ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เปียงยาง"

พิกัด: 39°1′10″N 125°44′17″E / 39.01944°N 125.73806°E / 39.01944; 125.73806
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
{{กล่องข้อมูล เมือง
{{กล่องข้อมูล เมือง
| official_name = เปียงยาง
| official_name = เปียงยาง
| native_name = 평양
| native_name =
| settlement_type = [[เมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรง]]
| settlement_type = [[เมืองที่ได้รับการปกครองโดยตรง]]
| translit_lang1 =  
| translit_lang1 =  

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:01, 24 ธันวาคม 2558

เปียงยาง

การถอดเสียง 
 • ฮันกึล평양직할시
 • ฮันจา平壤直轄市
 • McCune-ReischauerP'yŏngyang Chikhalsi
 • Revised RomanizationPyeongyang Jikhalsi
เปียงยาง
เปียงยาง
แผนที่ที่ตั้งของกรุงเปียงยาง
แผนที่ที่ตั้งของกรุงเปียงยาง
พิกัด: 39°1′10″N 125°44′17″E / 39.01944°N 125.73806°E / 39.01944; 125.73806
ประเทศ เกาหลีเหนือ
ภูมิภาคพย็องอัน
ก่อตั้งค.ศ. 1122
การปกครอง
 • ผู้นำคิม จ็อง-อึน
พื้นที่
 • ทั้งหมด3,194 ตร.กม. (1,233 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2008)
 • ทั้งหมด2,581,076 [1] คน
 • ภูมิภาคพย็องอัน

เปียงยาง ([평양, พย็องยัง] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) คือเมืองหลวงของประเทศเกาหลีเหนือ เป็นเขตแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของประเทศเกาหลีเหนือ ในอดีตนั้นเคยเป็นเมืองหลวงของหลายอาณาจักร เช่น ใน 2333 ปีก่อนคริสต์ศักราชนั้นเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโชซ็อนโบราณ ในสมัยนั้นมีชื่อว่าเมืองวังก็อมซ็อง ในปี ค.ศ. 427 ได้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโคกูรยอ มีชื่อว่าเมืองเปียงยาง จนถึงปี ค.ศ. 668 ที่อาณาจักรโคกูรยอล่มสลายลง

ชื่อ

หนึ่งในชื่อของเมืองเปียงยางที่ใช้กันมากมาย รยูกย็อง (류경; 柳京) มีความหมายว่า "เมืองหลวงแห่งต้นหลิว" ซึ่งได้มาจากต้นหลิว และในทุกวันนี้ เป็นเมืองที่มีต้นหลิวมากมาย นอกจากนี้รยูกย็องก็ยังเป็นชื่อสิ่งก่อสร้างแห่งหนึ่งอีกด้วย สำหรับชื่ออื่น ๆ ของเปียงยางนั้นได้แก่ คีซ็อง, ฮวังซ็อง, รากรัง, ซอ-กยง, โซโด, โฮ-กยง และ ชังอัน สำหรับช่วงอาณานิคม เมืองเปียงยางมีชื่อว่า เฮโจ

ประวัติศาสตร์

สุสานพระเจ้าทงมย็องแห่งโคกูรยอ

ใน ค.ศ. 1955 นักโบราณคดีขุดพบหลักฐานของการดำรงชีวิตสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่หมู่บ้านโบราณคดีที่ชื่อว่า คึมทัน-นี (Kŭmtan-ni) ซึ่งอยู่ในขอบเขตของเปียงยาง ได้มาจากยุคเครื่องปั้นดินเผาชุลมุนและมูมุน[2]

2,333 ปีก่อนคริสต์ศักราชนั้นเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโชซ็อนโบราณ ในสมัยนั้นมีชื่อว่า เมืองวังก็อมซ็อง ในปี ค.ศ. 427 ได้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโคกูรยอจึงมีชื่อว่าเมืองเปียงยาง จนถึงปี ค.ศ. 668 อาณาจักรโคกูรยอล่มสลายลง เปียงยางจึงไม่ได้เป็นเมืองหลวง

ภูมิศาสตร์

แม่น้ำแทดง ไหลผ่านกลางกรุงเปียงยาง

เปียงยาง ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกตอนกลางของเกาหลีเหนือ มีแม่น้ำแทดงไหลผ่านใจกลางกรุง ไหลสู่อ่าวเกาหลี อุณหภูมิสูงสุดช่วงเดือนเมษายน-กันยายน อุณหภูมิต่ำสุดช่วงเดือนตุลาคม - เมษายน

