ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศราช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎สยาม: ในหัวเมืองฝ่ายเหนือเรียกว่าเจ้าประเทศราช
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขของ 223.24.37.31 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย แอนเดอร์สัน
บรรทัด 6: บรรทัด 6:
ประเทศราชของสยาม แบ่งออกเป็น 3 ชั้น<ref>ชูวงศ์ ฉายะบุตร, ''การปกครองท้องถิ่นไทย'', พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์, หน้า44</ref> ตามบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง ได้แก่
ประเทศราชของสยาม แบ่งออกเป็น 3 ชั้น<ref>ชูวงศ์ ฉายะบุตร, ''การปกครองท้องถิ่นไทย'', พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์, หน้า44</ref> ตามบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง ได้แก่
# '''พระเจ้าประเทศราช''' เช่น [[พระเจ้าดวงทิพย์]] ผู้ครองนครลำปาง
# '''พระเจ้าประเทศราช''' เช่น [[พระเจ้าดวงทิพย์]] ผู้ครองนครลำปาง
# '''เจ้าพระยาประเทศราช''' เช่น [[เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช]] หรือ '''เจ้าประเทศราช''' เช่น [[เจ้าพิริยเทพวงษ์]] ผู้ครองนครแพร่
# '''เจ้าพระยาประเทศราช''' เช่น [[เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช]]
# '''พระยาประเทศราช''' เช่น [[พระยาวิเชียรปราการ (บุญมา)]] ผู้ครองนครเชียงใหม่
# '''พระยาประเทศราช''' เช่น [[พระยาวิเชียรปราการ (บุญมา)]] ผู้ครองนครเชียงใหม่



รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:53, 16 มีนาคม 2559

"ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง" ที่หัวเมืองมลายูส่งมาเป็นเครื่องราชบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงสยาม

ประเทศราช[1] หรือรัฐบรรณาการ หมายถึง รัฐที่มีประมุขเป็นของตนเอง แต่ผู้ภายใต้อำนาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์อีกรัฐหนึ่ง เจ้าผู้ครองนครประเทศราชหรือสามนตราช[2]มีหน้าที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการถวายเป็นประจำ และในยามศึกสงครามต้องส่งกองกำลังเข้าช่วยกองทัพหลวงด้วย มีลักษณะคล้ายรัฐในอารักขาของจักรวรรดินิยมตะวันตก

สยาม

ประเทศราชของสยาม แบ่งออกเป็น 3 ชั้น[3] ตามบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง ได้แก่

  1. พระเจ้าประเทศราช เช่น พระเจ้าดวงทิพย์ ผู้ครองนครลำปาง
  2. เจ้าพระยาประเทศราช เช่น เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช
  3. พระยาประเทศราช เช่น พระยาวิเชียรปราการ (บุญมา) ผู้ครองนครเชียงใหม่

ศักดินา

ในราชอาณาจักรสยาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ตราพระราชบัญญัติศักดินาเจ้านายพระยาท้าวแสนประเทศราช[4] ดังนี้

เจ้าเมืองประเทศราช ศักดินา (ไร่) เทียบเท่า
พระเจ้าประเทศราช 15,000 เจ้าต่างกรม
เจ้าประเทศราช 10,000 ข้าหลวงเทศาภิบาล
พระยาประเทศราช 8,000 เจ้าพระยาวังหน้า

รายพระนามพระเจ้าประเทศราชสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

เจ้าผู้ครองนครในหัวเมืองเหนือของสยาม ที่ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระเจ้าประเทศราชในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่[5]

ลำดับที่ พระนาม นคร วันที่ได้รับพระราชทานสถาปนา
1 พระบรมราชาธิบดี (กาวิละ) นครเชียงใหม่ พ.ศ. 2345
2 พระเจ้านครลำปาง (ดวงทิพ) นครลำปาง พ.ศ. 2366
3 พระเจ้าลำพูนไชย (บุญมา) นครลำพูน พ.ศ. 2369
4 พระเจ้ามโหตรประเทศ นครเชียงใหม่ พ.ศ. 2396
5 พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ นครเชียงใหม่ พ.ศ. 2404
6 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ นครเชียงใหม่ พ.ศ. 2426
7 พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช นครน่าน 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 708
  2. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. ประวัติศาสตร์วิพากษ์ : สยามไทยกับปาตานี. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556, หน้า 177
  3. ชูวงศ์ ฉายะบุตร, การปกครองท้องถิ่นไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์, หน้า44
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติศักดินาเจ้านายพระยาท้าวแสนประเทศราช, เล่ม 16, วันที่ 16 กรกฎาคม ร.ศ. 118, หน้า 197
  5. วรชาติ มีชูบท, เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ, กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, หน้า 35