ 6 ชั่วโมงต่อวันเป็นเวลา 6 ปี (ค.ศ. 1906 - ปี ค.ศ. 1912) ในสภาพที่มืดมิดและมีความลึกถึง 6 เมตร วิลเลียม วอลคเคอร์จึงเป็นคนที่มีบทบาทสำคัญมากในการอนุรักษ์มหาวิหารที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เพื่อเป็นการตอบแทนคุณความดีของวอลคเคอร์ [[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย]]พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Royal Victorian Order ชั้น MVO ให้แก่วิลเลียม วอลคเคอร์
ระหว่างปีค.ศ. 1905 - ปี ค.ศ. 1912 มีการปฏิสังขรณ์โดย ที จี แจ็คสัน (T.G. Jackson) ที่สำคัญคือการป้องกันไม่ให้มหาวิหารทรุดลงมาทั้งหลัง พื้นที่สร้างมหาวิหารเป็นพื้นที่ที่มีน้ำขังทางกำแพงด้านใต้และด้านตะวันออกซึ่งต้องให้นักประดาน้ำวิลเลียม วอลคเคอร์ (William Walker) เอาถุง[[คอนกรีต]]เข้าไปอัดไว้ใต้ฐาน 25,000 ถุงและ ก้อน คอนกรีตอีก 115,000 ก้อน และ [[อิฐ]]อีก 900,000 ก้อน วอลคเคอร์ใช้เวลาดำน้ำ 6 ชั่วโมงต่อวันเป็นเวลา 6 ปี (ค.ศ. 1906 - ปี ค.ศ. 1912) ในสภาพที่มืดมิดและมีความลึกถึง 6 เมตร วิลเลียม วอลคเคอร์จึงเป็นคนที่มีบทบาทสำคัญมากในการอนุรักษ์มหาวิหารที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เพื่อเป็นการตอบแทนคุณความดีของวอลคเคอร์ [[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย]]พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Royal Victorian Order ชั้น MVO ให้แก่วิลเลียม วอลคเคอร์

== สิ่งที่น่าสนใจ ==
* ปัจจุบันมหาวิหารมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมจากที่ต่าง ๆ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับ[[เจน ออสเตน]] ผู้มาเสียชีวิตที่เมืองวินเชสเตอร์และถูกฝังอยู่ทางด้านเหนือของทางเดินข้าง ป้ายที่สร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 แทบจะมิได้สรรเสริญความสามารถในงานประพันธ์ของออสเตนเลย แต่ต่อมาก็มีการทำป้ายใหม่เพื่อให้สมฐานะติดอยู่ข้าง ๆ

* สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือมหาวิหารใช้เป็นฉากของนวนิยายเรื่อง “Chronicles of Barsetshire” (จดหมายเหตุของบาร์เซ็ทเชอร์) โดย แอนโทนี ทรอลล็อพ (Anthony Trollope) ที่เขียนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19
* เมื่อปีค.ศ. 2005 มหาวิหารใช้เป็นฉากถ่าย[[ภาพยนตร์]]เรื่อง[[รหัสลับดาวินชี]] โดยใช้ด้านเหนือแขนกางเขนเป็นฉาก[[นครรัฐวาติกัน|วาติกัน]] หลังจากนั้นมหาวิหารจึงเป็นเจ้าภาพในการจัดการอภิปรายหนังสือเล่มนี้เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าความคิดหรือความเชื่อจากหนังสือนั้นเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง

* มหาวิหารนี้คงเป็นมหาวิหารเดียวที่มีคนเขียน[[เพลง]]สมัยนิยมให้ เพลง “Winchester Cathedral” ของ The New Vaudeville Band ขึ้นอันดับหนึ่งในสิบที่อังกฤษ และอันดับหนึ่งที่[[สหรัฐอเมริกา]] เมื่อปีค.ศ. 1966 และอีกครั้งหนึ่งเมื่อปีค.ศ. 1977 ในเพลง “Cathedral” เขียนโดย Crosby, Stills & Nash เป็นเพลงในแผ่น[[อัลบั้ม]] CSN

* ทางด้านใต้ของกางเขนจะเป็น “ชาเปลคนหาปลา” (Fishermen's Chapel) ซึ่งเป็นที่ฝังไอแซ็ค วอลตัน (Izaak Walton)--เพื่อนของ [[จอห์น ดันน์]] (John Donne)--ผู้ที่เสียชีวิตเมื่อปีค.ศ. 1683 ผู้เป็นนักประพันธ์เรื่อง “The Compleat Angler”

