ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา'''เป็นการสังหารหมู่[[พันธุฆาต]]ทุตซี (Tutsi) และฮูตู (Hutu) สายกลางใน[[ประเทศรวันดา]] โดยสมาชิกรัฐบาลฝ่ายข้างมากฮูตู ระหว่างสมัยประมาณ 100 วันตั้งแต่วันที่ 7 เมษายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2537 มีชาวรวันดาประมาณ 501,000–1,000,000 คนเสียชีวิต ซึ่งเป็น 70% ของชาวทุตซี และ 20% ของประชากรรวมของรวันดา สมาชิกอภิชนการเมืองแกนกลางที่เรียก อะคะซุ (akazu) วางแผนพันธุฆาตนี้ ซึ่งหลายคนนั่งตำแหน่งระดับสูงสุดของรัฐบาลแห่งชาติ ผู้ก่อการมาจากทหารในกองทัพรวันดา ตำรวจแห่งชาติ (ก็องดาร์เมอรี) ทหารอาสาสมัครที่รัฐบาลสนับสนุน ซึ่งมีอินเตราฮัมเว (Interahamwe) และอิมปูซูมูกัมบิ (Impuzamugambi) และประชากรพลเรือนฮูตู

[[ไฟล์:Genocide victim.jpg|thumb|right]]

'''การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา''' คือเหตุการณ์ที่[[ชนพื้นเมือง]][[ชาวทุตซี]] (Tutsi) และชนพื้นเมือง[[ชาวฮูตู]] (Hutu) ถูก[[การสังหารหมู่|สังหารหมู่]]ไปประมาณ 800,000-1,071,000 คนใน[[ประเทศรวันดา]] โดยกลุ่มผู้กระทำการสังหารหมู่คือกลุ่ม[[ทหารบ้าน]]หัวรุนแรงชาวฮูตู ได้แก่กลุ่มอินเตราฮัมเว (Interahamwe เป็น[[ภาษากินยาร์วันดา]]แปลว่า "ผู้ที่สู้ด้วยกัน") และกลุ่มอิมปูซูมูกัมบิ (Impuzamugambi แปลว่า "ผู้ที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน") โดยจะมี 2 กลุ่มนี้เป็นผู้กระทำการสังหารหมู่เสียเป็นส่วนใหญ่ ในช่วงเวลา 100 วันตั้งแต่วันที่ [[6 เมษายน]]ไปจนถึงกลางเดือน[[กรกฎาคม]]ในปี [[พ.ศ. 2537]] (1994)

เหตุการณ์[[การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์|ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์]]ในรวันดาถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญทาง[[ประวัติศาสตร์]] ไม่เพียงเพราะจำนวนคนที่ถูกสังหารเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับเวลาอันสั้น แต่ยังเป็นเพราะว่าเหตุการณ์นี้ได้แสดงถึงความไม่มีประสิทธิภาพขององค์การ[[สหประชาชาติ]] (โดยเฉพาะสมาชิกสำคัญแห่ง[[โลกตะวันตก]]คือ[[สหรัฐอเมริกา]]และ[[ฝรั่งเศส]]) ในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ แม้จะมีข่าวคราวมาก่อนว่าจะมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนที่มันจะเกิดขึ้นจริงก็ตาม รวมไปถึงการนำเสนอข่าวการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไปทั่วโลกเมื่อเหตุการณ์ได้เกิดขึ้น ที่แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงและความโหดร้ายทารุณของการสังหารหมู่ กระนั้น [[ประเทศโลกที่หนึ่ง]]ส่วนใหญ่รวมไปถึงประเทศฝรั่งเศส, [[เบลเยียม]] และสหรัฐอเมริกา กลับมีท่าทีนิ่งเฉยต่อเหตุการณ์สังหารหมู่ โดยปฏิเสธที่จะออกมากระทำการแทรกแซง หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต่อกลุ่มผู้กระทำการสังหารหมู่ ส่วน[[ประเทศแคนาดา]]ยังคงทำหน้าที่เป็นกองกำลังรักษาความสงบในรวันดาจนถึงทุกวันนี้

