ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้ามหานามะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
|พิธีบรมราชาภิเษก = 40 ปีก่อน [[พุทธศักราช|พุทธศก]]
|พิธีบรมราชาภิเษก = 40 ปีก่อน [[พุทธศักราช|พุทธศก]]
|ระยะเวลาครองราชย์ =
|ระยะเวลาครองราชย์ =
|รัชกาลก่อนหน้า = [[พระเจ้าภัททิยะศากยราชา]]
|รัชกาลก่อนหน้า = [[พระเจ้าสุทโธทนะ|พระเจ้าสุทโธทนะศากยราชา]]
|รัชกาลถัดมา = ไม่ระบุ
|รัชกาลถัดมา = ไม่ระบุ



รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:01, 23 มีนาคม 2559

พระเจ้ามหานามะ

เจ้าชายมหานามะ
พระเจ้ามหานามศากยราชา
กษัตริย์แห่งศากยวงศ์
ราชาภิเษก40 ปีก่อน พุทธศก
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้าสุทโธทนะศากยราชา
รัชกาลถัดไปไม่ระบุ
ประสูติภายหลังพระพุทธเจ้า
สวรรคตภายหลังพระพุทธเจ้า
พระเจ้ามหานามศากยราชา
ราชวงศ์ราชวงศ์ศากยะ
พระราชบิดาอมิโตทนะศากยะ

พระเจ้ามหานามศากยราชา เอตทัคคะผู้ถวายทานอันประณีต มีพระอนุชา 1 พระองค์ คือ เจ้าชายอนุรุทธะ เอตทัคคะผู้ได้ตาทิพย์ พระเจ้ามหานามะประสูติในพระราชวังกรุงกบิลพัสดุ์ โดยชื่อมหานามะนั้นสันนิษฐานว่าเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตามชื่อของหนึ่งในปัญจวัคคีย์ที่อาศัยอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์คือท่านมหานามะซึ่งต่อมาได้เป็นท่านพระมหานามะเถระ สำหรับพระเจ้ามหานามะนั้นอดีตชาติของท่านในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้าพระองค์เกิดเป็นมนุษย์และได้ฟังธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเกี่ยวกับเรื่องอายุขัยของมนุษย์และพระพุทธเจ้าองค์ต่อไปจึงเกิดความเลื่อมใสแล้วจึงตั้งจิตอธิษฐานเพื่อมาเกิดเป็นพระสาวกของพระโคตมพุทธเจ้า หลังจากที่ตายจากอัตภาพนั้นแล้วได้ท่องเที่ยวอยู่ในภพเทวดาและมนุษย์เท่านั้นและในครั้งพุทธกาลได้มาเกิดเป็นเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ

ครองกรุงกบิลพัสดุ์

เมื่อพระโพธิสัตว์โคตมได้ตรัสรู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธแล้ว จึงเสด็จมาโปรดพระประยูรญาติ เจ้าชายมหานามได้ตั้งใจรอพระผู้มีพระภาคด้วยจิตที่เลื่อมใสและได้ออกจากพระราชวังไปต้อนรับพระผู้มีพระภาคด้วยพระองค์เองเพียงลำพังในเย็นวันนั้นเอง และได้จัดหาที่พักถวายพระบรมศาสดาภายในอารามของภรัณฑุดาบส จากนั้นเป็นต้นมาพระพุทธองค์ก็ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเจ้าชายมหานามอยู่เรื่อยในเขตพระนครกบิลพัสดุ์นั่นเอง

ครั้นเมื่อพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาได้เสด็จสวรรคตแล้ว เจ้าชายภัททิยะผู้จะได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบทอดต่อ แต่เจ้าชายอนุรุทธซึ่งเป็นพระสหายได้ชวนพระองค์ออกผนวชทำให้ราชสมบัติขาดผู้สืบทอด บรรดาพราหมณ์ปุโรหิตทั้งหลาย จึงอัญเชิญเจ้าชายมหานามเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้ามหานามศากยราชาสืบต่อมา ตลอดเวลาที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธารามพระเจ้ามหานามศากยราชาได้เสด็จเข้าไปฟังธรรมกับพระบรมศาสดาอย่างสม่ำเสมอ โดยพระองค์จะเสด็จไปพร้อมกับราชองครักษ์ ครั้นเมื่อถึงนิโครธารามได้รับสั่งให้ราชองครักษ์กลับพระนครก่อนส่วนพระองค์เสด็จกลับพระนครเพียงลำพัง