* ภายในบริเวณร้องเพลงสวดมีระฆังจากเรือรบหลวง Iron Duke ซึ่งเป็นเรือนำทัพของแม่ทัพเรือจอห์น เจลลิโค (John Jellicoe) ที่ศึกจั๊ทแลนด์ (Izaak Walton) เมื่อปีค.ศ. 1916

* ภายในชาเปล “Epiphany” มีหน้าต่างประดับกระจกสีแบบ[[พรีราฟาเอลไลท์]] ออกแบบโดยเซอร์[[เอ็ดเวิร์ด เบิร์น-โจนส์]] (Sir Edward Coley Burne-Jones) ทำที่เวิร์คช็อบของ[[วิลเลียม มอร์ริส]] (William Morris) ซึ่งเป็นเวิร์คช็อบที่มีชื่อเสียงทางการตกแต่งกระจกสี กล่าวกันว่ามีรูปหนึ่งที่ละม้ายเจนภรรยาของวิลเลียม มอริส ผู้มักจะนั่งเป็นแบบให้[[ดานเต เกเบรียล รอสเซ็ตติ]] และสมาชิกกลุ่มศิลปิน[[กลุ่มพรีราฟาเอลไลท์]]คนอื่นๆ

* ที่ฝังศพภายใต้วัดซึ่งมักจะถูกใต้น้ำมีรูปปั้นโดยแอนโทนี กอร์มลี (Antony Gormley) ชื่อ “Sound II” ซึ่งติดตั้งเมื่อปีค.ศ. 1986 นอกจากนั้นก็มีอนุสรณ์สมัยใหม่ของที่ฝังศพของนักบุญสวิทเธิร์น

* ระหว่างปี ค. ศ. 1992 ถึงปี ค. ศ. 1996 ทางมหาวิหารได้ติดตั้งรูปปั้น 5 รูปหลังฉากหลังบริเวณสงฆ์ที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกัน[[เรลิก]]ของนักบุญสวิทเธิร์นที่ถูกทำลายโดย[[พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเฮนรีที่ 8]]เมื่อค. ศ. 1538 รูปปั้นแบบ[[ศาสนจักรออร์โธด็อกซ์รัสเซีย|รัสเซียนออร์ทอดอกซ์]]สร้างโดยเซอร์เก เฟโดรอฟ (Sergei Fedorov) และทำพิธีอุทิศเมื่อปีค. ศ. 1997 เป็นรูปปั้นของผู้มีความสำคัญทางคริสต์ศาสนาในบริเวณเมืองวินเชสเตอร์เช่นนักบุญสวิทเธิร์น และนักบุญบิรินัส (St Birinus) ภายใต้รูปปั้นเป็นช่องศักดิ์สิทธิ์ (Holy Hole) ซึ่งเคยเป็นที่ที่นักบุญคลานเข้าไปข้างใต้เพื่อให้ได้อยู่ใกล้ชิดที่สุดกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญสวิธัน

* นอกจากนั้นทางมหาวิหารยังเป็นแห่งเดียวในโลกที่เป็นเจ้าของ[[ระฆัง]]แบบมีระดับเสียง 14 ระฆังซึ่งระฆัง tenor เป็นระฆังที่หนักที่สุดหนัก 1.83 เมตริกตัน


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:21, 6 เมษายน 2559

มหาวิหารวินเชสเตอร์
Winchester Cathedral
ทางเดินกลางของมหาวิหารวินเชสเตอร์
แผนที่
51°3′38″N 1°18′47″W / 51.06056°N 1.31306°W / 51.06056; -1.31306
ที่ตั้งวินเชสเตอร์ เทศมณฑลแฮมป์เชอร์
ประเทศ สหราชอาณาจักร
นิกายแองกลิคัน
เว็บไซต์มหาวิหารวินเชสเตอร์
ชื่อเดิมOld Minster
สถานะอาสนวิหาร
เหตุการณ์ที่ฝังศพเจน ออสเตน, หน้าต่างประดับกระจกสีแบบพรีราฟาเอลไลท์
ประเภทสถาปัตย์กางเขน
รูปแบบสถาปัตย์กอทิก
ปีสร้างค.ศ. 1079
แล้วเสร็จค.ศ. 1093

มหาวิหารวินเชสเตอร์ (อังกฤษ: Winchester Cathedral) เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรแห่งอังกฤษ ตั้งอยู่ที่เมืองวินเชสเตอร์ เทศมณฑลแฮมป์เชอร์ สหราชอาณาจักร ตัวอาสนวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมื่อ ค.ศ. 1079 และเสร็จ เมื่อ ค.ศ. 1093