ก่อนหน้าที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น สหประชาชาติได้เริ่มต้นภารกิจในการช่วยเหลือประเทศรวันดา (หรือ UNAMIR - United Nations Assistance Mission for Rwanda) ในเดือน[[ตุลาคม]] ปี [[พ.ศ. 2536]] (1993) เพื่อช่วยลดความตึงเครียดระหว่างรัฐบาลรวันดา (ที่ประกอบไปด้วยชาวฮูตูเป็นส่วนใหญ่) กับกลุ่มกบฏชาวตุดซี หลังจากที่[[พันธไมตรี]]หรือ[[ข้อตกลงสันติภาพอะรูชา]] (Arusha Accords หรือ Arusha Peace Agreement) ได้ถูกลงนามในวันที่ [[4 สิงหาคม]] พ.ศ. 2536 ต่อมาสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ภารกิจสิ้นสุดลงในปี [[พ.ศ. 2539]] (1996) โดยก่อนหน้าที่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จะเกิดขึ้น รวมไปถึงช่วงระหว่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สหประชาชาติไม่อนุญาตให้ UNAMIR เข้าทำการแทรกแซงหรือใช้กำลังในระยะเวลาที่เร็วหรือมีประสิทธิภาพพอที่จะยับยั้งการสังหารหมู่ในรวันดา แม้ว่า UNAMIR จะปรับขอบเขตอำนาจและกำลังพลของตนเอง เมื่อเกิดเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้เกิดขึ้น รวมถึงเมื่อสถานการณ์ในประเทศได้เปลี่ยนไปก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น กระนั้นนโยบายของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติก็ยังคงมีข้อจำกัดทางกระบวนการและขั้นตอนหลายอย่าง ซึ่งเป็นเหตุให้สหประชาชาติประสบกับความล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในการป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไม่ให้เกิดขึ้น โดยผู้นำภารกิจของสหประชาชาติภารกิจนี้ก็คือพลโท[[โรมิโอ ดาลแลร์]] (Roméo Dallaire) นายทหารชาวแคนาดา

หลายสัปดาห์ก่อนที่เหตุการณ์จะเริ่มขึ้น สหประชาชาติไม่ได้ตอบสนองต่อรายงานเกี่ยวกับการสะสมอาวุธของทหารบ้านชาวฮูตู อีกทั้งยังปฏิเสธข้อเสนอให้ออกคำสั่งห้ามดักล่วงหน้า แม้ว่า พ.ท. ดาลแลร์จะทำการเตือนสหประชาชาติหลายต่อหลายครั้ง ทั้งในช่วงเวลาก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้นมาจนถึงตอนที่เหตุการณ์กำลังดำเนินอยู่ แต่ทางสหประชาชาติก็ยังคงยืนกรานให้ยึดตาม[[กฎการปะทะ]]แบบเดิม ซึ่งทำให้กองกำลังรักษาความสงบของสหประชาชาติไม่สามารถที่จะทำการขัดขวางทหารบ้านฮูตูไม่ว่าในทางใด ๆ แม้กระทั่งปลดอาวุธ ยกเว้นเป็นเหตุให้ทหารสหประชาชาติต้องป้องกันตัวเอง ความล้มเหลวโดยสิ้นเชิงของสหประชาชาติที่ไม่สามารถทำการขัดขวางและยับยั้งการฆ่าได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพพอได้นำไปสู่การถกประเด็นว่าใครเป็นฝ่ายผิดกันแน่ในเวทีสากล ได้แก่ประเทศฝรั่งเศส (ในฐานะที่มีสัมพันธ์กับรวันดาผ่านทางองค์กรชุมชนผู้พูด[[ภาษาฝรั่งเศส]]สากลหรือ[[ลาฟรังโคโฟนี]] - La Francophonie), ประเทศเบลเยียม (ในฐานะประเทศอดีตจ้าว[[อาณานิคม]]ของรวันดา) และประเทศสหรัฐอเมริกา (ในฐานะตำรวจโลก) ซึ่งรวมไปถึงระดับบุคคลที่ทำการร่างนโยบายขึ้นมาได้แก่[[ชาค-โรเจอร์ส บูห์-บูห์]] (Jacques-Roger Booh-Booh) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศแห่ง[[ประเทศแคเมอรูน]]และหนึ่งในผู้นำภารกิจ UNAMIR และ[[ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา|ประธานาธิบดีสหรัฐฯ]] [[บิล คลินตัน]] ที่กล่าวถึงการเพิกเฉยของสหรัฐฯ ว่า "เป็นสิ่งที่น่าสลดที่สุดภายใต้การบริหารของผม"

เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้จบลงในที่สุดเมื่อกลุ่มกบฏชาวเผ่าตุดซีชื่อว่าแนวร่วมผู้รักชาติชาวรวันดา (Rwandan Patriotic Front - RPF) ภายใต้การนำของผู้ก่อตั้ง [[พอล คากาเม]] ได้ทำการล้มล้างรัฐบาลชาวฮูตูและเข้ายึดอำนาจ หลังจากนั้นในเวลาต่อมาก็มีผู้อพยพ และทหารบ้านฮูตูผู้พ่ายแพ้เป็นแสน ๆ คนก็ได้หลบหนีเข้าไปในประเทศซาอีร์ (Zaire ซึ่งก็คือ[[สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก]]ในปัจจุบัน) ในภูมิภาคตะวันออกเนื่องจากกลัวการถูกล้างแค้นโดยชาวตุดซี หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความเกลียดชังและความรุนแรงระหว่างสองชนเผ่านี้ก็ลุกลามไปยังประเทศในภูมิภาค โดยเป็นเหตุให้เกิด[[สงครามคองโกครั้งที่หนึ่ง|สงครามคองโก]]ถึง[[สงครามคองโกครั้งที่สอง|สองครั้ง]] ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องกันตั้งแต่ [[พ.ศ. 2539]] มาจนถึง [[พ.ศ. 2546]] (1996-2003) ความชิงชังและโกรธแค้นระหว่างสองชนเผ่ายังมีส่วนสำคัญในการเติมเชื้อปะทุความรุนแรงที่พัฒนามาเป็น[[สงครามกลางเมืองบุรุนดี|สงครามกลางเมือง]]ในประเทศบุรุนดีตั้งแต่ [[พ.ศ. 2536]] (1993) มาจนถึงเดือน[[สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2548]] (2005) อีกด้วย

{{เรียงลำดับ|เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา}}


[[หมวดหมู่:ประเทศรวันดา]]
[[หมวดหมู่:ประเทศรวันดา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:56, 5 เมษายน 2559

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดาเป็นการสังหารหมู่พันธุฆาตทุตซี (Tutsi) และฮูตู (Hutu) สายกลางในประเทศรวันดา โดยสมาชิกรัฐบาลฝ่ายข้างมากฮูตู ระหว่างสมัยประมาณ 100 วันตั้งแต่วันที่ 7 เมษายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2537 มีชาวรวันดาประมาณ 501,000–1,000,000 คนเสียชีวิต ซึ่งเป็น 70% ของชาวทุตซี และ 20% ของประชากรรวมของรวันดา สมาชิกอภิชนการเมืองแกนกลางที่เรียก อะคะซุ (akazu) วางแผนพันธุฆาตนี้ ซึ่งหลายคนนั่งตำแหน่งระดับสูงสุดของรัฐบาลแห่งชาติ ผู้ก่อการมาจากทหารในกองทัพรวันดา ตำรวจแห่งชาติ (ก็องดาร์เมอรี) ทหารอาสาสมัครที่รัฐบาลสนับสนุน ซึ่งมีอินเตราฮัมเว (Interahamwe) และอิมปูซูมูกัมบิ (Impuzamugambi) และประชากรพลเรือนฮูตู