ถวายทานมีรสประณีต

ต่อมาสมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จจำพรรษา ณ เมืองเวรัญชา พร้อมด้วยหมู่พระภิกษุสงฆ์ ตามคำอาราธนาของเวรัญชพราหมณ์ ภิกษุสงฆ์ได้รับความลำบาก ด้วยการเที่ยวภิกขาจาร เพราะขาดทายกและทายิกาที่จะถวายอาหารบิณฑบาตตลอดทั้งพรรษา

ครั้นออกพรรษาแล้ว พระพุทธองค์ทรงพาภิกษุสงฆ์ เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จเข้า ประทับ ณ นิโครธาราม พระเจ้ามหานามศากยราชา ทรงทราบจึงเสด็จไปเฝ้า กราบถวายบังคมแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่อันสมควร กราบว่าพระพุทธองค์ และภิกษุสงฆ์ได้รับความลำบากด้วย ภิกขาจารในพรรษาที่ผ่านมา จึงกราบทูลขอพระวโรกาส ถวายภัตตาหารอันมีรสประณีตแด่พระพุทธองค์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นระยะเวลา 4 เดือน

ครั้นทราบว่า พระพุทธองค์ทรงรับโดยดุษณีภาพแล้ว ตั้งแต่วันรุ่งขึ้น ก็ได้บำรุงภิกษุสงฆ์ โดยมีพระพุทธองค์เป็นประมุข ด้วยโภชนาหารอันประณีต และของมีรสอร่อย 4 ชนิด ทุก ๆ วัน ครั้นครบกำหนด 4 เดือนแล้ว ได้กราบทูลขอรับปฏิญญาต่อไปอีก 4 เดือน รวมเป็น 8 เดือน และก็ขอรับปฏิญญาต่ออีก 4 เดือน รวมทั้งสิ้นเป็น 1 ปี

เมื่อครบกำหนดวาระ 1 ปีแล้ว พระพุทธองค์ไม่ทรงรับอาราธนาเกินไปกว่านั้น ส่วนพระเจ้ามหานามศากยราชา ก็ทรงปลื้มปีติยินดี กับสักการทานที่พระองค์บำเพ็ญถวาย ตลอดระยะเวลา 1 ปีนั้น เกียรติคุณของพระเจ้ามหานาม ก็ฟุ้งขจรไปทั่วทั้งชมพูทวีป

ต่อมา พระพุทธองค์ประทับ ณ วัดพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้สถาปนาพระเจ้ามหานามศากยราชา ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งหลาย[1] ในฝ่ายผู้ถวายทานอันประณีต

บั้นปลายชีวิต

พระเจ้ามหานามศากยราชาเป็นกษัตริย์ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก พระองค์ดำรงขันธ์อยู่พอสมควรจึงเสด็จสวรรคต เพราะพระองค์เป็นโสดาบันประเภทสัตตักขัตตุปรมัง จึงไปบังเกิดอีกเจ็ดครั้งเป็นเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตีและในสองชาติสุดท้ายได้เกิดเป็นมนุษย์ในเรือนสกุล แล้วจึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยพระองค์เสด็จปรินิพพานภายหลังพระพุทธเจ้าประมาณ 2600 ปี มีข้อสังเกตว่าพระองค์เป็นโสดาบันประเภทสัตตักขัตตุปรมังเหตุใดจึงใช้เวลาแค่ 2600 ปีในการปรินิพพาน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเมื่อครั้งเป็นเทวดา พระองค์อาจมีชีวิตอยู่ไม่ถึงอายุขัยของเทวดาในภพนั้นๆ

อ้างอิง