ข้อมูลภูมิอากาศของกรุงเปียงยาง
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) −0.8
(30.6)
2.4
(36.3)
8.9
(48)
17.1
(62.8)
22.6
(72.7)
26.7
(80.1)
28.6
(83.5)
28.9
(84)
24.7
(76.5)
18.2
(64.8)
9.4
(48.9)
1.7
(35.1)
15.7
(60.3)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) −10.7
(12.7)
−7.8
(18)
−1.8
(28.8)
4.9
(40.8)
10.9
(51.6)
16.5
(61.7)
20.7
(69.3)
20.5
(68.9)
14.3
(57.7)
6.7
(44.1)
−0.3
(31.5)
−7.2
(19)
5.6
(42.1)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 12.2
(0.48)
11.0
(0.433)
24.7
(0.972)
49.9
(1.965)
72.2
(2.843)
90.3
(3.555)
275.2
(10.835)
212.8
(8.378)
100.2
(3.945)
39.9
(1.571)
34.9
(1.374)
16.5
(0.65)
939.8
(37)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 5.2 4.2 5.1 6.7 8.1 8.7 14.4 11.0 7.2 6.1 7.3 5.9 89.9
แหล่งที่มา: [3]

เขตการปกรอง

แผนที่เปียงยาง ค.ศ. 1946

แบ่งออกเป็น 18 เขต 1 เขตใหญ่ ดังนี้[4]

เขต

  • เขตชุง (중구역; 中區域)
  • เขตพย็องช็อน (평천구역; 平川區域)
  • เขตโพทงกัง (보통강구역; 普通江區域)
  • เขตโมรันบง (모란봉구역; 牡丹峰區域)
  • เขตซอซ็อง (서성구역; 西城區域)
  • เขตซ็อนกโย (선교구역; 船橋區域)
  • เขตทงแดวัน (동대원구역; 東大院區域)
  • เขตแทดงกัง (대동강구역; 大同江區域)
  • เขตซาดง (사동구역; 寺洞區域)
  • เขตแทซ็อง (대성구역; 大城區域)
  • เขตมันกย็องแด (만경대구역; 萬景台區域)
  • เขตฮย็องเจซัน (형제산구역; 兄弟山區域)
  • เขตรยงซ็อง (룡성구역; 龍城區域)
  • เขตซัมซ็อก (삼석구역; 三石區域)
  • เขตรย็อกโพ (력포구역; 力浦區域)
  • เขตนากรัง (락랑구역; 樂浪區域)
  • เขตซูนัน (순안구역; 順安區域)
  • เขตอึนจ็อง (은정구역; 恩情區域)

เขตใหญ่

  • เขตคังดง (강동군; 江東郡)

สถานที่สำคัญ

อนุสรณ์สถานคิม อิล-ซ็อง
อนุสาวรีย์ท่านผู้นำคิม อิล-ซ็อง และคิม จ็อง-อิล

วัฒนธรรม

อาหาร

ไฟล์:อาหารเกาหลีเหนือ.jpg
สำรับกับข้าวชาวเกาหลีเหนือ

เกาหลีเหนือ มีวัฒนธรรมอาหารที่แตกต่างจากเกาหลีใต้อย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างวัฒนธรรมอาหารเกาหลีเหนือ ได้แก่

สำหรับร้านอาหารที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ อกรยูกวันและชงรยูกวัน[5]

การกีฬา

ในเปียงยาง มีสโสรกีฬาอยู่ 2-3 แห่ง ได้แก่ เอพริลทเวนตีไฟฟ์สปอร์ตคลับ, เปียงยางสปอร์ตคลับ, ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีเหนือ

การคมนาคม

สถานีรถไฟเปียงยางในยามค่ำคืน
รถไฟใต้ดินเปียงยาง ที่สถานีพูฮึง
รถรางเปียงยาง บนสะพานข้ามแม่น้ำแทดง
ทรอลเลย์บัสในเปียงยาง
สายการบินแอร์โครยอ ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน

รถไฟทางไกล

สถานีรถไฟเปียงยางเป็นสถานีรถไฟหลักของเส้นทางหลายแห่ง รวมทั้งเส้นทางพยองอึยและพยองบู

การรถไฟเกาหลีเหนือได้จัดเส้นทางรถไฟระหว่างประเทศ จุดหมายปลายทางคือปักกิ่งและมอสโก รถไฟปักกิ่งใช้เวลา 25 ชั่วโมง 25 นาที (ขบวน เค 27 - เค 28 เดินรถวันจันทร์ วันพุธ วันพฤหัสบดี และวันเสาร์) ส่วนรถไฟมอสโกนั้นใช้เวลา 6 วัน เชื่อมต่อรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรียที่สะพานยูเรเชียน