สถาปัตยกรรมก่อนสมัยโรมาเนสก์

มหาวิหารแรกสุดก่อตั้งเมื่อค. ศ. 642 ตรงด้านเหนือของมหาวิหารปัจจุบัน มหาวิหารเดิมรู้จักกันในนามว่า “Old Minster” (มินสเตอร์เดิม) วัดมาเป็นอารามเมื่อปีค.ศ. 971 นักบุญสวิธัน (Saint Swithun) ถูกฝังไว้ใกล้มหาวิหารเดิมก่อนที่จะถูกย้ายมาฝังที่มหาวิหารใหม่ที่สร้างแบบโรมาเนสก์ หรือที่เรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ที่อังกฤษ “Mortuary chests” (หีบ หรือ กล่อง) ซึ่งเชื่อกันว่าข้างในบรรจุกระดูกของพระเจ้าแผ่นดินแซ็กซอนเช่นพระเจ้าเอ็ดวี (Edwy of England) และพระนางเอลจิวา พระมเหสี (Elgiva) ซึ่งเดิมฝังอยู่ที่มหาวิหารเก่าแต่ต่อมาก็ย้ายไปฝังที่มหาวิหารปัจจุบัน มหาวิหารเดิมถูกรื้อทิ้งเมื่อปีค.ศ. 1093

ประวัติ

ตัวมหาวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1079 ภายใต้การนำของบิชอปวอล์คลิน (Bishop Walkelin) เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1093 นักพรตก็ย้ายจากมหาวิหารเดิมไปสู่มหาวิหารใหม่ต่อหน้าผู้มาเข้าร่วมพิธีจากทั่วอังกฤษ

บริเวณที่เก่าที่สุดของมหาวิหารปัจจุบันคือที่ฝังศพภายใต้วัด (crypt) ซึ่งสร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในสมัยพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 ที่รู้จักกันในนามวิลเลียม รูฟัส (William Rufus) พระราชโอรสในพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ผู้ซึ่งต่อมาถูกฝังไว้ในมหาวิหารเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1100 หลังจากที่สิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุจากการล่าสัตว์ที่ New Forest

หอเตี้ยเหนือจุดตัดระหว่างทางเดินกลางกับแขนกางเขนของโบสถ์เริ่มสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1202 เพื่อแทนหอเดิมที่ทลายลงมาเพราะดินบริเวณที่สร้างมหาวิหารนั้นไม่แน่น ลักษณะของสถาปัตยกรรมของมหาวิหารเป็นแบบโรมาเนสก์แท้ ถึงแม้การก่อสร้างจะทำต่อมาจนถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14

เมื่อปี ค.ศ. 1394 ก็เริ่มการบูรณะปรับรูปแบบทางเดินกลางที่สร้างแบบโรมาเนสก์โดยอาจารย์ช่างหินวิลเลียม วินฟอร์ด (William Wynford) และทำต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 รวมทั้งการเพิ่มจรมุข (Ambulatory) เพื่อให้มีเนื้อที่เพียงพอสำหรับนักแสวงบุญที่มาทำการสักการะนักบุญสวิทเธิร์นที่โบสถ์

อารามเซนต์สวิธันคณะเบเนดิกตินถูกยุบเลิกตามการยุบอารามเมื่อปี ค.ศ. 1539 ระเบียงฉันนบถและหอประชุมนักบวชถูกรื้อทิ้งแต่มหาวิหารยังเป็นมหาวิหารต่อมา

ระหว่างปีค.ศ. 1905 - ปี ค.ศ. 1912 มีการปฏิสังขรณ์โดย ที จี แจ็คสัน (T.G. Jackson) ที่สำคัญคือการป้องกันไม่ให้มหาวิหารทรุดลงมาทั้งหลัง พื้นที่สร้างมหาวิหารเป็นพื้นที่ที่มีน้ำขังทางกำแพงด้านใต้และด้านตะวันออกซึ่งต้องให้นักประดาน้ำวิลเลียม วอลคเคอร์ (William Walker) เอาถุงคอนกรีตเข้าไปอัดไว้ใต้ฐาน 25,000 ถุงและ ก้อน คอนกรีตอีก 115,000 ก้อน และ อิฐอีก 900,000 ก้อน วอลคเคอร์ใช้เวลาดำน้ำ 6 ชั่วโมงต่อวันเป็นเวลา 6 ปี (ค.ศ. 1906 - ปี ค.ศ. 1912) ในสภาพที่มืดมิดและมีความลึกถึง 6 เมตร วิลเลียม วอลคเคอร์จึงเป็นคนที่มีบทบาทสำคัญมากในการอนุรักษ์มหาวิหารที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เพื่อเป็นการตอบแทนคุณความดีของวอลคเคอร์ สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Royal Victorian Order ชั้น MVO ให้แก่วิลเลียม วอลคเคอร์

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

สมุดภาพ