รถไฟฟ้าใต้ดิน

รถไฟใต้ดินเปียงยาง (MTR) มี 2 เส้นทาง ได้แก่ สายช็อลลีมา (천리마선) (สถานีพูฮึง (부흥) - สถานีพุลกึนบย็อล (붉은별)) และสายฮย็อกชิน (혁신선) (สถานีควังบก (광복) - สถานีรักว็อน (락원)) ทั้งสองเส้นทาง มีจุดเชื่อมต่อกันที่สถานีชอนู (전우) มีผู้โดยสารประมาณ 300,000-700,000 คนต่อวัน ก่อสร้างตั้งแต่ ค.ศ. 1965 และเริ่มเปิดใช้งานเมื่อประมาณ ค.ศ. 1969-1972 ทำพิธีเปิดโดยประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง

รถโดยสารประจำทาง

ทรอลเลย์บัสเปียงยางเป็นรูปแบบขนส่งธารณะ และกำลังวางแผนขยายไปรอบนอกชานเมือง เปิดให้บริการเมื่อ 30 เมษายน ค.ศ. 1962 ความยาวประมาณ 57 กิโลเมตร ทั้งหมด 10 เส้นทาง

รถราง

ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 เส้นทางที่เปิดใช้งาน สำหรับประชาชนเกาหลี ได้แก่

  • เส้นทางที่ 1 : เปียงยาง-ย็อก (평양역; 平壤驛) - มันกย็องแด (만경대; 萬景臺)
  • เส้นทางที่ 2 : ทอซง (토성; 土城) - รังรัง (락랑; 樂浪) - มุนซู (문수; 紋繍)
  • เส้นทางที่ 3 : ซอพย็องยัง (서평양; 西平壤) - รังรัง (락랑; 樂浪)

ใน ค.ศ. 2006 มีการกำหนดค่าโดยสารรถรางอยู่ที่ 5 วอน นอกจากนี้ ยังมีบัตรคูปองอีกด้วย (시내 차표; 市内車票; sinae ch'ap'yo)

ส่วนเส้นทางสำหรับนักท่องเที่ยว มีชื่อว่า "สายคึมซูซัน"

อากาศยาน

สายการบินเดียวแห่งเกาหลีเหนือ แอร์โครยอ บินจากท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน ไปยังปักกิ่ง, เสิ่นหยาง, วลาดีวอสตอค, มอสโก, กรุงเทพมหานคร, คาบารอฟสค์, กัวลาลัมเปอร์, เซี่ยงไฮ้ และคูเวตซิตี

สำหรับภายในประเทศ มีเที่ยวบินไปยังฮัมฮุง, ว็อนซัน, ช็องจิน, ฮเยซัน และซัมจีย็อน

โรงแรม

ในเปียงยาง มีโรงแรมหลักที่เปิดบริการอยู่ 2 โรงแรม คือ โรงแรมยังกักโดและโรงแรมโครยอ ส่วนโรงแรมรยูกย็อง มีกำหนดเปิดกลางปี ค.ศ. 2013 โรงแรมรยูกย็องเป็นโรงแรมที่สูงที่สุด รองลงมาเป็นโรงแรมยังกักโด ทั้ง 3 โรงแรมนั้นจัดไว้สำหรับนักท่องเที่ยว โรงแรมอื่น ๆ เช่น โรงแรมแทดงดัง โรงแรมรยังกัง โรงแรมโมรันบง โรงแรมแฮบังซัน และโรงแรมโซซาน[6]

ห้างสรรพสินค้า

เปียงยางมีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ดังต่อไปนี้ ห้างสรรพสินค้าเปียงยาง สาขา 1 และ 2 ห้างสรรพสินค้าควังบก ห้างสรรพสินค้ารักว็อน ห้างสรรพสินค้าสถานีเปียงยาง และห้างสรรพสินค้าเยาวชนเปียงยาง[6]

ภาพพาโนรามา

ภาพพาโนรามาของกรุงเปียงยาง เมื่อมองจากหอคอยจูเช่

เมืองพี่น้อง

อ้างอิง

  1. http://data.un.org/Data.aspx?q=city+population&d=POP&f=tableCode%3a240
  2. National Research Institute of Cultural Heritage. 2001. Geumtan-ri. Hanguk Gogohak Sajeon [Dictionary of Korean Archaeology], pp. 148–149. NRICH, Seoul. ISBN 89-5508-025-5
  3. World Meteorological Organisation
  4. [1]|title=행정구역현황 (Haengjeong Guyeok Hyeonhwang)|work=NK Chosun|accessdate=2006-01-10}} Also Administrative divisions of North Korea (used as reference for hanja)
  5. Lankov, Andrei (2007), North of the DMZ: Essays on daily life in North Korea, McFarland, pp. 90–91, ISBN 978-0-7864-2839-7
  6. 6.0 6.1 "Pyongyang Metro maps". สืบค้นเมื่อ March 17, 2013.
  7. "International relations". Kathmandu City website. สืบค้นเมื่อ 2006-01-10.
  8. First China-DPRK sister cities meeting held in Pyongyang [2].

แหล่งข้อมูลอื่น

Pyongyang at night